หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

เผยแพร่เทคโนโลยีและนวัตกรรมทางการเกษตรที่พัฒนาขึ้น

สาขาวิชาชีพเกษตรกรรม


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ ARC-ATE-5-015ZA

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ เผยแพร่เทคโนโลยีและนวัตกรรมทางการเกษตรที่พัฒนาขึ้น

3. ทบทวนครั้งที่ - / -

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

9999อาชีพนักเทคโนโลยีการเกษตร



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
          หน่วยนี้เกี่ยวข้องกับการเผยแพร่เทคโนโลยี และนวัตกรรมที่พัฒนาขึ้นด้วยตนเอง โดยการนำเทคโนโลยี และนวัตกรรมทางเกษตรที่ผ่านการคิดค้น วิจัยและพัฒนาตามกระบวนการวิจัย นำเผยแพร่สู่กลุ่มเป้าหมาย หรือบุคคลสาธารณะด้วยตนเอง ผ่านสื่อรูปแบบต่าง ๆ ตามความเหมาะสมของเทคโนโลยี และกลุ่มเป้าหมายที่ต้องการเผยแพร่ เพื่อให้ผู้ที่สนใจสามารถนำเทคโนโลยีไปใช้ต่อไป          ผู้ปฏิบัติงานจะต้องมีความรู้ความเข้าใจ สามารถวิเคราะห์กลุ่มเป้าหมาย เพื่อจัดทำรูปแบบหรือวิธีการเผยแพร่เทคโนโลยี โดยมีทักษะในการสื่อสาร ถ่ายทอด องค์ความรู้ เทคโนโลยี นวัตกรรมการเกษตรให้แก่กลุ่มเป้าหมาย โดยมีการจัดทำแผนการดำเนินการถ่ายทอดและแผนการติดตามประเมินผลการเผยแพร่

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
นักเทคโนโลยีการเกษตร

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
A511 วิเคราะห์กลุ่มผู้ใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยี และ นวัตกรรมทางการเกษตร 1. วิเคราะห์กลุ่มเป้าหมายผู้ใช้ประโยชน์ที่ต้องการใช้ประโยชน์เทคโนโลยีและ นวัตกรรมทางการเกษตร A511.01 93483
A511 วิเคราะห์กลุ่มผู้ใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยี และ นวัตกรรมทางการเกษตร 2. เลือกรูปแบบและวิธีการเผยแพร่ ที่เหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมาย A511.02 93484
A512 จัดทำสื่อสำหรับการเผยแพร่เทคโนโลยี และนวัตกรรรมทางการเกษตร 1. จัดเตรียมต้นฉบับผลงานในรูปแบบที่เหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมายและวิธีการเผยแพร่ A512.01 93485
A512 จัดทำสื่อสำหรับการเผยแพร่เทคโนโลยี และนวัตกรรรมทางการเกษตร 2. พัฒนาคู่มือ หรือเอกสาร การใช้ประโยชน์เทคโนโลยี และนวัตกรรมทางการเกษตร A512.02 93486
A513 ดำเนินการเผยแพร่เทคโนโลยีและนวัตกรรมทางการเกษตรที่พัฒนาขึ้นแก่กลุ่มเป้าหมาย 1. จัดทำข้อมูลเนื้อหาหลักสื่อที่เหมาะสมหรือแบบจำลองของเทคโนโลยี และนวัตกรรม ครบถ้วน พร้อมใช้งาน A513.01 93487
A513 ดำเนินการเผยแพร่เทคโนโลยีและนวัตกรรมทางการเกษตรที่พัฒนาขึ้นแก่กลุ่มเป้าหมาย 2. นำเสนอผลงานเทคโนโลยี และนวัตกรรมต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง หรือกลุ่มเป้าหมาย A513.02 93488
A513 ดำเนินการเผยแพร่เทคโนโลยีและนวัตกรรมทางการเกษตรที่พัฒนาขึ้นแก่กลุ่มเป้าหมาย 3. ติดตาม และประเมินผลการเผยแพร่เทคโนโลยีและนวัตกรรมทางการเกษตร A513.03 93489

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

N/A


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

(ก1) ทักษะและความเชี่ยวชาญทางเนื้อหาวิชาการที่เกี่ยวข้อง



(ก2) ทักษะและความเชี่ยวชาญทางเทคนิคทางวิชาการที่เกี่ยวข้อง



(ก3) ทักษะการใช้เทคโนโลยีและคอมพิวเตอร์



(ก4) ทักษะการทำงานร่วมกับผู้อื่น และการทำงานเป็นทีม



(ก5) ทักษะการวางแผนและทำงานอย่างเป็นระบบ



(ก6) ทักษะการการเขียนรายงานการวิจัย บทความทางวิชาการ



(ก7) ทักษะการนำเสนอผลงานในรูปแบบที่เหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมาย



(ก8) ทักษะในการปรับข้อมูลให้อยู่ในรูปแบบที่เหมาะสม



(ก9) ทักษะการเป็นวิทยากร



(ก10) ทักษะการใช้โสตทัศนูปกรณ์ในการนำเสนอผลงาน

(ข) ความต้องการด้านความรู้

(ข1) ความรู้เกี่ยวกับหลักการวิธีการติดต่อสื่อสาร



(ข2) ความรู้เกี่ยวกับการนำเสนอผลงานทางวิชาการ



(ข3) ความรู้เกี่ยวกับการเผยแพร่เทคโนโลยี และนวัตกรรมการเกษตร



(ข4) ความรู้เกี่ยวกับการพัฒนารายงานการวิจัย เป็นบทความทางวิชาการ



(ข5) ความรู้เกี่ยวกับการเขียนบทความทางวิชาการ



(ข6) ความรู้เกี่ยวกับการจัดทำเอกสารคู่มือ เอกสารเผยแพร่



(ข7) ความรู้เกี่ยวกับการเลือกใช้รูปแบบหรือสื่อในการนำเสนอผลงาน


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

          (ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)



               (ก1) หลักฐาน / หนังสือรับรองการทำงาน หรือการผ่านงานที่ออกโดยหน่วยงานที่เชื่อถือได้



               (ก2) แฟ้มสะสมผลงาน



               (ก3) รายงานผลงานการวิจัย สิ่งประดิษฐ์ เครื่องมือ เครื่องจักร เทคโนโลยี



               (ก4) ภาพถ่ายกิจกรรมการเผยแพร่เทคโนโลยี



          (ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)



               (ข1) เกียรติบัตร วุฒิบัตร หรือใบรับรองการฝึกอบรมหรือเอกสารรับรองจากหน่วยงานที่น่าเชื่อถือ



               (ข2) แบบบันทึกผลการสอบข้อเขียน



               (ข3) แบบบันทึกผลการสอบสัมภาษณ์



               (ข4) แบบรวบรวม / แฟ้มสะสมผลการปฏิบัติงาน



          (ค) คำแนะนำในการประเมิน



               (ค1) ผู้ประเมินจะดำเนินการตรวจประเมินความรู้เกี่ยวกับกระบวนการ และวิธีการเผยแพร่เทคโนโลยีและนวัตกรรมทางการเกษตร



               (ค2) หลักฐานที่ต้องการเพื่อแสดงถึงหน่วยสมรรถนะนี้ ต้องมีความสัมพันธ์กับข้อกำหนดของหน่วยสมรรถนะย่อย และเกณฑ์การปฏิบัติงานในหน่วยสมรรถนะนี้ โดยหลักฐานในที่นี้ ต้องแสดงถึง



                      - ความรู้ และทักษะที่เกี่ยวข้อง



                      - วิธีการปฏิบัติงาน กฎหมาย กฎเกณฑ์ และระเบียบต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง



                      - ขอบเขตด้านอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง



          (ง) วิธีการประเมิน



               - การสอบข้อเขียน



               - การสัมภาษณ์



               - แฟ้มสะสมงาน


15. ขอบเขต (Range Statement)

          (ก) คำแนะนำ



               N/A



          (ข) คำอธิบายรายละเอียด



               การเผยแพร่เทคโนโลยี และนวัตกรรมพัฒนาขึ้นด้วยตนเอง หมายถึง การเผยแพร่องค์ความรู้ของเทคโนโลยี หรือนวัตกรรมที่ได้คิดค้น วิจัย พัฒนาขึ้นตามขั้นตอนกระบวนการวิจัย เผยแพร่สู่ให้แก่กลุ่มเป้าหมาย หรือบุคคลสาธารณะ ด้วยตนเองผ่านสื่อรูปแบบต่าง ๆ ตามความเหมาะสมของเทคโนโลยี และกลุ่มเป้าหมาย เพื่อให้ผู้ที่สนใจสามารถนำเทคโนโลยีไปใช้ประโยชน์



               (ข1) การถ่ายทอดเทคโนโลยี หมายถึงกระบวนการที่นำเอาเทคโนโลยี / นวัตกรรมที่พัฒนาขึ้นในที่หนึ่ง เพื่อวัตถุประสงค์อย่างหนึ่งไปใช้ในที่อื่นเพื่อวัตถุประสงค์เดียวกันหรือเพื่อวัตถุประสงค์ที่แตกต่างกันออกไป โดยครอบคลุมประเด็นต่าง ๆ ดังนี้



                      1) องค์ความรู้ หรือประสบการณ์ความเชี่ยวชาญต่าง ๆ ที่เกิดจากการวิจัยและพัฒนาโดยผู้ที่มีความรู้ ความชำนาญในเรื่องนั้น ๆ โดยตรง



                      2) ข้อมูล คำแนะนำต่าง ๆ ที่ช่วยในการใช้เทคโนโลยี / นวัตกรรมได้แก่ มีเอกสารคู่มือมีการสาธิต ฝึกปฏิบัติ



                      3) การนำองค์ความรู้ที่ได้รับ ไปใช้ให้เกิดประโยชน์



                      4) เทคโนโลยี / นวัตกรรม ที่จะนำไปเผยแพร่ จะต้องมีความพร้อม และสามารถใช้งานได้จริง มีความเหมาะสม และสอดคล้องกับสภาวะแวดล้อมของกลุ่มเป้าหมายที่ได้รับเทคโนโลยี



               (ข2) กลุ่มเป้าหมาย / ผู้ใช้ประโยชน์กำหนดกลุ่มเป้าหมายเป็นการระบุ บุคคล กลุ่มบุคคล

ที่จะได้รับรู้ประโยชน์จากเทคโนโลยี/นวัตกรรมการเกษตร ซึ่งสามารถรับรู้ เข้าใจ และเข้าถึงเทคโนโลยีได้โดยโดยกลุ่มผู้รับนวัตกรรม สามารถแบ่งได้เป็น 5 กลุ่ม ตามระดับของการยอมรับนวัตกรรม (Rogers, 1983)



                      1) Innovators - Venturesome เป็นกลุ่มที่มีระดับการยอมรับนวัตกรรมสูงที่สุดโดยเป็นกลุ่มคนที่มีลักษณะที่กล้าเสี่ยง/กล้าลองสิ่งใหม่ ๆ โดยคนกลุ่มนี้มักเป็นผู้นำในชุมชน และกลุ่มเยาวชน



                      2) Early Adopters - Respectable เป็นกลุ่มที่มีการยอมรับนวัตกรรมในระดับมาก หากแต่การนำนวัตกรรมต่าง ๆ ไปใช้ จะมีการพิจารณาอย่างรอบคอบก่อนตัดสินใจ ส่วนใหญ่มักเป็นกลุ่มนักคิด และผู้นำในสังคมหากมีการสนับสนุนและส่งเสริมคนกลุ่มนี้จะสามารถเป็นผู้นำในการเผยแพร่และถ่ายทอดนวัตกรรมต่อไปได้



                      3) Early Majority - Deliberate เป็นกลุ่มคนมีการยอมรับนวัตกรรมในระดับปานกลาง โดยต้องมีความมั่นใจและได้รับการยืนยันหรือบอกเล่าถึงผลของนวัตกรรมนั้น ๆ ก่อนว่าเป็นสิ่งที่ดี จึงจะเกิดการยอมรับและนำนวัตกรรมนั้นไปใช้ หากได้รับการสนับสนุนจะสามารถนำนวัตกรรมที่ได้เรียนรู้ไปใช้ได้



                      4) Late Majority - Skeptical เป็นกลุ่มคนมีการยอมรับนวัตกรรมในระดับน้อย การยอมรับนวัตกรรมเป็นไปได้ค่อนข้างยาก ไม่ค่อยยอมรับนวัตกรรมหรือสิ่งใหม่ ๆ เท่าใดนัก แต่หากได้รับการสนับสนุนให้มีส่วนร่วมในกระบวนการเรียนรู้ และได้รับการสร้างความรู้และความเข้าใจในนวัตกรรมนั้น จะมีแนวโน้มที่จะยอมรับนวัตกรรมได้มากขึ้น



                      5) Laggards - Traditional เป็นกลุ่มคนมีการยอมรับนวัตกรรมในระดับน้อยที่สุดโดยเป็นกลุ่มคนที่มักไม่เปิดใจต่อการยอมรับสิ่งใหม่ ๆ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องใดก็ตาม และมักไม่เห็นความจำเป็นที่จะต้องยอมรับสิ่งใหม่หรือความจำเป็นของสิ่งใหม่ ๆ ดังนั้น การเผยแพร่นวัตกรรมให้แก่คนกลุ่มนี้ จึงจำเป็นต้องให้คำแนะนำ และการกระตุ้นการเรียนรู้ และให้ได้รับข้อมูลอย่างสม่ำเสมอ



               (ข3) รูปแบบการเผยแพร่เทคโนโลยี / นวัตกรรมสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ ได้กำหนดรูปแบบการเผยแพร่ผลงานวิจัย ประกอบด้วย 1) ประชุมทางวิชาการ 2) เผยแพร่ในรูปแบบโปสเตอร์ 3) นำเสนอในวารสารวิชาการ ส่วนการการพัฒนาเทคโนโลยี / นวัตกรรม เพื่อใช้ประโยชน์ในอุตสาหกรรม จะเน้นการนำไปใช้ประโยชน์ จะเน้นการสื่อสาร และสื่อการเผยแพร่



                      1) บทความทางวิชาการ เผยแพร่ในวารสารทางวิชาการ หนังสือประมวลผลการประชุมทางวิชาการ (Proceedings) ของการประชุมทางวิชาการในระดับชาติ หรือระดับนานาชาติ อาจจัดทำเป็นรูปเล่มสิ่งพิมพ์ หรือเป็นสื่ออิเลคทรอนิกส์



                      เนื้อหาสาระของบทความวิจัยโดยทั่วไปประกอบด้วยส่วนสำคัญ 6 ส่วนคือ



                           1.1) บทคัดย่อ (Abstract) เป็นเนื้อหาสาระส่วนที่นำเสนอวัตถุประสงค์การวิจัยวิธีการวิจัยและผลการวิจัยโดยสรุปเพื่อให้ผู้อ่านเห็นภาพรวมของงานวิจัยทั้งเรื่อง



                           1.2) ส่วนนำ (Introduction) ประกอบด้วยส่วนสำคัญ 4 ส่วนส่วนแรกเป็นการบรรยายให้ผู้อ่านได้ทราบว่าบทความวิจัยนี้พัฒนามาจากผลงานวิจัยที่มีมาก่อนหน้านี้อย่างไรบ้างและนำมาสู่ปัญหาวิจัยอย่างไรส่วนที่สองกล่าวถึงปัญหาวิจัยและวัตถุประสงค์การวิจัยส่วนที่สามคือรายงานเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการวิจัยเฉพาะส่วนที่เป็นทฤษฎีและงานวิจัยที่สำคัญซึ่งนำไปสู่การสร้างกรอบแนวคิดสำหรับการวิจัยรวมทั้งสมมติฐานการวิจัยส่วนที่สี่เป็นรายงานระบุเหตุผลพร้อมเอกสารอ้างอิงในการเลือกวิธีดำเนินการวิจัยที่ใช้ในบทความวิจัยนี้



                           1.3) วิธีการ (Methods) เป็นการให้รายละเอียดเกี่ยวกับวิธีดำเนินการวิจัยถ้าเป็นการวิจัยเชิงปริมาณประกอบด้วยการบรรยายลักษณะของประชากรกลุ่มตัวอย่างและวิธีการเลือกกลุ่มตัวอย่างความสมบูรณ์ของกลุ่มตัวอย่างนิยามตัวแปรเครื่องมือวิจัยและคุณภาพเครื่องมือวิธีการรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลและข้อสังเกตที่สำคัญเกี่ยวกับวิธีดำเนินการวิจัยถ้าเป็นการวิจัยเชิงคุณลักษณะประกอบด้วยการบรรยายภาคสนาม (Field) ที่ศึกษาการเลือกและลักษณะของกรณี (Case) ที่ศึกษาขอบข่ายของข้อมูลวิธีการและเครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลและการวิเคราะห์ข้อมูล



                           1.4) ผลการวิเคราะห์ข้อมูล (Analysis Results) เริ่มต้นด้วยการบรรยายว่าผู้วิจัยจะเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูลอย่างไรจากนั้นจึงเป็นการนำเสนอผลการวิเคราะห์พร้อมทั้งการตีความส่วนนี้มีการนำเสนอตารางและภาพประกอบเท่าที่จำเป็น



                           1.5) การอภิปรายและ/หรือการสรุป (Discussion and/or Conclusion) เป็นการบรรยายสรุปข้อค้นพบที่ได้จากการวิจัยประกอบกับการอธิบายว่าข้อค้นพบมีความขัดแย้ง/สอดคล้องกับสมมติฐานวิจัยและผลงานวิจัยในอดีตหรือไม่และอย่างไรพร้อมทั้งเหตุผลที่เป็นเช่นนั้นตอนสุดท้ายเป็นการอภิปรายข้อจำกัดหรือข้อบกพร่องข้อดีเด่นซึ่งนำไปสู่ข้อเสนอแนะในทางปฏิบัติและข้อเสนอแนะในการวิจัยต่อไป



                           1.6) ส่วนอ้างอิงและผนวก (References and Appendix) ส่วนอ้างอิงประกอบด้วยบรรณานุกรมและเชิงอรรถตลอดจนบันทึกหรือหมายเหตุของผู้วิจัยส่วนที่เป็นผนวกคือส่วนที่ผู้วิจัยนำเสนอสาระที่ผู้อ่านควรได้รับรู้เพิ่มเติมนอกเหนือจากที่นำเสนอในบทความเช่นตัวอย่างเครื่องมือวิจัยเป็นต้น



                      2) การนำเสนอผลงานวิจัยด้วยโปสเตอร์โปสเตอร์ ทำหน้าที่บอกเรื่องราวของผลงานวิจัยนักวิจัยมีหน้าที่ นำเสนอ อธิบายเพิ่มเติม และตอบคำถามแก่ผู้ชม



                      โปสเตอร์นำเสนอผลงานวิจัยมีองค์ประกอบ 5 ส่วนคือ



                           2.1) ชื่อเรื่อง (Title) เป็นข้อความระบุวัตถุประสงค์หลักของการวิจัยตัวแปรในการวิจัยและบริบทของงานวิจัย



                           2.2) บทคัดย่อ (Summary) บทคัดย่อเป็นเนื้อหาสาระสรุปของงานวิจัยโดยมากนิยมเขียนเพียง 3 ประโยคคือวัตถุประสงค์การวิจัยวิธีการวิจัยและผลการวิจัยเพื่อให้ผู้อ่านเห็นภาพรวมของงานวิจัยทั้งเรื่อง



                           2.3) บทนำและเอกสารที่เกี่ยวข้อง (Introduction and Related Literature) เป็นข้อความที่อธิบายถึงความเป็นมาของปัญหาวิจัยความสำคัญของงานวิจัยทฤษฎีและผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้องซึ่งนักวิจัยสังเคราะห์สรุปสร้างเป็นกรอบแนวคิดและสมมติฐานวิจัย



                           2.4) วิธีดำเนินการวิจัย (Research Methods) กรณีการวิจัยเชิงปริมาณประกอบด้วยประชากรและกลุ่มตัวอย่างตัวแปรและเครื่องมือวิจัยวิธีการรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลกรณีการวิจัยเชิงคุณภาพประกอบด้วยการบรรยายภาคสนาม (Field) ที่ศึกษาการเลือกและลักษณะของกรณี (Case) ที่ศึกษาขอบข่ายของข้อมูลวิธีการและเครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลและการวิเคราะห์ข้อมูล



                           2.5) ผลการวิจัย (Research Results) เป็นการเสนอสาระส่วนที่เป็นสรุปผลการวิจัยและการอภิปรายผลการวิจัยรวมทั้งข้อเสนอแนะเชิงนโยบายและข้อเสนอแนะในการวิจัยต่อไป



                      3) การนำเสนอผลงานวิจัยด้วยวาจา คือ



                           3.1) รายงานวิจัยในรูปบทความวิจัยที่มีความยาวและรูปแบบการพิมพ์ตามข้อกำหนดของการประชุมทางวิชาการ



                           3.2) สไลด์หรือ Power Point สำหรับใช้ประกอบการนำเสนอผลงานวิจัยด้วยวาจาและ/หรือ 3) สำเนาเอกสารของสไลด์หรือ Power Point



                           โดยทั่วไปสไลด์ผลงานวิจัยที่ใช้ประกอบการนำเสนอผลงานวิจัยเชิงปริมาณด้วยวาจาควรประกอบด้วยสไลด์ 7 แผ่นดังนี้ 1) ชื่อผลงานและชื่อนักวิจัย 2) ปัญหาวิจัยและความสำคัญ/ประโยชน์ของผลงานวิจัย 3) ความเกี่ยวข้องระหว่างงานวิจัยและเอกสารที่เกี่ยวข้อง 4) กรอบแนวคิดรวมทั้งสมมุติฐานวิจัย 5) แบบแผนวิจัยตัวแปรเครื่องมือวัดและคุณภาพเครื่องมือการรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูล 6) ผลการวิจัยที่สำคัญและ 7) สรุปผลงานวิจัย



                      4) วิธีการถ่ายทอดเทคโนโลยี เพื่อให้ผู้รับได้เรียนรู้เทคโนโลยีและนำไปใช้ได้จริง ต้องประกอบด้วย



                           4.1) การฝึกอบรม ต้องประกอบด้วยการให้ให้ความรู้ ผ่านภาพ เสียง หรือสื่ออื่น ๆ จากเจ้าของเทคโนโลยี การฝึกปฏิบัติให้เกิดความชำนาญในเทคโนโลยีเรื่องนั้น ๆ



                           4.2) เอกสารต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยี เช่น แบบแปลน พิมพ์เขียว การออกแบบและวิธีการประกอบผลิตภัณฑ์ ข้อกำหนดทางเทคนิค รายการวัสดุต่าง ๆ ที่ใช้ทำผลิตภัณฑ์ การควบคุมคุณภาพ สูตร และผังกระบวนการผลิต คู่มือการปฏิบัติงาน คู่มือการเดินเครื่องจักรและบำรุงรักษา ฯลฯ



                           4.3) การให้คำปรึกษาเพิ่มเติม /ความช่วยเหลือทางเทคนิค ภายหลังการถ่ายทอดเทคโนโลยี เพื่อให้มีความรู้และทักษะเพียงพอที่จะนำไปใช้ประโยชน์ได้จริง



                      5) แผนการเผยแพร่เทคโนโลยี และนวัตกรรมการเกษตร เป็นแผนการดำเนินการถ่ายทอดเทคโนโลยี นวัตกรรมทางการเกษตรที่กำหนดระยะเวลา กลุ่มเป้าหมาย รูปแบบและวิธีการถ่ายทอดที่ชัดเจน



                      6) การติดตามประเมินผลการเผยแพร่ เป็นการรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มเป้าหมายผู้รับเทคโนโลยี ในประเด็นความน่าสนใจความเป็นประโยชน์ของเทคโนโลยี ผลการนำเทคโนโลยีไปใช้งาน

และสรุปผลการประเมินเป็นเอกสารหรือรายงาน


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

          18.1 เครื่องมือประเมินการวิเคราะห์กลุ่มผู้ใช้ประโยชน์เทคโนโลยี และนวัตกรรรมการเกษตร



                  1) การสอบข้อเขียน แบบปรนัย 4 ตัวเลือก



                  2) การสัมภาษณ์



          18.2 เครื่องมือประเมินการจัดทำสื่อสำหรับการเผยแพร่เทคโนโลยี และนวัตกรรรมการเกษตร



                  1) การสอบข้อเขียน แบบปรนัย 4 ตัวเลือก



                  2) การสัมภาษณ์



                  3) แฟ้มสะสมผลงาน ประกอบด้วยหลักฐานจากผลงานเชิงประจักษ์ ได้แก่



                      - คู่มือ หรือเอกสารการใช้ประโยชน์เทคโนโลยี และนวัตกรรมทางการเกษตร



          18.3 เครื่องมือประเมินการดำเนินการเผยแพร่เทคโนโลยี และนวัตกรรรมการเกษตรที่พัฒนาขึ้นแก่ กลุ่มเป้าหมาย



                  1) การสอบข้อเขียน แบบปรนัย 4 ตัวเลือก



                  2) การสัมภาษณ์



                  3) แฟ้มสะสมผลงาน ประกอบด้วยหลักฐานจากผลงานเชิงประจักษ์ ได้แก่



                      - เอกสารประกอบการนำเสนอผลงานในการประชุมทางวิชาการ



                      - บทความทางวิชาการที่เผยแพร่ในวารสารทางวิชาการ หนังสือประมวลผลการประชุมทางวิชาการ (Proceedings) ของการประชุมทางวิชาการในระดับชาติ หรือระดับนานาชาติ อาจจัดทำเป็นรูปเล่มสิ่งพิมพ์ หรือเป็นสื่ออิเลคทรอนิกส์



                      - หนังสือเชิญเป็นวิทยากร



                      - รายงานผลการเผยแพร่เทคโนโลยี และนวัตกรรมทางการเกษตร



                      - รายงานผลการติดตามและประเมินการเผยแพร่เทคโนโลยีและนวัตกรรมทางการเกษตร



                      - ภาพถ่ายกิจกรรมการเผยแพร่เทคโนโลยีและนวัตกรรมทางการเกษตร



ยินดีต้อนรับ