หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

เข้าใจสถานการณ์ฉุกเฉินภายในเที่ยวบิน

สาขาวิชาชีพการบิน


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ AVT-FAD-4-008ZB

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ เข้าใจสถานการณ์ฉุกเฉินภายในเที่ยวบิน

3. ทบทวนครั้งที่ 1 / -

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

          5111 พนักงานต้อนรับบนเครื่องบิน



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
          หน่วยสมรรถนะเกี่ยวข้องกับความรู้ และทักษะการจัดการความปลอดภัยในสถานการณ์ฉุกเฉินของผู้โดยสาร สามารถแยกแยะสถานการณ์ฉุกเฉิน ระบุขั้นตอนในการจัดการในสถานการณ์ฉุกเฉิน และอธิบายการใช้อุปกรณ์ความปลอดภัยในสถานการณ์ฉุกเฉิน เช่น กรณีเกิดสัญญาณเตือนเพลิงไหม้ในห้องน้ำ ต้องปฏิบัติตามขั้นตอนทันที ตรวจสอบต้นตอแหล่งที่มาของควันหรือไฟ รีบดับเพลิงโดยใช้ถังอุปกรณ์ดับเพลิงที่อยู่ใกล้ที่สุด และพนักงานต้อนรับบนเครื่องบินต้องสื่อสารให้ผู้บังคับบัญชา นักบินได้รับทราบทันที ตระหนักถึงสิ่งที่อาจก่อให้เกิดควันในห้องน้ำที่จะทำให้สัญณาณเตือนเพลิงไหม้เกิดขึ้นได้ ด้วยการสอดส่อง ดูแลไม่ให้ผู้โดยสารสูบบุหรี่ภายในห้องน้ำ สังเกต ตรวจเช็ค ถังขยะในห้องน้ำอยู่เสมอเพื่อไม่ให้เกิดเหตุการณ์ฉุกเฉินเกิดขึ้น

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
          บุคคลทั่วไป

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
          - Safety and security information issued by the Civil Aviation Authority of Thailand

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
20102.01 อธิบายสถานการณ์ฉุกเฉินในเที่ยวบิน 1.แยกแยะสถานการณ์ฉุกเฉินที่เกิดขึ้นภายในเที่ยวบิน 20102.01.01 90046
20102.01 อธิบายสถานการณ์ฉุกเฉินในเที่ยวบิน 2.ระบุขั้นตอนการจัดการสถานการณ์ฉุกเฉินที่เกิดขึ้นภายในเที่ยวบิน 20102.01.02 90047
20102.01 อธิบายสถานการณ์ฉุกเฉินในเที่ยวบิน 3. ระบุการรายงานสถานกาณ์ฉุกเฉินภายแก่ผู้บังคับบัญชา 20102.01.03 90048
20102.02 อธิบายการใช้อุปกรณ์ความปลอดภัยให้เหมาะสมกับสถานการณ์ฉุกเฉิน 1.ระบุอุปกรณ์ความปลอดภัยที่ใช้ในสถานการณ์ฉุกเฉิน 20102.02.01 90049
20102.02 อธิบายการใช้อุปกรณ์ความปลอดภัยให้เหมาะสมกับสถานการณ์ฉุกเฉิน 2. อธิบายขั้นตอนการใช้อุปกรณ์ความปลอดภัยในสถานการณ์ฉุกเฉิน 20102.02.02 90050
20102.02 อธิบายการใช้อุปกรณ์ความปลอดภัยให้เหมาะสมกับสถานการณ์ฉุกเฉิน 3. ระบุรายงานการใช้อุปกรณ์ความปลอดภัยแก่ผู้บังคับบัญชา 20102.02.03 90051

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)
N/A

13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

- การใช้อุปกรณ์ความปลอดภัยในสถานการณ์ฉุกเฉิน



- การสื่อสารกับเพื่อนร่วมงานเพื่อแจ้งให้ผู้บังคับบัญชา หรือนักบินทราบ



- การสื่อสารกับผู้โดยสารบนเครื่องบิน เพื่อไม่สร้างความตื่นตระหนกกับเที่ยวบิน

(ข) ความต้องการด้านความรู้

- ประเภทของสถานการณ์ฉุกเฉิน



- หลักการ ขั้นตอนการจัดการสถานการณ์ฉุกเฉิน


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

          หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมิน และควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และ ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)



(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)



          - แบบทดสอบสัมภาษณ์



(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)



          - หลักฐานคุณวุฒิการศึกษา



          - แบบทดสอบข้อเขียน



(ค) คำแนะนำในการประเมิน



          หลักฐานที่ต้องการเพื่อแสดงถึงสมรรถนะในส่วนนี้ ต้องมีความสัมพันธ์และตอบโจทย์ตามข้อกำหนดของสมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงานในหน่วยสมรรถนะนี้ โดยหลักฐานในที่นี้ ต้องแสดงถึง



          1. ความรู้และทักษะที่เกี่ยวข้อง



          2. วิธีการปฏิบัติงานตามข้อกำหนด กฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง



          3. ขอบเขตด้านอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง



          ในกรณีที่ผู้รับการประเมินไม่ผ่านครบตามเกณฑ์ที่กำหนด ผู้ประเมินแจ้งหน่วยสมรรถนะที่ไม่ผ่าน    ให้ผู้เข้ารับการประเมินทราบ และไปทบทวนสมรรถนะ ซึ่งผู้เข้ารับการประเมินสามารถกลับมาทดสอบสมรรถนะใหม่อีกครั้ง



(ง) วิธีการประเมิน



          1. พิจารณาตามหลักฐานการปฏิบัติงาน ได้แก่ การสอบสัมภาษณ์



          2. พิจารณาตามหลักฐานความรู้ ได้แก่ การสอบข้อเขียน


15. ขอบเขต (Range Statement)

          ขอบเขตของการปฏิบัติงานในด้านความเข้าใจสถานการณ์ฉุกเฉินภายในเที่ยวบิน เข้าใจในสถานการณ์ที่เกิดขึ้นว่าเป็นเรื่องที่ฉุกเฉินหรือเกิดจากความบกพร่องของระบบ เช่น ระบบเตือนเกิดเพลิงไหม้ในห้องน้ำซึ่งอาจบกพร่องของระบบเตือน หรือสัญญาณเตือนถึงเพลิงลุกไหม้จริง ต้องตรวจสอบให้แน่ใจ โดยสามารถแยกแยะสถานการณ์ฉุกเฉินได้ ครอบคลุมถึงการระบุประเภทของสถานการณ์ฉุกเฉิน ผู้เข้ารับการประเมินต้องทราบขั้นตอนการจัดการในสถานการณ์ฉุกเฉิน ให้เป็นไปตามมาตรฐานทางด้านปลอดภัย 



(ก) คำแนะนำ



          ขอบเขต (Range Statement) เป็นส่วนที่เกี่ยวข้องกับหน่วยสมรรถนะในภาพรวม ซึ่งจะเป็นการระบุสถานการณ์หรือสภาพแวดล้อมของงานที่เกี่ยวข้องกับสมรรถนะนี้ มีลักษณะสำคัญใน 4 กลุ่ม กล่าวคือ  



          - ขั้นตอน ระเบียบ หรือวิธีปฏิบัติงานในสถานที่ทำงาน (Workplace Procedures) ปฏิบัติตามขั้นตอนการปฏิบัติของสายการบิน



          - สถานที่ทำงาน (Work Site) บริเวณภายในห้องโดยสารบนเครื่องบิน



          - สภาวะในการทำงาน (Operating Conditions) การปฏิบัติงานเพื่อดูแล ความปลอดภัยของผู้โดยสาร และอากาศยานให้เป็นไปตามข้อบังคับด้านความปลอดภัยในการเดินทางทางอากาศ



          - ข้อมูล/เอกสาร (Information/Documents) เช่น ข้อมูลจากผู้โดยสาร ข้อมูลจากระบบการทำงานของเครื่องบิน



(ข) คำอธิบายรายละเอียด



          - สถานการณ์ฉุกเฉิน หมายถึง เหตุการณ์หรือสิ่งผิดปกติที่เกิดขึ้นบนเที่ยวบินที่อาจก่อให้เกิด ความไม่ปลอดภัยกับ ผู้โดยสาร ผู้ปฏิบัติงานบนเที่ยวบิน และอากาศยาน



          - อุปกรณ์ความปลอดภัยที่ใช้ในสถานการณ์ฉุกเฉิน ได้แก่ ถังดับเพลิง หน้ากากป้องกันควันไฟ ขวาน


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

          - สอบข้อเขียน



          - สอบสัมภาษณ์



ยินดีต้อนรับ