หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ออกแบบผลิตภัณฑ์ให้ตรงตามความต้องการของลูกค้า

สาขาวิชาชีพอุตสาหกรรมพลาสติก


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ PSI-BLW-3-047ZA

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ออกแบบผลิตภัณฑ์ให้ตรงตามความต้องการของลูกค้า

3. ทบทวนครั้งที่ /

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

อาชีพช่างออกแบบและพัฒนาในกระบวนการเป่ายืดขึ้นรูป



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
ผู้ที่ผ่านหน่วยสมรรถนะนี้จะสามารถวิเคราะห์รายละเอียดและข้อกำหนดของผลิตภัณฑ์ใช้เครื่องมือหรือเทคโนโลยีในการออกแบบผลิตภัณฑ์ทดลองขึ้นรูปผลิตภัณฑ์ต้นแบบตรวจสอบคุณภาพของผลิตภัณฑ์ต้นแบบได้

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
อุตสาหกรรมพลาสติก

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
03411 รู้ข้อกำหนดในการออกแบบ 1.อ่าน และเขียนคำศัพท์เฉพาะคำศัพท์เทคนิค เกี่ยวกับการออกแบบผลิตภัณฑ์ได้ 03411.01 87352
03411 รู้ข้อกำหนดในการออกแบบ 2. บอกเครื่องมือและอุปกรณ์ที่ใช้ในการออกแบบผลิตภัณฑ์พลาสติก 03411.02 87353
03411 รู้ข้อกำหนดในการออกแบบ 3. อธิบายรายละเอียดของแบบชิ้นงานได้ 03411.03 87354
03411 รู้ข้อกำหนดในการออกแบบ 4. อธิบายรายละเอียดข้อกำหนดตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์ได้ 03411.04 87355
03412 ออกแบบและวิเคราะห์ผลิตภัณฑ์พลาสติก 1 อ่านรายละเอียดองค์ประกอบตามมาตรฐานได้ 03412.01 87356
03412 ออกแบบและวิเคราะห์ผลิตภัณฑ์พลาสติก 2 กำหนดรายละเอียดลงในแบบงาน 03412.02 87357
03412 ออกแบบและวิเคราะห์ผลิตภัณฑ์พลาสติก 3.เลือกแบบให้ตรงกับชิ้นส่วนที่ทำการผลิต 03412.03 87358

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

0000 ใช้อุปกรณ์ป้องกันภัยส่วนบุคคลเพื่อความปลอดภัยในการปฏิบัติงาน


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1. วิเคราะห์รายละเอียดและข้อกำหนดของผลิตภัณฑ์

2. ใช้เครื่องมือหรือเทคโนโลยีในการออกแบบ

3. ออกแบบผลิตภัณฑ์ตามความต้องการของลูกค้า

4. ทดลองขึ้นรูปผลิตภัณฑ์ต้นแบบ

5. ตรวจสอบคุณภาพของผลิตภัณฑ์ต้นแบบ

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1. รายละเอียดและข้อกำหนดของผลิตภัณฑ์

2. วิธีการใช้งานเครื่องมือหรือเทคโนโลยีในการออกแบบ

 


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

1. ใบรับรองการปฏิบัติงานจากสถานประกอบการ 

2. เอกสารการประเมินผลจากการสังเกตการปฏิบัติงาน 

(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

1. เอกสารรับรองผลการเรียนหรือผ่านการอบรม 

2. เอกสารการประเมินผลจากการสอบข้อเขียน

3. เอกสารการประเมินผลจากการสอบสัมภาษณ์

 (ค) คำแนะนำในการประเมิน

ผู้ประเมินตรวจประเมินเกี่ยวกับรายละเอียดและข้อกำหนดของผลิตภัณฑ์วิธีการใช้งานเครื่องมือหรือเทคโนโลยีในการออกแบบ และมีทักษะในการวิเคราะห์รายละเอียดและข้อกำหนดของผลิตภัณฑ์ ใช้เครื่องมือหรือเทคโนโลยีในการออกแบบ ออกแบบผลิตภัณฑ์ตามความต้องการของลูกค้า ทดลองขึ้นรูปผลิตภัณฑ์ต้นแบบ ตรวจสอบคุณภาพของผลิตภัณฑ์ต้นแบบ

วิธีการประเมิน

1. พิจารณาตามหลักฐานการปฏิบัติงาน

2. พิจารณาตามหลักฐานความรู้


15. ขอบเขต (Range Statement)

1. วิเคราะห์รายละเอียดและข้อกำหนดของผลิตภัณฑ์ได้

2. ใช้เครื่องมือหรือเทคโนโลยีในการออกแบบได้

3. ทดลองขึ้นรูปผลิตภัณฑ์ต้นแบบได้

4. ตรวจสอบคุณภาพของผลิตภัณฑ์ต้นแบบได้

 (ก)คำแนะนำ

ผู้ประเมินตรวจประเมินเกี่ยวกับรายละเอียดและข้อกำหนดของผลิตภัณฑ์วิธีการใช้งานเครื่องมือหรือเทคโนโลยีในการออกแบบ และมีทักษะในการวิเคราะห์รายละเอียดและข้อกำหนดของผลิตภัณฑ์ ใช้เครื่องมือหรือเทคโนโลยีในการออกแบบ ออกแบบผลิตภัณฑ์ตามความต้องการของลูกค้า ทดลองขึ้นรูปผลิตภัณฑ์ต้นแบบ ตรวจสอบคุณภาพของผลิตภัณฑ์ต้นแบบ

 (ข) คำอธิบายรายละเอียด

“ข้อกำหนดในการออกแบบ” หมายถึง เงื่อนไขในการออกแบบผลิตภัณฑ์ ประกอบด้วย รายละเอียดความต้องการที่สถานประกอบการได้รับจากลูกค้า เช่น ความต้องการด้านขนาดของบรรจุภัณฑ์ ความต้องการด้านราคาในการผลิต ความต้องการด้านกระบวนการในการผลิต เป็นต้น

“เครื่องมือและอุปกรณ์ที่ใช้ในการออกแบบ” ครอบคลุม กระดาษเขียนแบบ ดินสอ ยางลบ กระดานเขียนแบบ โปรแกรมเขียนแบบ เช่น AutoCAD, Solid work เป็นต้น

“รายละเอียดของแบบ” หมายถึง ข้อความ รูปร่าง ที่บ่งบอกลักษณะของผลิตภัณฑ์ ข้อกำหนดด้านคุณภาพ เช่น ขนาดความสูง กว้าง ยาว ลึก ของผลิตภัณฑ์ ความหนา ลักษณะลวดลาย ขนาดบรรจุ วัตถุดิบที่ใช้ในการผลิต ข้อกำหนดด้านคุณภาพเพิ่มเติม เป็นต้น

“รายละเอียดข้อกำหนดตามมาตรฐาน” หมายถึง รายละเอียดที่ลูกค้าได้ตกลงร่วมกับสถานประกอบการเพื่อกำหนดให้เป็นมาตรฐานในการผลิตผลิตภัณฑ์ใดๆ อาทิเช่น ค่าความเผื่อความหนาของขวด ที่ยอมรับได้ทั้งลูกค้าและสถานประกอบการสามารถผลิตได้ เป็นต้น

“รายละเอียดองค์ประกอบตามมาตรฐาน” หมายถึง รายละเอียดที่ต้องระบุในแบบงานตามมาตรฐานสากล เช่น ชื่อแบบงาน, ลำดับการแก้ไข, วันที่เขียนแบบงาน, ผู้เขียนแบบงาน, ผู้อนุมัติแบบ, ลักษณะของผลิตภัณฑ์ที่มีขนาดกำกับชัดเจนพร้อมระบุ Tolerance ไว้แล้ว ข้อกำหนดด้านคุณภาพที่เป็น Critical point ของลูกค้า 

“แบบงาน” หมายถึง เอกสารที่บ่งบอกลักษณะของผลิตภัณฑ์ที่มีขนาดกำกับชัดเจนพร้อมระบุ Tolerance มีข้อมูลตามองค์ประกอบมาตรฐานของการเขียนแบบ


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
0000 ใช้อุปกรณ์ป้องกันภัยส่วนบุคคลเพื่อความปลอดภัยในการปฏิบัติงาน

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

18.1 เครื่องมือประเมินการรู้ข้อกำหนดในการออกแบบ

1. แบบฟอร์มการประเมินผลการสอบข้อเขียน

2. แบบฟอร์มการประเมินผลการสอบสัมภาษณ์

18.2 เครื่องมือประเมินการออกแบบและวิเคราะห์ผลิตภัณฑ์

1. แบบฟอร์มการประเมินผลการสอบข้อเขียน

2. แบบฟอร์มการประเมินผลการสังเกตการปฏิบัติงาน



ยินดีต้อนรับ