หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ทดสอบผลิตภัณฑ์และกระบวนการผลิตผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิท

สาขาวิชาชีพการผลิตอาหารและเครื่องดื่ม


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ FPC-AQP-5-033ZA

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ทดสอบผลิตภัณฑ์และกระบวนการผลิตผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิท

3. ทบทวนครั้งที่ - / -

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)


คุณวุฒิวิชาชีพ สาขาวิชาชีพการผลิตอาหารและเครื่องดื่ม สาขาการแปรรูปสัตว์น้ำ อาชีพนักวิจัยและพัฒนา (การผลิตผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิท) ชั้น 5



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
ผู้มีความรู้ ทักษะทางเทคนิค ทักษะทางความคิด ในการทดลองผลิต วิเคราะห์ปัญหา และหาแนวทางแก้ไขในกระบวนการผลิต รวมถึงการทดสอบผลิตภัณฑ์และกระบวนการผลิตผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิท

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
กลุ่มอาชีพการผลิตผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิท (TSIC : C1022)

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
ไม่ระบุ

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
- ประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 349) พ.ศ. 2556 เรื่อง วิธีการผลิต เครื่องมือเครื่องใช้ในการผลิต และการเก็บรักษาอาหารในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิทชนิดที่มีความเป็นกรดต่ำ และชนิดที่ปรับกรด- ประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 355) พ.ศ. 2556 เรื่อง อาหารในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิท

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
302021 ทดลองผลิตตามสูตรผลิตภัณฑ์ที่ออกแบบ 3020211 วัตถุดิบส่วนผสม และบรรจุภัณฑ์สำหรับการทดลองผลิตผลิตภัณฑ์ถูกจัดเตรียมอย่างถูกต้องและครบถ้วน 302021.01 89366
302021 ทดลองผลิตตามสูตรผลิตภัณฑ์ที่ออกแบบ 3020212 กระบวนการ เครื่องมือ เครื่องจักรและสิ่งอำนวยความสะดวกถูกใช้งานตามคู่มือการใช้งานหรือขั้นตอนการปฏิบัติงาน (WorkInstruction) ในการผลิตผลิตภัณฑ์อย่างถูกต้อง 302021.02 89367
302022 วิเคราะห์ปัญหา และหาแนวทางการแก้ไข 3020221 ข้อมูลผลการทดลองผลิตผลิตภัณฑ์ถูกรวบรวมอย่างครบถ้วน 302022.01 89368
302022 วิเคราะห์ปัญหา และหาแนวทางการแก้ไข 3020222 ปัญหาจากการทดลองการผลิตผลิตภัณฑ์ถูกรวบรวมและวิเคราะห์อย่างครบถ้วน 302022.02 89369
302022 วิเคราะห์ปัญหา และหาแนวทางการแก้ไข 3020223 แนวทางในการแก้ไขในการผลิตผลิตภัณฑ์ถูกกำหนดอย่างถูกต้องและตรงประเด็น 302022.03 89370
302023 ทดสอบผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการออกแบบ 3020231 ผลิตภัณฑ์จากการทดลองผลิตผลิตภัณฑ์ถูกทดสอบความใช้ได้อย่างครบถ้วน 302023.01 89371
302023 ทดสอบผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการออกแบบ 3020232 คุณลักษณะของผลิตภัณฑ์ (Product spec.) ถูกกำหนดอย่างถูกต้องและครบถ้วน 302023.02 89372

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)


- การวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ (การทดสอบประสาทสัมผัส สถิติและการวางแผนการทดลอง)




- ความรู้เกี่ยวกับระบบการจัดการความปลอดภัยอาหาร (GMP/HACCP/ISO22000)




- คอมพิวเตอร์และโปรแกรมพื้นฐาน Microsoft office




- มีความรู้และทักษะการสื่อสารด้วยภาษาไทยเป็นอย่างดี




- มีความรู้และทักษะภาษาอังกฤษที่สามารถใช้ในงานอาชีพได้




- มีความรู้เกี่ยวกับกฎหมายและมาตรฐานอาหารที่เกี่ยวข้อง


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ


 - ทักษะการสืบค้นข้อมูล




- การเลือกใช้วัตถุเจือปนอาหาร

(ข) ความต้องการด้านความรู้


 - ความรู้เกี่ยวกับกฎหมาย สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (วัตถุเจือปนอาหาร น้ำหนัก ปริมาณที่ควรใช้ )




- ความรู้เกี่ยวกับการแปรรูปอาหารในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิท




- ความรู้เกี่ยวกับเครื่องมือแปรรูป




- ความรู้เกี่ยววิธีการทดสอบทางประสาทสัมผัส


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)


(ก) หลักฐานการปฎิบัติงาน (Performance Evidence)     




  • เอกสารรับรองการการปฏิบัติงานจากสถานประกอบการตามที่กำหนดในรายละเอียดกลุ่มบุคคลในอาชีพ    

  • เอกสารประเมินผลจากการสัมภาษณ์




(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)




-  เอกสารรับรองผลการศึกษาตามที่กำหนดในรายละเอียดกลุ่มบุคคลในอาชีพ




-  เอกสารรับรองการฝึกอบรมในเรื่องที่เกี่ยวข้อง เช่น ระบบควบคุมคุณภาพและบริหารคุณภาพ หลักการปฏิบัติที่ดีในการประกอบอาหาร (GMP) อาชีวอนามัยและความปลอดภัย (OHS) การใช้เครื่องมือทดสอบ เป็นต้น




-  เอกสารประเมินผลจากการสอบข้อเขียน




(ค) คำแนะนำในการประเมิน    




  • ใช้หลักฐานการปฏิบัติงาน หรือ หลักฐานความรู้ด้านใดด้านหนึ่งประกอบการพิจารณาเข้าสู่กระบวนการประเมินสมรรถนะ    

  • การประเมินหน่วยสมรรถนะ โดยวิธีการสอบข้อเขียนและการการสัมภาษณ์ สถานที่ทำการประเมินต้องไม่มีสภาวะรบกวน และมีสิ่งอำนวยความสะดวก ที่พร้อมใช้งานตามวิธีการประเมิน    

  • เจ้าหน้าที่สอบต้องมีประสบการณ์ในหน่วยสมรรถนะนี้    

  • ผู้เข้ารับการประเมินสามารถนำแฟ้มสะสมผลงานหรือแฟ้มรวบรวมประวัติการทำงานใช้เพื่อประกอบเป็นหลักฐานที่อ้างอิงได้ระหว่างการสอบสัมภาษณ์




  (ง) วิธีการประเมิน    




  • การสอบข้อเขียน    

  • การสัมภาษณ์


15. ขอบเขต (Range Statement)


1.วัตถุดิบ (ปู หมึก กุ้ง หอย ปลา)




2.ส่วนผสม (วัตถุเจือปนอาหาร แป้ง ผัก)




3.บรรจุภัณฑ์ (กระป๋องโลหะ กระป๋องอลูมิเนียม ถ้วยพลาสติก retort pouch ขวดแก้ว)




4.เครื่องมือและเครื่องจักรที่ใช้ในการผลิต




5.ระบบสนับสนุน เช่น ไอน้ำ ระบบไฟ ระบบลม เป็นต้น




6.คุณลักษณะของผลิตภัณฑ์ (Product spec.) ประกอบด้วย




- ด้านเคมี




- ด้านกายภาพ เช่น ขนาด รูปร่าง สี เนื้อสัมผัส เป็นต้น




- ด้านชีวภาพ




- ด้านประสาทสัมผัส




- ด้านอายุการเก็บรักษาผลิตภัณฑ์




- คุณค่าทางโภชนาการ


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
ไม่ระบุ

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
ไม่ระบุ

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)


ประเมินผลทางด้านความรู้ ทักษะและทัศนคติของการทดสอบผลิตภัณฑ์และกระบวนการผลิต โดยการสอบข้อเขียน และการสัมภาษณ์ ตามรายละเอียดที่กำหนดในคู่มือ



ยินดีต้อนรับ