หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

จัดการการออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์และกระบวนการผลิต

สาขาวิชาชีพอุตสาหกรรมพลาสติก


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ PSI-PLP-4-020ZA

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ จัดการการออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์และกระบวนการผลิต

3. ทบทวนครั้งที่ /

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

อาชีพช่างออกแบบและพัฒนาในกระบวนการอัดรีดขึ้นรูปโปร์ไฟล์และท่อ



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
ผู้ที่ผ่านหน่วยสมรรถนะนี้จะสามารถประสานงานกับลูกค้าและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการออกแบบร่วมวางแผนในการออกแบบและประเมินและรายงานผลการออกแบบได้

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
อุตสาหกรรมพลาสติก

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
05451 ประสานงานกับลูกค้าและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการออกแบบ 1.สื่อสารภาษาอังกฤษกับผู้อื่นได้ 05451.01 87931
05451 ประสานงานกับลูกค้าและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการออกแบบ 2. ประสานงานกับลูกค้าเพื่อขอรายละเอียดเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ 05451.02 87932
05451 ประสานงานกับลูกค้าและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการออกแบบ 3.สื่อสารกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อชี้แจ้งรายละเอียดของผลิตภัณฑ์ 05451.03 87933
05452 ร่วมวางแผนในการออกแบบ 1.จัดเตรียมข้อมูลในการร่วมวางแผนการออกแบบ 05452.01 87934
05452 ร่วมวางแผนในการออกแบบ 2. อธิบายหลักการในการวางแผนการออกแบบ 05452.02 87935
05453 ประเมินและรายงานผลการออกแบบ 1.สรุปผลการออกแบบได้ 05453.01 87936
05453 ประเมินและรายงานผลการออกแบบ 2. วิเคราะห์ผลิตภัณฑ์ก่อนและหลังปรับปรุง 05453.02 87937
05453 ประเมินและรายงานผลการออกแบบ 3. รายงานผลการออกแบบเชิงข้อมูลสถิติต่อผู้บังคับบัญชา 05453.03 87938

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

0000 ใช้อุปกรณ์ป้องกันภัยส่วนบุคคลเพื่อความปลอดภัยในการปฏิบัติงาน

0541 ออกแบบผลิตภัณฑ์ให้ตรงตามความต้องการของลูกค้า

0542 ออกแบบกระบวนการผลิตให้ตรงตามผลิตภัณฑ์

0543 พัฒนาผลิตภัณฑ์ให้ตรงตามความต้องการของลูกค้า

0544 พัฒนากระบวนการผลิตให้ได้ผลิตภัณฑ์ตรงตามความต้องการของลูกค้า


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1. ประสานงานกับลูกค้าและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการออกแบบ

2. ร่วมวางแผนในการออกแบบ

3. ประเมินและรายงานผลการออกแบบ

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1. การจัดทำข้อมูลทางสถิติ


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

1. ใบรับรองการปฏิบัติงานจากสถานประกอบการ

2. เอกสารการประเมินผลจากการสังเกตการปฏิบัติงาน 

(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

1. เอกสารรับรองผลการเรียน หรือเอกสารรับรองการผ่านการอบรม 

2. เอกสารการประเมินผลจากการสอบข้อเขียน

3. เอกสารการประเมินผลจากการสอบสัมภาษณ์

 (ค) คำแนะนำในการประเมิน

ผู้ประเมินตรวจประเมินเกี่ยวกับการประสานงานกับลูกค้าเพื่อขอข้อมูลรายละเอียดต่างๆของผลิตภัณฑ์ เช่น ข้อมูลลักษณะเฉพาะหรือแบบงานของผลิตภัณฑ์ จำนวนการสั่งซื้อ แผนการสั่งซื้อเพื่อวางแผนความพร้อมสายการผลิต ข้อมูลข้อกำหนดด้านคุณภาพมาตรฐานสินค้า เป็นต้น และผู้ประเมินพิจารณาวิธีการ แนวทางในการสื่อสารเพื่อลดความคลาดเคลื่อนของข้อมูลให้กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทราบ และเก็บรวบรวมข้อมูลสำหรับการออกแบบกระบวนการและผลิตภัณฑ์ ผู้ประเมินตรวจประเมินความเข้าใจข้อกำหนดมาตรฐานของผลิตภัณฑ์และการจำแนบผลิตภัณฑ์ก่อนและหลังการปรับปรุง โดยการให้ผู้เข้ารับการประเมินเสนแนวทางในการป้องกันความสับสนของพนักงานเมื่อมีการปรับปรุงผลิตภัณฑ์ พิจารณาทักษะในการรายงานผลการออกแบบเชิงข้อมูลสถิติ ซึ่งผู้ประเมินอาจพิจารณาจากตัวชี้วัดในการปฏิบัติงาน หรือ KPI ของผู้เข้ารับการประเมินได้ หรือตัวอย่างสรุปผลการดำเนินการด้านการออกแบบ

วิธีการประเมิน

1. พิจารณาตามหลักฐานการปฏิบัติงาน

2. พิจารณาตามหลักฐานความรู้


15. ขอบเขต (Range Statement)

1. ประสานงานกับลูกค้าและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการออกแบบได้

     2. ร่วมวางแผนในการออกแบบได้

     3. ประเมินและรายงานผลการออกแบบได้

     (ก) คำแนะนำ

ผู้ประเมินตรวจประเมินเกี่ยวกับการประสานงานกับลูกค้าเพื่อขอข้อมูลรายละเอียดต่างๆของผลิตภัณฑ์ เช่น ข้อมูลลักษณะเฉพาะหรือแบบงานของผลิตภัณฑ์ จำนวนการสั่งซื้อ แผนการสั่งซื้อเพื่อวางแผนความพร้อมสายการผลิต ข้อมูลข้อกำหนดด้านคุณภาพมาตรฐานสินค้า เป็นต้น และผู้ประเมินพิจารณาวิธีการ แนวทางในการสื่อสารเพื่อลดความคลาดเคลื่อนของข้อมูลให้กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทราบ และเก็บรวบรวมข้อมูลสำหรับการออกแบบกระบวนการและผลิตภัณฑ์ ผู้ประเมินตรวจประเมินความเข้าใจข้อกำหนดมาตรฐานของผลิตภัณฑ์และการจำแนบผลิตภัณฑ์ก่อนและหลังการปรับปรุง โดยการให้ผู้เข้ารับการประเมินเสนแนวทางในการป้องกันความสับสนของพนักงานเมื่อมีการปรับปรุงผลิตภัณฑ์ พิจารณาทักษะในการรายงานผลการออกแบบเชิงข้อมูลสถิติ ซึ่งผู้ประเมินอาจพิจารณาจากตัวชี้วัดในการปฏิบัติงาน หรือ KPI ของผู้เข้ารับการประเมินได้ หรือตัวอย่างสรุปผลการดำเนินการด้านการออกแบบ

 (ข) คำอธิบายรายละเอียด

“หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง” หมายถึง หน่วยงานที่ต้องติดต่อประสานงาน มีส่วนร่วมในการดำเนินงานเพื่อให้การปฏิบัติเป็นไปตามแผนที่กำหนดไว้ เช่น หน่วยงานที่รับผิดชอบด้านวางแผนการผลิต สินค้าคงคลัง ฝ่ายขาย ฝ่ายจัดซื้อวัตถุดิบ ฝ่ายผลิต ฝ่ายตรวจสอบคุณภาพ เป็นต้น

“ข้อกำหนดมาตรฐานของผลิตภัณฑ์” หมายถึง ลักษณะเฉพาะทางลูกค้าเป็นผู้กำหนดให้เป็นมาตรฐานในการผลิต เช่น ข้อกำหนดขนาด ค่าความเผื่อของขนาดความหนา ลักษณะภายนอก เป็นต้น


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
0000 ใช้อุปกรณ์ป้องกันภัยส่วนบุคคลเพื่อความปลอดภัยในการปฎิบัติงาน

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

18.1 เครื่องมือประเมินการประสานงานกับลูกค้าและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการออกแบบ

1. แบบฟอร์มการประเมินผลการสอบข้อเขียน

2. แบบฟอร์มการประเมินผลการสอบสัมภาษณ์

18.2 เครื่องมือประเมินการร่วมวางแผนในการออกแบบ

1. แบบฟอร์มการประเมินผลการสอบข้อเขียน

18.3 เครื่องมือประเมินการประเมินและรายงานผลการออกแบบ

1. แบบฟอร์มการประเมินผลการสอบข้อเขียน

2. แบบฟอร์มการประเมินผลการสังเกตการปฏิบัติงาน



ยินดีต้อนรับ