หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

การถ่ายฝากยีน

สาขาวิชาชีพเทคโนโลยีชีวภาพ


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ BIT-ZZZ-5-015ZA

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ การถ่ายฝากยีน

3. ทบทวนครั้งที่ - / -

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)


ISCO 1321 นักเทคโนโลยีชีวภาพ



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
ผู้ที่ผ่านหน่วยสมรรถนะนี้ สามารถดำเนินการถ่ายฝากยีนด้วยวิธีการต่างๆ ได้

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
นักวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีชีวภาพ

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
1. นักเทคโนโลยีชีวภาพทางด้านสิ่งแวดล้อม          2. นักเทคโนโลยีชีวภาพทางการเกษตร3. นักเทคโนโลยีชีวภาพทางการแพทย์             4. นักเทคโนโลยีชีวภาพทางด้านอาหาร

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
10203.01 สร้างดีเอ็นเอสายผสม (Recombinant DNA) 1. การเตรียมดีเอ็นเอตั้งต้น 10203.01.01 88741
10203.01 สร้างดีเอ็นเอสายผสม (Recombinant DNA) 2. เชื่อมต่อชิ้นส่วนดีเอ็นเอตามข้อกำหนด 10203.01.02 88742
10203.01 สร้างดีเอ็นเอสายผสม (Recombinant DNA) 3. ใช้เอนไซม์ตัดจำเพาะ (Restriction enzyme) 10203.01.03 88743
10203.01 สร้างดีเอ็นเอสายผสม (Recombinant DNA) 4. จัดเก็บดีเอ็นเอสายผสม 10203.01.04 88744
10203.02 ถ่ายฝากยีนโดยตรง 1. การเตรียมเซลล์ 10203.02.01 88745
10203.02 ถ่ายฝากยีนโดยตรง 2. ดำเนินการถ่ายฝากยีนตามข้อที่กำหนด 10203.02.02 88746
10203.03 ถ่ายฝากยีนโดยใช้พาหะ (Vector) 1. การเตรียมเซลล์ 10203.03.01 88747
10203.03 ถ่ายฝากยีนโดยใช้พาหะ (Vector) 2. การเตรียมพาหะ (vector) 10203.03.02 88748
10203.03 ถ่ายฝากยีนโดยใช้พาหะ (Vector) 3. ดำเนินการถ่ายฝากยีนด้วยพาหะตามข้อกำหนด 10203.03.03 88749

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)


10109 เพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ
10110 จัดเตรียมดีเอ็นเอ
10202 ทดสอบยีน


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

- มีทักษะในการเตรียมเนื้อเยื่อสำหรับการถ่ายฝากยีน



- มีทักษะในการถ่ายฝากยีนโดยตรงตามกระบวนการที่กำหนด



- มีทักษะในการเตรียมจุลินทรีย์ที่มีความสามารถในการเป็นพาหะในการถ่ายฝากยีน



- มีความละเอียดรอบคอบในการปฏิบัติงาน

(ข) ความต้องการด้านความรู้

- มีความรู้เกี่ยวกับกระบวนการเตรียมเนื้อเยื่อสำหรับการถ่ายฝากยีน



- มีความรู้เกี่ยวกับประเภทและวิธีการถ่ายฝากยีนโดยตรงและโดยพาหะ


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)


หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมินและควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และความรู้ที่ต้องการ (Required Skill and Knowledge)
(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)
1. เอกสาร/หลักฐานรับรองการทำงาน หรือ
2. เอกสาร/หลักฐานการอบรมเชิงปฏิบัติการ หรือ
3. เอกสาร/หลักฐานที่เกี่ยวข้อง
(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)
1. ผลการสัมภาษณ์ หรือ
2. ผลการทดสอบความรู้ หรือ
3. ใบรับรองผลการศึกษา
(ค) คำแนะนำในการประเมิน
ผู้เข้ารับการประเมินต้องผ่านการประเมินที่ครอบคลุมในทุกสมรรถนะย่อยขอบเขตความรู้และทักษะที่กำหนดในกรณีที่ผู้รับการประเมินผ่านไม่ครบตามเกณฑ์กำหนด ผู้ประเมินต้องแจ้งหน่วยสมรรถนะและสมรรถนะย่อยที่ไม่ผ่านให้ผู้รับการประเมินไปทบทวนสมรรถนะที่ยังไม่ผ่านและสามารถกลับมาทดสอบสมรรถนะใหม่อีกครั้ง
(ง) วิธีการประเมิน
1. การประเมินความรู้และทักษะปฏิบัติในหน่วยสมรรถนะนี้ จะต้องดำเนินการโดยองค์กรที่มีหน้าที่รับการรับรองสมรรถนะของบุคคลตามมาตรฐานอาชีพที่ขึ้นทะเบียนเท่านั้น
  2. การประเมินความรู้ในหน่วยสมรรถนะนี้ กำหนดให้ทำการสอบข้อเขียนแบบปรนัย 4 ตัวเลือกหรืออัตนัย ส่วนการประเมินทักษะการปฏิบัติงานนั้น กำหนดให้ทำการสัมภาษณ์


15. ขอบเขต (Range Statement)


(ก) คำแนะนำ
1. สำหรับผู้เข้ารับการประเมินในหน่วยสมรรถนะนี้ ต้องมีความรู้และสามารถดำเนินการถ่ายฝากยีนโดยตรงและโดยพาหะตามวิธีการปฏิบัติได้อย่างถูกต้อง ซึ่งผู้เข้ารับการประเมินควรเตรียมหลักฐานที่เกี่ยวข้องกับหน่วยสมรรถนะนี้ ทั้งหลักฐานการปฏิบัติงาน และหลักฐานความรู้มาเพื่อประกอบการพิจารณาด้วย
2. สำหรับเจ้าหน้าที่สอบจะต้องพิจารณาหลักฐานการปฏิบัติงานและหลักฐานความรู้ให้ตรงตามที่ระบุไว้ในหน่วยสมรรถนะนี้
 (ข) คำอธิบายรายละเอียด
1. การถ่ายฝากยีน หมายถึง การเปลี่ยนแปลงองค์ประกอบทางพันธุกรรมของสิ่งมีชีวิตเพื่อให้มีการแสดงออกในลักษณะทางพันธุกรรมที่ต้องการ โดยการส่งถ่ายสารพันธุกรรมจากภายนอกเข้าสู่ภายในเซลล์
2. พาหะ (Vector) หมายถึง สื่อหรือตัวนำสำหรับนำยีนเข้าไปในเซลล์สิ่งมีชีวิต


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)


1. ข้อสอบปรนัย



ยินดีต้อนรับ