หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ทดลองและขึ้นรูปผลิตภัณฑ์ด้วยกระบวนการเป่ายืด

สาขาวิชาชีพอุตสาหกรรมพลาสติก


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ PSI-BLW-4-037ZA

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ทดลองและขึ้นรูปผลิตภัณฑ์ด้วยกระบวนการเป่ายืด

3. ทบทวนครั้งที่ /

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

อาชีพช่างขึ้นรูปผลิตภัณฑ์ด้วยกระบวนการเป่ายืดขึ้นรูป



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
ผู้ที่ผ่านหน่วยสมรรถนะนี้จะสามารถทดลองขึ้นรูปผลิตภัณฑ์ตามใบสั่งผลิตและตรวจสอบชิ้นงานเบื้องต้นและขึ้นรูปผลิตภัณฑ์ตามใบสั่งผลิตได้

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
อุตสาหกรรมพลาสติก

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
03151 ทดลองขึ้นรูปผลิตภัณฑ์ตามใบสั่งผลิต 1. อ่านและเขียนคำศัพท์เฉพาะ คำศัพท์เทคนิค เกี่ยวกับเครื่องจักร แม่พิมพ์ ผลิตภัณฑ์ได้ 03151.01 87280
03151 ทดลองขึ้นรูปผลิตภัณฑ์ตามใบสั่งผลิต 2. อธิบายรายละเอียดเกี่ยวกับการทดลองตามใบสั่งผลิตได้ 03151.02 87281
03151 ทดลองขึ้นรูปผลิตภัณฑ์ตามใบสั่งผลิต 3. ปฏิบัติงานกับเครื่องเป่าขึ้นรูปชิ้นงานตัวอย่างได้ 03151.03 87282
03152 ตรวจสอบชิ้นงานเบื้องต้น 1. อ่านและเขียนคำศัพท์เฉพาะ คำศัพท์เทคนิค เกี่ยวกับเครื่องจักร แม่พิมพ์ ผลิตภัณฑ์ได้ 03152.01 87283
03152 ตรวจสอบชิ้นงานเบื้องต้น 2. อธิบายรายละเอียดเกี่ยวกับการทดลองตามใบสั่งผลิตได้ 03152.02 87284
03152 ตรวจสอบชิ้นงานเบื้องต้น 3. ปฏิบัติงานกับเครื่องเป่าขึ้นรูปชิ้นงานตัวอย่างได้ 03152.03 87285
03153 ขึ้นรูปผลิตภัณฑ์ตามใบสั่งผลิต 1 ตรวจสอบหาข้อบกพร่องของชิ้นงาน 03153.01 87286
03153 ขึ้นรูปผลิตภัณฑ์ตามใบสั่งผลิต 2. ตรวจสอบสีชิ้นงานขนาดรูปทรง 03153.02 87287

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

0000 ใช้อุปกรณ์ป้องกันภัยส่วนบุคคลเพื่อความปลอดภัยในการปฏิบัติงาน

0311 จัดเตรียมวัตถุดิบ

0312 จัดเตรียมเครื่องจักร แม่พิมพ์ และอุปกรณ์สนับสนุน

0313 ปฏิบัติงานกับเครื่องขึ้นรูป


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1. ทดลองขึ้นรูปผลิตภัณฑ์

2. ตรวจสอบคุณภาพชิ้นงานเบื้องต้น

3. ปฏิบัติงานกับเครื่องขึ้นรูปแม่พิมพ์และอุปกรณ์สนับสนุน

4. การอ่านและเขียนคำศัพท์เฉพาะ คำศัพท์เทคนิค เครื่องจักร แม่พิมพ์ ผลิตภัณฑ์ได้

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1. หลักการทำงานเครื่องเป่ายืดขึ้นรูปและอุปกรณ์สนับสนุนเครื่องเป่ายืด

2. คำศัพท์เทคนิคเกี่ยวกับเครื่องจักร และกระบวนการเป่ายืดขึ้นรูป


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

1. ใบรับรองการปฏิบัติงานจากสถานประกอบการ 

2. เอกสารการประเมินผลจากการสังเกตการปฏิบัติงาน 

(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

1. เอกสารรับรองผลการเรียนหรือผ่านการอบรม 

2. เอกสารการประเมินผลจากการสอบข้อเขียน

(ค) คำแนะนำในการประเมิน

ผู้ประเมินตรวจประเมินในด้านความรู้เกี่ยวกับหลักการทำงานของเครื่องเป่ายืดและมีทักษะในการทดลองขึ้นรูปผลิตภัณฑ์ตามใบสั่งผลิตตรวจสอบชิ้นงานเบื้องต้นตามใบสั่งผลิต และขึ้นรูปผลิตภัณฑ์ตามใบสั่งผลิต

วิธีการประเมิน

1. พิจารณาตามหลักฐานการปฏิบัติงาน

2. พิจารณาตามหลักฐานความรู้


15. ขอบเขต (Range Statement)

1. ทดลองขึ้นรูปผลิตภัณฑ์ตามใบสั่งผลิตได้

2. ตรวจสอบชิ้นงานเบื้องต้นได้

3. ขึ้นรูปผลิตภัณฑ์ตามใบสั่งผลิต

(ก)คำแนะนำ

ผู้เข้ารับการประเมินต้องมีความรู้เกี่ยวกับหลักการทำงานของเครื่องเป่ายืดและมีทักษะในการทดลองขึ้นรูปผลิตภัณฑ์ตามใบสั่งผลิตตรวจสอบชิ้นงานเบื้องต้นตามใบสั่งผลิต และขึ้นรูปผลิตภัณฑ์ตามใบสั่งผลิต

 (ข) คำอธิบายรายละเอียด

“ใบสั่งผลิต” หมายถึง เอกสารแสดงรายละเอียดประกอบการผลิต ซึ่งประกอบด้วย ชื่อผลิตภัณฑ์, วัน/เดือน/ปี ที่ผลิต, หมายเลขเครื่องที่ผลิต, ชื่อผู้ผลิต, ชื่อลูกค้า, แม่พิมพ์ที่ใช้ในการผลิตเป็นต้น ซึ่งอ้างอิงตามของสถานประกอบการ

“เอกสารคู่มือการปฏิบัติงาน” หมายถึง เอกสารแสดงขั้นตอนการปฏิบัติงาน หรือคู่มือในการใช้เครื่องจักร ที่สถานประกอบการได้จัดทำไว้เป็นมาตรฐานในการปฏิบัติงาน

“ตรวจสอบชิ้นงานเบื้องต้น” หมายถึง การตรวจสอบชิ้นงานด้วยสายตา เช่น การตรวจสอบการขุ่นขาวบริเวณก้นขวด, จุดฟองอากาศ, จุดด่างสีขาว เป็นต้น

“แผนการผลิต” หมายถึง เอกสารที่ระบุแผนการดำเนินงานในกระบวนการผลิตที่มีรายละเอียดดังต่อไปนี้ ชื่อผลิตภัณฑ์ที่ต้องผลิต, จำนวนที่ต้องผลิต, ลูกค้า, สถานที่ส่งของ, ระยะเวลาในการดำเนินการผลิต กำหนดส่งสินค้า, หมายเลขเครื่องจักรที่ใช้ในการผลิต, ชื่อผู้ดำเนินการผลิต เป็นต้น

“ควบคุมการดำเนินการขึ้นรูปผลิตภัณฑ์ให้เป็นไปตามแผนได้อย่างเหมาะสม” หมายถึง สภาวะที่ผู้เข้ารับการประเมินสามารถควบคุมการดำเนินงานให้เป็นไปตามแผน โดยผู้ประเมินสามารถพิจารณาจาก KPI หรือตัวชี้วัดทางสถิติในการปฏิบัติงาน ของแผนกที่ผู้เข้ารับการประเมินปฏิบัติงานอยู่หรือพิจารณาจากยอดการผลิตที่สอดคล้องกับยอดการสั่งผลิต เป็นต้น

“รายงานปัญหา” หมายถึง เอกสารที่แสดงถึงรายละเอียดดังต่อไปนี้ สาเหตุการเกิดปัญหา วันที่เกิดปัญหา เครื่องที่เกิดปัญหา ผลิตภัณฑ์ที่เกิดปัญหา ผู้พบเห็นปัญหา ผู้แก้ปัญหาเบื้องต้นและเสนอแผนแก้ไขระยะยาว จำนวนผลิตภัณฑ์ที่ได้รับผลกระทบ สถานที่เกิดปัญหา

“ข้อบกพร่อง” หมายถึง ความไม่สมบูรณ์ของผลิตภัณฑ์ที่ไม่ได้ตามข้อกำหนดหรือมาตรฐานของลูกค้า เช่น ความหนาของชิ้นงานไม่ได้ตามข้อกำหนด ชิ้นงานมีลักษณะไม่ได้รูปทรง มีฟองอากาศ มีรอยขุ่นขาว เป็นต้น


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
0000 ใช้อุปกรณ์ป้องกันภัยส่วนบุคคลเพื่อความปลอดภัยในการปฏิบัติงาน

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

18.1 เครื่องมือประเมินการทดลองขึ้นรูปผลิตภัณฑ์ตามใบสั่งผลิต

1. แบบฟอร์มการประเมินผลจากการสอบข้อเขียน

2. แบบฟอร์มการประเมินผลจากการสังเกตการปฏิบัติงาน 

18.2 เครื่องมือประเมินการตรวจสอบชิ้นงานเบื้องต้น

1. แบบฟอร์มการประเมินผลจากการสอบข้อเขียน

2. แบบฟอร์มการประเมินผลจากการสังเกตการปฏิบัติงาน 

18.3 เครื่องมือประเมินการขึ้นรูปผลิตภัณฑ์ตามใบสั่งผลิต

1. แบบฟอร์มการประเมินผลจากการสอบข้อเขียน

2. แบบฟอร์มการประเมินผลจากการสังเกตการปฏิบัติงาน 



ยินดีต้อนรับ