หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

พัฒนาระบบการทำงานให้กับพนักงานการส่งออก-นำเข้า

สาขาวิชาชีพโลจิสติกส์


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ LOG-EXX-5-058ZA

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ พัฒนาระบบการทำงานให้กับพนักงานการส่งออก-นำเข้า

3. ทบทวนครั้งที่ - / -

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

ผู้เชี่ยวชาญการผ่านพิธีการศุลกากร



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
   บุคคลที่ทำหน้าที่ผู้เชี่ยวชาญการผ่านพิธีการศุลกากรซึ่งจะต้องปฏิบัติการวางแผนการฝึกอบรมการปฏิบัติงานด้านการส่งออก-นำเข้าของบุคคลการให้มีประสิทธิภาพในการทำงาน สอนงานและชี้แจงแนวทางในการปฏิบัติงานการส่งออก-นำเข้าและพัฒนาระบบเทคโนโลยีในการปฏิบัติงานในการส่งออก-นำเข้า

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
3313 ผู้ประกอบวิชาชีพที่เกี่ยวข้องทางด้านบัญชี

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
ไม่ระบุ

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
ประมวลฯ กฎระเบียบพิธีการศุลกากรการส่งออก-นำเข้า ทุกภาคการพัฒนาองค์การการส่งออก-นำเข้า

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
03521 วางแผนการฝึกอบรมการปฏิบัติงานด้านการส่งออก-นำเข้าของบุคคลการให้มีประสิทธิภาพในการทำงาน 1.จัดเตรียมการฝึกอบรมพนักงานตามเกณฑ์การปฏิบัติงานที่กำหนด 03521.01 91642
03521 วางแผนการฝึกอบรมการปฏิบัติงานด้านการส่งออก-นำเข้าของบุคคลการให้มีประสิทธิภาพในการทำงาน 2. จัดทำรายงานสรุปผลการพัฒนาบุคคลากรตามแผนงานที่กำหนด 03521.02 91643
03522 สอนงานและชี้แจงแนวทางในการปฏิบัติงานการส่งออก-นำเข้า 1.ถ่ายทอดแนวทางปฏิบัติงานการส่งออก-นำเข้าตามแนวทางการปฏิบัติงานที่กำหนด 03522.01 91644
03522 สอนงานและชี้แจงแนวทางในการปฏิบัติงานการส่งออก-นำเข้า 2. ประเมินผลการปฏิบัติงานการส่งออก-นำเข้าตามแนวทางการปฏิบัติงานที่กำหนด 03522.02 91645
03523 พัฒนาระบบเทคโนโลยีในการปฏิบัติงาน 1.จัดเตรียมระบบเทคโนโลยีในการส่งออก-นำเข้าอย่างมีประสิทธิภาพตามแนวทางการปฏิบัติที่กำหนด 03523.01 91646
03523 พัฒนาระบบเทคโนโลยีในการปฏิบัติงาน 2. ทำระบบเทคโนโลยีในการในการส่งออก-นำเข้าอย่างมีประสิทธิภาพตามแนวทางการปฏิบัติที่กำหนด 03523.02 91647

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

ไม่ระบุ


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1. ปฏิบัติการวางแผนการฝึกอบรมการปฏิบัติงานด้านการส่งออก-นำเข้าของบุคคลการให้มีประสิทธิภาพในการทำงาน

   1.1 ความสามารถจัดเตรียมการฝึกอบรมพนักงานตามเกณฑ์การปฏิบัติงานที่กำหนด

   1.2 ความสามารถจัดทำรายงานสรุปผลการพัฒนาบุคคลากรตามแผนงานที่กำหนด

2. ปฏิบัติสอนงานและชี้แจงแนวทางการปฏิบัติงานการส่งออก-นำเข้า

     2.1 ความสามารถถ่ายทอดแนวทางปฏิบัติงานการส่งออก-นำเข้าตามแนวทางการปฏิบัติงานที่กำหนด

     2.2 ความสามารถประเมินผลการปฏิบัติงานการส่งออก-นำเข้าตามแนวทางการปฏิบัติงานที่กำหนด

3. ปฏิบัติการพัฒนาระบบเทคโนโลยีในการปฏิบัติงานการส่งออก-นำเข้า

     3.1 ความสามารถจัดเตรียมระบบเทคโนโลยีในการส่งออก-นำเข้าอย่างมีประสิทธิภาพตามแนวทางการปฏิบัติที่กำหนด

     3.2 ความสามารถทำระบบเทคโนโลยีในการในการส่งออก-นำเข้าอย่างมีประสิทธิภาพตามแนวทางการปฏิบัติที่กำหนด


(ข) ความต้องการด้านความรู้

1. ประมวลฯ กฎระเบียบพิธีการศุลกากรการส่งออก-นำเข้า ทุกภาค

2. กฎระเบียบพิธีการศุลกากร

3. การวางแผนพัฒนาทรัพยากรมนุษย์

4. การวางแผนการพัฒนาระบบเทคโนโลยี

 



14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

   หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมิน และควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และ ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

   1. ประมวลฯ กฎระเบียบพิธีการศุลกากรการส่งออก-นำเข้า ทุกภาค

   2. เอกสารตรวจปล่อยสินค้านำเข้าสู่ประเทศไทย

   3. คู่มือการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์

   4. คู่มือการพัฒนาเทคโนโลยี

(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

   1. ใบผ่านการอบรมเกี่ยวกับการผ่านพิธีการศุลกากร

   2. เอกสารรับรองและผลการประเมินจากหน่วยงาน

   3. เอกสารการนำเสนองานหรือการบรรยายที่เกี่ยวข้องกับการผ่านพิธีการศุลกากร

   4. หนังสือ คู่มือ บทความ งานวิจัย ที่เกี่ยวข้องกับการผ่านพิธีการศุลกากร

(ค) คำแนะนำการประเมิน

   ประเมินการวางแผน การสอนงานและชีแจงแนวทางในการปฏิบัติงานการส่งออก-นำเข้าและพัฒนาระบบเทคโนโลยีการผ่านพิธีการศุลกากรการส่งออก-นำเข้าและตรวจปล่อยสินค้าผ่านแดน

(ง) วิธีการประเมิน

  1. พิจารณาหลักฐานความรู้

  2. พิจารณาหลักฐานการปฏิบัติงาน

 



15. ขอบเขต (Range Statement)

(ข) คำอธิบายรายละเอียด

      1. จัดเตรียมการฝึกอบรมพนักงานการฝึกอบรม คือ กระบวนการในอันที่จะทำให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมเกิดความรู้ ความเข้าใจ ทัศนคติ และความชำนาญในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง และเปลี่ยนพฤติกรรมไปตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ การจัดโครงการฝึกอบรมพนักงานด้านการส่งออก-นำเข้า เป็นเพียงหนึ่ง ในหลายวิธีการในการพัฒนาบุคลากรขององค์กรธุรกิจการส่งออก-นำเข้า และการฝึกอบรมจะบังเกิดผลดีต่อเมื่อผู้รับผิดชอบดำเนินการอย่างมีระบบ ซึ่งจะเกิดขึ้น ได้หากผู้รับผิดชอบจัดการฝึกอบรมมีความเข้าใจถึงกระบวนการฝึกอบรม และวิธีดำเนินการในแต่ละขั้นตอนอย่างเหมาะสม

     2. ถ่ายทอดแนวทางปฏิบัติงานการส่งออก-นำเข้าตามแนวทางการปฏิบัติงานที่กำหนดและประเมินผลการปฏิบัติงานการส่งออก-นำเข้าตามแนวทางการปฏิบัติงานที่กำหนด หมายถึง การที่คนๆหนึ่ง ช่วยให้ใครก็ตามพัฒนาขีดความสามารถในการทำงาน การสอนงานไม่ได้หมายถึงสาระของการสอนหรือบอกถึงวิธีการทำงานเท่านั้น แต่หมายรวมถึงการช่วยเหลือ การให้คำแนะนำ การให้กำลังใจ และให้โอกาสในการทำสิ่งต่างๆ ให้ดีขึ้น การสอนงานมีคุณค่าพิเศษทำให้เกิดผลดี ทำให้การทำงานมีประสิทธิภาพสูง เป็นการช่วยเพิ่มศักยภาพให้แก่ผู้ปฏิบัติงานในทุกระดับ ความสำคัญของการสอนงาน มีดังต่อไปนี้

   1. ไม่เกิดการลองผิดลองถูก การสอนงานเป็นไปอย่างถูกต้อง และมีประสิทธิภาพลดความผิดพลาดเสียหายและเวลาการทำงาน

   2. การเรียนรู้เป็นไปอย่างถูกต้องสมบูรณ์ เกิดการถ่ายทอดงานและเทคนิคการปฏิบัติงานจากหัวหน้าไปสู่ผู้ร่วมทีมงานช่วยให้เกิดความรู้ในการทำงานที่ถูกต้อง เพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน

   3. การปฏิบัติงานสะดวก รวดเร็วและปลอดภัย สามารถปรับปรุงงานให้ดีขึ้น

   4. ไม่เสียเวลาแก้ไขงานที่ผิดพลาดและบกพร่อง

   5. ผู้บังคับบัญชากับผู้ใต้บังคับบัญชาไว้วางใจกันและเป็นโอกาสที่จะแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกัน

   6. ทำให้องค์ความรู้ไม่ติดกับตัวบุคคลเมื่อมีการเข้าออกจากงานก็มีผู้สืบต่องานได้

     3. จัดเตรียมระบบเทคโนโลยีในการส่งออก-นำเข้าอย่างมีประสิทธิภาพตามแนวทางการปฏิบัติที่กำหนดและทำระบบเทคโนโลยีในการในการส่งออก-นำเข้าอย่างมีประสิทธิภาพตามแนวทางการปฏิบัติที่กำหนดหมายถึง การปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ในองค์กร(Adaptive Enterprise) เป็นการปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ที่นำมาใช้งานในองค์กร เพื่อพัฒนาศักยภาพขององค์กรให้สอดคล้องกับความเปลี่ยนแปลงของธุรกิจที่เกิดขึ้นได้ตลอดเวลา โมบายคอมพิวติง (Mobile Computing) และเอ็มคอมเมิรซ์ (M-Commerce) โมบายคอมพิวติง (Mobile Computing) เป็นลักษณะการใช้งานอุปกรณ์สื่อสารไร้สายที่สามารถเคลื่อนย้ายได้ เช่น notebook โทรศัพท์มือถือ PDA เป็นต้น เอ็มคอมเมิรซ์ (M-Commerce) เป็นลักษณะการทำธุรกรรมไม่ว่าจะเป็นการซื้อหรือขายสินค้าผ่านทางเครือข่ายอินเทอร์เน็ต โดยอาศัยอุปกรณ์ไร้สายต่าง ๆ เช่น โทรศัพท์มือถือ, pocket pc เป็นต้น

ความจำเป็นของการนำระบบเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในองค์กร

- สภาพแวดล้อมที่มีผลกระทบต่อองค์กร 

- ประโยชน์ของความคล่องตัวขององค์กร

- ความกดดันของสภาพแวดล้อม     

- กิจกรรมช่วยตอบสนองความวิกฤตที่เกิดขึ้นในขององค์กร       

- กระบวนการปรับตัวขององค์กร

- ระบบเรียลไทม์ (Real-time)



16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
ไม่ระบุ

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
ไม่ระบุ

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

1. เครื่องมือการประเมิน

  1. แบบประเมินความรู้ ใช้แบบทดสอบปรนัย หรือ แบบทดสอบอัตนัย

  2. แบบประเมินการสัมภาษณ์จากกรณีศึกษา

  3. แบบประเมินแฟ้มสะสมงาน

     ดูรายละเอียดจากคู่มือการประเมิน 

2. เครื่องมือการประเมิน

  1. แบบประเมินความรู้ ใช้แบบทดสอบปรนัย หรือ แบบทดสอบอัตนัย

  2. แบบประเมินการสัมภาษณ์จากกรณีศึกษา

  3. แบบประเมินแฟ้มสะสมงาน

     ดูรายละเอียดจากคู่มือการประเมิน 

3. เครื่องมือการประเมิน

  1. แบบประเมินความรู้ ใช้แบบทดสอบปรนัย หรือ แบบทดสอบอัตนัย

  2. แบบประเมินการสัมภาษณ์จากกรณีศึกษา

  3. แบบประเมินแฟ้มสะสมงาน

    ดูรายละเอียดจากคู่มือการประเมิน

 




ยินดีต้อนรับ