หน่วยสมรรถนะ
ป้องกันสถานการณ์ฉุกเฉินภายในเที่ยวบิน
สาขาวิชาชีพการบิน
รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ
1. รหัสหน่วยสมรรถนะ | AVT-FAD-6-010ZB |
2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ | ป้องกันสถานการณ์ฉุกเฉินภายในเที่ยวบิน |
3. ทบทวนครั้งที่ | 1 / - |
4. สร้างใหม่ | ปรับปรุง |
5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification) | |
5111 พนักงานต้อนรับบนเครื่องบิน |
6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency) | |
หน่วยสมรรถนะเกี่ยวข้องกับความรู้ และทักษะในการให้ข้อมูลที่เกี่ยวกับความปลอดภัยในเที่ยวบิน การใช้อุปกรณ์ความปลอดภัย การให้ข้อมูลแนะนำทางออกฉุกเฉินอย่างถูกต้อง การรับมือกับสถานการณ์ฉุกเฉิน การใช้อุปกรณ์ความปลอดภัยในสถานการณ์ฉุกเฉิน การอพยพผู้โดยสารออกจากอากาศยานในกรณีฉุกเฉิน |
7. สำหรับระดับคุณวุฒิ |
1 | 2 | 3 | 4 | 5 | 6 | 7 | 8 |
---|---|---|---|---|---|---|---|
8. กลุ่มอาชีพ (Sector) | |
ผู้ประกอบวิชาชีพด้านต้อนรับบนเครื่องบิน |
9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี) | |
N/A |
10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี) | |
Guidance Materials for Cabin Crew Manual (CCM) |
11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria) |
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) | เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) | รหัส PC (ตามเล่มมาตรฐาน) |
รหัส PC (จากระบบ) |
---|---|---|---|
20104.01 ให้ข้อมูล และคำแนะนำเกี่ยวกับความปลอดภัยในเที่ยวบินแก่ผู้โดยสาร | 1. ให้ข้อมูล กระบวนการที่เกี่ยวกับความปลอดภัยในเที่ยวบิน | 20104.01.01 | 90060 |
20104.01 ให้ข้อมูล และคำแนะนำเกี่ยวกับความปลอดภัยในเที่ยวบินแก่ผู้โดยสาร | 2. แนะนำการใช้อุปกรณ์ความปลอดภัย | 20104.01.02 | 90061 |
20104.01 ให้ข้อมูล และคำแนะนำเกี่ยวกับความปลอดภัยในเที่ยวบินแก่ผู้โดยสาร | 3. ให้ข้อมูลทางออกฉุกเฉินแก่ผู้โดยสาร | 20104.01.03 | 90062 |
20104.02 เตรียมพร้อมรับมือกับสถานการณ์ฉุกเฉินที่อาจเกิดขึ้นภายในเที่ยวบิน | 1. ระบุถึงขั้นตอนในการรับมือกับสถานการณ์ฉุกเฉิน | 20104.02.01 | 90063 |
20104.02 เตรียมพร้อมรับมือกับสถานการณ์ฉุกเฉินที่อาจเกิดขึ้นภายในเที่ยวบิน | 2. ระบุถึงขั้นตอนการใช้อุปกรณ์ความปลอดภัยในสถานการณ์ฉุกเฉิน | 20104.02.02 | 90064 |
20104.02 เตรียมพร้อมรับมือกับสถานการณ์ฉุกเฉินที่อาจเกิดขึ้นภายในเที่ยวบิน | 3. ระบุถึงขั้นตอนในการอพยพผู้โดยสารออกจากอากาศยานในกรณีฉุกเฉิน | 20104.02.03 | 90065 |
20104.02 เตรียมพร้อมรับมือกับสถานการณ์ฉุกเฉินที่อาจเกิดขึ้นภายในเที่ยวบิน | 4. ระบุถึงข้อจำกัดในการอพยพผู้โดยสารออกจากอากาศยานในกรณีฉุกเฉิน | 20104.02.04 | 90066 |
12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge) | |
N/A |
13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge) | |
(ก) ความต้องการด้านทักษะ - การใช้อุปกรณ์ความปลอดภัย - การอพยพผู้โดยสารออกจากอากาศยานในกรณีฉุกเฉิน (ข) ความต้องการด้านความรู้ - ข้อมูลพื้นฐานด้านความปลอดภัย - ข้อมูลพื้นฐานด้านอุปกรณ์ความปลอดภัย - ข้อมูลทางออกฉุกเฉินบนอากาศยาน - ด้านการรับมือภายใต้สถานการณ์ฉุกเฉิน |
14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide) | |
หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมิน และควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และ ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge) (ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence) - เอกสาร/หนังสือรับรองการทำงาน - แบบสอบสัมภาษณ์ - ทดสอบการปฏิบัติ (ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence) - แบบทดสอบข้อเขียน (ค) คำแนะนำในการประเมิน หลักฐานที่ต้องการเพื่อแสดงถึงสมรรถนะในส่วนนี้ ต้องมีความสัมพันธ์และตอบโจทย์ตามข้อกำหนดของสมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงานในหน่วยสมรรถนะนี้ โดยหลักฐานในที่นี้ ต้องแสดงถึง - ความรู้และทักษะที่เกี่ยวข้อง - วิธีการปฏิบัติงานตามข้อกำหนด กฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง - ขอบเขตด้านอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ในกรณีที่ผู้เข้ารับการประเมินไม่ผ่านครบตามเกณฑ์ที่กำหนด ผู้ประเมินแจ้งหน่วยสมรรถนะที่ไม่ผ่าน ให้ผู้เข้ารับการประเมินทราบ และไปทบทวนสมรรถนะ ซึ่งผู้เข้ารับการประเมินสามารถกลับมาทดสอบสมรรถนะใหม่อีกครั้ง (ง) วิธีการประเมิน - พิจารณาตามหลักฐานการปฏิบัติงาน ได้แก่ เอกสาร/หนังสือรับรองการทำงาน การสอบสัมภาษณ์ และการสอบปฏิบัติ - พิจารณาตามหลักฐานความรู้ ได้แก่ การสอบข้อเขียน |
15. ขอบเขต (Range Statement) | |
การป้องกันสถานการณ์ฉุกเฉินภายในเที่ยวบิน ครอบคลุมถึงเรื่องการให้ข้อมูลที่เกี่ยวกับความปลอดภัยในเที่ยวบิน การใช้อุปกรณ์ความปลอดภัย การให้ข้อมูลแนะนำทางออกฉุกเฉินอย่างถูกต้อง การรับมือกับสถานการณ์ฉุกเฉิน การใช้อุปกรณ์ความปลอดภัยในสถานการณ์ฉุกเฉิน และการอพยพผู้โดยสารออกจากอากาศยานในกรณีฉุกเฉิน (ก) คำแนะนำ ขอบเขต (Range Statement) เป็นส่วนที่เกี่ยวข้องกับหน่วยสมรรถนะในภาพรวม ซึ่งจะเป็นการระบุสถานการณ์หรือสภาพแวดล้อมของงานที่เกี่ยวข้องกับสมรรถนะนี้ มีลักษณะสำคัญใน 4 กลุ่ม กล่าวคือ - ขั้นตอน ระเบียบ หรือวิธีปฏิบัติงานในสถานที่ทำงาน (workplace procedures) ขั้นตอนการใช้อุปกรณ์ความปลอดภัย ขั้นตอนการรับมือสถานการณ์ฉุกเฉิน และขั้นตอนการอพยพผู้โดยสารออกจากอากาศยานเมื่อเกิดเหตุการณ์ฉุกเฉิน - สถานที่ทำงาน (work site) บริเวณภายในห้องโดยสารบนเครื่องบิน - สภาวะในการทำงาน (operating conditions) การตระหนัก เตรียมพร้อม รับมือ ในกรณีที่มี เหตุกาณ์ผิดปกติเกิดขี้นภายในเที่ยวบิน - ข้อมูล/เอกสาร (information/documents) คู่มือการปฏิบัติงานของสายการบิน ข้อมูลพื้นฐานด้านความปลอดภัย ข้อมูลทางออกฉุกเฉินบนอากาศยาน และข้อมูลพื้นฐานด้านอุปกรณ์ความปลอดภัย (ข) คำอธิบายรายละเอียด - สถานการณ์ฉุกเฉินภายในเที่ยวบิน หมายถึง เหตุการณ์ หรือสถานการณ์ที่อาจก่อให้ก่อให้เกิดผลกระทบต่อผู้โดยสารบนเครื่องบิน หรือเกิดความเสียต่ออากาศยานได้ - อุปกรณ์ความปลอดภัย ได้แก่ เสื้อชูชีพ เครื่องมือปฐมพยาบาล ถังออกซิเจน หน้ากากออกซิเจน เสาสัญญาณขอความช่วยเหลือ เครื่องขยายเสียง สไลด์อพยพ และอุปกรณ์ความปลอดภัยอื่น ๆ ที่ติดตั้งโดยผู้ผลิตอากาศยาน - การอพยพผู้โดยสารออกจากอากาศยานในกรณีฉุกเฉิน หมายถึง การขนย้ายผู้โดยสารลงจากเครื่องบินให้กรณีที่เกิดเหตุการณ์ไม่ปกติโดยได้รับคำสั่งจากนักบิน หรือพนักงานต้อนรับมีดุลยพินิจว่าจะส่งผลถึงความไม่ปลอดภัย ในชีวิตและทรัพย์สินของผู้โดยสารและอากาศยาน - ข้อจำกัดในการอพยพผู้โดยสารออกจากอากาศยานในกรณีฉุกเฉิน หมายถึง ข้อแม้ หรือขอบเขตในที่กำหนดในการขนย้ายผู้โดยสารลงจากเครื่องบินเมื่อเกิดเหตุการณ์ฉุกเฉินขึ้นในภายในเที่ยวบิน เช่น ห้ามผู้โดยสารนำสัมภาระติดตัวเมื่อมีการอพยพ หรือสุภาพสตรีที่สวมรองเท้าส้นสูงต้องถอดออกก่อนการอพยพทางแพยาง |
16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี) | |
N/A |
17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี) | |
N/A |
18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure) | |
- สอบสัมภาษณ์ - สอบข้อเขียน - สอบปฏิบัติ |