หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ประเมินสถานการณ์ฉุกเฉินภายในเที่ยวบิน

สาขาวิชาชีพการบิน


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ AVT-FAD-5-014ZB

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ประเมินสถานการณ์ฉุกเฉินภายในเที่ยวบิน

3. ทบทวนครั้งที่ 1 / -

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

          5111 พนักงานต้อนรับบนเครื่องบิน 



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
          หน่วยสมรรถนะเกี่ยวข้องกับความรู้ ทักษะการตอบสนอง และขั้นตอนการจัดการสถานการณ์ฉุกเฉินที่เกิดขึ้นในเที่ยวบิน ทราบถึงประเภทของเหตุการณ์ฉุกเฉิน สามารถแยกแยะระดับความรุนแรงของเหตุการณ์ฉุกเฉิน และเลือกใช้อุปกรณ์ความปลอดภัย สามารถปฏิบัติตามขั้นตอนได้ถูกต้องตามมาตรฐานของสายการบิน และรายงานผู้เกี่ยวข้องตามหลักปฏิบัติของสายการบิน

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
          ผู้ประกอบวิชาชีพด้านต้อนรับบนเครื่องบิน

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
          Guidance Materials for Cabin Crew Manual (CCM)

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
20301.01 ตอบสนองต่อสถานการณ์ฉุกเฉินที่เกิดขึ้นภายในเที่ยวบิน 1.ระบุประเภทของเหตุการณ์ฉุกเฉิน 20301.01.01 90096
20301.01 ตอบสนองต่อสถานการณ์ฉุกเฉินที่เกิดขึ้นภายในเที่ยวบิน 2. แยกแยะระดับความรุนแรงของเหตุการณ์ฉุกเฉิน 20301.01.02 90097
20301.01 ตอบสนองต่อสถานการณ์ฉุกเฉินที่เกิดขึ้นภายในเที่ยวบิน 3. แจ้งผู้เกี่ยวข้อง 20301.01.03 90098
20301.02 เลือกขั้นตอนการจัดการตามสถานการณ์ฉุกเฉินที่เกิดขึ้น 1.เลือกใช้อุปกรณ์ความปลอดภัยตามมาตรฐานของสายการบิน 20301.02.01 90099
20301.02 เลือกขั้นตอนการจัดการตามสถานการณ์ฉุกเฉินที่เกิดขึ้น 2. เลือกใช้วิธีปฏิบัติตามขั้นตอนตามมาตรฐานของสายการบิน 20301.02.02 90100
20301.02 เลือกขั้นตอนการจัดการตามสถานการณ์ฉุกเฉินที่เกิดขึ้น 3. รายงานผู้บังคับบัญชาตามหลักปฏิบัติของสายการบิน 20301.02.03 90101

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)
N/A

13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

- การสื่อสารกับผู้ปฏิบัติงานอย่างมีประสิทธิภาพ กระชับ รวดเร็ว ในสถานการณ์ฉุกเฉิน



- การสื่อสารกับผู้โดยสารในสถานการณ์ฉุกเฉิน เพื่อไม่สร้างความตื่นตระหนกกับผู้โดยสาร หรือเพื่อสร้างความใจที่ถูกต้องกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้น



- การใช้อุปกรณ์ความปลอดภัย



- การตอบสนองต่อสถานการณ์ที่เกิดขึ้น



- การปฏิบัติตามขั้นตอนความปลอดภัย

(ข) ความต้องการด้านความรู้

- ประเภท ระดับของสถานการณ์ฉุกเฉิน



- อุปกรณ์ความปลอดภัย


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

          หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมิน และควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และ ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)



(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)



          - เอกสาร/หนังสือรับรองการทำงาน



          - แบบประเมินการสอบสัมภาษณ์



(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)



          - แบบประเมินการสอบข้อเขียน



(ค) คำแนะนำในการประเมิน



          หลักฐานที่ต้องการเพื่อแสดงถึงสมรรถนะในส่วนนี้ ต้องมีความสัมพันธ์และตอบโจทย์ตามข้อกำหนดของสมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงานในหน่วยสมรรถนะนี้ โดยหลักฐานในที่นี้ ต้องแสดงถึง



          1. ความรู้และทักษะที่เกี่ยวข้อง



          2. วิธีการปฏิบัติงานตามข้อกำหนด กฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง



          3. ขอบเขตด้านอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง



          ในกรณีที่ผู้รับการประเมินไม่ผ่านครบตามเกณฑ์ที่กำหนด ผู้ประเมินแจ้งหน่วยสมรรถนะที่ไม่ผ่าน ให้ผู้เข้ารับการประเมินทราบ และไปทบทวนสมรรถนะ ซึ่งผู้เข้ารับการประเมินสามารถกลับมาทดสอบสมรรถนะใหม่อีกครั้ง



(ง) วิธีการประเมิน 



          1. พิจารณาตามหลักฐานการปฏิบัติงาน ได้แก่ เอกสาร/หนังสือรับรองการทำงาน และการสอบสัมภาษณ์



          2. พิจารณาตามหลักฐานความรู้ ได้แก่ การสอบข้อเขียน


15. ขอบเขต (Range Statement)

          ขอบเขตในการประเมินสถานการณ์ฉุกเฉินภายในเที่ยวบิน ครอบคลุมตั้งแต่การประเมิน การตอบสนองต่อสถานการณ์ฉุกเฉินที่เกิดขึ้นภายในเที่ยวบิน การแยกแยะระดับความรุนแรงของเหตุการณ์ฉุกเฉิน การเลือกขั้นตอนการจัดการกับสถานการณ์ฉุกเฉินที่เกิดขึ้น การเลือกใช้อุปกรณ์ความปลอดภัยตามมาตรฐานของสายการบิน และรายงานผู้บังคับบัญชาตามหลักปฏิบัติของสายการบิน



(ก) คำแนะนำ



          ขอบเขต (range statement) เป็นส่วนที่เกี่ยวข้องกับหน่วยสมรรถนะในภาพรวม ซึ่งจะเป็นการระบุสถานการณ์หรือสภาพแวดล้อมของงานที่เกี่ยวข้องกับสมรรถนะนี้ ที่มีผลกระทบต่อการปฏิบัติงาน มีลักษณะสำคัญใน 4 กลุ่ม กล่าวคือ



          1. ขั้นตอน ระเบียบ หรือวิธีปฏิบัติงานในสถานที่ทำงาน (workplace procedures) วิธีปฏิบัติตามมาตรฐานที่สายการบินกำหนด



          2. สถานที่ทำงาน (work site)  บริเวณภายในห้องโดยสารบนเครื่องบิน



          3. สภาวะในการทำงาน (operating conditions) ในสถานการณ์การดำเนินงานที่อาจมีสิ่งก่อให้เกิดความไม่ปกติ ที่อาจส่งผลถึงความปลอดภัย 



          4. ข้อมูล/เอกสาร (information/documents) คู่มือการปฏิบัติงานของสายการบิน



(ข) คำอธิบายรายละเอียด



          - สถานการณ์ฉุกเฉิน หมายถึง สถานการณ์หรือ เหตุการณ์ที่ไม่ปกติ อันจะก่อนให้เกิดความไม่ปลอดภัย กับผู้โดยสาร ผู้ปฏิบัติหน้าที่บนเที่ยวบิน หรืออากาศยาน 



          - การประเมินสถานการณ์ฉุกเฉินภายในเที่ยวบิน หมายถึง การคาดการณ์รับมือกับสถานการณ์ฉุกเฉินที่อาจเกิดขึ้น หรือไม่เกิดขึ้นภายในเที่ยวบิน เช่น เกิดสัญญาณเตือนเพลิงไหม้ในห้องน้ำ



          - การจัดการกับสถานการณ์ฉุกเฉิน หมายถึง การจัดการกับสถานการณ์ที่ไม่ปกติภายในเที่ยวบิน สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท คือ การจัดการสถานการณ์ฉุกเฉินที่สามารถเตรียมการได้ (Prepared Emergency) และ สถานการณ์ฉุกเฉินที่ไม่สามารถเตรียมการได้ (Unprepared Emergency)



          - อุปกรณ์ความปลอดภัย หมายถึงอุปกรณ์ที่ไว้คอยช่วยเหลือในกรณีที่เกิดเหตุการณ์ไม่ปกติขึ้น เช่น ขวาน หน้ากากป้องกันควันไฟ ถังดับเพลิง เครื่องกระจายเสียง หรือ ไฟฉาย


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

          - สอบสัมภาษณ์



          - สอบข้อเขียน



ยินดีต้อนรับ