หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

บริหารเชิงกลยุทธ์เพื่อจัดการความเสี่ยงด้านการจัดซื้อ

สาขาวิชาชีพโลจิสติกส์


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ LOG-POO-7-023ZA

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ บริหารเชิงกลยุทธ์เพื่อจัดการความเสี่ยงด้านการจัดซื้อ

3. ทบทวนครั้งที่ - / -

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

อาชีพนักจัดซื้อ จัดหา จัดจ้าง



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
    บริหารทรัพยากรบุคคลที่ทำหน้าที่จัดซื้อ จัดหา จัดจ้าง ซึ่งจะต้องสามารถจัดการปัญหาที่ซับซ้อนของงานจัดซื้อ และบริหารความขัดแย้งในโซ่อุปทานของงานจัดซื้อ รวมถึงการจัดการความเสี่ยงเชิงกลยุทธ์ของงานจัดซื้อ

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
3323 ผู้จัดซื้อ

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
ไม่ระบุ

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
ไม่ระบุ

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
01361 จัดการปัญหาที่ซับซ้อนของงานจัดซื้อ 1.ประเมินความซับซ้อนของเหตุการณ์ (appraise situation)ที่ผิดปกติได้อย่างเป็นระบบและมีประสิทธิภาพ 01361.01 91521
01361 จัดการปัญหาที่ซับซ้อนของงานจัดซื้อ 2. ระบุเหตุปัจจัยของปัญหา identify problem ได้อย่างเป็นระบบและครอบคลุมทั่วทั้งโซ่อุปทาน 01361.02 91522
01361 จัดการปัญหาที่ซับซ้อนของงานจัดซื้อ 3. analyst cause วิเคราะห์กลุ่มสาเหตุแท้จริงได้สอดคล้องกับข้อมูลที่ตรวจพบและยืนยัน 01361.03 91523
01361 จัดการปัญหาที่ซับซ้อนของงานจัดซื้อ 4. design solution ออกแบบวิธีการแก้ปัญหาประเมินผล และทบทวนแก้ไข ได้อย่างเป็นระบบและครอบคลุมทั่วทั้งโซ่อุปทาน 01361.04 91524
01361 จัดการปัญหาที่ซับซ้อนของงานจัดซื้อ 5.สามารถนำระบบฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์มาใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อแก้ไขปัญหาและการบริหารความเสี่ยง 01361.05 91525
01361 จัดการปัญหาที่ซับซ้อนของงานจัดซื้อ 6.สามารถใช้งานโปรแกรมสำเร็จรูปและเลือกใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อนำมาประยุกต์ในงานจัดซื้อได้อย่างมีประสิทธิภาพ 01361.06 91526
01362 บริหารความขัดแย้งในโซ่อุปทานของงานจัดซื้อ 1.ระบุความขัดแย้งในโซ่อุปทานของงานจัดซื้อได้อย่างเหมาะสมกับนโยบายขององค์กรเป็นธรรม และมีประสิทธิภาพ 01362.01 91527
01362 บริหารความขัดแย้งในโซ่อุปทานของงานจัดซื้อ 2. จัดการความขัดแย้งในโซ่อุปทานของงานจัดซื้อได้อย่างเหมาะสมกับนโยบายขององค์กรเป็นธรรม และมีประสิทธิภาพ 01362.02 91528
01362 บริหารความขัดแย้งในโซ่อุปทานของงานจัดซื้อ 3. ประเมินผลและวางแผนเพื่อป้องกันความขัดแย้งในอนาคตได้อย่างเป็นระบบและมีประสิทธิภาพ 01362.03 91529
01363 จัดการความเสี่ยงเชิงกลยุทธ์ของงานจัดซื้อ 1.ระบุความเสี่ยงด้านการจัดซื้อได้อย่างเป็นระบบและมีประสิทธิภาพ 01363.01 91530
01363 จัดการความเสี่ยงเชิงกลยุทธ์ของงานจัดซื้อ 2.วิเคราะห์ความเสี่ยงด้านการจัดซื้อได้อย่างเป็นระบบและมีประสิทธิภาพ 01363.02 91531
01363 จัดการความเสี่ยงเชิงกลยุทธ์ของงานจัดซื้อ 3. จัดทำแผนกลยุทธ์รับมือความเสี่ยงด้านการจัดซื้อได้สอดคล้องกับผลการวิเคราะห์ความเสี่ยง 01363.03 91532

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

ไม่ระบุ


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1. ปฏิบัติการจัดการปัญหาที่ซับซ้อนของงานจัดซื้อ

   1.1 สามารถประเมินความซับซ้อนของเหตุการณ์ (appraise situation) ที่ผิดปกติได้อย่างเป็นระบบและมีประสิทธิภาพ

   1.2 สามารถระบุเหตุปัจจัยของปัญหา identify problem ได้อย่างเป็นระบบและครอบคลุมทั่วทั้งโซ่อุปทาน

    1.3 สามารถ analyst cause วิเคราะห์กลุ่มสาเหตุแท้จริงได้สอดคล้องกับข้อมูลที่ตรวจพบและยืนยัน

    1.4 สามารถ design solution ออกแบบวิธีการแก้ปัญหา ประเมินผล และทบทวนแก้ไข ได้อย่างเป็นระบบและครอบคลุมทั่วทั้งโซ่อุปทาน

    1.5 สามารถนำระบบฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์มาใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อแก้ไขปัญหาและการบริหารความเสี่ยง

     1.6 สามารถใช้งานโปรแกรมสำเร็จรูปและเลือกใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อนำมาประยุกต์ในงานจัดซื้อได้อย่างมีประสิทธิภาพ

2. ปฏิบัติการบริหารความขัดแย้งในโซ่อุปทานของงานจัดซื้อ

    2.1 สามารถระบุความขัดแย้งในโซ่อุปทานของงานจัดซื้อได้อย่างเหมาะสมกับนโยบายขององค์กร เป็นธรรม และมีประสิทธิภาพ

    2.2 สามารถจัดการความขัดแย้งในโซ่อุปทานของงานจัดซื้อได้อย่างเหมาะสมกับนโยบายขององค์กร เป็นธรรม และมีประสิทธิภาพ

    2.3 สามารถประเมินผล และวางแผนเพื่อป้องกันความขัดแย้งในอนาคตได้อย่างเป็นระบบและมีประสิทธิภาพ

3. ปฏิบัติการจัดการความเสี่ยงเชิงกลยุทธ์ของงานจัดซื้อ      

    3.1 สามารถระบุความเสี่ยงด้านการจัดซื้อได้อย่างเป็นระบบและมีประสิทธิภาพ

    3.2 สามารถวิเคราะห์ความเสี่ยงด้านการจัดซื้อได้อย่างเป็นระบบและมีประสิทธิภาพ

    3.3 สามารถจัดทำแผนกลยุทธ์รับมือความเสี่ยงด้านการจัดซื้อได้สอดคล้องกับผลการวิเคราะห์ความเสี่ยง


(ข) ความต้องการด้านความรู้

1. เทคนิคการประสานงาน

2. การวิเคราะห์งาน

3. เทคนิคการสอนงาน

4. จิตวิทยาการสอน

5. เทคนิคการใช้สื่อประกอบการสอน

6. การวางแผนการสอนงาน

7. การติดตามผลการสอนงาน

8. การควบคุมคุณภาพ

9. การบริหารคุณภาพ

10. นโยบายและเป้าหมายการจัดซื้อ

11. กลยุทธ์การจัดซื้อ จัดหา

12. การประเมินผลการจัดซื้อ

13. สภาพแวดล้อมต่องานจัดซื้อ

14. การวางแผนงบประมาณการจัดซื้อ

15. การใช้โปรแกรมสำเร็จรูปสำหรับการบริหารงาน



14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

    หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมิน และควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และ ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

1. หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

  1. รายงานผลการประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

  2. รายงานการวิเคราะห์ปัญหาที่เกิดขึ้นในการปฏิบัติงาน

  3. รายงานผลตรวจสอบการควบคุมคุณภาพในหน่วยงาน

  4. รายงานสรุปผลการใช้โปรแกรมสำเร็จรูปประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงานด้านการจัดซื้อ

2. หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

  1. ใบผ่านการอบรมการบริหารงานจัดซื้อ

  2. เอกสารรับรองและผลการประเมินจากหน่วยงาน

  3. เอกสารการนำเสนองานหรือการบรรยายที่เกี่ยวข้องกับการบริหารงานจัดซื้อ

  4. หนังสือ คู่มือ บทความ งานวิจัย ที่เกี่ยวข้องกับการบริหารงานจัดซื้อ

3. คำแนะนำในการประเมิน

  ประเมินเกี่ยวกับการบริหารเชิงกลยุทธ์เพื่อจัดการความเสี่ยงด้านการจัดซื้อ

4. วิธีการประเมิน

  1.พิจารณาหลักฐานความรู้

  2.พิจารณาหลักฐานการปฏิบัติงาน



15. ขอบเขต (Range Statement)

1. คำอธิบายรายละเอียด

    1. ผู้ปฏิบัติงานจัดการปัญหาที่ซับซ้อนของงานจัดซื้อ เกี่ยวข้องกับทักษะการแก้ปัญหาที่ซับซ้อน (complex problem solving skill) โดยมีเป้าหมายสำคัญเพื่อลดต้นทุน เพิ่มผลิตภาพ เพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผล สร้างความพึงพอใจแก่ลูกค้า สร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน โดยจะต้องดำเนินการตามหลักการของการคิดเชิงระบบ (Systematic Thinking) มีขั้นตอนดังนี้

   1)  ประเมินความซับซ้อนของเหตุการณ์ (appraise situation) ที่ผิดปกติได้ระบุสถานการณ์ที่กำลังเกิดขึ้น โดยการระบุเหตุการณ์ที่ส่งผลกระทบกับเรา และต้องการการจัดการ เพื่อให้เห็นภาพของสถานการณ์เดียวกัน

   2)  ระบุเหตุปัจจัยของปัญหา (identify problem) ได้อย่างเป็นระบบและครอบคลุมทั่วทั้งโซ่อุปทาน (ต้นน้ำ-กลางน้ำ-ปลายน้ำ) 

   3)  วิเคราะห์กลุ่มสาเหตุแท้จริง (analyst cause) ได้สอดคล้องกับข้อมูลที่ตรวจพบและยืนยัน

    4) ออกแบบวิธีการแก้ปัญหา (design solution) ที่ครอบคลุมทั้ง input-process-output นำเข้า ประเมินผล และทบทวนแก้ไขแนวทางการลดต้นทุนการจัดซื้อได้อย่างเป็นระบบและครอบคลุมทั่วทั้งโซ่อุปทาน

  2. ผู้ปฏิบัติงานบริหารความขัดแย้งในโซ่อุปทานของงานจัดซื้อ จะต้องระบุความขัดแย้งในโซ่อุปทานของงานจัดซื้อได้ จัดการความขัดแย้งในโซ่อุปทานของงานจัดซื้อได้ ประเมินผล และวางแผนเพื่อป้องกันความขัดแย้งในอนาคตได้อย่างเป็นระบบและมีประสิทธิภาพ

  3. ผู้ปฏิบัติงานจัดการความเสี่ยงเชิงกลยุทธ์ของงานจัดซื้อ จะต้องระบุความเสี่ยงด้านการจัดซื้อ วิเคราะห์ความเสี่ยง จัดทำแผนกลยุทธ์รับมือความเสี่ยงด้านการจัดซื้อ ประเมิน และติดตามความเสี่ยงตามแผนกลยุทธ์ที่วางไว้ เพื่อนำผลมาปรับปรุงการจัดการความเสี่ยงในอนาคต



16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
ไม่ระบุ

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
ไม่ระบุ

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

1. เครื่องมือการประเมิน

  1. แบบประเมินความรู้ ใช้แบบทดสอบปรนัย หรือ แบบทดสอบอัตนัย

  2. แบบประเมินจากการสัมภาษณ์

  3. แบบประเมินการแฟ้มสะสมผลงาน

  4. แบบประเมินการจำลองสถานการณ์

  5. แบบประเมินผลงานหรือชิ้นงานที่ทำสำเร็จแล้ว

     ดูรายละเอียดจากคู่มือการประเมิน 

2. เครื่องมือการประเมิน

  1. แบบประเมินความรู้ ใช้แบบทดสอบปรนัย หรือ แบบทดสอบอัตนัย

  2. แบบประเมินจากการสัมภาษณ์

  3. แบบประเมินการแฟ้มสะสมผลงาน

  4. แบบประเมินการจำลองสถานการณ์

  5. แบบประเมินผลงานหรือชิ้นงานที่ทำสำเร็จแล้ว

     ดูรายละเอียดจากคู่มือการประเมิน

 




ยินดีต้อนรับ