หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

พัฒนาผลิตภัณฑ์ให้ตรงตามความต้องการของลูกค้า

สาขาวิชาชีพอุตสาหกรรมพลาสติก


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ PSI-BLW-4-049ZA

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ พัฒนาผลิตภัณฑ์ให้ตรงตามความต้องการของลูกค้า

3. ทบทวนครั้งที่ /

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

อาชีพช่างออกแบบและพัฒนาในกระบวนการเป่ายืดขึ้นรูป



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
ผู้ที่ผ่านสมรรถนะนี้ จะต้องสามารถพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้ตรงตามความต้องการของลูกค้าและปรับปรุงผลิตภัณฑ์ที่มีอยู่เดิมให้ดีขึ้นได้

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
อุตสาหกรรมพลาสติก

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
03431 พัฒนาผลิตภัณฑ์ให้ตรงตามความต้องการของลูกค้า 1.สื่อสารภาษาอังกฤษกับผู้อื่นได้ 03431.01 87364
03431 พัฒนาผลิตภัณฑ์ให้ตรงตามความต้องการของลูกค้า 2. เลือกใช้วัสดุให้เหมาะสมกับชิ้นงาน 03431.02 87365
03431 พัฒนาผลิตภัณฑ์ให้ตรงตามความต้องการของลูกค้า 3.พัฒนากระบวนการผลิตให้ได้ผลิตภัณฑ์ตรงตามความต้องการของลูกค้าได้ 03431.03 87366
03432 ปรับปรุงผลิตภัณฑ์ที่มีอยู่เดิมให้ดีขึ้น 1 จำแนกประเภทคุณภาพของชิ้นงานได้ 03432.01 87367
03432 ปรับปรุงผลิตภัณฑ์ที่มีอยู่เดิมให้ดีขึ้น 2 วิเคราะห์คุณภาพชิ้นงานในกระบวนการผลิตได้ 03432.02 87368
03432 ปรับปรุงผลิตภัณฑ์ที่มีอยู่เดิมให้ดีขึ้น 3 ติดตามและประเมินคุณภาพชิ้นงานก่อนและหลังปรับปรุง 03432.03 87369

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

0000 ใช้อุปกรณ์ป้องกันภัยส่วนบุคคลเพื่อความปลอดภัยในการปฏิบัติงาน

0341 ออกแบบผลิตภัณฑ์ให้ตรงตามความต้องการของลูกค้า

0342 ออกแบบกระบวนการผลิตให้ตรงตามผลิตภัณฑ์


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1.สามารถเลือกใช้วัสดุให้เหมาะสมกับชิ้นงาน

2.สามารถจำแนกประเภทคุณภาพของชิ้นงานได้

3. สามารถวิเคราะห์คุณภาพชิ้นงานในกระบวนการผลิตได้

 

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1. ประเภท และชนิดของวัสดุ

2. ลักษณะข้อบกพร่องของผลิตภัณฑ์


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

1. ใบรับรองการปฏิบัติงานจากสถานประกอบการ 

(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

1. เอกสารรับรองผลการเรียนหรือผ่านการอบรม 

2. เอกสารการประเมินผลจากการสอบข้อเขียน

3. เอกสารการประเมินผลจากการสอบสัมภาษณ์

(ค) คำแนะนำในการประเมิน

ผู้ประเมินตรวจประเมินด้านความรู้เกี่ยวกับการสื่อสารภาษาอังกฤษกับผู้อื่น และการเลือกใช้วัสดุที่เหมาะสมกับชิ้นงาน ประเมินการพัฒนากระบวนการผลิตให้ได้ผลิตภัณฑ์ตรงตามความต้องการของลูกค้าด้วยการพิจารณาแนวทางในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ตามหลักในการปรับปรุงผลิตภัณฑ์ คือ เริ่มปรับปรุงส่วนที่ใช้ต้นทุนในการปรับปรุงน้อยที่สุด เช่น การปรับปรุงเวลาในการทำงาน ลดขั้นตอนในการทำงาน ลดจำนวนคนในการทำงาน ปรับเปลี่ยนวัตถุดิบในการผลิต เป็นต้น และประเมินการจำแนกคุณภาพของชิ้นงาน วิเคราะห์คุณภาพเพื่อปรับปรุงกระบวนการผลิตได้ และสามารถติดตามประเมินผลคุณภาพชิ้นงานก่อนและหลังการปรับปรุงได้ 

วิธีการประเมิน

1. พิจารณาตามหลักฐานการปฏิบัติงาน

2. พิจารณาตามหลักฐานความรู้


15. ขอบเขต (Range Statement)

1. พัฒนาผลิตภัณฑ์ให้ตรงตามความต้องการของลูกค้า

2. ปรับปรุงผลิตภัณฑ์ที่มีอยู่เดิมให้ดีขึ้น

 (ก)คำแนะนำ

ผู้ประเมินตรวจประเมินด้านความรู้เกี่ยวกับการสื่อสารภาษาอังกฤษกับผู้อื่น และการเลือกใช้วัสดุที่เหมาะสมกับชิ้นงาน ประเมินการพัฒนากระบวนการผลิตให้ได้ผลิตภัณฑ์ตรงตามความต้องการของลูกค้าด้วยการพิจารณาแนวทางในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ตามหลักในการปรับปรุงผลิตภัณฑ์ คือ เริ่มปรับปรุงส่วนที่ใช้ต้นทุนในการปรับปรุงน้อยที่สุด เช่น การปรับปรุงเวลาในการทำงาน ลดขั้นตอนในการทำงาน ลดจำนวนคนในการทำงาน ปรับเปลี่ยนวัตถุดิบในการผลิต เป็นต้น และประเมินการจำแนกคุณภาพของชิ้นงาน วิเคราะห์คุณภาพเพื่อปรับปรุงกระบวนการผลิตได้ และสามารถติดตามประเมินผลคุณภาพชิ้นงานก่อนและหลังการปรับปรุงได้ 

(ข) คำอธิบายรายละเอียด

“เลือกใช้วัสดุให้เหมาะสมกับชิ้นงาน” หมายถึง เลือกใช้วัสดุหรือวัตถุดิบในการผลิตได้ตรงกับผลิตภัณฑ์ที่ต้องการผลิต เช่น ต้องการผลิตขวดน้ำดื่มใส ต้องใช้พลาสติกประเภท PET หรือพอลิเอทิลีนเทเรฟทาเลต เป็นต้น 

“ตรงตามความต้องการของลูกค้า” หมายถึง สอดคล้องกับข้อกำหนดที่สถานประกอบการได้ร่วมตกลงกับลูกค้าและจัดทำลงในแบบงาน ซึ่งผู้ประเมินสามารถพิจารณาได้จากเอกสารสเปคของผลิตภัณฑ์หรือเอกสารประกันคุณภาพที่บอกรายละเอียดข้อกำหนดของลูกค้า


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
0000 ใช้อุปกรณ์ป้องกันภัยส่วนบุคคลเพื่อความปลอดภัยในการปฏิบัติงาน

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

18.1 เครื่องมือประเมินพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้ตรงตามความต้องการของลูกค้า

1. แบบฟอร์มการประเมินผลการสอบข้อเขียน

2. แบบฟอร์มการประเมินผลการสอบสัมภาษณ์

18.2 เครื่องมือประเมินปรับปรุงผลิตภัณฑ์ที่มีอยู่เดิมให้ดีขึ้น

1. แบบฟอร์มการประเมินผลการสอบข้อเขียน

2. แบบฟอร์มการประเมินผลการสอบสัมภาษณ์



ยินดีต้อนรับ