หน่วยสมรรถนะ
ดูแลความปลอดภัยและการรักษาความปลอดภัยของผู้โดยสารและห้องโดยสาร
สาขาวิชาชีพการบิน
รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ
1. รหัสหน่วยสมรรถนะ | AVT-FAD-6-009ZB |
2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ | ดูแลความปลอดภัยและการรักษาความปลอดภัยของผู้โดยสารและห้องโดยสาร |
3. ทบทวนครั้งที่ | 1 / - |
4. สร้างใหม่ | ปรับปรุง |
5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification) | |
5111 พนักงานต้อนรับบนเครื่องบิน |
6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency) | |
หน่วยสมรรถนะเกี่ยวข้องกับการดูแลความปลอดภัยและการรักษาความปลอดภัยของผู้โดยสาร ตรวจสภาพความพร้อมใช้ของอุปกรณ์รักษาความปลอดภัย ตรวจตำแหน่งของอุปกรณ์ความปลอดภัย และตรวจนับจำนวนอุปกรณ์ความปลอดภัยในห้องโดยสารประจำจุดต่างๆที่ได้รับมอบหมาย ที่กำหนดโดยกฎการบิน ทั้งแสดงให้เห็นถึงการตรวจหาสิ่งแปลกปลอม และสิ่งผิดปกติภายในห้องโดยสาร พร้อมระบุความไม่ปลอดภัยและความไม่ปกติ ดูแลไม่ให้บุคคลที่ไม่ได้รับอนุญาตเข้ามาในห้องโดยสาร ก่อนและหลังตรวจความเรียบร้อย พร้อมทั้งรายงานการตรวจให้ผู้บังคับบัญชาทราบ |
7. สำหรับระดับคุณวุฒิ |
1 | 2 | 3 | 4 | 5 | 6 | 7 | 8 |
---|---|---|---|---|---|---|---|
8. กลุ่มอาชีพ (Sector) | |
ผู้ประกอบวิชาชีพด้านต้อนรับบนเครื่องบิน |
9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี) | |
N/A |
10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี) | |
Guidance Materials for Cabin Crew Manual (CCM) |
11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria) |
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) | เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) | รหัส PC (ตามเล่มมาตรฐาน) |
รหัส PC (จากระบบ) |
---|---|---|---|
20103.01 ตรวจอุปกรณ์ความปลอดภัย ประจำเครื่องบิน | 1.ตรวจนับจำนวนอุปกรณ์ความปลอดภัยในห้องโดยสาร | 20103.01.01 | 90052 |
20103.01 ตรวจอุปกรณ์ความปลอดภัย ประจำเครื่องบิน | 2. ตรวจสภาพความพร้อมใช้ของอุปกรณ์ความปลอดภัยในห้องโดยสาร | 20103.01.02 | 90053 |
20103.01 ตรวจอุปกรณ์ความปลอดภัย ประจำเครื่องบิน | 3. ตรวจตำแหน่งของอุปกรณ์ความปลอดภัยในห้องโดยสาร | 20103.01.03 | 90054 |
20103.01 ตรวจอุปกรณ์ความปลอดภัย ประจำเครื่องบิน | 4. รายงานการตรวจอุปกรณ์ความปลอดภัยให้ผู้บังคับบัญชา | 20103.01.04 | 90055 |
20103.02 ตรวจการรักษาความปลอดภัย และความเรียบร้อยในห้องโดยสาร | 1.ตรวจหาสิ่งแปลกปลอม และสิ่งผิดปกติภายในห้องโดยสาร | 20103.02.01 | 90056 |
20103.02 ตรวจการรักษาความปลอดภัย และความเรียบร้อยในห้องโดยสาร | 2. ระบุความไม่ปลอดภัย และความไม่ปกติในห้องโดยสาร | 20103.02.02 | 90057 |
20103.02 ตรวจการรักษาความปลอดภัย และความเรียบร้อยในห้องโดยสาร | 3. ดูแลไม่ให้บุคคลที่ไม่ได้รับอนุญาต เข้ามาในห้องโดยสารก่อนและหลังตรวจสอบความเรียบร้อย | 20103.02.03 | 90058 |
20103.02 ตรวจการรักษาความปลอดภัย และความเรียบร้อยในห้องโดยสาร | 4. รายงานการตรวจการรักษาความปลอดภัยให้ผู้บังคับบัญชา | 20103.02.04 | 90059 |
12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge) | |
N/A |
13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge) | |
(ก) ความต้องการด้านทักษะ - สื่อสารกับผู้ปฏิบัติงาน - การตรวจอุปกรณ์ความปลอดภัยประจำเครื่องบิน - การตรวจความปลอดภัยภายในห้องโดยสาร (ข) ความต้องการด้านความรู้ - การตรวจนับจำนวนอุปกรณ์นิรภัย - การตรวจชนิดของอุปกรณ์นิรภัย - การตรวจสภาพความพร้อมใช้งานของอุปกรณ์ความปลอดภัย - การตรวจห้องโดยสาร - กฎระเบียบผู้ได้รับอนุญาตการเข้าถึงอากาศยาน - หลักปฏิบัติด้านความปลอดภัยทางการบิน |
14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide) | |
หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมิน และควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และ ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge) (ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence) - เอกสาร/หนังสือรับรองการทำงาน - แบบประเมินการสอบสัมภาษณ์ - แบบประเมินการสอบปฏิบัติ (ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence) - แบบทดสอบข้อเขียน (ค) คำแนะนำในการประเมิน หลักฐานที่ต้องการเพื่อแสดงถึงสมรรถนะในส่วนนี้ ต้องมีความสัมพันธ์และตอบโจทย์ตามข้อกำหนดของสมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงานในหน่วยสมรรถนะนี้ โดยหลักฐานในที่นี้ ต้องแสดงถึง - ความรู้และทักษะที่เกี่ยวข้อง - วิธีการปฏิบัติงานตามข้อกำหนด กฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง - ขอบเขตด้านอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ในกรณีที่ผู้เข้ารับการประเมินไม่ผ่านครบตามเกณฑ์ที่กำหนด ผู้ประเมินแจ้งหน่วยสมรรถนะที่ไม่ผ่าน ให้ผู้เข้ารับการประเมินทราบ และไปทบทวนสมรรถนะ ซึ่งผู้เข้ารับการประเมินสามารถกลับมาทดสอบสมรรถนะใหม่อีกครั้ง (ง) วิธีการประเมิน - พิจารณาตามหลักฐานการปฏิบัติงาน ได้แก่ เอกสาร/หนังสือรับรองการทำงาน การสอบสัมภาษณ์ และการสอบปฏิบัติ - พิจารณาตามหลักฐานความรู้ ได้แก่ การสอบข้อเขียน |
15. ขอบเขต (Range Statement) | |
การดูแลความปลอดภัยและการรักษาความปลอดภัยของผู้โดยสารและห้องโดยสาร ครอบคลุมถึงวิธีการตรวจอุปกรณ์ความปลอดภัยและการรักษาความปลอดภัยประจำเครื่องบินตามจุดต่างๆ การตรวจนับจำนวน สภาพการใช้งาน และตำแหน่งของอุปกรณ์ความปลอดภัยในห้องโดยสาร วิธีการตรวจการรักษาความปลอดภัยและความเรียบร้อยในห้องโดยสาร ก่อนผู้โดยสารขึ้นเครื่องบิน และหลังจากที่ผู้โดยสารลงจากเครื่องบิน การตรวจหาสิ่งแปลกปลอมและสิ่งผิดปกติในห้องโดยสาร รวมถึงการดูแล วิธิปฏิบัติ สำหรับบุคคลที่ไม่ได้รับอนุญาตเข้ามาในห้องโดยสาร (ก) คำแนะนำ ขอบเขต (range statement) เป็นส่วนที่เกี่ยวข้องกับหน่วยสมรรถนะในภาพรวม ซึ่งจะเป็นการระบุสถานการณ์หรือสภาพแวดล้อมของงานที่เกี่ยวข้องกับสมรรถนะนี้ ที่มีผลกระทบต่อการปฏิบัติงาน มีลักษณะสำคัญใน 4 กลุ่ม กล่าวคือ - ขั้นตอน ระเบียบ หรือวิธีปฏิบัติงานในสถานที่ทำงาน (workplace procedures) ขั้นตอนการตรวจอุปกรณ์ความปลอดภัยในห้องโดยสารและขั้นตอนการตรวจการรักษาความปลอดภัยในห้องโดยสารตามมาตรฐานความปลอดภัย - สถานที่ทำงาน (work site) บริเวณภายในห้องโดยสารบนเครื่องบิน - สภาวะในการทำงาน (operating conditions) การตรวจอุปกรณ์ความปลอดภัยและการรักษาความปลอดภัยประจำเครื่องบิน การตรวจการรักษาความปลอดภัยและความเรียบร้อยในห้องโดยสาร - การตรวจหาสิ่งแปลกปลอมและสิ่งผิดปกติในห้องโดยสาร และการดูแลไม่ให้บุคคลที่ไม่ได้รับอนุญาตเข้ามาในห้องโดยสาร - ข้อมูล/เอกสาร (information/documents) เอกสาร คู่มือการปฏิบัติงานของสายการบิน (ข) คำอธิบายรายละเอียด - อุปกรณ์ความปลอดภัย ได้แก่ เสื้อชูชีพ เครื่องมือปฐมพยาบาล ถังออกซิเจน หน้ากากออกซิเจน เสาสัญญาณขอความช่วยเหลือ เครื่องขยายเสียง สไลด์อพยพ และอุปกรณ์ความปลอดภัยอื่น ๆ ที่ติดตั้งโดยผู้ผลิตอากาศยาน - การรักษาความปลอดภัยภายในห้องโดยสาร หมายถึง การดูแลอำนวยความสะดวกให้กับผู้โดยสารมีความปลอดภัย ระหว่างการเดินทาง - สิ่งแปลกปลอมและสิ่งผิดปกติภายในห้องโดยสาร หมายถึง วัตถุหรือสิ่งของใด ๆ ที่ไม่ได้ถูกกำหนดให้อยู่ประจำภายในเครื่องบิน - ความไม่ปลอดภัย และความไม่ปกติในห้องโดยสาร หมายถึง เหตุการณ์ สถานการณ์ วัตถุหรือสิ่งของใด ที่จะสามารถทำให้เกิดความไม่ปลอดภัยกับผู้โดยสาร ผู้ปฏิบัติงานและอากาศยาน - การดูแลไม่ให้บุคคลที่ไม่ได้รับอนุญาตเข้ามาในห้องโดยสาร หมายถึง การปฏิบัติหน้าที่ ตรวจสอบ ดูแลผู้ที่ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับเที่ยวบินนั้นเข้ามาในห้องโดยสารก่อนได้รับการอนุญาตจากผู้ปฏิบัติหน้าที่บนเครื่องบิน - รายงานการตรวจอุปกรณ์ความปลอดภัยให้ผู้บังคับบัญชา หมายถึง การปฏิบัติงานโดยการแจ้ง รายงานให้ผู้บังคับบัญชาทราบถึงการตรวจความเรียบร้อย พร้อมใช้งานของอุปกรณ์ความปลอดภัย - รายงานการตรวจการรักษาความปลอดภัยให้ผู้บังคับบัญชา หมายถึง การปฏิบัติงานโดยการแจ้ง ให้ผู้บังคับบัญชาทราบถึงความปลอดภัยในห้องโดยสารก่อนที่จะมีการรับผู้โดยสารขึ้นเครื่องบิน และหลังจากที่ผู้โดยสารลงจากเครื่องบินเรียบร้อย |
16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี) | |
N/A |
17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี) | |
N/A |
18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure) | |
- สอบสัมภาษณ์ - สอบข้อเขียน - สอบปฏิบัติ |