หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

บริหารงานขนส่งสินค้าทางถนน

สาขาวิชาชีพโลจิสติกส์


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ LOG-TRS-7-089ZA

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ บริหารงานขนส่งสินค้าทางถนน

3. ทบทวนครั้งที่ 1 / 2562

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

ผู้บริหารงานขนส่งสินค้าทางถนน



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
    บุคคลที่ทำหน้าที่บริหารงานขนส่งสินค้าทางถนน ซึ่งจะต้องปฏิบัติงานเกี่ยวกับการบริหารจัดการคุณภาพในการให้บริการ การบริหารจัดการลูกค้าสัมพันธ์ การบริหารจัดการความรับผิดชอบต่อสังคม และสิ่งแวดล้อม การจัดการบริหารงบประมาณ และการจัดการบุคลากรในการขนส่งสินค้าทางถนน

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
กลุ่มวิชาชีพโลจิสติกส์

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
210191 บริหารจัดการคุณภาพในการให้บริการ 1.กำหนดเกณฑ์การประเมินคุณภาพการให้บริการจัดการขนส่งสินค้าทางถนนอย่างมีประสิทธิภาพ 210191.01 91828
210191 บริหารจัดการคุณภาพในการให้บริการ 2 จัดทำรายงานการจัดการคุณภาพการให้บริการการขนส่งสินค้าทางถนนอย่างถูกต้องครบถ้วน 210191.02 91829
210192 บริหารจัดการลูกค้าสัมพันธ์ 1.นำข้อมูลการบริการลูกค้ามาวิเคราะห์และแบ่งกลุ่มตามลักษณะความต้องของลูกค้าได้อย่างถูกต้อง 210192.01 91830
210192 บริหารจัดการลูกค้าสัมพันธ์ 2. ดำเนินการบริหารลูกค้าสัมพันธ์อย่างมีประสิทธิภาพ 210192.02 91831
210192 บริหารจัดการลูกค้าสัมพันธ์ 3. จัดทำรายงานผลการจัดการลูกค้าสัมพันธ์อย่างถูกต้องครบถ้วน 210192.03 91832
210193 บริหารจัดการความรับผิดชอบต่อสังคม และสิ่งแวดล้อม 1.กำหนดนโยบายความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมอย่างครบถ้วน 210193.01 91833
210193 บริหารจัดการความรับผิดชอบต่อสังคม และสิ่งแวดล้อม 2.ให้บริการขนส่งสินค้าทางถนนปฏิบัติตามนโยบายความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมอย่างถูกต้อง 210193.02 91834
210193 บริหารจัดการความรับผิดชอบต่อสังคม และสิ่งแวดล้อม 3. จัดทำรายงานการจัดการความรับผิดชอบต่อสังคม และสิ่งแวดล้อมอย่างถูกต้องครบถ้วน 210193.03 91835
210194 จัดการบริหารงบประมาณ 1.วางแผนงบประมาณอย่างถูกต้องตามนโยบายที่กำหนด 210194.01 91836
210194 จัดการบริหารงบประมาณ 2. ควบคุมการใช้จ่ายตามแผนงบประมาณอย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพ 210194.02 91837
210194 จัดการบริหารงบประมาณ 3.จัดทำรายงานบริหารงบประมาณได้อย่างถูกต้องและตรวจสอบได้ 210194.03 91838
210195 จัดการบุคลากรในการขนส่งสินค้าทางถนน 1.ชี้แจงและทำความเข้าใจขั้นตอน และการพัฒนาบุคลากรให้กับบุคลากรในการขนส่งสินค้าทางถนนตามนโยบายที่กำหนด 210195.01 91839
210195 จัดการบุคลากรในการขนส่งสินค้าทางถนน 2.จัดทำรายงานการบริหารจัดการบุคลากรในการขนส่งสินค้าทางถนนอย่างถูกต้องครบถ้วน 210195.02 91840

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

N/A


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1. ปฏิบัติการบริหารจัดการคุณภาพในการให้บริการ



   1.1 สามารถกำหนดเกณฑ์การประเมินคุณภาพการให้บริการจัดการขนส่งสินค้าทางถนนอย่างมีประสิทธิภาพ



   1.2 สามารถจัดทำรายงานการจัดการคุณภาพการให้บริการการขนส่งสินค้าทางถนนอย่างถูกต้องครบถ้วน



2. ปฏิบัติการบริหารจัดการลูกค้าสัมพันธ์



   2.1 สามารถนำข้อมูลการบริการลูกค้ามาวิเคราะห์และแบ่งกลุ่มตามลักษณะความต้องของลูกค้าได้อย่างถูกต้อง



   2.2 สามารถดำเนินการบริหารลูกค้าสัมพันธ์อย่างมีประสิทธิภาพ



   2.3 สามารถจัดทำรายงานผลการจัดการลูกค้าสัมพันธ์อย่างถูกต้องครบถ้วน



3. ปฏิบัติการบริหารจัดการความรับผิดชอบต่อสังคม และสิ่งแวดล้อม



   3.1 สามารถกำหนดนโยบายความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมอย่างครบถ้วน



   3.2 สามารถให้บริการขนส่งสินค้าทางถนนปฏิบัติตามนโยบายความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมอย่างถูกต้อง



   3.3 สามารถจัดทำรายงานการจัดการความรับผิดชอบต่อสังคม และสิ่งแวดล้อมอย่างถูกต้องครบถ้วน



4. ปฏิบัติการจัดการบริหารงบประมาณ



   4.1 สามารถวางแผนงบประมาณอย่างถูกต้องตามนโยบายที่กำหนด



   4.2 สามารถควบคุมการใช้จ่ายตามแผนงบประมาณอย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพ



   4.3 สามารถจัดทำรายงานบริหารงบประมาณได้อย่างถูกต้องและตรวจสอบได้



5. ปฏิบัติการจัดการบุคลากรในการขนส่งสินค้าทางถนน



   5.1 สามารถชี้แจงและทำความเข้าใจขั้นตอน และการพัฒนาบุคลากรให้กับบุคลากรในการขนส่งสินค้าทางถนนตามนโยบายที่กำหนด



   5.2 สามารถจัดทำรายงานการบริหารจัดการบุคลากรในการขนส่งสินค้าทางถนนอย่างถูกต้องครบถ้วน

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1. การจัดการคุณภาพในการให้บริการ



  2. การบริหารลูกค้าสัมพันธ์



  3. การจัดการขนส่งสินค้าทางถนน



  4. ความรับผิดชอบต่อสังคม และสิ่งแวดล้อม



  5. การบริหารงบประมาณ



  6. หลักการบริหารจัดการบุคลากร



  7. การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์



  8. การวิเคราะห์ค่างาน


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

     หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมิน และควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และ ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)



(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)



   1. เอกสารรับรองการปฏิบัติงานหรือผลการประเมินการปฏิบัติงานจากสถานประกอบการ



   2. เอกสารการประเมินตามหน่วยสมรรถนะครอบคลุมคุณวุฒิวิชาชีพ



(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)



   1. เอกสารรับรองการผ่านการอบรมที่เกี่ยวข้องกับการบริหารงานขนส่งสินค้าทางถนน



   2. เอกสารรับรองการผ่านการสอบข้อเขียนหรือผลการทดสอบความรู้



(ค) คำแนะนำในการประเมิน



    ประเมินเกี่ยวกับการบริหารงานขนส่งสินค้าทางถนน โดยพิจารณาจากหลักฐานที่เกี่ยวข้อง ทั้งหลักฐานการปฏิบัติงานและหลักฐานด้านความรู้



(ง) วิธีการประเมิน



    1. พิจารณาหลักฐานความรู้



       2. พิจารณาหลักฐานการปฏิบัติงาน


15. ขอบเขต (Range Statement)

    ขอบเขตอธิบายถึงขอบเขตของการปฏิบัติงาน และสภาพแวดล้อมอื่น ๆ หรือสถานการณ์อื่น ๆ ที่มีผลกระทบต่อการทำงาน รวมถึงเครื่องมือ อุปกรณ์ เทคโนโลยี ทรัพยากรที่ใช้ หรือข้อกำหนดอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง



(ก) คำแนะนำ



    การบริหารงานขนส่งสินค้าทางถนน ผู้เข้ารับการประเมินจะต้องแสดงเกี่ยวกับการบริหารจัดการคุณภาพในการให้บริการ การบริหารจัดการลูกค้าสัมพันธ์ การบริหารจัดการความรับผิดชอบต่อสังคม และสิ่งแวดล้อม การจัดการบริหารงบประมาณ และการจัดการบุคลากรในการขนส่งสินค้าทางถนน



(ข) คำอธิบายรายละเอียด



   1. การบริหารจัดการคุณภาพในการให้บริการ เป็นกิจกรรมหรือกระบวนการที่ต่อเนื่องในการเน้นคุณภาพและการปรับปรุงคุณภาพของการนำงานทุกส่วนกิจกรรม ตลอดทั้งวงจรทุกขั้นตอนของการทำงาน ซึ่งการปรับปรุงคุณภาพเป็นหน้าที่ของทุกคนเป้าหมายที่สำคัญคือการมุ่งทำให้เกิดความพึ่งพอใจของลูกค้าภายในและภายนอก ซึ่งมีส่วนประกอบ 3 ด้าน คือ การให้ความสำคัญกับลูกค้า การพัฒนาอย่างต่อเนื่อง และการมีส่วนร่วมในองค์กร โดยจะต้องกำหนดเกณฑ์การประเมินคุณภาพการให้บริการจัดการขนส่งสินค้าทางถนน และจัดทำรายงานการจัดการคุณภาพการให้บริการการขนส่งสินค้าทางถนนอย่างครบถ้วน



   2. การบริหารจัดการลูกค้าสัมพันธ์ เป็นการผสมผสานของนโยบาย กระบวนการ และกลยุทธ์ที่ถูกนำมาปฏิบัติโดยองค์กร เพื่อให้เกิดเอกภาพของการมีปฏิสัมพันธ์กับลูกค้า และเพื่อให้เครื่องมือสำหรับการค้นหาข้อมูล ข่าวสารของลูกค้า ซึ่งจะรวมไปถึงการใช้เทคโนโลยีในการหาลูกค้าใหม่ที่น่าสนใจและสามารถช่วยให้ธุรกิจมีกำไรเพิ่มขึ้น ซึ่งประกอบด้วย การรวบรวม จัดเก็บ และการเรียกใช้ซึ่งข้อมูล ข่าวสารเกี่ยวกับลูกค้าและปฏิสัมพันธ์ที่มีกับลูกค้าของแต่ละแผนกในองค์กร เป้าหมายหลักที่มีอยู่เดิมของการทำ CRM ก็คือ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของบริการที่มีให้กับลูกค้า และเพื่อใช้ข้อมูล ข่าวสารที่ได้รับจากการติดต่อกับลูกค้าสำหรับการทำการตลาดกับกลุ่มเป้าหมาย  โดยจะต้องนำข้อมูลการบริการลูกค้ามาวิเคราะห์และแบ่งกลุ่มตามลักษณะความต้องของลูกค้า และดำเนินการบริหารลูกค้าสัมพันธ์  รวมถึงจัดทำรายงานผลการจัดการลูกค้าสัมพันธ์



   3. การบริหารจัดการความรับผิดชอบต่อสังคม และสิ่งแวดล้อม ในปัจจุบันทั่วโลกต่างความสนใจในเรื่องของความรับผิดชอบต่อสังคมได้ขยายตัวอย่างมากในทุก ๆ ภาคส่วนไม่ว่าจะเป็นในหน่วยงานของภาครัฐ หรือเอกชน ล้วนให้ความสนใจ และดำเนินกิจกรรมในรูปแบบต่าง ๆ ที่แสดงถึงความใส่ใจ ห่วงใย ช่วยเหลือ และพัฒนาสังคม ให้มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ทั้งสังคมภายในองค์กร สังคมโดยรอบข้าง สังคมระดับประเทศและสังคมโลก โดยใช้มาตรฐาน ISO 26000 เป็นมาตรฐานที่ได้รับการพัฒนาขึ้นมาโดย ISO (the International Organization for Standardization) เพื่อใช้เป็นแนวทางสำหรับองค์กรต่าง ๆ ในการพัฒนาความรับผิดชอบต่อสังคมให้เกิดขึ้นกับองค์กร ดังนั้นการบริหารจัดการความรับผิดชอบต่อสังคม และสิ่งแวดล้อม จะต้องกำหนดนโยบายความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม  การให้บริการขนส่งสินค้าทางถนนปฏิบัติตามนโยบายความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม  และจัดทำรายงานการจัดการความรับผิดชอบต่อสังคม และสิ่งแวดล้อม



   4. การจัดการบริหารงบประมาณ โดยงบประมาณ มี 2 ประเภท คือ งบประมาณระยะสั้นและงบประมาณระยะยาว งบประมาณระยะสั้น (Short-term Budgets) หมายถึง งบประมาณที่มีระยะเวลาไม่เกิน 1 ปี ส่วนงบประมาณระยะยาว (Long-term Budgets) หมายถึง งบประมาณที่มีระยะเวลาเกิน 1 ปี ขึ้นไปงบประมาณระยะสั้น ซึ่งในทางบัญชีบริหาร เรียกว่า งบประมาณหลัก



        งบประมาณหลัก (Master Budget) หมายถึง งบประมาณที่จัดทำขึ้น เพื่อดูผลการดำเนินงานทั้งหมดของกิจการสำหรับระยะเวลาใดเวลาหนึ่งในอนาคตที่ไม่เกิน 1 ปี งบประมาณหลัก ประกอบด้วย 2 ส่วน ส่วนที่ 1 คือ งบประมาณดำเนินงาน และส่วนที่ 2 คือ งบประมาณการเงิน  โดยการจัดการบริหารงบประมาณจะต้องวางแผนงบประมาณตามนโยบายที่กำหนด  การควบคุมการใช้จ่ายตามแผนงบประมาณอย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพ  และจัดทำรายงานบริหารงบประมาณได้อย่างถูกต้องและตรวจสอบได้



   5. การจัดการบุคลากรในการขนส่งสินค้าทางถนน เป็นกระบวนการที่เกี่ยวข้องกับบุคคลตั้งแต่ก่อนการบรรจุ จนพ้นจากหน้าที่อย่างมีประสิทธิภาพและประสานประโยชน์ระหว่างบุคคลและองค์การ ภารกิจในการบริหารบุคคลจะประกอบด้วย การวางแผนบุคลากร การสรรหาและการคัดเลือก การบรรจุและปฐมนิเทศ  การพัฒนาและการฝึกอบรม การประเมินผลการปฏิบัติงาน การเปลี่ยนแปลงตำแหน่ง บริหารค่าตอบแทนและผลประโยชน์ และการให้พ้นจากงาน โดยในการปฏิบัติจะต้องชี้แจงและทำความเข้าใจขั้นตอน และการพัฒนาบุคลากรให้กับบุคลากรในการขนส่งสินค้าทางถนนตามนโยบายที่กำหนด และจัดทำรายงานการบริหารจัดการบุคลากรในการขนส่งสินค้าทางถนนอย่างถูกต้องครบถ้วน


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A 

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A 

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

1. เครื่องมือการประเมิน



      1. แบบประเมินความรู้ ใช้แบบทดสอบปรนัย หรือ แบบทดสอบอัตนัย



    2. แบบประเมินสัมภาษณ์



    3. แบบประเมินโดยใช้แฟ้มสะสมผลงาน



           ดูรายละเอียดจากคู่มือการประเมิน



2. เครื่องมือการประเมิน



      1. แบบประเมินความรู้ ใช้แบบทดสอบปรนัย หรือ แบบทดสอบอัตนัย



   2. แบบประเมินสัมภาษณ์



   3. แบบประเมินโดยใช้แฟ้มสะสมผลงาน



      ดูรายละเอียดจากคู่มือการประเมิน



3. เครื่องมือการประเมิน



      1. แบบประเมินความรู้ ใช้แบบทดสอบปรนัย หรือ แบบทดสอบอัตนัย



    2. แบบประเมินสัมภาษณ์



    3. แบบประเมินโดยใช้แฟ้มสะสมผลงาน



           ดูรายละเอียดจากคู่มือการประเมิน



4. เครื่องมือการประเมิน



      1. แบบประเมินความรู้ ใช้แบบทดสอบปรนัย หรือ แบบทดสอบอัตนัย



    2. แบบประเมินสัมภาษณ์



    3. แบบประเมินโดยใช้แฟ้มสะสมผลงาน



 ดูรายละเอียดจากคู่มือการประเมิน



5. เครื่องมือการประเมิน



      1. แบบประเมินความรู้ ใช้แบบทดสอบปรนัย หรือ แบบทดสอบอัตนัย



    2. แบบประเมินสัมภาษณ์



    3. แบบประเมินโดยใช้แฟ้มสะสมผลงาน



           ดูรายละเอียดจากคู่มือการประเมิน



ยินดีต้อนรับ