หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

จัดการการตรวจสอบคุณภาพกระบวนการอัดขึ้นรูป

สาขาวิชาชีพอุตสาหกรรมพลาสติก


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ PSI-PES-4-012ZA

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ จัดการการตรวจสอบคุณภาพกระบวนการอัดขึ้นรูป

3. ทบทวนครั้งที่ /

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

อาชีพผู้ตรวจสอบคุณภาพกระบวนการอัดขึ้นรูป



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
ผู้ที่ผ่านหน่วยสมรรถนะนี้จะสามารถควบคุมการดำเนินงานกระบวนการตรวจสอบคุณภาพให้ตรงตามมาตรฐาน สามารถวิเคราะห์ข้อมูล จัดทำข้อมูลด้านคุณภาพทางสถิติได้ มีการจัดทำแผนกระบวนการตรวจสอบคุณภาพ วิเคราะห์ต้นเหตุของปัญหาและแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในกระบวนการตรวจสอบคุณภาพได้

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
อุตสาหกรรมพลาสติก

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
02251 ควบคุมการตรวจสอบคุณภาพให้ตรงตามมาตรฐาน 1.สื่อสารภาษาอังกฤษกับผู้อื่นได้ 02251.01 87653
02251 ควบคุมการตรวจสอบคุณภาพให้ตรงตามมาตรฐาน 2. อธิบายกระบวนการตรวจสอบคุณภาพตามมาตรฐานได้ 02251.02 87654
02251 ควบคุมการตรวจสอบคุณภาพให้ตรงตามมาตรฐาน 3.ควบคุมการดำเนินงานตามกระบวนการตรวจสอบคุณภาพให้ตรงตามมาตรฐานได้ 02251.03 87655
02252 วางแผนกระบวนการตรวจสอบคุณภาพ 1.วิเคราะห์ข้อมูลด้านคุณภาพได้ 02252.01 87656
02252 วางแผนกระบวนการตรวจสอบคุณภาพ 2. จัดทำข้อมูลด้านคุณภาพในรูปแบบสถิติได้ 02252.02 87657
02252 วางแผนกระบวนการตรวจสอบคุณภาพ 3. จัดทำแผนการตรวจสอบคุณภาพได้ 02252.03 87658
02253 แก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในกระบวนการตรวจสอบคุณภาพ 1.วิเคราะห์ต้นเหตุของปัญหาที่เกิดขึ้นในกระบวนการตรวจสอบคุณภาพได้ 02253.01 87659
02253 แก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในกระบวนการตรวจสอบคุณภาพ 2. หาแนวทางการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในกระบวนการตรวจคุณภาพได้ 02253.02 87660

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

0000 ใช้อุปกรณ์ป้องกันภัยส่วนบุคคลเพื่อความปลอดภัยในการปฏิบัติงาน

0221 ตรวจสอบลักษณะทางกายภาพของผลิตภัณฑ์

0222 ตกแต่งผลิตภัณฑ์ให้ตรงตามมาตรฐาน

0223 ตรวจสอบคุณภาพผลิตภัณฑ์

 


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1. ควบคุมกระบวนการตรวจสอบคุณภาพให้ตรงตามมาตรฐาน

2. วิเคราะห์ข้อมูลด้านคุณภาพ

3. วิเคราะห์ต้นเหตุของปัญหาที่เกิดขึ้นในกระบวนการตรวจสอบคุณภาพ

4. หาแนวทางการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในกระบวนการตรวจคุณภาพได้

 

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1. กระบวนการตรวจสอบคุณภาพตามมาตรฐาน

2. การจัดทำข้อมูลด้านคุณภาพในรูปแบบสถิติ

3. การจัดทำแผนการตรวจสอบคุณภาพ

 


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน(Performance Evidence)

1. ใบรับรองการปฏิบัติงานจากสถานประกอบการ (ถ้ามี)

(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

1. ใบรับรองการปฏิบัติงานจากสถานประกอบการ (ถ้ามี)

2. แบบบันทึกผลการสอบข้อเขียน

3. แบบบันทึกผลการสอบสัมภาษณ์

 (ค) คำแนะนำในการปฏิบัติงาน

ผู้ประเมินตรวจประเมินในด้านความรู้เกี่ยวกับการสื่อสารภาษาอังกฤษกับผู้อื่น อธิบายและควบคุมการดำเนินงานตามกระบวนการตรวจสอบคุณภาพตามมาตรฐาน การจัดทำข้อมูลด้านคุณภาพในรูปแบบสถิติ การจัดทำแผนกระบวนการตรวจสอบคุณภาพ และมีทักษะในการควบคุมกระบวนการตรวจสอบคุณภาพให้ตรงตามมาตรฐาน วิเคราะห์ข้อมูลด้านคุณภาพวิเคราะห์ต้นเหตุของปัญหาที่เกิดขึ้นในกระบวนการตรวจสอบคุณภาพ หาแนวทางการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในกระบวนการตรวจคุณภาพได้

วิธีการประเมิน

1. พิจารณาตามหลักฐานการปฏิบัติงาน

2. พิจารณาตามหลักฐานความรู้

 


15. ขอบเขต (Range Statement)

1. ควบคุมกระบวนการตรวจสอบคุณภาพให้ตรงตามมาตรฐานได้

2. วางแผนการตรวจสอบคุณภาพได้

3. แก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในกระบวนการตรวจสอบคุณภาพได้

 (ก) คำแนะนำ

ผู้ประเมินตรวจประเมินในด้านความรู้เกี่ยวกับการสื่อสารภาษาอังกฤษกับผู้อื่น อธิบายและควบคุมการดำเนินงานตามกระบวนการตรวจสอบคุณภาพตามมาตรฐาน การจัดทำข้อมูลด้านคุณภาพในรูปแบบสถิติ การจัดทำแผนกระบวนการตรวจสอบคุณภาพ และมีทักษะในการควบคุมกระบวนการตรวจสอบคุณภาพให้ตรงตามมาตรฐาน วิเคราะห์ข้อมูลด้านคุณภาพวิเคราะห์ต้นเหตุของปัญหาที่เกิดขึ้นในกระบวนการตรวจสอบคุณภาพ หาแนวทางการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในกระบวนการตรวจคุณภาพได้ 

(ข) คำอธิบายรายละเอียด

“ข้อมูลด้านคุณภาพ” หมายถึง ข้อมูลที่ถูกระบุขึ้นเพื่อบ่งบอกลักษณะต่างๆของผลิตภัณฑ์ที่ถูกต้องตรงตามมาตรฐานที่กำหนด

“แผนการตรวจสอบคุณภาพ” หมายถึง ลำดับขั้นตอนในการดำเนินการตรวจสอบคุณภาพ

 


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
0000 ใช้อุปกรณ์ป้องกันภัยส่วนบุคคลเพื่อความปลอดภัยในการปฏิบัติงาน

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

18.1 เครื่องมือประเมินการควบคุมกระบวนการตรวจสอบคุณภาพให้ตรงตามมาตรฐาน

1. แบบฟอร์มการประเมินผลจากการสอบข้อเขียน หรือ

2. แบบฟอร์มการประเมินผลจากการสอบสัมภาษณ์

18.2 เครื่องมือประเมินการวางแผนกระบวนการตรวจสอบคุณภาพ

1. แบบฟอร์มการประเมินผลจากการสอบข้อเขียน หรือ

2. แบบฟอร์มการประเมินผลจากการสอบสัมภาษณ์

18.3 เครื่องมือประเมินการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในกระบวนการตรวจสอบคุณภาพ

1. แบบฟอร์มการประเมินผลจากการสอบข้อเขียน หรือ

2. แบบฟอร์มการประเมินผลจากการสอบสัมภาษณ์

 



ยินดีต้อนรับ