หน่วยสมรรถนะ
ปฏิบัติงานตามหลักการความปลอดภัยและดูแลด้านความปลอดภัย
สาขาวิชาชีพการบิน
รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ
1. รหัสหน่วยสมรรถนะ | AVT-FAD-4-007ZB |
2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ | ปฏิบัติงานตามหลักการความปลอดภัยและดูแลด้านความปลอดภัย |
3. ทบทวนครั้งที่ | 1 / - |
4. สร้างใหม่ | ปรับปรุง |
5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification) | |
5111 พนักงานต้อนรับบนเครื่องบิน |
6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency) | |
หน่วยสมรรถนะเกี่ยวข้องกับความรู้ ทักษะการทำงานตามหลักการจัดการความปลอดภัยและดูแลด้านความปลอดภัยให้กับผู้โดยสารและห้องโดยสาร สามารถระบุตำแหน่งที่ติดตั้งของอุปกรณ์ความปลอดภัยบนเครื่องบิน เช่น ตำแหน่งที่ติดตั้งหน้ากากป้องกันควันไฟ ถังออกซิเจน กล่องเครื่องมือปฐมพยาบาลเบื้องต้น เครื่องขยายเสียง เป็นต้น เข้าใจวิธีการ ขั้นตอน การใช้งานของอุปกรณ์ความปลอดภัย เช่น การใช้งานหน้ากากป้องกันควันไฟ จะต้องถอดสลักออกก่อนการสวมลงทางศรีษระ และให้หยุดใช้งานเมื่อเสียงมีสัญญาณเตือนว่าปริมาณออกซิเจนเหลือน้อยลง เป็นต้น อธิบาย วิธีการดูแล ตรวจความปลอดภัย ความเรียบร้อยภายในห้องโดยสาร ห้องพักพนักงานต้อนรับบนเครื่องบิน และส่วนปฏิบัติงานต่างๆ บนเครื่องบิน ว่าไม่มีสิ่งแปลกปลอม หรือสิ่งใดผิดปกติอยู่ภายในเครืองบิน ที่นั่งผู้โดยสาร ที่เก็บสัมภาระเหนือศรีษระ ห้องน้ำ ห้องพักพนักงานต้อนรับบนเครื่องบิน รายงานให้ผู้บังคับบัญชาทราบ ตามระเบียบวิธีปฏิบัติของสายการบิน |
7. สำหรับระดับคุณวุฒิ |
1 | 2 | 3 | 4 | 5 | 6 | 7 | 8 |
---|---|---|---|---|---|---|---|
8. กลุ่มอาชีพ (Sector) | |
บุคคลทั่วไป |
9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี) | |
N/A |
10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี) | |
- Safety and security information issued by the Civil Aviation Authority of Thailand |
11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria) |
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) | เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) | รหัส PC (ตามเล่มมาตรฐาน) |
รหัส PC (จากระบบ) |
---|---|---|---|
20101.01 อธิบายขั้นตอนการตรวจอุปกรณ์ความปลอดภัยประจำเครื่อง | 1.ระบุวิธีการตรวจนับจำนวนของอุปกรณ์ความปลอดภัยในห้องโดยสาร | 20101.01.01 | 90036 |
20101.01 อธิบายขั้นตอนการตรวจอุปกรณ์ความปลอดภัยประจำเครื่อง | 2.ระบุวิธีการตรวจสภาพความพร้อมใช้ของอุปกรณ์ความปลอดภัยในห้องโดยสาร | 20101.01.02 | 90037 |
20101.01 อธิบายขั้นตอนการตรวจอุปกรณ์ความปลอดภัยประจำเครื่อง | 3. ระบุวิธีการตรวจตำแหน่งของอุปกรณ์ความปลอดภัยในห้องโดยสาร | 20101.01.03 | 90038 |
20101.01 อธิบายขั้นตอนการตรวจอุปกรณ์ความปลอดภัยประจำเครื่อง | 4. อธิบายวิธีการรายงานการตรวจอุปกรณ์ความปลอดภัยให้ผู้บังคับบัญชา | 20101.01.04 | 90039 |
20101.02 อธิบายขั้นตอนการตรวจห้องโดยสาร | 1.ระบุวิธีการตรวจความเรียบร้อยในห้องโดยสาร | 20101.02.01 | 90040 |
20101.02 อธิบายขั้นตอนการตรวจห้องโดยสาร | 2. ระบุสิ่งผิดปกติที่อาจตรวจพบในห้องโดยสาร | 20101.02.02 | 90041 |
20101.02 อธิบายขั้นตอนการตรวจห้องโดยสาร | 3. อธิบายวิธีการรายงานการตรวจห้องโดยสารให้ผู้บังคับบัญชา | 20101.02.03 | 90042 |
20101.03 อธิบายการใช้อุปกรณ์ความปลอดภัยสำหรับผู้โดยสาร | 1.ระบุอุปกรณ์ความปลอดภัยภายในห้องโดยสาร | 20101.03.01 | 90043 |
20101.03 อธิบายการใช้อุปกรณ์ความปลอดภัยสำหรับผู้โดยสาร | 2. ระบุตำแหน่งอุปกรณ์ความปลอดภัยสำหรับผู้โดยสาร | 20101.03.02 | 90044 |
20101.03 อธิบายการใช้อุปกรณ์ความปลอดภัยสำหรับผู้โดยสาร | 3. ให้ข้อมูลการใช้อุปกรณ์ความปลอดภัยสำหรับผู้โดยสาร | 20101.03.03 | 90045 |
12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge) | |
N/A |
13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge) | |
(ก) ความต้องการด้านทักษะ - การตรวจเช็คอุปกรณ์ความปลอดภัยประจำเครื่อง - การตรวจความปลอดภัยภายในห้องโดยสาร (ข) ความต้องการด้านความรู้ - ความรู้เกี่ยวกับอุปกรณ์ความปลอดภัยในห้องโดยสาร - ความรู้เกี่ยวกับการตรวจห้องโดยสาร - ความรู้เกี่ยวกับการตรวจนับ ตรวจสภาพความพร้อมใช้งานอุปกรณ์ความปลอดภัย - ความรู้ด้านความปลอดภัยของการดูแลอากาศยาน |
14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide) | |
หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมินและควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และ ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge) (ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence) - แบบทดสอบสัมภาษณ์ (ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence) - หลักฐานคุณวุฒิการศึกษา - แบบทดสอบข้อเขียน (ค) คำแนะนำในการประเมิน หลักฐานที่ต้องการเพื่อแสดงถึงสมรรถนะในส่วนนี้ ต้องมีความสัมพันธ์และตอบโจทย์ตามข้อกำหนดของสมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงานในหน่วยสมรรถนะนี้ โดยหลักฐานในที่นี้ ต้องแสดงถึง - ความรู้และทักษะที่เกี่ยวข้อง - วิธีการปฏิบัติงานตามข้อกำหนด กฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง - ขอบเขตด้านอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ในกรณีที่ผู้เข้ารับการประเมินไม่ผ่านครบตามเกณฑ์ที่กำหนด ผู้ประเมินแจ้งหน่วยสมรรถนะที่ไม่ผ่าน ให้ผู้เข้ารับการประเมินทราบ และไปทบทวนสมรรถนะ ซึ่งผู้เข้ารับการประเมินสามารถกลับมาทดสอบสมรรถนะใหม่อีกครั้ง (ง) วิธีการประเมิน - พิจารณาตามหลักฐานการปฏิบัติงาน ได้แก่ การสอบสัมภาษณ์ - พิจารณาตามหลักฐานความรู้ ได้แก่ การสอบข้อเขียน |
15. ขอบเขต (Range Statement) | |
ขอบเขตการปฏิบัติงานในการดูแลความปลอดภัยและด้านการรักษาความปลอดภัย เริ่มจากการตรวจเช็คจำนวน รวมถึงสภาพความพร้อมใช้งานของอุปกรณ์ที่ใช้ในการรักษาความปลอดภัยตามหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย และรายงานผลการตรวจเช็คให้ผู้บังคับบัญชาทราบตามข้อกำหนดของสายการบิน สำหรับด้านการดูแลรักษาความปลอดภัย เพื่อให้เป็นไปตามข้อบังคับด้านความปลอดภัยในการเดินทางทางอากาศ รวมถึงมาตรฐานการให้การบริการของสายการบิน การตรวจดูแลความปลอดภัยภายในห้องโดยสาร ที่พักของพนักงานต้อนรับบินเครื่องบิน และส่วนปฏิบัติงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง ถึงสิ่งแปลกปลอม สิ่งที่อาจผิดปกติตามขั้นตอนการตรวจความปลอดภัยก่อนที่ผู้โดยสารขึ้นเครื่องบิน และหลังจากที่ผู้โดยสารลงจากเครื่องบิน เพื่อสอบถามรายละเอียดของการปฏิบัติงานด้านการดูแลความปลอดภัย (ก) คำแนะนำ ขอบเขต (Range Statement) เป็นส่วนที่เกี่ยวข้องกับหน่วยสมรรถนะในภาพรวม ซึ่งจะเป็นการระบุสถานการณ์หรือสภาพแวดล้อมของงานที่เกี่ยวข้องกับสมรรถนะนี้ มีลักษณะสำคัญใน 4 กลุ่ม กล่าวคือ - ขั้นตอน ระเบียบ หรือวิธีปฏิบัติงานในสถานที่ทำงาน (Workplace Procedures) ตามขั้นตอนการตรวจเช็คอุปกรณ์ความปลอดภัย และขั้นตอนการตรวจ ดูแลความปลอดภัยห้องโดยสารก่อนที่ผู้โดยสารขึ้นเครื่องบิน และหลังจากผู้โดยสารลงจากเครื่องบิน - สถานที่ทำงาน (Work Site) ตามตำแหน่งหน้าที่ ที่ได้รับมอบหมายจากผู้บังคับบัญชา - สภาวะในการทำงาน (Operating Conditions) การปฏิบัติเพื่อให้เป็นไปตามข้อบังคับด้านความปลอดภัยในการเดินทางทางอากาศ - ข้อมูล/เอกสาร (Information/Documents) แผ่นพับ เอกสาร คู่มือตรวจเช็คอุปกรณ์ความปลอดภัยที่สายการบินกำหนด (ข) คำอธิบายรายละเอียด - อุปกรณ์ความปลอดภัยในห้องโดยสาร ได้แก่ ไฟฉาย เสื้อชูชีพ ถังออกซิเจน หน้ากากออกซิเจน ถังดับเพลิง ขวาน ถุงมือ เครื่องกระจายเสียง เครื่องส่งคลื่นวิทยุขอความช่วยเหลือ - การตรวจอุปกรณ์ความปลอดภัยประจำเครื่อง หมายถึง การตรวจนับจำนวนอุปกรณ์ความปลอดภัยตามที่ระบุไว้ และตรวจความพร้อมในการใช้งานอุปกรณ์ความปลอดภัย ให้เป็นตามข้อกำหนดด้านการบิน - การตรวจห้องโดยสาร หมายถึง การตรวจสิ่งแปลกปลอมภายในห้องโดยสาร ก่อนผู้โดยสารขึ้นเครื่องบิน และหลังจากที่ผู้โดยสารลงจากเครื่องบิน เพื่อป้องกันอันตรายที่จะเกิดขึ้นกับผู้โดยสาร ผู้ปฏิบัติหน้าที่บนเครื่องบิน และอันตรายที่จะเกิดกับเครื่องบิน |
16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี) | |
N/A |
17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี) | |
N/A |
18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure) | |
- สอบข้อเขียน - สอบสัมภาษณ์ |