หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ดำเนินการเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการส่งออก-นำเข้าและประสานงานหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

สาขาวิชาชีพโลจิสติกส์


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ LOG-EXX-2-044ZA

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ดำเนินการเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการส่งออก-นำเข้าและประสานงานหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

3. ทบทวนครั้งที่ - / -

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

อาชีพผู้ผ่านพิธีการศุลกากรรับอนุญาต



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
     บุคคลที่ทำหน้าที่ผู้ผ่านพิธีการศุลกากรรับอนุญาต ซึ่งจะต้องปฏิบัติงานเกี่ยวกับตรวจสอบเอกสาร     การผ่านพิธีการด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ประสานงานบริษัทขนส่งสินค้าภายในประเทศ เพื่อรับส่งสินค้าไปท่าส่งออกที่กำหนดไว้ประสานบริษัทขนส่งระหว่างประเทศเพื่อส่งออกสินค้าไปต่างประเทศ

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
3313 ผู้ประกอบวิชาชีพที่เกี่ยวข้องทางด้านบัญชี

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
กฎระเบียบการผ่านพิธีการศุลกากร

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
03131 จัดทำเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการส่งออก-นำเข้า 1.จัดเตรียมเอกสารเพื่อขอลงทะเบียนขออนุญาตเป็นผู้ส่งออกตามข้อกำหนด 03131.01 91553
03131 จัดทำเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการส่งออก-นำเข้า 2.ตรวจสอบเอกสารคำร้องขออนุมัติเป็นผู้ส่งออกอย่างถูกต้องตามข้อกำหนด 03131.02 91554
03132 รวบรวมเอกสารเกี่ยวข้องกับการส่งออก-นำเข้า 1.รวบรวมเอกสารเพื่อขอลงทะเบียนขออนุญาตเป็นผู้นำเข้าตามข้อกำหนด 03132.01 91555
03132 รวบรวมเอกสารเกี่ยวข้องกับการส่งออก-นำเข้า 2. ตรวจสอบเอกสารคำร้องขออนุมัติเป็นผู้นำเข้าอย่างถูกต้องตามข้อกำหนด 03132.02 91556

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

N/A


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1. ปฏิบัติการจัดทำเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการส่งออก-นำเข้า

     1.1 สามารถจัดเตรียมเอกสารเพื่อขอลงทะเบียนขออนุญาตเป็นผู้ส่งออกตามข้อกำหนด

     1.2 สามารถตรวจสอบเอกสารคำร้องขออนุมัติเป็นผู้ส่งออกอย่างถูกต้องตามข้อกำหนด

2. ปฏิบัติการรวบรวมเอกสารเกี่ยวข้องกับการส่งออก-นำเข้า 

     2.1 สามารถรวบรวมเอกสารเพื่อขอลงทะเบียนขออนุญาตเป็นผู้นำเข้าตามข้อกำหนด

     2.2 สามารถตรวจสอบเอกสารคำร้องขออนุมัติเป็นผู้นำเข้าอย่างถูกต้องตามข้อกำหนด


(ข) ความต้องการด้านความรู้

1. ความรู้เกี่ยวกับเอกสารและระเบียบพิธีการศุลกากร

2. ความรู้เกี่ยวกับประเภทของเอกสารต่างๆเกี่ยวกับการส่งออก  

3. ความรู้เกี่ยวกับประเภทของเอกสารต่างๆเกี่ยวกับการส่งนำเข้า

4 ความเกี่ยวกับประเภทของสินค้าในการส่งออกและนำเข้า 



14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

     หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมิน และควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และ ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

     (ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

     1. รายงานเอกสารการขออนุมัติการส่งออก-นำเข้า

     2. รายงานสรุปผลการอนุมัติเอกสารการส่งออก-นำเข้า

     3. รายงานสรุปผลการเอกสารคำร้องการขออนุมัติการส่งออก-นำเข้า

     4. รายงานเอกสารประเภทสินค้าในการส่งออก-นำเข้า

    (ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

     1. ใบผ่านการอบรมการดำเนินการพิธีการศุลกากร ตรวจปล่อย และส่งมอบสินค้าไปยังประเทศปลายทาง

     2. เอกสารรับรองและผลการประเมินจากหน่วยงาน

     (ค) คำแนะนำในการประเมิน

     ประเมินเกี่ยวกับดำเนินการพิธีการศุลกากร ตรวจปล่อย และส่งมอบสินค้าไปยังประเทศปลายทาง

     (ง) วิธีการประเมิน

     1. พิจารณาหลักฐานความรู้

     2. พิจารณาหลักฐานการปฏิบัติงาน



15. ขอบเขต (Range Statement)

(ข) คำอธิบายรายละเอียด

     • ต้องดำเนินการเตรียมตัวให้พร้อมและหากเป็นไปได้ควรมีคนในบริษัทที่พร้อมเคลียร์หากมีปัญหาในเอกสารที่ได้จัดทำเอกสารต่อไปนี้ B/L, Bill of lading ใบตราส่งสินค้าทางเรือ – ใบนี้เป็นอีกใบที่สำคัญมาก ๆ สำหรับคนทำ Shipping นั่นคือใบที่ผู้ส่งออกต้องให้ข้อมูลกับทางผู้ให้บริการขนส่ง (บริษัทขนส่ง) เพื่อออกเอกสารนี้ ส่วนผู้นำเข้าจะต้องใช้และผู้นำเข้าเองต้องตรวจแบบร่างก่อนที่จะออกตัวจริงเพื่อป้องกันความผิดพลาด   AWB, Airway Bill ใบตราส่งทางอากาศ – คล้ายๆ กับใบตราส่งสินค้าทางเรือ เพียงแต่มีข้อมูลค่ากันบางส่วนเพราะขนส่งต่างกัน D/O, Delivery order ใบปล่อยสินค้า – ใบนี้ผู้นำเข้าจำเป็นต้องใช้สำหรับนำไปปล่อยตู้สินค้าที่ท่าเรือหรือท่าอากาศยาน โดยผู้ที่จะออกใบนี้ให้คือผู้ให้บริหารขนส่งระหว่างประเทศ ดังนั้นใบนี้ก็สำคัญมากเช่นกัน ผู้ที่ทำธุรกิจ Shipping จำเป็นต้องดูรายละเอียดให้ดี Export / Import entry ใบขนสินค้าขาออก / ขาเข้า – ใบนี้เป็นเอกสารสำหรับแจ้งข้อมูลสินค้าทั้งชนิด ราคา จำนวนให้กับกรมศุลกากรทราบ โดยนำไปคิดภาษีและจัดเก็บข้อมูลการนำเข้าส่งออกของเราได้ โดยดำเนินการโดย Shipping Marine/Air Insurance ประกันภัยขนส่งสินค้า – ใบนี้สำคัญอย่างมากเช่นกัน โดยแนะนำว่าบริษัท Shipping ทุกเจ้าควรจะมีระบบประกันภายสินค้า โดยปกติประกันจะลดความเสียหายที่จะช่วยลดความเสี่ยงจากการขนส่ง ซึ่งค่าป้องกันสูงสุดมักอยู่ที่ 90% ของมูลค่าสินค้า

     CO, Certificate of Origin เอกสารยืนยันถิ่นกำเนิด เป็นใบที่แสดงว่า สินค้าผลิตจากที่ไหน วัตถุดิบที่ใช้ผลิตมาจากที่ใด เข้ากับข้อกำหนดการยกเว้นหรือลดภาษีหรือไม่ ปัจจุบันทุกประเทศมีสิทธิพิเศษทางภาษีแบบที่ต้องใช้ใบยืนยันถิ่นกำเนิดกันหมดแล้ว ผู้ส่งออกและผู้นำเข้า รวมถึงบริษัท Shipping ต้องศึกษามากๆ เพราะสามารถลดต้นทุนนำเข้าและส่งออกได้เป็นจำนวนมากเลยทีเดียว



16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

18.1 เครื่องมือการประเมิน

     1. แบบประเมินความรู้ ใช้แบบทดสอบปรนัย ชนิด 4 ตัวเลือก

     2. แบบประเมินการสัมภาษณ์

     ดูรายละเอียดจากคู่มือการประเมิน 

18.2 เครื่องมือการประเมิน

     1. แบบประเมินความรู้ ใช้แบบทดสอบปรนัย ชนิด 4 ตัวเลือก

     2. แบบประเมินการสัมภาษณ์

     ดูรายละเอียดจากคู่มือการประเมิน




ยินดีต้อนรับ