หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

แปลความต้องการทางธุรกิจเป็นฟังก์ชันงานระบบคอมพิวเตอร์

สาขาวิชาชีพบริการสุขภาพ


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ HLT-MNT-4-049ZA

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ แปลความต้องการทางธุรกิจเป็นฟังก์ชันงานระบบคอมพิวเตอร์

3. ทบทวนครั้งที่ - / -

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

2511 นักวิเคราะห์ระบบคอมพิวเตอร์



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
หน่วยนี้ครอบคลุมระดับพื้นฐานที่จำเป็นในการสนับสนุนงานระบบสารสนเทศทางการแพทย์

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
นักวิเคราะห์ระบบสารสนเทศทางการแพทย์

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
2512 นักพัฒนาซอฟต์แวร์2513 นักพัฒนาเว็บไซต์และสื่อผสม2514 โปรแกรมเมอร์2519 นักวิเคราะห์และพัฒนาซอฟต์แวร์และโปรแกรมประยุกต์ ซึ่งมิได้จัดประเภทไว้ในที่อื่น2521 นักออกแบบและผู้บริหารฐานข้อมูล

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
 - พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์. (ฉบับที่2) พ.ศ. 2560 - คำประกาศสิทธิและข้อพึงปฏิบัติของผู้ป่วย

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
MBA0301 วิเคราะห์ความต้องการทางธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับปัญหา / ความต้องการทางธุรกิจ 1.1 วิเคราะห์ความต้องการทางธุรกิจ และลำดับขั้นตอนของงานแต่ละรูปแบบและปัญหาที่เกิดขึ้นในแต่ละขั้นตอนของงาน MBA0301.01 87093
MBA0301 วิเคราะห์ความต้องการทางธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับปัญหา / ความต้องการทางธุรกิจ 1.2 สรุปผลลัพธ์การวิเคราะห์เชิงธุรกิจในรูปแบบที่เหมาะสม MBA0301.02 87094
MBA0302 ระบุและจัดทำข้อกำหนดด้านการทำงานสำหรับอินพุต / เอาต์พุตอินเทอร์เฟซและกระบวนการผลิตโดยใช้เครื่องมือที่เลือก 2.1 สรุปและจัดทำข้อกำหนดการทำงานสำหรับข้อมูลอินพุตและ เอาต์พุตในการเชื่อมต่อระบบ และกระบวนการทำงานของระบบโดยใช้เครื่องมือที่เหมาะสม MBA0302.01 87095
MBA0302 ระบุและจัดทำข้อกำหนดด้านการทำงานสำหรับอินพุต / เอาต์พุตอินเทอร์เฟซและกระบวนการผลิตโดยใช้เครื่องมือที่เลือก 2.2 อธิบายการเชื่อมโยงของข้อมูล และการนำข้อมูลไปใช้ได้อย่างเหมาะสม MBA0302.02 87096
MBA0303 ตรวจสอบความถูกต้องและแก้ไขข้อขัดแย้งที่เกี่ยวข้องกับความต้องการในการทำงานด้วยกิจการที่เกี่ยวข้อง 3.1 ตรวจสอบความถูกต้องของความต้องการทางธุรกิจ เพื่อหาข้อขัดแย้งกับกระบวนการทำงาน MBA0303.01 87097
MBA0303 ตรวจสอบความถูกต้องและแก้ไขข้อขัดแย้งที่เกี่ยวข้องกับความต้องการในการทำงานด้วยกิจการที่เกี่ยวข้อง 3.2 นำเสนอแนวทางแก้ไขข้อขัดแย้งของกระบวนการทำงานกับความต้องการทางธุรกิจ MBA0303.02 87098
MBA0304 แนะนำโซลูชันทางธุรกิจตามความต้องการใช้งานที่ผู้ใช้งานระบุ 4.1 วิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับเทคโนโลยีที่เหมาะสมกับรูปแบบทางธุรกิจ MBA0304.01 87099
MBA0304 แนะนำโซลูชันทางธุรกิจตามความต้องการใช้งานที่ผู้ใช้งานระบุ 4.2 สรุปความต้องการเทคโนโลยีที่สอดคล้องกับรูปแบบทางธุรกิจ MBA0304.02 87100
MBA0304 แนะนำโซลูชันทางธุรกิจตามความต้องการใช้งานที่ผู้ใช้งานระบุ 4.3 เลือกเทคโนโลยีให้ตรงกับความต้องการของรูปแบบทางธุรกิจ MBA0304.03 87101
MBA0305 ตรวจสอบผลิตภัณฑ์ของซัพพลายเออร์ที่ตอบสนองความต้องการด้านการทำงานถ้าจำเป็นต้องใช้ 5.1 ตรวจสอบข้อมูลผลิตภัณฑ์ที่มีอยู่ในตลาดว่าสามารถตอบสนองตามความต้องการ MBA0305.01 87102
MBA0305 ตรวจสอบผลิตภัณฑ์ของซัพพลายเออร์ที่ตอบสนองความต้องการด้านการทำงานถ้าจำเป็นต้องใช้ 5.2 นำผลิตภัณฑ์จากซัพพลายเออร์ที่ตอบสนองความต้องการมาทดสอบการใช้งานว่าตรงตามความต้องการจริง MBA0305.02 87103
MBA0306 รับข้อเสนอแนะและรวบรวมลายเซ็นของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องของข้อกำหนดด้านฟังก์ชันการทำงานที่ตอบสนองความต้องการทางธุรกิจ 6.1 ตรวจสอบข้อมูลผลิตภัณฑ์ที่มีอยู่ในตลาดว่าสามารถตอบสนองตามความต้องการ MBA0306.01 87104
MBA0306 รับข้อเสนอแนะและรวบรวมลายเซ็นของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องของข้อกำหนดด้านฟังก์ชันการทำงานที่ตอบสนองความต้องการทางธุรกิจ 6.2 นำผลิตภัณฑ์จากซัพพลายเออร์ที่ตอบสนองความต้องการมาทดสอบการใช้งานว่าตรงตามความต้องการจริง MBA0306.02 87105

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

  1. มีความรู้ด้านธุรกิจการแพทย์

  2. มีความรู้และคุ้นเคยกับฟังก์ชันการทำงานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศในปัจจุบันขององค์กรด้านการแพทย์


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ


1. วิเคราะห์และตีความหมายลำดับขั้นของงานแต่ละรูปแบบในเชิงธุรกิจ
2. แยกแยะรูปแบบได้ตรงตามความต้องการของธุรกิจ
3. สรุปผลลัพธ์จากการวิเคราะห์รูปแบบเชิงธุรกิจ
4. วิเคราะห์รูปแบบของเทคโนโลยีที่ใช้กับธุรกิจ
5. วิเคราะห์เทคโนโลยีที่ตรงกับความต้องการของรูปแบบทางธุรกิจ
6. เลือกประเภทของเทคโนโลยีให้สอดคล้องกับรูปแบบทางธุรกิจ
7. วิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับเทคโนโลยีที่เหมาะสมกับรูปแบบทางธุรกิจ
8. สรุปความต้องการเทคโนโลยีที่สอดคล้องกับรูปแบบทางธุรกิจ
9. เลือกเทคโนโลยีให้ตรงกับความต้องการของรูปแบบทางธุรกิจ
10. ความสามารถในการนำเสนองานได้สอดคล้องกับความต้องการของเทคโนโลยีที่เหมาะสมกับรูปแบบทางธุรกิจ
11. ความสามารถในการสื่อสารกับกลุ่มเป้าหมาย
12. ความสามารถด้านเทคโนโลยีเชิงธุรกิจ

(ข) ความต้องการด้านความรู้


1. ความรู้เกี่ยวกับรูปแบบธุรกิจ
2. ความรู้ด้านการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงธุรกิจ
3. ความรู้เกี่ยวกับพื้นฐานของเทคโนโลยี
4. ความรู้เกี่ยวกับพื้นฐานทางธุรกิจ
5. ความรู้ในการนำเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้กับธุรกิจ
6. ความรู้เกี่ยวกับประโยชน์ของเทคโนโลยีที่ตรงกับรูปแบบทางธุรกิจ
7. ความรู้เกี่ยวกับพื้นฐานทางธุรกิจ
8. ความรู้เกี่ยวกับมาตรฐานของเทคโนโลยีแต่ละรูปแบบ
9. ความรู้ด้านเทคโนโลยีเชิงธุรกิจ
10. ความรู้เกี่ยวกับเทคนิคในการนำเสนอ


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)


หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมิน และควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และ ทักษะ-ความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)




(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)




1. ผลการบันทึกรายการจากการสังเกต




2. ผลการบันทึกความคิดเห็นของหัวหน้างาน




3. ผลจากการปฏิบัติงาน




4. เอกสาร/หลักฐานที่เกี่ยวข้อง




(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)




1. ผลจากสัมภาษณ์และหรือ




2. ผลจากทดสอบความรู้




(ค) คำแนะนำในการประเมิน




ผู้เข้ารับการประเมินต้องผ่านการประเมินที่ครอบคลุมในทุกสมรรถนะย่อยขอบเขตความรู้และทักษะที่กำหนดในกรณีที่ผู้รับการประเมินผ่านไม่ครบตามเกณฑ์กำหนดผู้ประเมินต้องแจ้งหน่วยสมรรถนะและสมรรถนะย่อยที่ไม่ผ่านให้ผู้รับการประเมินไปทบทวนสมรรถนะที่ยังไม่ผ่านและสามารถกลับมาทดสอบสมรรถนะใหม่อีกครั้ง




(ง) วิธีการประเมิน




1. เจ้าหน้าที่สอบทำการประเมินความรู้ผู้เข้ารับการประเมินโดยใช้แบบทดสอบความรู้ข้อเขียน




2. เจ้าหน้าที่สอบทำการประเมินการสาธิตการปฏิบัติงานจริงโดยใช้แบบบันทึกรายการจากการสังเกตและเอกสารหลักฐานที่จำเป็นในการปฏิบัติงานต่างๆ หรือ




3. เจ้าหน้าที่สอบทำการประเมินการสัมภาษณ์โดยใช้แบบบันทึกการสัมภาษณ์


15. ขอบเขต (Range Statement)

  1. ลำดับขั้นของงานแต่ละรูปแบบในเชิงธุรกิจแสดงในรูปแบบของรายงาน

  2. รูปแบบความต้องการของธุรกิจได้ตามที่กำหนดของขอบเขตงาน      

  3. ผลลัพธ์จากการวิเคราะห์รูปแบบเชิงธุรกิจได้ตรงตามรูปแบบของงาน 

  4. รูปแบบของเทคโนโลยีจะต้องตรงกับความต้องการกับขอบเขตของธุรกิจ

  5. เลือกเทคโนโลยีได้เหมาะสมกับรูปแบบทางธุรกิจที่ได้มาตรฐานสากล

  6. ข้อมูลเทคโนโลยีต้องตรงกับขอบเขตของงานที่กำหนด

  7. เทคโนโลยีที่ตรงกับความต้องการของธุรกิจที่เชื่อถือ

  8. เทคโนโลยีที่เหมาะสมกับรูปแบบทางธุรกิจ ตรงตามมาตรฐาน

  9. เทคโนโลยีที่เหมาะสมกับรูปแบบทางธุรกิจตรงกับขอบเขตของงานที่กำหนด

  10. ข้อมูลเทคโนโลยีตรงกับความต้องการกับรูปแบบทางธุรกิจ ตามขอบเขตของงานที่กำหนด

  11. ตัวอย่างเทคนิคสากลการสร้างแบบจำลองในการวิเคราะห์




  • Prototyping

  • Structure Analysis

    • o Data flow diagram (DFD)          

    • o Context diagram                    

    • o Entity relationship diagram (ERD)        



  • Object-oriented Analysis                   

    • o Unified Model Language (UML)




16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
ไม่ระบุ

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
ไม่ระบุ

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

สมรรถนะอาจได้รับการประเมินผ่าน





  • การสอบข้อเขียน




  • การสัมภาษณ์





โดยสมรรถนะอาจจะได้รับการประเมินในที่ทำงานหรือในสถานที่ทำงานจำลองที่มีการจัดตั้งขึ้น



 


ยินดีต้อนรับ