หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

แจ้งข้อมูลสินค้าที่มีใบอนุญาตผ่านระบบ NSW (National Single Window)

สาขาวิชาชีพโลจิสติกส์


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ LOG-EXX-4-050ZA

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ แจ้งข้อมูลสินค้าที่มีใบอนุญาตผ่านระบบ NSW (National Single Window)

3. ทบทวนครั้งที่ - / -

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

ผู้ชำนาญการพิธีการศุลกากร



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
     บุคคลที่ทำหน้าที่ผู้ผ่านพิธีการศุลกากรรับอนุญาต ซึ่งจะต้องปฏิบัติงานเกี่ยวกับการดำเนินการแจ้งข้อมูลสินค้าที่มีใบอนุญาตผ่านระบบ NSW (National Single Window) เพื่อยืนคำร้องขออนุญาตนำเข้าสินค้ากับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและติดตามใบตอบรับคำร้องของอนุญาตนำเข้าสินค้ากับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
3313 ผู้ประกอบวิชาชีพที่เกี่ยวข้องทางด้านบัญชี

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
ระเบียบการผ่านพิธีการศุลกากรการนำเข้าสินค้า

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
03321 ยื่นคำร้องขออนุญาตนำเข้าสินค้ากับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 1.บันทึกคำร้องขออนุญาตนำเข้าสินค้ากับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องตามรายละเอียดที่กำหนด 03321.01 91589
03321 ยื่นคำร้องขออนุญาตนำเข้าสินค้ากับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 2. ตรวจสอบความถูกต้องของคำร้องขออนุญาตนำเข้า 03321.02 91590
03322 ติดตามใบตอบรับคำร้องของอนุญาตนำเข้าสินค้ากับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 1.ประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องตามวิธีการปฏิบัติ 03322.01 91591
03322 ติดตามใบตอบรับคำร้องของอนุญาตนำเข้าสินค้ากับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 2. บันทึกหมายเลขที่ได้รับอนุญาตไปใส่ในใบขนสินค้าตามรายละเอียดที่กำหนด 03322.02 91592

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

N/A


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1. ปฏิบัติการยืนคำร้องขออนุญาตนำเข้าสินค้ากับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

     1.1 สามารถบันทึกคำร้องขออนุญาตนำเข้าสินค้ากับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องตามรายละเอียดที่กำหนด

     1.2 สามารถตรวจสอบความถูกต้องของคำร้องขออนุญาตนำเข้า

2. ปฏิบัติการติดตามใบตอบรับคำร้องของอนุญาตนำเข้าสินค้ากับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

     2.1 สามารถประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องตามวิธีการปฏิบัติ

     2.2 สามารถบันทึกหมายเลขที่ได้รับอนุญาตไปใส่ในใบขนสินค้าตามรายละเอียดที่กำหนด


(ข) ความต้องการด้านความรู้

1. คำร้องการขอนุญาติที่เกี่ยวข้องกับหน่วยงานต่างๆ 

2. การใช้ระบบ NSW 


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

     หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมิน และควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และ ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

     (ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

          1. เอกสารการใช้ระบบ NSW

          2. เอกสารการคำร้องของแต่ละหน่วยงาน

          3. เอกสารประกอบรายละเอียดเกี่ยวกับสินค้าแต่ละประเภท

     (ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

          1. ใบผ่านการอบรมการจัดทำเอกสารส่งออกและนำเข้าสินค้า

          2. เอกสารรับรองและผลการประเมินจากหน่วยงาน

     (ค) คำแนะนำในการประเมิน

          ประเมินเกี่ยวกับการการตอบรับจากหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องสำหรับการนำเข้า

     (ง) วิธีการประเมิน

          1. พิจารณาหลักฐานความรู้

          2. พิจารณาหลักฐานการปฏิบัติงาน 


15. ขอบเขต (Range Statement)

คำอธิบายรายละเอียด

     กรมการค้าต่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์มีหน้าที่ออกหนังสือรับรองการนำเข้าและส่งออกสำหรับสินค้าหลายรายการที่จะต้องขอหนังสือรับรองถิ่นกำเนิดในการส่งออกไปต่างประเทศ ได้แก่ หนังสือรับรองถิ่นกำเนิดสินค้า หรือ Form Certificate of Origin ,Form FTA, Form D เป็นต้น รวมถึงใบอนุญาตส่งออก ได้แก่ ใบอนุญาตส่งออกข้าว,มันสำปะหลัง เป็นต้น และควบคุมการนำเข้าสินค้าที่จะต้องมีใบอนุญาตนำเข้าและหนังสือรับรองการนำเข้า ได้แก่ หนังสือรับรองการนำเข้าสินค้าชา, กาแฟ, กระเทียม, รถยนต์ใช้แล้ว, หิน เป็นต้น ทั้งนี้ สามารถค้นหาข้อมูลได้จากเว็บไซด์กรม เข้าไปที่บริการข้อมูล-สินค้าที่มีมาตรการนำเข้าส่งออกของไทย หรือสอบถามข้อมูลได้ที่สายด่วน 1385 หรือ โทร 02 547 4771-86

     ส่วนสินค้าที่ใช้ประโยชน์ในงานเกษตรกรรม เช่น ปุ๋ย ยาฆ่าแมลง ก็อาจเกี่ยวข้องกับหน่วยงานที่ดูแลด้านนี้อยู่นั่นคือ กรมวิชาการเกษตรและกรมประมง     

     สินค้าที่นำมาใช้ในบ้านเรือน เช่นเป็นสินค้า อุปโภคบริโภค ยารักษาโรค ก็อาจเกี่ยวข้องกับหน่วยงานที่ดูแลด้านนี้อยู่ คือสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.)

     ถ้าเป็นสินค้า ที่นำมา ใช้เป็น  วัตถุดิบ หรือส่วนผสมในกระบวนการผลิตในงานอุตสาหกรรมก็จะเกี่ยวข้องกับกระทรวงอุตสาหกรรม หน่วยงานที่ดูแล ก็คือสำนักควบคุมวัตถุอันตราย นอกจากนี้ยังมีหน่วยงานอื่นๆที่เกี่ยวข้องอีก เช่น กรมยุทธภัณฑ์กระทรวงกลาโหม กรมสรรพสามิต เป็นต้น


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

18.1 เครื่องมือการประเมิน

     1. แบบประเมินความรู้ ใช้แบบทดสอบปรนัย ชนิด 4 ตัวเลือก

     2. แบบประเมินผลการปฏิบัติงาน

     3. แบบประเมินการสัมภาษณ์จากกรณีศึกษา

     ดูรายละเอียดจากคู่มือการประเมิน 

18.2 เครื่องมือการประเมิน

     1. แบบประเมินความรู้ ใช้แบบทดสอบปรนัย ชนิด 4 ตัวเลือก

     2. แบบประเมินผลการปฏิบัติงาน

     3. แบบประเมินการสัมภาษณ์จากกรณีศึกษา

     ดูรายละเอียดจากคู่มือการประเมิน



ยินดีต้อนรับ