หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

รับมอบสินค้าสำหรับการนำเข้า

สาขาวิชาชีพโลจิสติกส์


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ LOG-EXX-4-054ZA

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ รับมอบสินค้าสำหรับการนำเข้า

3. ทบทวนครั้งที่ - / -

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

ผู้ผ่านชำนาญการพิธีการศุลกากร



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
    บุคคลที่ทำหน้าที่ผู้ผ่านพิธีการศุลกากรรับอนุญาต ซึ่งจะต้องปฏิบัติงานเกี่ยวกับการจัดทำเอกสารการรับมอบสินค้านำเข้าเพื่อเป็นหลักฐานการรับมอบให้แก่ลูกค้าประสานงานบริษัทขนส่งสินค้าภายในประเทศเพื่อรับส่งสินค้าจากท่านำเข้าไปถึงลูกค้าตามที่กำหนด

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
3313 ผู้ประกอบวิชาชีพที่เกี่ยวข้องทางด้านบัญชี

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
ไม่ระบุ

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
ระเบียบการผ่านพิธีการศุลกากรการนำเข้าสินค้า

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
03431 จัดทำเอกสารการรับมอบสินค้านำเข้าเพื่อเป็นหลักฐานการรับมอบให้แก่ลูกค้า 1.จัดเตรียมรับมอบเอกสารสินค้านำเข้าตามขั้นตอนการปฏิบัติ 03431.01 91616
03431 จัดทำเอกสารการรับมอบสินค้านำเข้าเพื่อเป็นหลักฐานการรับมอบให้แก่ลูกค้า 2. จัดทำหลักฐานการรับมอบเอกสารสินค้านำเข้าตามขั้นตอนการปฏิบัติ 03431.02 91617
03432 ประสานงานบริษัทขนส่งสินค้าภายในประเทศ เพื่อรับส่งสินค้าจากท่านำเข้าไปถึงลูกค้าตามที่กำห 1.การประสานงานกับบริษัทขนส่งสินค้าภายในประเทศเพื่อรับส่งสินค้าจากท่านำเข้าไปถึงลูกค้าตามวิธีการปฏิบัติ 03432.01 91618
03432 ประสานงานบริษัทขนส่งสินค้าภายในประเทศ เพื่อรับส่งสินค้าจากท่านำเข้าไปถึงลูกค้าตามที่กำห 2.จัดประเภทการขนส่งสินค้า ให้ถูกต้องตามลักษณะการปฏิบัติงาน 03432.02 91619
03433 จัดทำเอกสารควบคุมสินค้าในการขนส่งสินค้าจากท่านำเข้าไปถึงลูกค้า 1.ตรวจสอบรายการสินค้าที่รับจากท่านำเข้าตามรายการสินค้าที่กำหนด 03433.01 91620
03433 จัดทำเอกสารควบคุมสินค้าในการขนส่งสินค้าจากท่านำเข้าไปถึงลูกค้า 2.จัดทำรายการสินค้าที่รับจากท่านำเข้าตามรายการสินค้าที่กำหนด 03433.02 91621

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

ไม่ระบุ


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1. ปฏิบัติการจัดทำเอกสารการรับมอบสินค้านำเข้าเพื่อเป็นหลักฐานการรับมอบให้แก่ลูกค้า

    1.1 สามารถจัดเตรียมรับมอบเอกสารสินค้านำเข้าตามขั้นตอนการปฏิบัติ

    1.2 สามารถจัดทำหลักฐานการรับมอบเอกสารสินค้านำเข้าตามขั้นตอนการปฏิบัติ  

2. ปฏิบัติการประสานงานบริษัทขนส่งสินค้าภายในประเทศ เพื่อรับส่งสินค้าจากท่านำเข้าไปถึงลูกค้าตามที่กำหนด

    2.1 สามารถการประสานงานกับบริษัทขนส่งสินค้าภายในประเทศเพื่อรับส่งสินค้าจากท่านำเข้าไปถึงลูกค้าตามวิธีการปฏิบัติ 

    2.2 สามารถจัดประเภทการขนส่งสินค้า ให้ถูกต้องตามลักษณะการปฏิบัติงาน

3. ปฏิบัติการจัดทำเอกสารควบคุมสินค้าในการขนส่งสินค้าจากท่านำเข้าไปถึงลูกค้า

     3.1 สามารตรวจสอบรายการสินค้าที่รับจากท่านำเข้าตามรายการสินค้าที่กำหนด ถ

     3.3 สามารถจัดทำรายการสินค้าที่รับจากท่านำเข้าตามรายการสินค้าที่กำหนด


(ข) ความต้องการด้านความรู้

1. การจัดทำเอกสารการรับมอบสินค้านำเข้า

2. การวิเคราะห์ประเภทการขนส่งสินค้า

3. คุณสมบัติเฉพาะของสินค้า



14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

   หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมิน และควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และ ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

  1. เอกสารการรับมอบสินค้านำเข้าเพื่อเป็นหลักฐานการรับมอบให้แก่ลูกค้า

  2. เอกสารการประสานงานกับบริษัทขนส่งได้ตามเกณฑ์ที่กำหนด

(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

  1. ใบผ่านการอบรมการจัดทำเอกสารส่งออกและนำเข้าสินค้า

  2. เอกสารรับรองและผลการประเมินจากหน่วยงาน

(ค) คำแนะนำในการประเมิน

   ประเมินเกี่ยวกับการรับมอบสินค้าสำหรับการนำเข้า

(ง) วิธีการประเมิน

  1. พิจารณาหลักฐานความรู้

  2. พิจารณาหลักฐานการปฏิบัติงาน 



15. ขอบเขต (Range Statement)

(ข) คำอธิบายรายละเอียด

   (1) การตรวจสอบของที่มีคำสั่งไม่ต้องตรวจสอบ พิกัด ราคา และของ (Green Line)ใบขนสินค้าที่ไม่ถูกกำหนดเงื่อนไข (Profile) ให้เปิดตรวจและไม่เป็นของประเภทที่ต้องตรวจปล่อยออกไปจากอารักขาของศุลกากรโดยวิธีเปิดตรวจตามประมวลฯ ข้อ 2 01 13 06 จะยกเว้นการตรวจ๓๕๗ โดยระบบคอมพิวเตอร์ศุลกากร จะบันทึกข้อมูล “ไม่ต้องตรวจสอบพิกัด ราคา และของ” (Green Line) พร้อมกับเปลี่ยนสถานะใบขนสินค้าขาเข้าเป็น “ใบขนสินค้าขาเข้าพร้อมส่งมอบของ” โดยอัตโนมัติ และระบบคอมพิวเตอร์ศุลกากรจะแจ้งข้อมูลการสั่งปล่อยไปยังโรงพักสินค้า

    (1.1) ให้ผู้นำของเข้าแจ้งเลขที่ใบตราส่งให้เจ้าหน้าที่โรงพักสินค้าทราบเพื่อติดต่อรับสินค้ากับโรงพักสินค้า

    (1.2) กรณีของที่ใช้สิทธิลด/ยกเว้นอัตราอากร หรือของที่ต้องมีใบอนุญาตนำเข้า หรือของที่ต้องดำเนินการอื่นใดตามกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง ให้ผู้นำของเข้ายื่นเอกสาร เช่น เอกสารแสดงการได้รับสิทธิพิเศษต่างๆ , ใบอนุญาต/ ใบทะเบียน/ หนังสืออนุญาต หรือหนังสือรับรองตามเงื่อนไขของกฎหมายที่เกี่ยวข้องในรูปแบบเอกสารแก่หน่วยบริการศุลกากร ก่อนการน าของออกจากโรงพักสินค้าเว้นแต่กรมศุลกากรได้อนุมัติให้ไม่ต้องยื่นเอกสาร เนื่องจากได้เชื่อมโยงข้อมูลในระบบ National Single Window (NSW) แล้ว

    (1.3) ให้หน่วยบริการศุลกากรลงรับเอกสารไว้ และจัดเจ้าหน้าที่ศุลกากรเพื่อทำการตรวจสอบเบื้องต้นกับข้อมูลใบขนสินค้าขาเข้าในระบบคอมพิวเตอร์ของศุลกากร หากตรวจพบว่าเอกสารไม่ตรงกับข้อมูลใบขนสินค้าขาเข้า ให้พิจารณาดำเนินการเป็นการเฉพาะรายทันที

    (1.4) กรณีของที่ต้องผ่านการตรวจสอบสินค้าจากหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง ให้นำเอกสารหรือหลักฐานใดๆที่แสดงว่าเจ้าหน้าที่หน่วยงานเจ้าของกฎหมายนั้น ได้ตรวจสอบและอนุญาตให้นำเข้าแล้ว มายื่นต่อเจ้าหน้าที่ โดยให้ปฏิบัติตามข้อ (1.3) ด้วย

    (1.5) ให้หน่วยบริการศุลกากรรวบรวมเอกสารตามข้อ (1.3) ส่งฝ่ายทบทวนหลังการตรวจปล่อยของสำนักงาน/ด่านศุลกากร เพื่อใช้ประกอบการทบทวนหลังการตรวจปล่อยต่อไป

    (1.6) กรณีผู้นำของเข้านำเอกสารตามข้อ (1.2) มายื่นต่อหน่วยบริการศุลกากรหลังจากรับของจากอารักขาของศุลกากรไปแล้ว ให้หน่วยบริการศุลกากรส่งพิจารณาความผิดด้วย



16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
ไม่ระบุ

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
ไม่ระบุ

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

1. เครื่องมือการประเมิน

  1. แบบประเมินความรู้ ใช้แบบทดสอบปรนัย ชนิด 4 ตัวเลือก

  2. แบบประเมินผลการปฏิบัติงาน

  3. แบบประเมินการสัมภาษณ์จากกรณีศึกษา

   ดูรายละเอียดจากคู่มือการประเมิน 

2 เครื่องมือการประเมิน

   1. แบบประเมินความรู้ ใช้แบบทดสอบปรนัย ชนิด 4 ตัวเลือก

   2. แบบประเมินผลการปฏิบัติงาน

   3. แบบประเมินการสัมภาษณ์จากกรณีศึกษา

     ดูรายละเอียดจากคู่มือการประเมิน 

3. เครื่องมือการประเมิน.3 เครื่องมือการประเมิน

  1. แบบประเมินความรู้ ใช้แบบทดสอบปรนัย ชนิด 4 ตัวเลือก

  2. แบบประเมินผลการปฏิบัติงาน

  3. แบบประเมินการสัมภาษณ์จากกรณีศึกษา

    ดูรายละเอียดจากคู่มือการประเมิน

 




ยินดีต้อนรับ