หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

จัดการการออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์และกระบวนการผลิต

สาขาวิชาชีพอุตสาหกรรมพลาสติก


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ PSI-BLW-4-051ZA

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ จัดการการออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์และกระบวนการผลิต

3. ทบทวนครั้งที่ /

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

อาชีพช่างออกแบบและพัฒนาในกระบวนการเป่ายืดขึ้นรูป



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
ผู้ที่ผ่านสมรรถนะนี้จะต้องสามารถประสานงานกับลูกค้าและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการออกแบบและวิเคราะห์ผลิตภัณฑ์ก่อนและหลังปรับปรุงได้

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
อุตสาหกรรมพลาสติก

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
03451 ประสานงานกับลูกค้าและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการออกแบบ 1.สื่อสารภาษาอังกฤษกับผู้อื่นได้ 03451.01 87375
03451 ประสานงานกับลูกค้าและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการออกแบบ 2. ประสานงานกับลูกค้าเพื่อขอข้อมูลรายละเอียดต่างๆของผลิตภัณฑ์ 03451.02 87376
03451 ประสานงานกับลูกค้าและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการออกแบบ 3.สื่อสารกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อชี้แจงรายละเอียดของผลิตภัณฑ์ 03451.03 87377
03452 วิเคราะห์ผลิตภัณฑ์ก่อนและหลังปรับปรุง 1.เข้าใจข้อกำหนดมาตรฐานของผลิตภัณฑ์ 03452.01 87378
03452 วิเคราะห์ผลิตภัณฑ์ก่อนและหลังปรับปรุง 2.แยกแยะผลิตภัณฑ์ก่อนและหลังปรับปรุงได้ 03452.02 87379

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

0000 ใช้อุปกรณ์ป้องกันภัยส่วนบุคคลเพื่อความปลอดภัยในการปฏิบัติงาน

0341 ออกแบบผลิตภัณฑ์ให้ตรงตามความต้องการของลูกค้า

0342 ออกแบบกระบวนการผลิตให้ตรงตามผลิตภัณฑ์

0343 พัฒนาผลิตภัณฑ์ให้ตรงตามความต้องการของลูกค้า

0344 พัฒนากระบวนการผลิตให้ได้ผลิตภัณฑ์ตรงตามความความต้องการของลูกค้า


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1. สามารถประสานงานกับลูกค้าและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการออกแบบได้

2. สามารถเข้าใจข้อกำหนดมาตรฐานของผลิตภัณฑ์

3. สามารถวิเคราะห์ผลิตภัณฑ์วิเคราะห์ผลิตภัณฑ์ก่อนและหลังปรับปรุงได้

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1. หลักการประสานงานกับลูกค้าและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

2. ข้อกำหนดมาตรฐานของผลิตภัณฑ์


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

1. ใบรับรองการปฏิบัติงานจากสถานประกอบการ 

(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

1. เอกสารรับรองผลการเรียนหรือผ่านการอบรม 

2. เอกสารการประเมินผลจากการสอบข้อเขียน

3. เอกสารการประเมินผลจากการสอบสัมภาษณ์

(ค) คำแนะนำในการประเมิน

ผู้ประเมินตรวจประเมินเกี่ยวกับการประสานงานกับลูกค้าเพื่อขอข้อมูลรายละเอียดต่างๆของผลิตภัณฑ์ เช่น ข้อมูลลักษณะเฉพาะหรือแบบงานของผลิตภัณฑ์ จำนวนการสั่งซื้อ แผนการสั่งซื้อเพื่อวางแผนความพร้อมสายการผลิต ข้อมูลข้อกำหนดด้านคุณภาพมาตรฐานสินค้า เป็นต้น และผู้ประเมินพิจารณาวิธีการ แนวทางในการสื่อสารเพื่อลดความคลาดเคลื่อนของข้อมูลให้กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทราบ และเก็บรวบรวมข้อมูลสำหรับการออกแบบกระบวนการและผลิตภัณฑ์ ผู้ประเมินตรวจประเมินความเข้าใจข้อกำหนดมาตรฐานของผลิตภัณฑ์และการจำแนบผลิตภัณฑ์ก่อนและหลังการปรับปรุง โดยการให้ผู้เข้ารับการประเมินเสนแนวทางในการป้องกันความสับสนของพนักงานเมื่อมีการปรับปรุงผลิตภัณฑ์

วิธีการประเมิน

1. พิจารณาตามหลักฐานการปฏิบัติงาน

2. พิจารณาตามหลักฐานความรู้


15. ขอบเขต (Range Statement)

     1. ประสานงานกับลูกค้าและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการออกแบบได้

     2. ร่วมวางแผนในการออกแบบได้

     3. ประเมินและรายงานผลการออกแบบได้

    (ก) คำแนะนำ

ผู้ประเมินตรวจประเมินเกี่ยวกับการประสานงานกับลูกค้าเพื่อขอข้อมูลรายละเอียดต่างๆของผลิตภัณฑ์ เช่น ข้อมูลลักษณะเฉพาะหรือแบบงานของผลิตภัณฑ์ จำนวนการสั่งซื้อ แผนการสั่งซื้อเพื่อวางแผนความพร้อมสายการผลิต ข้อมูลข้อกำหนดด้านคุณภาพมาตรฐานสินค้า เป็นต้น และผู้ประเมินพิจารณาวิธีการ แนวทางในการสื่อสารเพื่อลดความคลาดเคลื่อนของข้อมูลให้กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทราบ และเก็บรวบรวมข้อมูลสำหรับการออกแบบกระบวนการและผลิตภัณฑ์ ผู้ประเมินตรวจประเมินความเข้าใจข้อกำหนดมาตรฐานของผลิตภัณฑ์และการจำแนบผลิตภัณฑ์ก่อนและหลังการปรับปรุง โดยการให้ผู้เข้ารับการประเมินเสนแนวทางในการป้องกันความสับสนของพนักงานเมื่อมีการปรับปรุงผลิตภัณฑ์

  (ข) คำอธิบายรายละเอียด

“หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง” หมายถึง หน่วยงานที่ต้องติดต่อประสานงาน มีส่วนร่วมในการดำเนินงานเพื่อให้การปฏิบัติเป็นไปตามแผนที่กำหนดไว้ เช่น หน่วยงานที่รับผิดชอบด้านวางแผนการผลิต สินค้าคงคลัง ฝ่ายขาย ฝ่ายจัดซื้อวัตถุดิบ ฝ่ายผลิต ฝ่ายตรวจสอบคุณภาพ เป็นต้น

“ข้อกำหนดมาตรฐานของผลิตภัณฑ์” หมายถึง ลักษณะเฉพาะทางลูกค้าเป็นผู้กำหนดให้เป็นมาตรฐานในการผลิต เช่น ข้อกำหนดขนาด ค่าความเผื่อของขนาดความหนา ลักษณะภายนอก เป็นต้น


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
0000 ใช้อุปกรณ์ป้องกันภัยส่วนบุคคลเพื่อความปลอดภัยในการปฏิบัติงาน

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

18.1 เครื่องมือประเมินประสานงานกับลูกค้าและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการออกแบบ

1. แบบฟอร์มการประเมินผลการสอบข้อเขียน

2. แบบฟอร์มการประเมินผลการสอบสัมภาษณ์

18.2 เครื่องมือประเมินวิเคราะห์ผลิตภัณฑ์ก่อนและหลังปรับปรุง

1. แบบฟอร์มการประเมินผลการสอบข้อเขียน

2. แบบฟอร์มการประเมินผลการสอบสัมภาษณ์



ยินดีต้อนรับ