หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ประกันคุณภาพผลิตภัณฑ์

สาขาวิชาชีพอุตสาหกรรมพลาสติก


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ PSI-BLW-4-041ZA

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ประกันคุณภาพผลิตภัณฑ์

3. ทบทวนครั้งที่ /

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

อาชีพผู้ตรวจสอบคุณภาพกระบวนการเป่ายืดขึ้นรูป



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
ผู้ที่ผ่านหน่วยสมรรถนะนี้จะสามารถวิเคราะห์ข้อมูลด้านคุณภาพของวัตถุดิบ ผลิตภัณฑ์ คุณภาพที่ลูกค้ากำหนดและจัดทำเอกสารประกันคุณภาพวัตถุดิบและผลิตภัณฑ์ได้

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
อุตสาหกรรมพลาสติก

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
03231 วิเคราะห์ข้อมูลด้านคุณภาพของวัตถุดิบ 1.สื่อสารภาษาอังกฤษกับผู้อื่นได้ 03231.01 87306
03231 วิเคราะห์ข้อมูลด้านคุณภาพของวัตถุดิบ 2. อธิบายข้อมูลด้านคุณภาพของวัตถุดิบได้ 03231.02 87307
03231 วิเคราะห์ข้อมูลด้านคุณภาพของวัตถุดิบ 3. วิเคราะห์ผลการตรวจคุณภาพของวัตถุดิบได้ 03231.03 87308
03232 วิเคราะห์ข้อมูลด้านคุณภาพของผลิตภัณฑ์ 1.อธิบายข้อมูลด้านคุณภาพของผลิตภัณฑ์ได้ 03232.01 87309
03232 วิเคราะห์ข้อมูลด้านคุณภาพของผลิตภัณฑ์ 2. วิเคราะห์ผลการตรวจคุณภาพของผลิตภัณฑ์ได้ 03232.02 87310
03233 วิเคราะห์ข้อมูลด้านคุณภาพที่ลูกค้ากำหนด 1.อธิบายข้อกำหนดด้านคุณภาพของผลิตภัณฑ์ตามมาตรฐานของลูกค้า 03233.01 87311
03233 วิเคราะห์ข้อมูลด้านคุณภาพที่ลูกค้ากำหนด 2.วิเคราะห์ผลการตรวจคุณภาพของผลิตภัณฑ์เทียบกับมาตรฐานคูณภาพของลูกค้า 03233.02 87312
03234 ออกเอกสารประกันคุณภาพวัตถุดิบและผลิตภัณฑ์ 1.จัดทำเอกสารประกันคุณภาพวัตถุดิบ 03234.01 87313
03234 ออกเอกสารประกันคุณภาพวัตถุดิบและผลิตภัณฑ์ 2. จัดทำเอกสารประกันคุณภาพผลิตภัณฑ์ 03234.02 87314

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

0000 ใช้อุปกรณ์ป้องกันภัยส่วนบุคคลเพื่อความปลอดภัยในการปฏิบัติงาน

0321 ตรวจสอบลักษณะทางกายภาพของผลิตภัณฑ์

0322 ตรวจสอบคุณภาพผลิตภัณฑ์


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1. วิเคราะห์ข้อมูลด้านคุณภาพของวัตถุดิบ

2. วิเคราะห์ข้อมูลด้านคุณภาพของผลิตภัณฑ์

3. วิเคราะห์ข้อมูลด้านคุณภาพที่ลูกค้ากำหนด

4. จัดทำเอกสารประกันคุณภาพวัตถุดิบและผลิตภัณฑ์

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1. ข้อมูลด้านคุณภาพของวัตถุดิบและผลิตภัณฑ์

2. ขั้นตอนการจัดทำเอกสารประกันคุณภาพของวัตถุดิบและผลิตภัณฑ์


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

1. ใบรับรองการปฏิบัติงานจากสถานประกอบการ 

 (ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

1. เอกสารรับรองผลการเรียนหรือผ่านการอบรม 

2. เอกสารการประเมินผลจากการสอบข้อเขียน

3. เอกสารการประเมินผลจากการสอบสัมภาษณ์

 (ค) คำแนะนำในการประเมิน

ผู้ประเมินตรวจประเมินในด้านความรู้เกี่ยวกับข้อมูลด้านคุณภาพของวัตถุดิบและผลิตภัณฑ์และมีทักษะในการวิเคราะห์ข้อมูลด้านคุณภาพของวัตถุดิบ ผลิตภัณฑ์ คุณภาพที่ลูกค้ากำหนด และจัดทำเอกสารประกันคุณภาพวัตถุดิบและผลิตภัณฑ์

วิธีการประเมิน

1. พิจารณาตามหลักฐานการปฏิบัติงาน

2. พิจารณาตามหลักฐานความรู้


15. ขอบเขต (Range Statement)

1. วิเคราะห์ข้อมูลด้านคุณภาพของวัตถุดิบได้

2. วิเคราะห์ข้อมูลด้านคุณภาพของผลิตภัณฑ์ได้

3. วิเคราะห์ข้อมูลด้านคุณภาพที่ลูกค้ากำหนดได้

4. จัดทำเอกสารประกันคุณภาพวัตถุดิบและผลิตภัณฑ์ได้

 (ก)คำแนะนำ

ผู้ประเมินตรวจประเมินในด้านความรู้เกี่ยวกับข้อมูลด้านคุณภาพของวัตถุดิบและผลิตภัณฑ์และมีทักษะในการวิเคราะห์ข้อมูลด้านคุณภาพของวัตถุดิบ ผลิตภัณฑ์ คุณภาพที่ลูกค้ากำหนด และจัดทำเอกสารประกันคุณภาพวัตถุดิบและผลิตภัณฑ์

 (ข) คำอธิบายรายละเอียด

“ข้อมูลด้านคุณภาพของวัตถุดิบ” หมายถึง ข้อมูลที่ได้จากการตรวจสอบคุณภาพและพบว่าวัตถุดิบไม่มีลักษณะดังต่อไปนี้ บรรจุภัณฑ์ไม่ฉีดขาด, วัตถุดิบไม่เปียกชื้น, ชนิดของวัตถุดิบกับฉลากหน้าบรรจุภัณฑ์ตรงกัน, จำนวนวัตถุดิบตรงกับฉลากหน้าบรรจุภัณฑ์ตรงกัน, ลักษณะสีของวัตถุดิบไม่ผิดปกติ, กลิ่นไม่ฉุนผิดปกติ เป็นต้นโดยผู้ประเมินสามารถอ้างอิงตามข้อกำหนดที่สถานประกอบการเป็นคนกำหนดไว้ได้

“ข้อมูลด้านคุณภาพของผลิตภัณฑ์” หมายถึง ข้อมูลที่ได้จากการตรวจสอบคุณภาพและพบว่าผลิตภัณฑ์ไม่มีลักษณะไม่ขัดแย้งต่อข้อกำหนดมาตรฐานของผลิตภัณฑ์ เป็นต้นโดยผู้ประเมินสามารถอ้างอิงตามข้อกำหนดที่สถานประกอบการกำหนดไว้ได้

 “ข้อกำหนดด้านคุณภาพของผลิตภัณฑ์ตามมาตรฐานของลูกค้า” หมายถึง ลักษณะเฉพาะทางที่ลูกค้าเป็นผู้กำหนดให้เป็นมาตรฐานในการผลิต เช่น ข้อกำหนดขนาด ค่าความเผื่อของขนาดความหนา ลักษณะภายนอก เป็นต้น

“เอกสารประกันคุณภาพ” หมายถึง เอกสารที่แสดงผลการตรวจสอบคุณภาพและได้ผ่านการตรวจสอบความถูกต้องด้วยผู้จัดการฝ่ายประกันคุณภาพเรียบร้อยแล้ว และเป็นเอกสารที่มีรายละเอียดดังต่อไปนี้ ค่าการตรวจสอบขนาด การตรวจสอบความโปร่งแสง การตรวจสอบความขุ่น ใส เป็นต้น ซึ่งขึ้นอยู่กับประเภทของผลิตภัณฑ์ และข้อกำหนอของลูกค้าและสถานประกอบการ โดยผู้ประเมินสามารถอ้างอิงตามข้อกำหนดที่สถานประกอบการที่กำหนดไว้ได้


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
0000 ใช้อุปกรณ์ป้องกันภัยส่วนบุคคลเพื่อความปลอดภัยในการปฏิบัติงาน

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

18.1 เครื่องมือประเมินการวิเคราะห์ข้อมูลด้านคุณภาพของวัตถุดิบ

1. แบบฟอร์มการประเมินผลการสอบข้อเขียน

2. แบบฟอร์มการประเมินผลการสอบสัมภาษณ์

18.2 เครื่องมือประเมินการวิเคราะห์ข้อมูลด้านคุณภาพของผลิตภัณฑ์

1. แบบฟอร์มการประเมินผลการสอบข้อเขียน

18.3 เครื่องมือประเมินการวิเคราะห์ข้อมูลด้านคุณภาพที่ลูกค้ากำหนด

1. แบบฟอร์มการประเมินผลการสอบข้อเขียน

2. แบบฟอร์มการประเมินผลการสอบสัมภาษณ์

18.4 เครื่องมือประเมินการจัดทำเอกสารประกันคุณภาพวัตถุดิบและผลิตภัณฑ์

1. แบบฟอร์มการประเมินผลการสอบข้อเขียน

2. แบบฟอร์มการประเมินผลการสอบสัมภาษณ์



ยินดีต้อนรับ