หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ติดต่อประสานกับหน่วยงานราชการ

สาขาวิชาชีพโลจิสติกส์


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ LOG-EXX-5-060ZA

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ติดต่อประสานกับหน่วยงานราชการ

3. ทบทวนครั้งที่ - / -

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

ผู้เชี่ยวชาญการผ่านพิธีการศุลกากร



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
    บุคคลที่ทำหน้าที่ผู้เชี่ยวชาญการผ่านพิธีการศุลกากรซึ่งจะต้องปฏิบัติการควบคุมการส่งออก-เข้าสินค้า ประสานงานด้านพิธีการส่งออก –นำเข้า การแก้ปัญหาตามสถานการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นด้านพิธีการส่งออก-นำเข้าประสานงานการรับมอบสินค้า ประสานงานบริษัทขนส่งสินค้าภายในประเทศ เพื่อขนส่งสินค้าจากท่านำเข้าไปถึงลูกค้าตามที่กำหนด จัดทำใบเคลมสินค้าเพื่อเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนกรณีสินค้าเสียหาย จัดการตรวจนับจำนวนสินค้า และตรวจสภาพสินค้าเพื่อนำขึ้นรถบรรทุกจัดส่งไปให้ผู้นำเข้าลงนามรับสินค้า

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
3313 ผู้ประกอบวิชาชีพที่เกี่ยวข้องทางด้านบัญชี

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
ไม่ระบุ

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
ประมวลฯ กฎระเบียบพิธีการศุลกากรการส่งออก-นำเข้า ทุกภาคกฎระเบียบพิธีการศุลกากรสินค้าผ่านแดน

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
03541 ประสานงานด้านพิธีการส่งออก -นำเข้า 1.ตรวจสอบใบขนสินค้าขาเข้าผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์เพื่อการผ่านพิธีการศุลกากรครบถ้วนตามข้อกำหนด 03541.01 91654
03541 ประสานงานด้านพิธีการส่งออก -นำเข้า 2.บันทึกข้อมูลในใบขนสินค้าขาเข้าผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์เพื่อการผ่านพิธีการศุลกากรครบถ้วนตามข้อกำหนด 03541.02 91655
03542 แก้ปัญหาตามสถานการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นด้านพิธีการส่งออก-นำเข้า 1.วิเคราะห์ปัญหาการส่งออก-นำเข้าตามแนวทางที่กำหนด 03542.01 91656
03542 แก้ปัญหาตามสถานการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นด้านพิธีการส่งออก-นำเข้า 2. แก้ไขปัญหาการส่งออก-นำเข้าตามสถานการณ์ที่กำหนด 03542.02 91657
03543 ประสานงานการรับมอบสินค้า 1.จัดเตรียมเอกสารการรับมอบสินค้านำเข้าครบถ้วนตามข้อกำหนด 03543.01 91658
03543 ประสานงานการรับมอบสินค้า 2. จัดทำเอกสารการรับมอบสินค้านำเข้าเพื่อเป็นหลักฐานการรับมอบให้แก่ลูกค้าครบถ้วนตามข้อกำหนด 03543.02 91659
03544 ประสานงานบริษัทขนส่งสินค้าภายในประเทศ เพื่อขนส่งสินค้าจากท่านำเข้าไปถึงลูกค้าตามที่กำหนด 1.ประสานงานกับบริษัทขนส่งสินค้าภายในประเทศเพื่อรับส่งสินค้าจากท่านำเข้าไปถึงลูกค้าตามขั้นตอนการปฏิบัติที่กำหนด 03544.01 91660
03544 ประสานงานบริษัทขนส่งสินค้าภายในประเทศ เพื่อขนส่งสินค้าจากท่านำเข้าไปถึงลูกค้าตามที่กำหนด 2.จัดทำเอกสารการขนส่งตามขั้นตอนที่กำหนด 03544.02 91661
03545 จัดทำใบเคลมสินค้าเพื่อเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนกรณีสินค้าเสียหาย 1.รวบรวมเอกสารรายการสินค้าที่เสียหายตามเกณฑ์การปฏิบัติ 03545.01 91662
03545 จัดทำใบเคลมสินค้าเพื่อเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนกรณีสินค้าเสียหาย 2.บันทึกรายการสินค้าเพื่อเพื่อเรียกร้องค่าสินค้าทดแทนสินค้าเสียห1.รวบรวมเอกสารรายการสินค้าที่เสียหายตามเกณฑ์การปฏิบัติ 03545.02 91663
03545 จัดทำใบเคลมสินค้าเพื่อเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนกรณีสินค้าเสียหาย 2.บันทึกรายการสินค้าเพื่อเพื่อเรียกร้องค่าสินค้าทดแทนสินค้าเสียหายตามข้อกำหนดหายตามข้อกำหนด 03545.03 91664
03546 จัดการตรวจนับจำนวนสินค้า และตรวจสภาพสินค้าเพื่อนำขึ้นรถบรรทุกจัดส่งไปให้ผู้นำเข้าลงนามรับสินค้า 1.ตรวจนับจำนวนสินค้า และตรวจสภาพเพื่อนำขึ้นรถบรรทุกตามวิธีการปฏิบัติ 03546.01 91665
03546 จัดการตรวจนับจำนวนสินค้า และตรวจสภาพสินค้าเพื่อนำขึ้นรถบรรทุกจัดส่งไปให้ผู้นำเข้าลงนามรับสินค้า 2. จัดทำเอกสารหรือหลักฐานการส่งมอบสินค้าให้แก่ผู้นำเข้าตามวิธีการปฏิบัติ 03546.02 91666

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

ไม่ระบุ


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1. ปฏิบัติการประสานงานด้านพิธีการส่งออก –นำเข้า

     1.1 ความสามารถตรวจสอบใบขนสินค้าขาเข้าผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์เพื่อการผ่านพิธีการศุลกากรครบถ้วนตามข้อกำหนด

     1.2 ความสามารถบันทึกข้อมูลในใบขนสินค้าขาเข้าผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์เพื่อการผ่านพิธีการศุลกากร ครบถ้วนตามข้อกำหนด

2. ปฏิบัติการแก้ปัญหาตามสถานการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นด้านพิธีการส่งออก-นำเข้า

     2.1 ความสามารถวิเคราะห์ปัญหาการส่งออก-นำเข้าตามแนวทางที่กำหนด

     2.2 ความสามารถแก้ไขปัญหาการส่งออก-นำเข้าตามสถานการณ์ที่กำหนด

3. ปฏิบัติการ

     3.1 ความสามารถจัดเตรียมเอกสารการรับมอบสินค้านำเข้าครบถ้วนตามข้อกำหนด

     3.2 ความสามารถจัดทำเอกสารการรับมอบสินค้านำเข้าเพื่อเป็นหลักฐานการรับมอบให้แก่ลูกค้าครบถ้วนตามข้อกำหนด

4. ปฏิบัติการ

     4.1 ความสามารถประสานงานกับบริษัทขนส่งสินค้าภายในประเทศ เพื่อรับส่งสินค้าจากท่านำเข้าไปถึงลูกค้าตามขั้นตอนการปฏิบัติที่กำหนด

     4.2 ความสามารถจัดทำเอกสารการขนส่งตามขั้นตอนที่กำหนด

5. ปฏิบัติการ

     5.1 ความสามารถรวบรวมเอกสารรายการสินค้าที่เสียหายตามเกณฑ์การปฏิบัติ

     5.2 ความสามารถบันทึกรายการสินค้าเพื่อเพื่อเรียกร้องค่าสินค้าทดแทนสินค้าเสียหายตามข้อกำหนด

6. ปฏิบัติการ

     6.1 ความสามารถตรวจนับจำนวนสินค้า และตรวจสภาพเพื่อนำขึ้นรถบรรทุกตามวิธีการปฏิบัติ

     6.2 ความสามารถจัดทำเอกสารหรือหลักฐานการส่งมอบสินค้าให้แก่ผู้นำเข้า ตามวิธีการปฏิบัติ


(ข) ความต้องการด้านความรู้

1. ประมวลฯ กฎระเบียบพิธีการศุลกากรการส่งออก-นำเข้า ทุกภาค

2. กฎระเบียบพิธีการศุลกากรสินค้าผ่านแดน

3. พิธีการศุลกากรการตรวจปล่อยสินค้า

 



14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

    หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมิน และควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และ ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

   1. ประมวลฯ กฎระเบียบพิธีการศุลกากรการส่งออก-นำเข้า ทุกภาค

   2. เอกสารตรวจปล่อยสินค้านำเข้าสู่ประเทศไทย

(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

   1. ใบผ่านการอบรมเกี่ยวกับการผ่านพิธีการศุลกากร

   2. เอกสารรับรองและผลการประเมินจากหน่วยงาน

   3. เอกสารการนำเสนองานหรือการบรรยายที่เกี่ยวข้องกับการผ่านพิธีการศุลกากร

   4. หนังสือ คู่มือ บทความ งานวิจัย ที่เกี่ยวข้องกับการผ่านพิธีการศุลกากร

(ค) คำแนะนำการประเมิน

    ประเมินการการควบคุม การกำกับ การตรวจสอบเอกสารการส่งออก-นำเข้า และการผ่านพิธีการศุลกากร และตรวจปล่อยสินค้าผ่านแดน

(ง) วิธีการประเมิน

   1. พิจารณาหลักฐานความรู้

   2. พิจารณาหลักฐานการปฏิบัติงาน



15. ขอบเขต (Range Statement)

(ข) คำอธิบายรายละเอียด

    1. ติดต่อประสานงานในการตรวจสอบใบขนสินค้าขาเข้าผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์เพื่อการผ่านพิธีการศุลกากรครบถ้วนตามข้อกำหนดและบันทึกข้อมูลในใบขนสินค้าขาเข้าผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์เพื่อการผ่านพิธีการศุลกากร ครบถ้วนตามข้อกำหนดกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเช่น กรมการค้าต่างประเทศ กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กรมปศุสัตว์ หอการค้าไทย

    2. วิเคราะห์ปัญหาการส่งออก-นำเข้าตามแนวทางที่กำหนดและแก้ไขปัญหาการส่งออก-นำเข้าตามสถานการณ์ที่กำหนดโดยขอคำปรึกษากับหน่วยงานราชการเช่น ศูนย์บริการร่วมกระทรวงพาณิชย์ - ให้บริการข้อมูล/ข่าวสาร

กรมทรัพย์สินทางปัญญา- ให้คำปรึกษาแนะนำด้านทรัพย์สินทางปัญญา กรมการค้าภายใน กรมวิชาการเกษตร กรมประมง กรมการกงสุล รมศุลกากร - ให้บริการแนะนำด้าน พิกัดศุลกากร อัตราศุลกากร พิธีการศุลกากร กฎว่าด้วยแหล่งกำเนิดสิทธิประโยชน์ กรมควบคุมโรค สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา  ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SME Bank) - ให้บริการด้านการเงินการธนาคาร สมาคมตัวแทนขนส่งสินค้าทางอากาศไทย สมาคมผู้รับจัดการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ

    3. จัดเตรียมเอกสารการรับมอบสินค้านำเข้าครบถ้วนตามข้อกำหนดและจัดทำเอกสารการรับมอบสินค้านำเข้าเพื่อเป็นหลักฐานการรับมอบให้แก่ลูกค้าครบถ้วนตามข้อกำหนดคือ ผู้ซื้อต้องยอมรับค่าใช้จ่ายและความเสี่ยงทั้งหมดที่เกิดขึ้นในกระบวนการจัดส่ง หน้าที่เพียงอย่างเดียวของผู้ขายคือการทำให้แน่ใจว่าผู้ซื้อจะสามารถเข้าถึงสินค้าได้ เมื่อผู้ซื้อมีสิทธิ์เข้าถึงแล้ว หน้าที่ทั้งหมดจะตกเป็นของผู้ซื้อ (รวมถึงการขนถ่ายสินค้า) ผู้ขายมีหน้าที่ส่งมอบสินค้าไปยังผู้ให้บริการขนส่งของผู้ซื้อ ณ สถานที่ที่ตกลงไว้ ผู้ขายจัดการเรื่องพิธีการศุลกากรขาออก

    4. ประสานงานกับบริษัทขนส่งสินค้าภายในประเทศ เพื่อรับส่งสินค้าจากท่านำเข้าไปถึงลูกค้าตามขั้นตอนการปฏิบัติที่กำหนดและจัดทำเอกสารการขนส่งตามขั้นตอนที่กำหนดคือ ผู้ขายรับผิดชอบต่อค่าใช้จ่ายและความเสี่ยงของการขนส่งสินค้าไปยังที่อยู่ตามที่ตกลงกันไว้ สินค้าจะได้รับการจัดประเภทเป็นจัดส่งแล้ว เมื่อสินค้าไปถึงยังปลายทางพร้อมสำหรับรับการขนถ่ายเข้า ความรับผิดชอบในการส่งออกและนำเข้า

    5. รวบรวมเอกสารรายการสินค้าที่เสียหายตามเกณฑ์การปฏิบัติและบันทึกรายการสินค้าเพื่อเพื่อเรียกร้องค่าสินค้าทดแทนสินค้าเสียหายตามข้อกำหนดคือ ผู้ขายรับผิดชอบต่อค่าใช้จ่ายและความเสี่ยงทั้งหมดที่เกิดขึ้นในกระบวนการจัดส่ง ผู้ขายรับผิดชอบต่อค่าใช้จ่ายและความเสี่ยงของการขนส่งสินค้าไปยังที่อยู่ตามที่ตกลงไว้ ผู้ขายยังต้องตรวจสอบให้แน่ใจว่าสินค้าพร้อมสำหรับการขนถ่ายออก เป็นไปตามความรับผิดชอบด้านการส่งออกและนำเข้า รวมถึงชำระค่าภาษีและอากรต่างๆ ผู้ขายรับผิดชอบต่อค่าประกันสินค้า ผู้ขายมีหน้าที่ซื้อความคุ้มครองขั้นต่ำเท่าที่เป็นไปได้เท่านั้น หากผู้ซื้อต้องการการประกันที่ครอบคลุมมากกว่า จะต้องชำระเงินค่าประกันด้วยตัวเอง 

   1. การตรวจหีบห่อที่ใช้บรรจุสินค้าจะต้องมีเครื่องหมาย และหมายเลขแสดงเมืองที่เราจะส่งสินค้าออกไปยังประเทศนั้นๆ หรืออาจจะเป็นปลายทางที่จะต้องมีตราสัญลักษณ์ให้ส่งไปยังประเทศนั้นๆ ได้ เพื่อเป็นการยืนยันว่าสินค้าของคุณจะถูกส่งไปยังที่ใด และเจ้าหน้าที่จะสามารถตรวจสอบได้ว่าสินค้าในหีบห่อมาจากที่ใด

   2. มีเอกสารการส่งสินค้า เป็นเอกสารที่ใช้ในการประกอบการขนส่งสินค้าผ่านแดนทั้งหมดที่จำเป็น และเจ้าหน้าที่จะต้องทำการตรวจสอบเอกสารเหล่านี้ด้วยเช่นกัน ถ้าหากว่าคุณไม่มีเอกสารประกอบการส่งสินค้าผ่านแดนก็มีสิทธิ์ที่จะทำให้ไม่สามารถส่งสินค้าออกไปได้ โดยเอกสารการขนส่งสินค้าผ่านแดนนั้นมีหลายอย่าง เช่น เอกสารแสดงเมือง หรือต้นทางที่จะส่งสินค้าไป เมืองต้นทาง และปลายทางของการขนส่งสินค้า รวมถึงใบตราส่งตลอดทาง และอื่นๆ

   3. สินค้าที่จะทำการขนส่งผ่านแดนนั้นจะต้องเป็นสินค้าที่สามารถขนส่งโดยทางถนนได้ทุกประเภท แล้วจะต้องไม่เป็นวัสดุอุปกรณ์ที่ถูกต้องห้ามของกฎหมายของประเทศต้นทาง และปลายทาง รวมถึงจะต้องไม่เป็นสินค้าที่มีอันตราย นอกจากสินค้านั้นจะได้รับการอนุญาตจากประเทศที่จะส่งออกไปเป็นกรณีที่พิเศษเท่านั้น



16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
ไม่ระบุ

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
ไม่ระบุ

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

1. เครื่องมือการประเมิน

  1. แบบประเมินความรู้ ใช้แบบทดสอบปรนัย หรือ แบบทดสอบอัตนัย

  2. แบบประเมินการสัมภาษณ์จากกรณีศึกษา

  3. แบบประเมินแฟ้มสะสมงาน

    ดูรายละเอียดจากคู่มือการประเมิน 

2. เครื่องมือการประเมิน

  1. แบบประเมินความรู้ ใช้แบบทดสอบปรนัย หรือ แบบทดสอบอัตนัย

  2. แบบประเมินการสัมภาษณ์จากกรณีศึกษา

  3. แบบประเมินแฟ้มสะสมงาน

    ดูรายละเอียดจากคู่มือการประเมิน 

3. เครื่องมือการประเมิน

  1. แบบประเมินความรู้ ใช้แบบทดสอบปรนัย หรือ แบบทดสอบอัตนัย

  2. แบบประเมินการสัมภาษณ์จากกรณีศึกษา

  3. แบบประเมินแฟ้มสะสมงาน

    ดูรายละเอียดจากคู่มือการประเมิน

4. เครื่องมือการประเมิน

   1. แบบประเมินความรู้ ใช้แบบทดสอบปรนัย หรือ แบบทดสอบอัตนัย

   2. แบบประเมินการสัมภาษณ์จากกรณีศึกษา

   3. แบบประเมินแฟ้มสะสมงาน

     ดูรายละเอียดจากคู่มือการประเมิน

5. เครื่องมือการประเมิน

  1. แบบประเมินความรู้ ใช้แบบทดสอบปรนัย หรือ แบบทดสอบอัตนัย

  2. แบบประเมินการสัมภาษณ์จากกรณีศึกษา

  3. แบบประเมินแฟ้มสะสมงาน

     ดูรายละเอียดจากคู่มือการประเมิน

6. เครื่องมือการประเมิน

  1. แบบประเมินความรู้ ใช้แบบทดสอบปรนัย หรือ แบบทดสอบอัตนัย

  2. แบบประเมินการสัมภาษณ์จากกรณีศึกษา

  3. แบบประเมินแฟ้มสะสมงาน

    ดูรายละเอียดจากคู่มือการประเมิน

 




ยินดีต้อนรับ