หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ดำเนินการแก้ไขเมื่อเกิดอุบัติเหตุจากการขนส่งสินค้าทางถนน

สาขาวิชาชีพโลจิสติกส์


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ LOG-TRS-5-083ZA

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ดำเนินการแก้ไขเมื่อเกิดอุบัติเหตุจากการขนส่งสินค้าทางถนน

3. ทบทวนครั้งที่ 1 / 2562

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

ผู้บริหารงานขนส่งสินค้าทางถนน



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
     บุคคลที่ทำหน้าที่บริหารงานขนส่งสินค้าทางถนน ซึ่งจะต้องปฏิบัติงานเกี่ยวกับการวางแผนวิเคราะห์ความเสี่ยงจากการขนส่งสินค้าทางถนน การวิเคราะห์ความเสียหายและสาเหตุจากการขนส่งสินค้าทางถนน การดำเนินการแก้ไขเมื่อเกิดอุบัติเหตุจากการขนส่งสินค้าทางถนน การเสนอรายงานความเสียหายและความรุนแรงจากการขนส่งสินค้าทางถนน และเสนอแนะแนวทางแก้ไขการเกิดอุบัติเหตุจากการขนส่งสินค้าทางถนน

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
กลุ่มวิชาชีพโลจิสติกส์

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
210131 วางแผนวิเคราะห์ความเสี่ยงจากการขนส่งสินค้าทางถนน 1.กำหนดแผนการวิเคราะห์ความเสี่ยงจากการขนส่งสินค้าทางถนนอย่างครบถ้วน 210131.01 91785
210131 วางแผนวิเคราะห์ความเสี่ยงจากการขนส่งสินค้าทางถนน 2. รายงานแผนวิเคราะห์ความเสี่ยงการขนส่งสินค้าทางถนนเป็นไปตามข้อกำหนดการขนส่งสินค้าทางถนน 210131.02 91786
210132 วิเคราะห์ความเสียหายและสาเหตุจากการขนส่งสินค้าทางถนน 1.วิเคราะห์ความเสียหายและสาเหตุขนส่งสินค้าทางถนนได้อย่างถูกต้อง 210132.01 91787
210132 วิเคราะห์ความเสียหายและสาเหตุจากการขนส่งสินค้าทางถนน 2.รายงานการวิเคราะห์ความเสียหายและสาเหตุจากการขนส่งสินค้าทางถนนมีความถูกต้องครบถ้วน 210132.02 91788
210132 วิเคราะห์ความเสียหายและสาเหตุจากการขนส่งสินค้าทางถนน 3. จัดทำแนวทางการแก้ไขปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพ 210132.03 91789
210133 ดำเนินการแก้ไขเมื่อเกิดอุบัติเหตุจากการขนส่งสินค้าทางถนน 1.จัดเตรียมเครื่องมือ วัสดุ อุปกรณ์ที่ใช้ดำเนินการระหว่างการเกิดอุบัติเหตุการขนส่งสินค้าทางถนนไว้อย่างครบถ้วน 210133.01 91790
210133 ดำเนินการแก้ไขเมื่อเกิดอุบัติเหตุจากการขนส่งสินค้าทางถนน 2.จัดทำรายงานการดำเนินการแก้ไขเมื่อเกิดอุบัติเหตุการขนส่งสินค้าทางถนนได้ถูกต้องตามมาตรฐานการขนส่งสินค้าทางถนน 210133.02 91791
210134 เสนอรายงานความเสียหายและความรุนแรงจากการขนส่งสินค้าทางถนน 1.ตรวจสอบความเสียหายและความรุนแรงการจากขนส่งอย่างครบถ้วน 210134.01 91792
210134 เสนอรายงานความเสียหายและความรุนแรงจากการขนส่งสินค้าทางถนน 2. จัดทำรายงานสรุปผลความเสียหายและความรุนแรงจากการขนส่งสินค้าทางถนนได้ถูกต้องตามมาตรฐานการขนส่งสินค้าทางถนน 210134.02 91793
210135 เสนอแนะแนวทางแก้ไขการเกิดอุบัติเหตุจากการขนส่งสินค้าทางถนน 1.จัดทำข้อเสนอแนะแนวทางแก้ไขการเกิดอุบัติเหตุการขนส่งสินค้าทางถนนได้อย่างประสิทธิภาพ 210135.01 91794
210135 เสนอแนะแนวทางแก้ไขการเกิดอุบัติเหตุจากการขนส่งสินค้าทางถนน 2. เสนอแนะแนวทางแก้ไขการเกิดอุบัติเหตุขนส่งนำไปใช้ในการปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ 210135.02 91795

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

N/A


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1. ปฏิบัติการวางแผนวิเคราะห์ความเสี่ยงจากการขนส่งสินค้าทางถนน



   1.1 สามารถกำหนดแผนการวิเคราะห์ความเสี่ยงจากการขนส่งสินค้าทางถนนอย่างครบถ้วน



   1.2 สามารถรายงานแผนวิเคราะห์ความเสี่ยงการขนส่งสินค้าทางถนนเป็นไปตามมาตรฐานการขนส่งสินค้าทางถนน



2. ปฏิบัติการวิเคราะห์ความเสียหายและสาเหตุจากการขนส่งสินค้าทางถนน



   2.1 สามารถวิเคราะห์ความเสียหายและสาเหตุขนส่งสินค้าทางถนนได้อย่างถูกต้อง



   2.2 สามารถรายงานการวิเคราะห์ความเสียหายและสาเหตุจากการขนส่งสินค้าทางถนนมีความถูกต้อง ครบถ้วน



   2.3 สามารถจัดทำแนวทางการแก้ไขปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพ



3. ปฏิบัติการดำเนินการแก้ไขเมื่อเกิดอุบัติเหตุจากการขนส่งสินค้าทางถนน



  3.1 สามารถจัดเตรียมเครื่องมือ วัสดุ อุปกรณ์ ที่ใช้ดำเนินการระหว่างการเกิดอุบัติเหตุการขนส่งสินค้าทางถนนไว้อย่างครบถ้วน



  3.2 สามารถจัดทำรายงานการดำเนินการแก้ไขเมื่อเกิดอุบัติเหตุการขนส่งสินค้าทางถนนได้ถูกต้องตามมาตรฐานการขนส่งสินค้าทางถนน



4. ปฏิบัติการเสนอรายงานความเสียหายและความรุนแรงจากการขนส่งสินค้าทางถนน



  4.1 สามารถตรวจสอบความเสียหายและความรุนแรงการจากขนส่งอย่างครบถ้วน



  4.2 สามารถจัดทำรายงานสรุปผลความเสียหายและความรุนแรงจากการขนส่งสินค้าทางถนนได้ถูกต้องตามมาตรฐานการขนส่งสินค้าทางถนน



5. ปฏิบัติการเสนอแนะแนวทางแก้ไขการเกิดอุบัติเหตุจากการขนส่งสินค้าทางถนน



  5.1 สามารถจัดทำข้อเสนอแนะแนวทางแก้ไขการเกิดอุบัติเหตุการขนส่งสินค้าทางถนนได้อย่างประสิทธิภาพ



  5.2 สามารถเสนอแนะแนวทางแก้ไขการเกิดอุบัติเหตุขนส่ง นำไปใช้ในการปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1. การวางแผนวิเคราะห์ความเสี่ยง



2. การวิเคราะห์ความเสียหาย



3. การวิเคราะห์สาเหตุและการดำเนินการแก้ไขเมื่อเกิดอุบัติเหตุ



4. เทคนิคการรายงานความเสียหายและความรุนแรง


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

        หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมิน และควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และ ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)



(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)



      1. เอกสารรับรองการปฏิบัติงานหรือผลการประเมินการปฏิบัติงานจากสถานประกอบการ



      2. เอกสารการประเมินตามหน่วยสมรรถนะครอบคลุมคุณวุฒิวิชาชีพ



(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)



     1. เอกสารรับรองการผ่านการอบรมที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินการแก้ไขเมื่อเกิดอุบัติเหตุจากการขนส่งสินค้าทางถนน



     2. เอกสารรับรองการผ่านการสอบข้อเขียนหรือผลการทดสอบความรู้



(ค) คำแนะนำในการประเมิน



      ประเมินเกี่ยวกับการดำเนินการแก้ไขเมื่อเกิดอุบัติเหตุจากการขนส่งสินค้าทางถนน โดยพิจารณาจากหลักฐานที่เกี่ยวข้อง ทั้งหลักฐานการปฏิบัติงานและหลักฐานด้านความรู้



(ง) วิธีการประเมิน



     1. พิจารณาหลักฐานความรู้



          2. พิจารณาหลักฐานการปฏิบัติงาน


15. ขอบเขต (Range Statement)

    ขอบเขตอธิบายถึงขอบเขตของการปฏิบัติงาน และสภาพแวดล้อมอื่น ๆ หรือสถานการณ์อื่น ๆ ที่มีผลกระทบต่อการทำงาน รวมถึงเครื่องมือ อุปกรณ์ เทคโนโลยี ทรัพยากรที่ใช้ หรือข้อกำหนดอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง



(ก) คำแนะนำ



     การปฏิบัติดำเนินการแก้ไขเมื่อเกิดอุบัติเหตุจากการขนส่งสินค้าทางถนน ผู้เข้ารับการประเมินจะต้องแสดงเกี่ยวกับการวางแผนวิเคราะห์ความเสี่ยงจากการขนส่งสินค้าทางถนน การวิเคราะห์ความเสียหายและสาเหตุจากการขนส่งสินค้าทางถนน การดำเนินการแก้ไขเมื่อเกิดอุบัติเหตุจากการขนส่งสินค้าทางถนน การเสนอรายงานความเสียหายและความรุนแรงจากการขนส่งสินค้าทางถนน และเสนอแนะแนวทางแก้ไขการเกิดอุบัติเหตุจากการขนส่งสินค้าทางถน



(ข) คำอธิบายรายละเอียด



    1. การวางแผนวิเคราะห์ความเสี่ยงจากการขนส่งสินค้าทางถนน ความเสี่ยงที่จะก่อให้เกิดอุบัติเหตุก็จะลดน้อยลงจนแทบไม่มีโอกาสเกิดขึ้นหากหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงที่อาจจะเกิดอุบัติเหตุ และการเตรียมความพร้อมของผู้ขับขี่ รถยนต์ พฤติกรรมในการขับขี่ การปฏิบัติตามกฎจราจรอย่างเคร่งครัด ซึ่งทั้งหมดกระทำอยู่บนความไม่ประมาทก็ อัตราความเสี่ยงที่จะก่อให้เกิดอุบัติเหตุก็จะลดน้อยลงจนแทบไม่มีโอกาสเกิดขึ้น โดยจะต้องกำหนดแผนการวิเคราะห์ความเสี่ยงจากการขนส่งสินค้าทางถนนอย่างครบถ้วน และรายงานแผนวิเคราะห์ความเสี่ยงการขนส่งสินค้าทางถนนเป็นไปตามข้อกำหนดในการขนส่งสินค้าทางถนน



    2. การวิเคราะห์ความเสียหายและสาเหตุจากการขนส่งสินค้าทางถนน ซึ่งอุบัติเหตุและเหตุฉุกเฉิน สามารถเกิดขึ้นกับผู้ขับขี่รถบรรทุกได้ตลอดเวลา เช่น รถเฉี่ยวชน รถไฟไหม้ รถตกน้ำ รถจมน้ำ รถเสียขณะเดินทาง และรถถูกปล้น โดยจะต้องวิเคราะห์ความเสียหายและสาเหตุขนส่งสินค้าทางถนนและรายงานการวิเคราะห์ความเสียหายและสาเหตุจากการขนส่งสินค้าทางถนน รวมถึงจัดทำแนวทางการแก้ไขปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพ



    3. การดำเนินการแก้ไขเมื่อเกิดอุบัติเหตุจากการขนส่งสินค้าทางถนน จะต้องจัดเตรียมเครื่องมือ วัสดุ อุปกรณ์ ที่ใช้ดำเนินการระหว่างการเกิดอุบัติเหตุการขนส่งสินค้าทางถนน และจัดทำรายงานการดำเนินการแก้ไขเมื่อเกิดอุบัติเหตุการขนส่งสินค้าทางถนนได้ถูกต้องตามมาตรฐานการขนส่งสินค้าทางถนน



    4. การเสนอรายงานความเสียหายและความรุนแรงจากการขนส่งสินค้าทางถนน จะต้องตรวจสอบความเสียหายและความรุนแรงการจากขนส่ง และจัดทำรายงานสรุปผลความเสียหายและความรุนแรงจากการขนส่งสินค้าทางถนนได้ถูกต้องตามมาตรฐานการขนส่งสินค้าทางถนน พร้อมทั้งเสนอแนะแนวทางแก้ไขการเกิดอุบัติเหตุจากการขนส่งสินค้าทางถนน โดยจะต้องจัดทำข้อเสนอแนะแนวทางแก้ไขการเกิดอุบัติเหตุการขนส่งสินค้าทางถนนและเสนอแนะแนวทางแก้ไขการเกิดอุบัติเหตุขนส่ง นำไปใช้ในการปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A 

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A 

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

1. เครื่องมือการประเมิน



      1. แบบประเมินความรู้ ใช้แบบทดสอบปรนัย หรือ แบบทดสอบอัตนัย



      2. แบบประเมินการสัมภาษณ์จากกรณีศึกษา



   ดูรายละเอียดจากคู่มือการประเมิน



2. เครื่องมือการประเมิน



     1. แบบประเมินความรู้ ใช้แบบทดสอบปรนัย หรือ แบบทดสอบอัตนัย



     2. แบบประเมินการสัมภาษณ์จากกรณีศึกษา



           ดูรายละเอียดจากคู่มือการประเมิน



3. เครื่องมือการประเมิน



      1. แบบประเมินความรู้ ใช้แบบทดสอบปรนัย หรือ แบบทดสอบอัตนัย



      2. แบบประเมินการสัมภาษณ์จากกรณีศึกษา



           ดูรายละเอียดจากคู่มือการประเมิน



4. เครื่องมือการประเมิน



     1. แบบประเมินความรู้ ใช้แบบทดสอบปรนัย หรือ แบบทดสอบอัตนัย



      2. แบบประเมินการสัมภาษณ์จากกรณีศึกษา



           ดูรายละเอียดจากคู่มือการประเมิน



5. เครื่องมือการประเมิน



       1. แบบประเมินความรู้ ใช้แบบทดสอบปรนัย หรือ แบบทดสอบอัตนัย



        2. แบบประเมินการสัมภาษณ์จากกรณีศึกษา



           ดูรายละเอียดจากคู่มือการประเมิน



 



 



ยินดีต้อนรับ