หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ดูแลความปลอดภัยและการรักษาความปลอดภัยของผู้โดยสารและห้องโดยสาร

สาขาวิชาชีพการบิน


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ AVT-FAD-5-009ZB

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ดูแลความปลอดภัยและการรักษาความปลอดภัยของผู้โดยสารและห้องโดยสาร

3. ทบทวนครั้งที่ 1 / -

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

          5111 พนักงานต้อนรับบนเครื่องบิน



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
          หน่วยสมรรถนะเกี่ยวข้องกับการดูแลความปลอดภัยและการรักษาความปลอดภัยของผู้โดยสาร ตรวจสภาพความพร้อมใช้ของอุปกรณ์รักษาความปลอดภัย ตรวจตำแหน่งของอุปกรณ์ความปลอดภัย และตรวจนับจำนวนอุปกรณ์ความปลอดภัยในห้องโดยสารประจำจุดต่างๆที่ได้รับมอบหมาย ที่กำหนดโดยกฎการบิน ทั้งแสดงให้เห็นถึงการตรวจหาสิ่งแปลกปลอม และสิ่งผิดปกติภายในห้องโดยสาร พร้อมระบุความไม่ปลอดภัยและความไม่ปกติ ดูแลไม่ให้บุคคลที่ไม่ได้รับอนุญาตเข้ามาในห้องโดยสาร ก่อนและหลังตรวจความเรียบร้อย พร้อมทั้งรายงานการตรวจให้ผู้บังคับบัญชาทราบ

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
          ผู้ประกอบวิชาชีพด้านต้อนรับบนเครื่องบิน

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
          Guidance Materials for Cabin Crew Manual (CCM)

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
20103.01 ตรวจอุปกรณ์ความปลอดภัย ประจำเครื่องบิน 1.ตรวจนับจำนวนอุปกรณ์ความปลอดภัยในห้องโดยสาร 20103.01.01 90052
20103.01 ตรวจอุปกรณ์ความปลอดภัย ประจำเครื่องบิน 2. ตรวจสภาพความพร้อมใช้ของอุปกรณ์ความปลอดภัยในห้องโดยสาร 20103.01.02 90053
20103.01 ตรวจอุปกรณ์ความปลอดภัย ประจำเครื่องบิน 3. ตรวจตำแหน่งของอุปกรณ์ความปลอดภัยในห้องโดยสาร 20103.01.03 90054
20103.01 ตรวจอุปกรณ์ความปลอดภัย ประจำเครื่องบิน 4. รายงานการตรวจอุปกรณ์ความปลอดภัยให้ผู้บังคับบัญชา 20103.01.04 90055
20103.02 ตรวจการรักษาความปลอดภัย และความเรียบร้อยในห้องโดยสาร 1.ตรวจหาสิ่งแปลกปลอม และสิ่งผิดปกติภายในห้องโดยสาร 20103.02.01 90056
20103.02 ตรวจการรักษาความปลอดภัย และความเรียบร้อยในห้องโดยสาร 2. ระบุความไม่ปลอดภัย และความไม่ปกติในห้องโดยสาร 20103.02.02 90057
20103.02 ตรวจการรักษาความปลอดภัย และความเรียบร้อยในห้องโดยสาร 3. ดูแลไม่ให้บุคคลที่ไม่ได้รับอนุญาต เข้ามาในห้องโดยสารก่อนและหลังตรวจสอบความเรียบร้อย 20103.02.03 90058
20103.02 ตรวจการรักษาความปลอดภัย และความเรียบร้อยในห้องโดยสาร 4. รายงานการตรวจการรักษาความปลอดภัยให้ผู้บังคับบัญชา 20103.02.04 90059

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)
N/A

13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

- สื่อสารกับผู้ปฏิบัติงาน



- การตรวจอุปกรณ์ความปลอดภัยประจำเครื่องบิน



- การตรวจความปลอดภัยภายในห้องโดยสาร

(ข) ความต้องการด้านความรู้

- การตรวจนับจำนวนอุปกรณ์นิรภัย



- การตรวจชนิดของอุปกรณ์นิรภัย



- การตรวจสภาพความพร้อมใช้งานของอุปกรณ์ความปลอดภัย



- การตรวจห้องโดยสาร



- กฎระเบียบผู้ได้รับอนุญาตการเข้าถึงอากาศยาน



- หลักปฏิบัติด้านความปลอดภัยทางการบิน


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

          หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมิน และควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และ ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)



(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)



          - เอกสาร/หนังสือรับรองการทำงาน



          - แบบประเมินการสอบสัมภาษณ์



          - แบบประเมินการสอบปฏิบัติ



(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)



          - แบบทดสอบข้อเขียน



(ค) คำแนะนำในการประเมิน



          หลักฐานที่ต้องการเพื่อแสดงถึงสมรรถนะในส่วนนี้ ต้องมีความสัมพันธ์และตอบโจทย์ตามข้อกำหนดของสมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงานในหน่วยสมรรถนะนี้ โดยหลักฐานในที่นี้ ต้องแสดงถึง



          - ความรู้และทักษะที่เกี่ยวข้อง



          - วิธีการปฏิบัติงานตามข้อกำหนด กฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง



          - ขอบเขตด้านอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง



          ในกรณีที่ผู้เข้ารับการประเมินไม่ผ่านครบตามเกณฑ์ที่กำหนด ผู้ประเมินแจ้งหน่วยสมรรถนะที่ไม่ผ่าน ให้ผู้เข้ารับการประเมินทราบ และไปทบทวนสมรรถนะ ซึ่งผู้เข้ารับการประเมินสามารถกลับมาทดสอบสมรรถนะใหม่อีกครั้ง



(ง) วิธีการประเมิน 



          - พิจารณาตามหลักฐานการปฏิบัติงาน ได้แก่ เอกสาร/หนังสือรับรองการทำงาน การสอบสัมภาษณ์ และการสอบปฏิบัติ



          - พิจารณาตามหลักฐานความรู้ ได้แก่ การสอบข้อเขียน 


15. ขอบเขต (Range Statement)

          การดูแลความปลอดภัยและการรักษาความปลอดภัยของผู้โดยสารและห้องโดยสาร ครอบคลุมถึงวิธีการตรวจอุปกรณ์ความปลอดภัยและการรักษาความปลอดภัยประจำเครื่องบินตามจุดต่างๆ  การตรวจนับจำนวน สภาพการใช้งาน และตำแหน่งของอุปกรณ์ความปลอดภัยในห้องโดยสาร วิธีการตรวจการรักษาความปลอดภัยและความเรียบร้อยในห้องโดยสาร ก่อนผู้โดยสารขึ้นเครื่องบิน และหลังจากที่ผู้โดยสารลงจากเครื่องบิน การตรวจหาสิ่งแปลกปลอมและสิ่งผิดปกติในห้องโดยสาร รวมถึงการดูแล วิธิปฏิบัติ สำหรับบุคคลที่ไม่ได้รับอนุญาตเข้ามาในห้องโดยสาร 



(ก) คำแนะนำ 



          ขอบเขต (range statement) เป็นส่วนที่เกี่ยวข้องกับหน่วยสมรรถนะในภาพรวม ซึ่งจะเป็นการระบุสถานการณ์หรือสภาพแวดล้อมของงานที่เกี่ยวข้องกับสมรรถนะนี้ ที่มีผลกระทบต่อการปฏิบัติงาน มีลักษณะสำคัญใน 4 กลุ่ม กล่าวคือ 



          - ขั้นตอน ระเบียบ หรือวิธีปฏิบัติงานในสถานที่ทำงาน (workplace procedures) ขั้นตอนการตรวจอุปกรณ์ความปลอดภัยในห้องโดยสารและขั้นตอนการตรวจการรักษาความปลอดภัยในห้องโดยสารตามมาตรฐานความปลอดภัย



          - สถานที่ทำงาน (work site)  บริเวณภายในห้องโดยสารบนเครื่องบิน



          - สภาวะในการทำงาน (operating conditions) การตรวจอุปกรณ์ความปลอดภัยและการรักษาความปลอดภัยประจำเครื่องบิน การตรวจการรักษาความปลอดภัยและความเรียบร้อยในห้องโดยสาร 



          - การตรวจหาสิ่งแปลกปลอมและสิ่งผิดปกติในห้องโดยสาร และการดูแลไม่ให้บุคคลที่ไม่ได้รับอนุญาตเข้ามาในห้องโดยสาร



          - ข้อมูล/เอกสาร (information/documents) เอกสาร คู่มือการปฏิบัติงานของสายการบิน



(ข) คำอธิบายรายละเอียด



          - อุปกรณ์ความปลอดภัย ได้แก่ เสื้อชูชีพ เครื่องมือปฐมพยาบาล ถังออกซิเจน หน้ากากออกซิเจน   เสาสัญญาณขอความช่วยเหลือ เครื่องขยายเสียง สไลด์อพยพ และอุปกรณ์ความปลอดภัยอื่น ๆ ที่ติดตั้งโดยผู้ผลิตอากาศยาน



          - การรักษาความปลอดภัยภายในห้องโดยสาร หมายถึง การดูแลอำนวยความสะดวกให้กับผู้โดยสารมีความปลอดภัย ระหว่างการเดินทาง 



          - สิ่งแปลกปลอมและสิ่งผิดปกติภายในห้องโดยสาร หมายถึง วัตถุหรือสิ่งของใด ๆ ที่ไม่ได้ถูกกำหนดให้อยู่ประจำภายในเครื่องบิน



          - ความไม่ปลอดภัย และความไม่ปกติในห้องโดยสาร หมายถึง เหตุการณ์ สถานการณ์ วัตถุหรือสิ่งของใด ที่จะสามารถทำให้เกิดความไม่ปลอดภัยกับผู้โดยสาร ผู้ปฏิบัติงานและอากาศยาน



          - การดูแลไม่ให้บุคคลที่ไม่ได้รับอนุญาตเข้ามาในห้องโดยสาร หมายถึง การปฏิบัติหน้าที่ ตรวจสอบ ดูแลผู้ที่ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับเที่ยวบินนั้นเข้ามาในห้องโดยสารก่อนได้รับการอนุญาตจากผู้ปฏิบัติหน้าที่บนเครื่องบิน



          - รายงานการตรวจอุปกรณ์ความปลอดภัยให้ผู้บังคับบัญชา หมายถึง การปฏิบัติงานโดยการแจ้ง รายงานให้ผู้บังคับบัญชาทราบถึงการตรวจความเรียบร้อย พร้อมใช้งานของอุปกรณ์ความปลอดภัย



          - รายงานการตรวจการรักษาความปลอดภัยให้ผู้บังคับบัญชา หมายถึง การปฏิบัติงานโดยการแจ้ง ให้ผู้บังคับบัญชาทราบถึงความปลอดภัยในห้องโดยสารก่อนที่จะมีการรับผู้โดยสารขึ้นเครื่องบิน และหลังจากที่ผู้โดยสารลงจากเครื่องบินเรียบร้อย


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

          - สอบสัมภาษณ์



          - สอบข้อเขียน 



          - สอบปฏิบัติ 



ยินดีต้อนรับ