หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

วิจัยและพัฒนาเทคโนโลยี และนวัตกรรมด้านการจัดการทรัพยากรน้ำเพื่อการเกษตร

สาขาวิชาชีพเกษตรกรรม


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ ARC-ATE-5-012ZA

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ วิจัยและพัฒนาเทคโนโลยี และนวัตกรรมด้านการจัดการทรัพยากรน้ำเพื่อการเกษตร

3. ทบทวนครั้งที่ - / -

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

9999 อาชีพนักเทคโนโลยีการจัดการด้านการเกษตร



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
          หน่วยนี้เกี่ยวข้องกับการศึกษา หรือวิจัยเทคโนโลยี และนวัตกรรมทางการจัดการทรัพยากรน้ำที่เกี่ยวข้องในทุกกระบวนการผลิตทางการเกษตร          ผู้ปฏิบัติงานจะต้องมีความรู้ความเข้าใจและมีทักษะในกระบวนการศึกษาหรือวิจัยองค์ความรู้ เทคโนโลยี และนวัตกรรมทางการจัดการทรัพยากรน้ำ เพื่อจัดทำกรอบแนวคิดการศึกษาหรือวิจัย และดำเนินการศึกษาหรือวิจัยจนได้องค์ความรู้ เทคโนโลยี หรือนวัตกรรม ที่สามารถตอบสนองความต้องการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตได้

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
นักเทคโนโลยีการจัดการด้านการเกษตร

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
A421 วางแผนการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมด้านการจัดการทรัพยากรน้ำเพื่อการเกษตร 1. สำรวจ รวบรวม และวิเคราะห์ข้อมูลที่เกี่ยวข้องตามหลักการและกระบวนการเก็บข้อมูล A421.01 93104
A421 วางแผนการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมด้านการจัดการทรัพยากรน้ำเพื่อการเกษตร 2. วางแผนการดำเนินงานตามระเบียบวิธีวิจัย A421.02 93105
A421 วางแผนการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมด้านการจัดการทรัพยากรน้ำเพื่อการเกษตร 3. จัดทำแผนงานได้ครบถ้วนชัดเจนนำไปปฏิบัติได้ A421.03 93106
A422 ดำเนินการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมด้านการจัดการทรัพยากรน้ำเพื่อการเกษตร 1. จัดเตรียมวัสดุอุปกรณ์ พื้นที่ ก่อนดำเนินการ ตามแผนงานที่กำหนด A422.01 93107
A422 ดำเนินการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมด้านการจัดการทรัพยากรน้ำเพื่อการเกษตร 2. ดำเนินงานวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรม ตามแผนงาน A422.02 93108
A422 ดำเนินการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมด้านการจัดการทรัพยากรน้ำเพื่อการเกษตร 3. รายงานความก้าวหน้าของงานเสนอต่อผู้ที่เกี่ยวข้องตามลำดับชั้น เป็นระยะๆ A422.03 93109
A422 ดำเนินการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมด้านการจัดการทรัพยากรน้ำเพื่อการเกษตร 4. บันทึกผลการวิจัยและพัฒนาได้ ถูกต้องครบถ้วน และเป็นปัจจุบัน A422.04 93110
A423 รายงานผลการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมด้านการจัดการทรัพยากรน้ำเพื่อการเกษตร 1. วิเคราะห์ข้อมูลผลการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยี และนวัตกรรม โดยใช้หลักสถิติ A423.01 93111
A423 รายงานผลการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมด้านการจัดการทรัพยากรน้ำเพื่อการเกษตร 2. สรุปผลการวิจัยและพัฒนา เทคโนโลยีและนวัตกรรม ถูกต้องครบถ้วน A423.02 93112
A423 รายงานผลการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมด้านการจัดการทรัพยากรน้ำเพื่อการเกษตร 3. จัดทำรายงานผลการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรม ตามรูปแบบที่กำหนด A423.03 93113

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

N/A


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

(ก1) ทักษะและความเชี่ยวชาญทางเนื้อหาวิชาการที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีการจัดการทรัพยากรน้ำเพื่อการเกษตร



(ก2) ทักษะและความเชี่ยวชาญทางเทคนิคทางวิชาการที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีการจัดการทรัพยากรน้ำเพื่อการเกษตร



(ก3) ทักษะการใช้เทคโนโลยีและคอมพิวเตอร์



(ก4) ทักษะการทำงานร่วมกับผู้อื่น และการทำงานเป็นทีม



(ก5) ทักษะการคิดวิเคราะห์เพื่อการตัดสินใจ



(ก6) ทักษะการจัดการ เช่น การเขียนแผนงาน การจัดการทรัพยากรที่เกี่ยวข้อง



(ก7) ทักษะการวางแผนและทำงานอย่างเป็นระบบ



(ก8) ทักษะการสำรวจความต้องการ และปัญหา



(ก9) ทักษะการสังเกต และวิเคราะห์ปัญหาเพื่อการแก้ไข



(ก10) ทักษะการสืบค้น และเรียบเรียงข้อมูล



(ก11) ทักษะการบันทึกรวบรวม และวิเคราะห์ข้อมูล



(ก12) ทักษะการตรวจสอบ ประเมิน และวัดประสิทธิภาพของเทคโนโลยี นวัตกรรม



(ก13) ทักษะการเขียนรายงานการวิจัย บทความทางวิชาการ

(ข) ความต้องการด้านความรู้

(ข1) ทฤษฎี และแนวคิดเกี่ยวกับเทคโนโลยี และนวัตกรรมที่เกี่ยวข้องกับการจัดการทรัพยากรน้ำเพื่อการเกษตร



(ข2) ความรู้เกี่ยวกับการใช้เทคโนโลยี และนวัตกรรมทางการเกษตรที่เกี่ยวข้อง



(ข3) ความรู้ด้านการจัดการทรัพยากรน้ำเพื่อการเกษตรที่เกี่ยวข้อง



(ข4) ระเบียบวิธีวิจัย



(ข5) กฎหมาย กฎเกณฑ์ หลักการในการวิจัย



(ข6) สถิติที่ใช้ในการวิจัย



(ข7) การวิเคราะห์ข้อมูล



(ข8) กฎเกณฑ์ หลักการในการเขียนรายงานผลการวิเคราะห์หรือการวิจัย


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

          (ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)



               (ก1) หลักฐาน / หนังสือรับรองการทำงาน หรือการผ่านงานที่ออกโดยหน่วยงานที่เชื่อถือได้



               (ก2) แฟ้มสะสมผลงาน



               (ก3) รายงานผลงานการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยี และนวัตกรรมที่เกี่ยวข้องกับการจัดการทรัพยากรน้ำเพื่อการเกษตร



               (ก4) ภาพถ่ายการปฏิบัติงานการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่เกี่ยวข้องกับการจัดการทรัพยากรน้ำเพื่อการเกษตร



               (ก5) ภาพถ่ายของเทคโนโลยี หรือนวัตกรรมทางการเกษตรที่พัฒนาขึ้น



          (ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)



               (ข1) ใบรายงานผลการศึกษาที่แสดงคุณวุฒิตามคุณสมบัติ และข้อกำหนดของระดับที่เข้ารับการทดสอบ



               (ข2) เกียรติบัตร วุฒิบัตร หรือใบรับรองการฝึกอบรมหรือเอกสารรับรองจากหน่วยงานที่ น่าเชื่อถือ



               (ข3) แบบบันทึกผลการสอบข้อเขียน



               (ข4) แบบบันทึกผลการสอบสัมภาษณ์



               (ข5) แบบรวบรวม / แฟ้มสะสมผลการปฏิบัติงาน



          (ค) คำแนะนำในการประเมิน



               (ค1) ผู้ประเมินจะดำเนินการตรวจประเมินความรู้เกี่ยวกับการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมด้านการจัดการทรัพยากรน้ำเพื่อการเกษตร



               (ค2) หลักฐานที่ต้องการเพื่อแสดงถึงหน่วยสมรรถนะนี้ ต้องมีความสัมพันธ์กับข้อกำหนดของหน่วยสมรรถนะย่อย และเกณฑ์การปฏิบัติงานในหน่วยสมรรถนะนี้ โดยหลักฐานในที่นี้ ต้องแสดงถึง



                      - ความรู้ และทักษะที่เกี่ยวข้อง



                      - วิธีการปฏิบัติงาน กฎหมาย กฎเกณฑ์ และระเบียบต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง



                      - ขอบเขตด้านอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง



          (ง) วิธีการประเมิน



               - การสอบข้อเขียน



               - การสัมภาษณ์



               - แฟ้มสะสมงาน


15. ขอบเขต (Range Statement)

          (ก) คำแนะนำ



               N/A



          (ข) คำอธิบายรายละเอียด



               (ข1) การวิจัยและพัฒนา (Research and Development) เป็นงานที่ทำอย่างมีระบบโดยใช้ความรู้ที่ได้รับจากการทำงานวิจัยเฉพาะทาง และประสบการณ์ที่มีอยู่มาสร้างเทคโนโลยีใหม่ หรือเป็นการวิจัยที่ได้คัดเลือกเรื่องที่ตั้งใจจะใช้ประโยชน์ได้แล้วเพื่อนำผลที่ได้จากงานวิจัยไปสู่การผลิตนวัตกรรมใหม่ที่จะให้ประโยชน์ได้เชิงพาณิชย์หรือการใช้ทางสาธารณะโดยเห็นแล้วว่าจะเกิดผลดีแก่ประเทศ



                      การวิจัยและพัฒนาจะให้ผลลัพธ์ที่สำคัญ 2 ลักษณะ คือ



                      (1) นวัตกรรมประเภทวัตถุที่เป็นชิ้นอาจเป็นประเภทวัสดุ/อุปกรณ์/ชิ้นงาน เช่นเครื่องจักรกล คอมพิวเตอร์สิ่งประดิษฐ์ สื่อคู่มือประกอบการทำงานเป็นต้น



                      (2) นวัตกรรมประเภทที่เป็นรูปแบบ/วิธีการ/กระบวนการ/ระบบปฏิบัติการอาทิ การจัดการน้ำบาดาล ระบบควบคุมการไหลของน้ำ การจัดการน้ำชลประทาน รูปแบบการบริหารจัดการระบบการทำงาน Quality Control (Q.C.) Total Quality Management (TQM) The Balanced Scorecard (BSC) ระบบ ISO เป็นต้น



               (ข2) กระบวนการวิจัยและพัฒนา เริ่มด้วยระบบของการวิเคราะห์สภาพปัญหาให้ชัดเจนแล้วนำไปสู่การพัฒนาทางเลือกหรือวิธีการใหม่ ๆ พัฒนาเป็นต้นแบบนวัตกรรมให้ได้มาตรฐานก่อนที่จะทำการทดลองใช้ในสภาพจริงเพื่อตรวจสอบคุณภาพของนวัตกรรม



                      กระบวนการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยี/นวัตกรรม มีขั้นตอนที่สำคัญ ดังนี้



                      (1) กำหนดผลิตภัณฑ์ และรวบรวมข้อมูล



                      (2) ศึกษาแนวคิดทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยี/นวัตกรรม (Review literature)



                      (3) วางแผนวิจัยและพัฒนา



                      (4) พัฒนารูปแบบ ขั้นตอนของการผลิต สร้างต้นฉบับนวัตกรรม



                      (5) ทดลอง หรือ ทดสอบผลิตภัณฑ์ขั้นต้น ตรวจสอบประสิทธิภาพในกลุ่มตัวอย่างขนาดเล็ก



                      (6) นำข้อมูล และผลการทดลองมาปรับปรุงผลิตภัณฑ์/ต้นฉบับ ครั้งที่ 1



                      (7) ทดลอง หรือทดสอบผลิตภัณฑ์/ต้นฉบับ ครั้งที่ 2 ใช้ในกลุ่มตัวอย่างที่มีขนาดใหญ่ขึ้น



                      (8) นำข้อมูล และผลการทดลองมาปรับปรุงผลิตภัณฑ์/ต้นฉบับ ครั้งที่ 2



                      (9) ทดลอง หรือทดสอบผลิตภัณฑ์/ต้นฉบับ ครั้งที่ 3



                      (10) นำข้อมูล และผลการทดลองมาปรับปรุงผลิตภัณฑ์/ต้นฉบับ ครั้งที่ 3



                      (11) ดำเนินการจนได้ต้นแบบเทคโนโลยี/นวัตกรรมที่มีคุณภาพตามเกณฑ์ที่กำหนด



                      กระบวนการวิจัย ประกอบด้วย การเลือกปัญหาเพื่อการวิจัยการวิเคราะห์ปัญหาการวิจัยการวางแผนและออกแบบการวิจัยการสร้างและทดสอบเครื่องมือการวิจัยการเก็บรวบรวมข้อมูลการประมวลผลข้อมูลการวิเคราะห์ข้อมูลการเขียนรายงานการวิจัยการนำเสนอผลงานการวิจัยและการติดตามการนำผลวิจัยไปใช้



               (ข3) กระบวนการศึกษาข้อมูลหรือการรวบรวมข้อมูลเป็นการอธิบายให้เห็นอย่างชัดเจน สมบูรณ์ และกะทัดรัด เกี่ยวกับวิธีการที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล มีการให้เหตุผลของการเลือกข้อมูลนั้น ๆ ซึ่งข้อมูลที่รวบรวมจะต้องตอบปัญหาการวิจัย รู้แหล่งที่มาของข้อมูลโดยละเอียด และข้อมูลเป็นไปตามวัตถุประสงค์ของผู้วิจัยในการนำข้อมูลไปใช้



                      ข้อมูลที่สำรวจ ได้แก่ สภาพปัญหาและความต้องการ สภาพภูมิศาสตร์ของพื้นที่ผลิต สถิติการเกษตร และความต้องการตลาด เทคโนโลยี/นวัตกรรมที่เกี่ยวข้อง



                      วิธีการศึกษาสำรวจรวบรวมข้อมูล ได้แก่ การใช้แบบสอบถาม การสัมภาษณ์ การศึกษาสภาพจริง การสืบค้นข้อมูลทางอินเทอร์เน็ต และจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง การถอดบทเรียนจากผู้รู้ หรือผู้เชี่ยวชาญ



               (ข4) การวางแผนดำเนินการวิจัย ผู้วิจัยจะต้องกำหนดเรื่องราวที่ปฎิบัติตามลำดับก่อนหลังเป็นขั้น ๆ ไป เนื่องจากบางขั้นตอนจะต้องรอให้ขั้นตอนหนึ่งปฎิบัติให้เสร็จสิ้นเสียก่อน จึงสามารถดำเนินการต่อไปได้ จำเป็นจะต้องลำดับ และเขียนตามลำดับเป็นระบบ อาจเริ่มจากการกำหนดหัวเรื่อง ปัญหา และวัตถุประสงค์ของการวิจัย ผู้วิจัยจะต้องอ่าน และค้นคว้าเรื่องที่เกี่ยวข้อง พยายามสืบค้นหาแหล่งข้อมูลที่นำมาใช้ในงานวิจัย และก่อนที่จะลงมือรวบรวมข้อมูล ผู้วิจัยอาจจะต้องขอความร่วมมือจากบุคลากร หรือหน่วยงานที่เป็นแหล่งข้อมูล มีการกำหนดระยะเวลาค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ซึ่งผู้วิจัยจะต้องให้รายละเอียดของการวิจัยทั้งหมด



                      แผนงานมีความครบถ้วน มีองค์ประกอบที่สำคัญของแผนงานโครงการ ประกอบด้วย เหตุผลความจำเป็นวัตถุประสงค์ เป้าหมาย วิธีการระยะเวลา และสถานที่ดำเนินงาน ประมาณการค่าใช้จ่าย ปัญหาที่คาดว่าจะเกิดขึ้น และแนวทางแก้ไข ผู้รับผิดชอบ ฯลฯ



               (ข5) การเตรียมการก่อนการดำเนินงานวิจัย ได้แก่ วัสดุ อุปกรณ์ เครื่องมือสถานที่ พื้นที่ ฯลฯ ที่จำเป็นต้องใช้ในกระบวนการวิจัยประกอบด้วยการเลือกปัญหาเพื่อการวิจัยนำไปสู่การวิเคราะห์ปัญหาการวิจัยดำเนินการวางแผนและออกแบบการวิจัยการสร้างและทดสอบเครื่องมือการวิจัยการเก็บรวบรวมข้อมูลการประมวลผลข้อมูลการวิเคราะห์ข้อมูลการเขียนรายงานการวิจัยการนำเสนอผลงานการวิจัยการติดตามการนำผลวิจัยไปใช้



               (ข6) การวิเคราะห์ข้อมูล (Analysis) เป็นการจัดระเบียบแยกแยะส่วนต่าง ๆ ของหลักฐาน หรือข้อมูลที่ได้ออกเป็นหมวดหมู่ เพื่อหาคำตอบตามความมุ่งหมาย และตามสมมติฐานที่ได้กำหนดไว้ การวิเคราะห์ข้อมูลนี้เป็นขั้นการทำงานที่ต่อเนื่องมาจากการวัด การนับ และจัดเรียงลำดับข้อมูล ส่วนใหญ่เป็นเรื่องเกี่ยวกับการนำวิธีการทางสถิติมาวิเคราะห์หาค่าตัวแปรหรือหาลักษณะของตัวแปร ผู้วิจัยจะต้องวางแผนและเตรียมการล่วงหน้าตั้งแต่เริ่มทำการวิจัย



               (ข7) วิธีการทางสถิติที่นำมาใช้ในงานวิจัย มีทั้งสถิติพรรณนา (DescriptiveStatistics) และสถิติอ้างอิง (Inference Statistics) มาใช้ในขั้นตอนของการทำงานวิจัยดังนี้



                      1) ตัวอย่างและการเลือกตัวอย่าง (Sample,Sampling) เป็นการนำสถิติอนุมานแบบมีพารามิเตอร์มาใช้ในการเลือกตัวอย่าง ซึ่งจะมีทฤษฎีการสุ่มตัวอย่างโดยเฉพาะ นอกจากนี้ยังนำสถิติอนุมานมาใช้ในการกำหนดข้อมูลตัวอย่างที่จะนำมาใช้ในการวิจัย โดยอาศัยหลักความน่าจะเป็นและการประมาณค่าทางสถิติ



                      2) การอธิบายลักษณะของข้อมูล (Describing data) เป็นการนำสถิติมาใช้ในการบรรยายลักษณะของข้อมูลที่เก็บมาได้ว่ามีลักษณะอย่างไร โดยอาศัยสถิติแบบพรรณนาเป็นส่วนใหญ่ เช่น การหาค่าร้อยละ การแจกแจงความถี่ การคำนวณหาค่าต่าง ๆ เช่น ค่าเฉลี่ย ค่าฐานนิยม ค่าที่แสดงถึงการกระจายของข้อมูล



                      3) การหาข้อสรุปจากข้อมูลตัวอย่าง (Conclusion From sample data) เป็นการนำสถิติมาใช้ในการหาข้อสรุปที่จะนำไปสู่การตอบวัตถุประสงค์ของการวิจัยโดยส่วนใหญ่จะอาศัยสถิติแบบอนุมาน ที่จะใช้วิธีนำค่าของข้อมูลที่ได้จากการเลือกตัวอย่างไปทำการศึกษาและวิเคราะห์เพื่อนำไปสู่ข้อสรุปข้อมูลประชากร โดยมีเทคนิคทางสถิติที่จะนำมาใช้ในการหาข้อสรุป เช่น การประมาณค่า การทดสอบสมมติฐาน การหาความสัมพันธ์ การพยากรณ์ เป็นต้น



               (ข8) การวิเคราะห์ผลการวิจัย เป็นการนำผลที่ได้จากการประมวลผลข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อการตีความหมายและแปรผลจากข้อมูลที่ได้ให้สามารถเข้าใจได้ง่าย บอกผลของการวิจัยที่ได้ซึ่งอาจเป็นข้อเท็จจริงหรือแนวโน้ม อาจมีการเปรียบเทียบ และผลการวิจัยสามารถนำไปใช้งานได้ตามวัตถุประสงค์ของการวิจัย



               (ข9) รายงานความก้าวหน้าของงาน โครงสร้างจะคล้ายกับรายงานฉบับสมบูรณ์ ประกอบด้วยความเป็นมาของโครงการ วัตถุประสงค์ แผนการดำเนินการ (ขั้นตอนและรูปแบบการทำงาน) ผลการดำเนินงานที่ได้ดำเนินการไปแล้วทั้งหมด ตัวชี้วัดและผลผลิต งบประมาณที่ได้ใช้จ่ายไปแล้วนับตั้งแต่เริ่มโครงการ งานตามแผนกิจกรรมที่จะทำต่อไป (ระบุจำนวนเดือน) คำชี้แจงเกี่ยวกับปัญหาอุปสรรค (ถ้ามี) และแนวทางแก้ไข



               (ข10) การบันทึกผล ได้แก่ การบันทึกในสมุดบันทึกมาตรฐาน หรือบันทึกแบบอิเล็กทรอนิกส์ ควรมีรูปแบบลักษณะชัดเจน มีวันระบุ สืบค้นได้ ใครเป็นผู้กระทำสิ่งใด เมื่อไรเพราะอะไรและผู้อื่นไม่ควรแก้ไขได้ภายหลัง ข้อมูลมีคุณภาพ รายละเอียดครบถ้วน เชื่อถือได้ ข้อมูลไม่สูญหาย มีระยะเวลาจัดเก็บที่เหมาะสม มีการสำรองข้อมูลและควรเป็นไปตามกฎระเบียบขององค์กร และหากเป็นระบบอิเล็คทรอนิกส์ควรมีระบบรักษาความปลอดภัยด้านอิเล็กทรอนิกส์ มีการบันทึกตั้งแต่กระบวนการวิจัย



               (ข11) สรุปผล ได้แก่ การนำผลการวิเคราะห์เขียนสรุปให้แสดงถึงความสัมพันธ์ของภาพรวมของการวิจัยในส่วนที่สำคัญ แสดงผลวิจัยการสรุปให้ครอบคลุมครบถ้วนประเด็นปัญหาที่วิจัยทั้งหมด มีหลักเกณฑ์ในการเขียนคือ การสรุปผลตามสมมติฐานที่ตั้งไว้โดยการเปรียบเทียบผลที่ค้นพบกับข้อเท็จจริงของผู้วิจัยในอดีตหรือเชื่อมโยงทฤษฎีที่เกี่ยวข้องเพื่อยืนยันความรู้เดิมหรือต่อยอดความรู้เดิม รวมถึงการให้ข้อเสนอแนะ อภิปรายผลซึ่งเป็นการตีความผลการวิจัย จากการเชื่อมโยงคำถามงานวิจัย วัตถุประสงค์การวิจัย แนวคิดทฤษฎีและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องเพื่อมาประกอบการตีความผลการวิจัย



               (ข12) รายงานผลการวิจัย คือ การเรียบเรียงเอกสารเพื่อนำเสนอผลการศึกษาและดำเนินการค้นคว้าอย่างมีระบบแบบแผนที่เป็นวิทยาศาสตร์ ลักษณะรายงาน เป็นเอกสารสารสนเทศที่ผู้วิจัยเรียบเรียงตามเหตุผลและที่มาของปัญหา กรอบแนวคิดในการวิจัย การดำเนินการวิจัยและผลการวิจัย ประกอบด้วย 3 ส่วน คือ



                      1) ส่วนนำ ความเป็นมาความสำคัญของปัญหา วัตถุประสงค์ของการวิจัย สมมติฐานของการวิจัย ขอบเขตของการวิจัย ข้อตกลงเบื้องต้น ข้อจำกัดของการวิจัย นิยามโดยเฉพาะ ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ



                      2) ส่วนเนื้อเรื่อง มี 5 บท คือบทนำ เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง วิธีการดำเนินการวิจัย สรุปผลและข้อเสนอแนะ โดยหลักการเขียนอภิปรายผลการวิจัยจำเป็นต้องมีในส่วนของการเขียนอภิปรายผลการวิจัย ประกอบด้วย 4 ส่วน ได้แก่ 1) การเขียนแสดงสมมติฐานการวิจัยและรายงานผลการวิจัย 2) การเขียนเหตุผลของผลการวิจัยที่ค้นพบ 3) การเขียนยืนยันผลการวิจัยเชื่อมโยงงานวิจัยปัจจุบันกับงานวิจัยในอดีต และ 4) การเขียนข้อจำกัดและข้อเสนอแนะงานวิจัย



                      3) ส่วนอ้างอิง ประกอบด้วยบรรณานุกรม ภาคผนวก ตัวอย่างการวิเคราะห์ข้อมูล รายนามผู้ทรงคุณวุฒิที่ตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือวิจัย



               (ข13) การเขียนรายงาน หมายถึง การเสนอผลงานที่ได้ศึกษา ค้นคว้ามาแล้ว และได้พบความจริง หรือได้รับความรู้ใหม่ ๆ ประการใดบ้าง การรายงานเป็นการเปิดโอกาสให้ผู้อื่นได้รู้ว่า ในการทำวิจัยนั้น

มีปัญหาอะไร และมีประโยชน์อย่างไรแทนการที่จะต้องไปศึกษาใหม่ทั้งหมด การเขียนรายงานการวิจัยต้องเป็นไปตามระเบียบปฎิบัติของการวิจัย เป็นการเตรียมการ และเผยแพร่ผลงานวิจัย เพื่อให้ผู้สนใจอื่น ๆ ศึกษาหรือทำซ้ำได้



                      การเขียนวิจัยจะต้องเขียนตามรูปแบบ ใช้ภาษาที่เข้าใจง่าย ถูกต้อง และรวบรวมอย่างมีระบบ ดังนั้นการเขียนรายงานวิจัยจึงควรเขียนบรรยายตามข้อเท็จจริง ตามที่ได้ศึกษามา โดยการใช้ภาษาง่าย ๆ และตรงไปตรงมา มีการลำดับเหตุการณ์ และกระบวนการอย่างชัดเจน การเขียนรายงานวิจัยนั้น เป็นการเขียนอย่างมีแบบแผน มีรายละเอียดปลีกย่อยที่เป็นกฎเกณฑ์ของการทำวิจัย เช่น การกำหนดบท การย่อหน้า การเว้นขอบ การเขียนตาราง การอ้างอิง การเขียนเชิงอรรถ และการใช้การอ้างอิงอย่างมีเหตุผล และเป็นระบบมีการวิจารณ์ วิเคราะห์ และเสนอแนะ และนำเสนอผลการวิจัย ซึ่งผู้วิจัยจะต้องพิจารณาว่าจะเขียนรายงาน และนำเสนอผลในรูปแบบใด ที่จะทำให้งานวิจัยนั้นน่าสนใจมากที่สุด และทำให้ผู้อื่น หรือผู้สนใจอ่านเข้าใจได้ง่าย



               (ข14) การใช้ประโยชน์จากรายงานผลการวิจัย เป็นการนำไปใช้ประโยชน์ตามวัตถุประสงค์ที่ระบุไว้ในโครงการ/โครงการวิจัย และรายงานการวิจัยอย่างถูกต้อง สามารถนำไปสู่การแก้ปัญหาได้อย่างเป็นรูปธรรมกับกลุ่มเป้าหมาย โดยมีหลักฐานปรากฏอย่างชัดเจนถึงการนำไปใช้ จนก่อให้เกิดประโยชน์ได้จริงตามวัตถุประสงค์ และได้การรับรองการใช้ประโยชน์จากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

          18.1 เครื่องมือประเมินการวางแผนการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมด้านการจัดการทรัพยากรน้ำเพื่อการเกษตร



                  1) การสอบข้อเขียน แบบปรนัย 4 ตัวเลือก



                  2) การสัมภาษณ์



                  3) แฟ้มสะสมผลงาน ประกอบด้วยหลักฐานจากผลงานเชิงประจักษ์ ได้แก่



                      - รายงาน หรือเอกสารการวิเคราะห์ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมด้านการจัดการทรัพยากรน้ำเพื่อการเกษตรอาทิ ปัญหา หรือความต้องการเทคโนโลยี หรือ รายละเอียดของเทคโนโลยีที่ต้องการวิจัยและพัฒนา



                      - แผนการวิจัยและพัฒนา



          18.2 เครื่องมือประเมินการดำเนินการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยี และนวัตกรรรมด้านการจัดการทรัพยากรน้ำเพื่อการเกษตร



                  1) การสอบข้อเขียน แบบปรนัย 4 ตัวเลือก



                  2) การสัมภาษณ์



                  3) แฟ้มสะสมผลงาน ประกอบด้วยหลักฐานจากผลงานเชิงประจักษ์ ได้แก่



                      - รายงานความก้าวหน้าของการวิจัยและพัฒนา ที่นำเสนอผู้ที่เกี่ยวข้อง



                      - ภาพถ่ายวิธีการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยี และนวัตกรรม



          18.3 เครื่องมือประเมินการรายงานผลการประยุกต์ใช้เทคโนโลยี และนวัตกรรรมด้านการจัดการทรัพยากรน้ำเพื่อการเกษตร



                  1) การสอบข้อเขียน แบบปรนัย 4 ตัวเลือก



                  2) การสัมภาษณ์



                  3) แฟ้มสะสมผลงาน ประกอบด้วยหลักฐานจากผลงานเชิงประจักษ์ ได้แก่



                      - รายงานผลการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยี และนวัตกรรมทางการเกษตรฉบับสมบูรณ์



                      - ภาพถ่ายผลงาน เทคโนโลยี และนวัตกรรมด้านจัดการทรัพยากรน้ำเพื่อการเกษตรที่ได้วิจัยและพัฒนา



ยินดีต้อนรับ