หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ตรวจสอบคุณภาพผลิตภัณฑ์

สาขาวิชาชีพอุตสาหกรรมพลาสติก


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ PSI-BLW-3-040ZA

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ตรวจสอบคุณภาพผลิตภัณฑ์

3. ทบทวนครั้งที่ /

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

อาชีพผู้ตรวจสอบคุณภาพกระบวนการเป่ายืดขึ้นรูป



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
ผู้ที่ผ่านหน่วยสมรรถนะนี้จะสามารถใช้เครื่องมือตรวจสอบคุณภาพ ตรวจสอบคุณภาพชิ้นงานตามข้อกำหนดของลูกค้าและบันทึกข้อมูลด้านคุณภาพของชิ้นงานได้

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
อุตสาหกรรมพลาสติก

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
03221 ใช้เครื่องมือตรวจสอบคุณภาพ 1. การอ่านและเขียนคำศัพท์เฉพาะ คำศัพท์เทคนิค เกี่ยวกับการตรวจสอบคุณภาพ 03221.01 87298
03221 ใช้เครื่องมือตรวจสอบคุณภาพ 2. อธิบายวิธีใช้งานเครื่องมือตรวจสอบคุณภาพได้ 03221.02 87299
03221 ใช้เครื่องมือตรวจสอบคุณภาพ 3. ใช้เครื่องมือตรวจสอบคุณภาพตามคู่มือในการปฏิบัติงานได้ 03221.03 87300
03222 ตรวจสอบคุณภาพชิ้นงานตามข้อกำหนดของลูกค้า 1.อธิบายวิธีการตรวจสอบคุณภาพได้ 03222.01 87301
03222 ตรวจสอบคุณภาพชิ้นงานตามข้อกำหนดของลูกค้า 2. อธิบายข้อกำหนดทางคุณภาพผลิตภัณฑ์ของลูกค้า 03222.02 87302
03222 ตรวจสอบคุณภาพชิ้นงานตามข้อกำหนดของลูกค้า 3. ตรวจสอบความบกพร่องของชิ้นงานได้ 03222.03 87303
03223 บันทึกข้อมูลด้านคุณภาพของชิ้นงาน 1.จัดทำเอกสารรายงานด้านคุณภาพของชิ้นงาน 03223.01 87304
03223 บันทึกข้อมูลด้านคุณภาพของชิ้นงาน 2. บันทึกข้อมูลด้านคุณภาพของชิ้นงานในเอกสารรายงานด้านคุณภาพ 03223.02 87305

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

0000 ใช้อุปกรณ์ป้องกันภัยส่วนบุคคลเพื่อความปลอดภัยในการปฏิบัติงาน

0321 ตรวจสอบลักษณะทางกายภาพของผลิตภัณฑ์


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1. ใช้เครื่องมือตรวจสอบคุณภาพได้อย่างถูกต้องตามคู่มือการปฏิบัติงาน

2. ตรวจสอบคุณภาพชิ้นงานตามข้อกำหนดของลูกค้า

3. บันทึกข้อมูลด้านคุณภาพของชิ้นงาน

4. การอ่านและเขียนคำศัพท์เฉพาะ คำศัพท์เทคนิค เกี่ยวกับการตรวจสอบคุณภาพ

5. จัดทำเอกสารรายงานด้านคุณภาพของชิ้นงาน

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1. วิธีใช้งานเครื่องมือตรวจสอบคุณภาพ

2. วิธีการตรวจสอบคุณภาพ

3. การอ่าน และเขียนคำศัพท์เฉพาะ คำศัพท์เทคนิค เกี่ยวกับการตรวจสอบคุณภาพ


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

1. ใบรับรองการปฏิบัติงานจากสถานประกอบการ 

2. เอกสารการประเมินผลจากการสังเกตการปฏิบัติงาน 

(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

1. เอกสารรับรองผลการเรียนหรือผ่านการอบรม 

2. เอกสารการประเมินผลจากการสอบข้อเขียน

 (ค) คำแนะนำในการประเมิน

ผู้ประเมินตรวจประเมินในด้านความรู้เกี่ยวกับวิธีใช้งานเครื่องมือตรวจสอบคุณภาพวิธีการตรวจสอบคุณภาพและมีทักษะในการใช้เครื่องมือตรวจสอบคุณภาพตรวจสอบคุณภาพชิ้นงาน จัดทำเอกสารรายงานด้านคุณภาพของชิ้นงานบันทึกข้อมูลด้านคุณภาพของชิ้นงานและการอ่าน และเขียนคำศัพท์เฉพาะ คำศัพท์เทคนิค เกี่ยวกับการตรวจสอบคุณภาพ

 วิธีการประเมิน

1. พิจารณาตามหลักฐานการปฏิบัติงาน

2. พิจารณาตามหลักฐานความรู้


15. ขอบเขต (Range Statement)

1. ใช้เครื่องมือตรวจสอบคุณภาพได้

2. ตรวจสอบคุณภาพชิ้นงานตามข้อกำหนดของลูกค้า

3. บันทึกข้อมูลด้านคุณภาพของชิ้นงานได้

 (ก)คำแนะนำ

ผู้ประเมินตรวจประเมินในด้านความรู้เกี่ยวกับวิธีใช้งานเครื่องมือตรวจสอบคุณภาพวิธีการตรวจสอบคุณภาพและมีทักษะในการใช้เครื่องมือตรวจสอบคุณภาพตรวจสอบคุณภาพชิ้นงาน จัดทำเอกสารรายงานด้านคุณภาพของชิ้นงานบันทึกข้อมูลด้านคุณภาพของชิ้นงานและการอ่าน และเขียนคำศัพท์เฉพาะ คำศัพท์เทคนิค เกี่ยวกับการตรวจสอบคุณภาพ

(ข) คำอธิบายรายละเอียด

“เครื่องมือ” ครอบคลุมอุปกรณ์เครื่องมือวัดดังต่อไปนี้ เช่น เวอร์เนีย เป็นต้น ผู้ประเมินสามารตรวจประเมินจากเครื่องมือวัดที่มีการระบุไว้ในคู่มือการปฏิบัติของสถานประกอบการนั้นๆ หรือ เครื่องวัดสำหรับตรวจคุณภาพของผลิตภัณฑ์นั้นๆได้

“คู่มือในการปฏิบัติงาน” หมายถึง เอกสารแสดงขั้นตอนการปฏิบัติงานหรือคู่มือในการใช้เครื่องจักร ที่สถานประกอบการได้จัดทำไว้เป็นมาตรฐานในการปฏิบัติงาน

“ข้อกำหนดของลูกค้า” หมายถึง ลักษณะเฉพาะทางลูกค้าเป็นผู้กำหนดให้เป็นมาตรฐานในการผลิต เช่น ข้อกำหนดขนาด ค่าความเผื่อของขนาดความหนา ลักษณะภายนอก เป็นต้น

“ความบกพร่องของชิ้นงาน” หมายถึง ความไม่สมบูรณ์ของผลิตภัณฑ์ที่ไม่ได้ตามข้อกำหนดหรือมาตรฐานของลูกค้า เช่น ความหนาของชิ้นงานไม่ได้ตามข้อกำหนด ชิ้นงานมีลักษณะไม่ได้รูปทรง มีฟองอากาศ มีรอยขุ่นขาว เป็นต้น

“ข้อมูลด้านคุณภาพ” หมายถึง ข้อมูลที่ได้จากการตรวจสอบคุณภาพชิ้นงานด้วยเครื่องมือวัด เช่น ค่าการตรวจสอบขนาด การตรวจสอบความโปร่งแสง การตรวจสอบความขุ่น ใส เป็นต้น โดยผู้ประเมินสามารถอ้างอิงตามข้อกำหนดที่สถานประกอบการที่กำหนดไว้ได้

“เอกสารรายงานด้านคุณภาพของชิ้นงาน” หมายถึง เอกสารที่มีรายละเอียดข้อมูลด้านคุณภาพ เช่น ชื่อผู้ตรวจคุณภาพ, วันที่ตรวจคุณภาพ, สถานที่ตรวจ, ชื่อผลิตภัณฑ์ที่ตรวจคุณภาพ, ผลการตรวจคุณภาพ เป็นต้น


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
0000 ใช้อุปกรณ์ป้องกันภัยส่วนบุคคลเพื่อความปลอดภัยในการปฏิบัติงาน

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

18.1 เครื่องมือประเมินการใช้เครื่องมือตรวจสอบคุณภาพ

1. แบบฟอร์มการประเมินผลจากการสอบข้อเขียน

 2. แบบฟอร์มการประเมินผลจากการสังเกตการปฏิบัติงาน

18.2 เครื่องมือประเมินตรวจสอบคุณภาพชิ้นงานตามข้อกำหนดของลูกค้า

1. แบบฟอร์มการประเมินผลจากการสอบข้อเขียน

2. แบบฟอร์มการประเมินผลจากการสังเกตการปฏิบัติงาน

18.3 เครื่องมือประเมินการบันทึกข้อมูลด้านคุณภาพของชิ้นงาน

1. แบบฟอร์มการประเมินผลจากการสอบข้อเขียน

2. แบบฟอร์มการประเมินผลจากการสังเกตการปฏิบัติงาน



ยินดีต้อนรับ