หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ออกแบบผลิตภัณฑ์ให้ตรงตามความต้องการของลูกค้า

สาขาวิชาชีพอุตสาหกรรมพลาสติก


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ PSI-INJ-4-016ZA

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ออกแบบผลิตภัณฑ์ให้ตรงตามความต้องการของลูกค้า

3. ทบทวนครั้งที่ /

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

อาชีพช่างออกแบบและพัฒนาในกระบวนการฉีดขึ้นรูป



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
 ผู้ที่ผ่านสมรรถนะนี้สามารถรู้ข้อกำหนดในการออกแบบและออกแบบและวิเคราะห์ผลิตภัณฑ์พลาสติกได้

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
อุตสาหกรรมพลาสติก

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
01411 รู้ข้อกำหนดในการออกแบบ 1. อ่านและเขียนคำศัพท์เฉพาะ คำศัพท์เทคนิค เกี่ยวกับการออกแบบผลิตภัณฑ์ได้ 01411.01 87525
01411 รู้ข้อกำหนดในการออกแบบ 2. บอกเครื่องมือและอุปกรณ์ที่ใช้ในการออกแบบผลิตภัณฑ์พลาสติก 01411.02 87526
01411 รู้ข้อกำหนดในการออกแบบ 3. อธิบายรายละเอียดของแบบชิ้นงานได้ 01411.03 87527
01411 รู้ข้อกำหนดในการออกแบบ 4. อธิบายรายละเอียดข้อกำหนดตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์ได้ 01411.04 87528
01412 ออกแบบและวิเคราะห์ผลิตภัณฑ์พลาสติก 1.อ่านรายละเอียดองค์ประกอบตามมาตรฐานได้ 01412.01 87529
01412 ออกแบบและวิเคราะห์ผลิตภัณฑ์พลาสติก 2. กำหนดรายละเอียดลงในแบบงาน 01412.02 87530
01412 ออกแบบและวิเคราะห์ผลิตภัณฑ์พลาสติก 3. เลือกใช้เครื่องมือในโปรแกรมเขียนแบบให้ตรงกับชิ้นส่วนที่ทำการผลิต 01412.03 87531

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

0000 ใช้อุปกรณ์ป้องกันภัยส่วนบุคคลเพื่อความปลอดภัยในการปฎิบัติงาน


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1. การใช้เครื่องมือและอุปกรณ์ที่ใช้ในการออกแบบผลิตภัณฑ์พลาสติก

2. การเลือกแบบให้ตรงกับชิ้นส่วนที่ทำการผลิต

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1. มาตรฐานการเขียนแบบ

2. มาตรฐานเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

1. เอกสารรับรองการปฎิบัติงานจากสถานประกอบการ

2. เอกสารการประเมินผลจากการสังเกตการปฎิบัติงาน

(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

1. เอกสารรับรองผลการเรียนหรือผลการอบรม 

2. เอกสารการประเมินผลจากการสอบสัมภาษณ์

3. เอกสารการประเมินผลจากการสอบข้อเขียน

(ค) คำแนะนำในการประเมิน

 การประเมินช่างออกแบบและพัฒนางานฉีดพลาสติกโดยพิจารณาจากร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง ทั้งหลักฐานด้านปฏิบัติงาน และหลักฐานด้านความรู้ 

วิธีการประเมิน

1. พิจารณาตามหลักฐานการปฏิบัติงาน

2. พิจารณาตามหลักฐานความรู้


15. ขอบเขต (Range Statement)

1. รู้ข้อกำหนดในการออกแบบ

2. ออกแบบและวิเคราะห์ผลิตภัณฑ์พลาสติก

(ก)คำแนะนำ

 ผู้เข้ารับการประเมินต้องมีความรู้เกี่ยวกับรายละเอียดและข้อกำหนดของผลิตภัณฑ์วิธีการใช้งานเครื่องมือหรือเทคโนโลยีในการออกแบบ และมีทักษะในการวิเคราะห์รายละเอียดและข้อกำหนดของผลิตภัณฑ์ ใช้เครื่องมือหรือเทคโนโลยีในการออกแบบ ออกแบบผลิตภัณฑ์ตามความต้องการของลูกค้า ทดลองขึ้นรูปผลิตภัณฑ์ต้นแบบ ตรวจสอบคุณภาพของผลิตภัณฑ์ต้นแบบ

 (ข) คำอธิบายรายละเอียด

 “ข้อกำหนดการออกแบบ” หมายถึง รายละเอียดข้อกำหนดของชิ้นส่วนต่างๆในกระบวนการฉีดขึ้นรูปพลาสติก

 “การออกแบบ” หมายถึง การถ่ายทอดรูปแบบจากความคิดออกมาเป็นผลงาน ที่ผู้อื่น สามารถมองเห็น รับรู้ หรือสัมผัสได้ เพื่อให้มีความเข้าใจในผลงานร่วมกัน


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

18.1 เครื่องมือประเมินรู้ข้อกำหนดในการออกแบบ

    1. แบบฟอร์มการประเมินผลจากการสอบข้อเขียน

    2. แบบฟอร์มการประเมินผลจากการสอบสัมภาษณ์

18.2 เครื่องมือประเมินออกแบบและวิเคราะห์ผลิตภัณฑ์พลาสติก

    1. แบบฟอร์มการประเมินผลจากการสอบข้อเขียน

    2. แบบฟอร์มการประเมินผลจากการสังเกตการปฎิบัติงาน 



ยินดีต้อนรับ