หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

กำกับดูแลการจัดการภายในเที่ยวบิน

สาขาวิชาชีพการบิน


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ AVT-FAD-6-018ZB

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ กำกับดูแลการจัดการภายในเที่ยวบิน

3. ทบทวนครั้งที่ 1 / -

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

          5111 พนักงานต้อนรับบนเครื่องบิน



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
          หน่วยสมรรถนะเกี่ยวข้องกับทักษะการควบคุมด้านการให้บริการ ด้านความปลอดภัย ด้านการรักษาความปลอดภัย ให้เป็นไปตามมาตรฐานของสายการบิน เพื่อให้แน่ใจว่าบุคลากรในเที่ยวบินปฏิบัติตามข้อกำหนดด้านให้บริการ ด้านความปลอดภัย ด้านการรักษาความปลอดภัย ความปลอดภัย และแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในเที่ยวบินได้อย่างมีประสิทธิภาพ เหมาะสมกับสถานการณ์ และเวลา

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
          ผู้ประกอบวิชาชีพด้านต้อนรับบนเครื่องบิน

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
          - Guidance Materials for Cabin Crew Manual (CCM)

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
20501.01 ควบคุมการบริการให้เป็นไปตามมาตรฐานของสายการบิน 1.มอบหมายหน้าที่ตามความรับผิดชอบ 20501.01.01 90122
20501.01 ควบคุมการบริการให้เป็นไปตามมาตรฐานของสายการบิน 2. ดูแลการบริการให้เหมาะสมตามมาตรฐานของสายการบิน 20501.01.02 90123
20501.01 ควบคุมการบริการให้เป็นไปตามมาตรฐานของสายการบิน 3. ปรับเปลี่ยนมาตรฐานการบริการให้เหมาะสมตามสถานการณ์ 20501.01.03 90124
20501.02 ควบคุมการทำงาน ด้านความปลอดภัยตามมาตรฐานของสายการบิน 1.ควบคุมการตรวจสอบอุปกรณ์ด้านความปลอดภัยตามมาตรฐานสายการบิน 20501.02.01 90125
20501.02 ควบคุมการทำงาน ด้านความปลอดภัยตามมาตรฐานของสายการบิน 2. ควบคุมให้ลูกเรือปฏิบัติตามข้อปฏิบัติด้านความปลอดภัย 20501.02.02 90126
20501.02 ควบคุมการทำงาน ด้านความปลอดภัยตามมาตรฐานของสายการบิน 3. ควบคุมให้ผู้โดยสารปฏิบัติตามข้อปฏิบัติด้านความปลอดภัย 20501.02.03 90127
20501.03 ควบคุมการทำงาน ด้านการรักษาความปลอดภัยตามมาตรฐานของสายการบิน 1.ตรวจสอบให้ลูกเรือปฏิบัติตามขั้นตอนการรักษาความปลอดภัยทั้งก่อนและหลังเที่ยวบิน 20501.03.01 90128
20501.03 ควบคุมการทำงาน ด้านการรักษาความปลอดภัยตามมาตรฐานของสายการบิน 2.ตรวจสอบให้ผู้โดยสารปฏิบัติตามข้อปฏิบัติด้านการรักษาความปลอดภัย 20501.03.02 90129
20501.03 ควบคุมการทำงาน ด้านการรักษาความปลอดภัยตามมาตรฐานของสายการบิน 3.ควบคุมการตรวจสอบการเข้าออกอากาศยานของบุคคลตามมาตรฐานสายการบิน 20501.03.03 90130
20501.04 แก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นภายในเที่ยวบิน 1.แก้ไขปัญหาด้านการบริการที่เกิดขึ้นภายในเที่ยวบิน 20501.04.01 90131
20501.04 แก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นภายในเที่ยวบิน 2. แก้ไขปัญหาด้านความปลอดภัยที่เกิดขึ้นภายในเที่ยวบิน 20501.04.02 90132
20501.04 แก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นภายในเที่ยวบิน 3. แก้ไขปัญหาด้านการรักษาความปลอดภัยที่เกิดขึ้นภายในเที่ยวบิน 20501.04.03 90133

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)
N/A

13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

- การสื่อสาร



- การแก้ปัญหาเฉพาะหน้า



- ภาวะผู้นำ

(ข) ความต้องการด้านความรู้

- ความปลอดภัยภายในเที่ยวบิน



- การรักษาความปลอดภัยภายในเที่ยวบิน



- เอกสารที่เกี่ยวข้องกับการบิน และการโดยสาร



- ข้อกำหนดที่เกี่ยวกับการโดยสาร


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

          หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมิน และควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และ ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)



(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)



          - เอกสาร/หนังสือรับรองการทำงาน



          - แบบประเมินการสอบสัมภาษณ์



(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)



          - แบบประเมินการสอบสัมภาษณ์



(ค) คำแนะนำในการประเมิน



          หลักฐานที่ต้องการเพื่อแสดงถึงสมรรถนะในส่วนนี้ ต้องมีความสัมพันธ์และตอบโจทย์ตามข้อกำหนดของสมรรถนะย่อย และเกณฑ์การปฏิบัติงานในหน่วยสมรรถนะนี้ โดยหลักฐานในที่นี้ ต้องแสดงถึง 



          - ความรู้และทักษะที่เกี่ยวข้อง



          - วิธีการกำกับดูแล ควบคุมการปฏิบัติงานให้เป็นไปตามาตรฐานของสายการบิน



          - ขอบเขตด้านอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง



          ในกรณีที่ผู้เข้ารับการประเมินไม่ผ่านครบตามเกณฑ์ที่กำหนด ผู้ประเมินแจ้งหน่วยสมรรถนะและหน่วยสมรรถนะย่อยที่ไม่ผ่านให้ผู้เข้ารับการประเมินทราบ เพื่อผู้เข้ารับการประเมินสามารถไปทบทวนสมรรถนะ และกลับมาทดสอบใหม่อีกครั้ง



(ง) วิธีการประเมิน 



          - พิจารณาตามหลักฐานการปฏิบัติงาน ได้แก่ เอกสาร/หนังสือรับรองการทำงาน และการสอบ สัมภาษณ์



          - พิจารณาตามหลักฐานความรู้ ได้แก่ การสอบสัมภาษณ์


15. ขอบเขต (Range Statement)

          ขอบเขตการกำกับดูแลการจัดการภายในเที่ยวบิน ครอบคลุมถึงการกำกับ ดูแลและควบคุมการทำงานด้านการให้บริการ ด้านความปลอดภัย การรักษาความปลอดภัย และการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นภายในเที่ยวบิน 



(ก) คำแนะนำ 



          ขอบเขต (range statement) เป็นส่วนที่เกี่ยวข้องกับหน่วยสมรรถนะในภาพรวม ซึ่งจะเป็นการระบุสถานการณ์หรือสภาพแวดล้อมของงานที่เกี่ยวข้องกับสมรรถนะนี้ ที่มีผลกระทบต่อการปฏิบัติงาน มีลักษณะสำคัญใน 4 กลุ่ม กล่าวคือ 



          - ขั้นตอน ระเบียบ หรือวิธีปฏิบัติงานในสถานที่ทำงาน (workplace procedures) ขั้นตอนการ  ตรวจสอบการปฏิบัติงานตามขั้นตอนการรักษาความปลอดภัยทั้งก่อนและหลังเที่ยวบิน การตรวจสอบการปฏิบัติตามระเบียบปฏิบัติด้านการรักษาความปลอดภัย ระเบียบปฏิบัติด้านการให้การบริการ



          - สถานที่ทำงาน (work site) บริเวณภายในห้องโดยสาร



          - สภาวะในการทำงาน (operating conditions) การควบคุมการบริการ การทำงานด้านความปลอดภัยและการรักษาความปลอดภัยภายในเที่ยวบิน



          - ข้อมูล/เอกสาร (information/documents)  คู่มือการปฏิบัติงานของสายการบิน



(ข) คำอธิบายรายละเอียด



          - การควบคุมการบริการ หมายถึง ดูแล ให้พนักงานต้อนรับบนเครื่องบิน ปฏิบัติงาน ให้การบริการให้เป็นไปตามขั้นตอน ข้อกำหนด หรือมาตรฐานด้านการให้การบริการของสายการบิน



          - การควบคุมการทำงานด้านความปลอดภัย หมายถึง ควบคุม ให้พนักงานต้อนรับบนเครื่องบิน ปฏิบัติงาน ด้านความปลอดภัยให้เป็นไปตามกฎ ระเบียบ ข้อบังคับ ของสายการบิน เช่น การรายงานการตรวจเช็คอุปกรณ์ความปลอดภัย ประจำหน้าที่ที่ได้มอบหมาย



          - การควบคุมการทำงานด้านการรักษาความปลอดภัย หมายถึง ควบคุมให้พนักงานต้อนรับบนเครื่องบิน ปฏิบัติงานด้านการรักษาความปลอดภัย ให้เป็นไปตาม ระเบียบ ข้อบังคับ ของสายการบิน เช่น การรายงานการตรวจความเรียบร้อย ไม่มีสิ่งผิดปกติของห้องโดยสาร ก่อนผู้โดยสารขึ้นเครื่องบิน และหลังจากผู้โดยสารลงจากเครื่องบิน



          - ปัญหาด้านการบริการ ได้แก่ เหตุการณ์ที่อาจเกิดขึ้นก่อน ระหว่าง หรือ หลังจากการให้การบริการ ระหว่างผู้โดยสารกับพนักงานต้อนรับบนเครื่องบิน หรือผู้โดยสารกับสายการบิน เช่น พนักงานต้อนรับกล่าวคำไม่สุภาพกับผู้โดยสาร หรือที่นั่งที่ผู้โดยสารได้รับไม่สามารถปรับพนักเอนได้



          - ปัญหาด้านความปลอดภัย ได้แก่ ปัญหาที่อาจเกิดจากความไม่สมบูรณ์ของอุปกรณ์ด้านความปลอดภัย หรือความไม่ใส่ใจ ขาดความตระหนักของพนักงานต้อนรับบนเครื่องบินในด้านการตรวจเช็คอุปกรณ์ความปลอดภัย



          - ปัญหาด้านการรักษาความปลอดภัย ได้แก่ ปัญหาที่อาจเกิดจากความไม่เรียบร้อย มีสิ่งผิดปกติของห้องโดยสาร ก่อนผู้โดยสารขึ้นเครื่องบิน หรือหลังจากผู้โดยสารลงจากเครื่องบิน หรือปัญหาที่อาจเกิดจากการขาดความตระหนักในด้านการตรวจเช็คความเรียบร้อยของห้องโดยสารของพนักงานต้อนรับบนเครื่องบินก่อนผู้โดยสารขึ้นเครื่องบิน หรือหลังจากที่ผู้โดยสารลงจากเครื่องบิน


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

          - สอบสัมภาษณ์



ยินดีต้อนรับ