หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ดูแลความพร้อมใช้ระบบเครือข่าย

สาขาวิชาชีพบริการสุขภาพ


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ HLT-MNT-4-059ZA

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ดูแลความพร้อมใช้ระบบเครือข่าย

3. ทบทวนครั้งที่ - / -

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

2523 ผู้ประกอบวิชาชีพด้านเครือข่ายคอมพิวเตอร์



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
หน่วยนี้ครอบคลุมระดับพื้นฐานที่จำเป็นในการสนับสนุนงานระบบสารสนเทศทางการแพทย์

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
นักบริหารจัดการระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ทางการแพทย์

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
2511 นักวิเคราะห์ระบบคอมพิวเตอร์2519 นักวิเคราะห์และพัฒนาซอฟต์แวร์และโปรแกรมประยุกต์ ซึ่งมิได้จัดประเภทไว้ในที่อื่น2522 ผู้บริหารระบบงานคอมพิวเตอร์

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
 - พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์. (ฉบับที่2) พ.ศ. 2560 - คำประกาศสิทธิและข้อพึงปฏิบัติของผู้ป่วย

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
MHI0501 วางแผนและบริหารจัดการระบบเครือข่ายภายในโรงพยาบาล 1.1 กำหนดขั้นตอนเฝ้าระวังระบบและการยกระดับในการแก้ไขปัญหา MHI0501.01 87224
MHI0501 วางแผนและบริหารจัดการระบบเครือข่ายภายในโรงพยาบาล 1.2 เลือกใช้เครื่องมือในการเฝ้าระวังและแจ้งเตือนเมื่อระบบมีปัญหา MHI0501.02 87225
MHI0501 วางแผนและบริหารจัดการระบบเครือข่ายภายในโรงพยาบาล 1.3 จัดเตรียมแผนงานสำรองในกรณีฉุกเฉินเมื่ออุปกรณ์หลักขององค์กรใช้งานไม่ได้ MHI0501.03 87226
MHI0502 กำหนดระดับการให้บริการและคุณภาพการให้บริการ 2.1 กำหนดคุณภาพการให้บริการ (Service Level Agreement: SLA) MHI0502.01 87227
MHI0502 กำหนดระดับการให้บริการและคุณภาพการให้บริการ 2.2 ตรวจสอบปริมาณการใช้งานระบบเครือข่ายด้วยเครื่องมือบริหารจัดการระบบเครือข่าย(Network Management System: NMS) เพื่อประเมินประสิทธิภาพการทำงานของระบบเครือข่าย MHI0502.02 87228
MHI0502 กำหนดระดับการให้บริการและคุณภาพการให้บริการ 2.3 ปรับปรุงคุณภาพการให้บริการให้ดีขึ้น MHI0502.03 87229
MHI0503 ตรวจสอบประสิทธิภาพขอทุกระบบเครือข่ายอย่างสม่ำเสมอ 3.1 วางแผนบำรุงรักษาระบบในเชิงป้องกัน โดยกำหนดวงรอบการเข้าตรวจความพร้อมใช้และประสิทธิภาพของอุปกรณ์เครือข่ายอย่างสม่ำเสมอ MHI0503.01 87230
MHI0503 ตรวจสอบประสิทธิภาพขอทุกระบบเครือข่ายอย่างสม่ำเสมอ 3.2 ตรวจสอบตรวจความพร้อมใช้ และประสิทธิภาพของอุปกรณ์เครือข่ายตามวงรอบที่กำหนด MHI0503.02 87231
MHI0503 ตรวจสอบประสิทธิภาพขอทุกระบบเครือข่ายอย่างสม่ำเสมอ 3.3 ทดสอบ โดยใช้เครื่องมือในการทดสอบระบบ MHI0503.03 87232
MHI0504 ประเมินเทคโนโลยีใหม่ที่เกี่ยวข้องเพื่อนำมาปรับปรุงคุณภาพของระบบเครือข่ายและความพร้อมใช้ 4.1 ติดตามข่าวสารเทคโนโลยีด้านระบบเครือข่ายและความปลอดภัยอย่างสม่ำเสมอ MHI0504.01 87233
MHI0504 ประเมินเทคโนโลยีใหม่ที่เกี่ยวข้องเพื่อนำมาปรับปรุงคุณภาพของระบบเครือข่ายและความพร้อมใช้ 4.2 ประเมินเทคโนโลยีใหม่ ที่เหมาะสมโดยสามารถนำมาปรับปรุงคุณภาพของระบบเครือข่ายได้ในค่าใช้จ่ายที่เหมาะสม และรองรับการขยายระบบเครือข่ายในอนาคต MHI0504.02 87234
MHI0504 ประเมินเทคโนโลยีใหม่ที่เกี่ยวข้องเพื่อนำมาปรับปรุงคุณภาพของระบบเครือข่ายและความพร้อมใช้ 4.3 ทำรายงานสรุปผลการประเมินและเปรียบเทียบอุปกรณ์หรือเทคโนโลยีที่ต้องการนำมาใช้ MHI0504.03 87235
MHI0504 ประเมินเทคโนโลยีใหม่ที่เกี่ยวข้องเพื่อนำมาปรับปรุงคุณภาพของระบบเครือข่ายและความพร้อมใช้ 4.4 นำเสนอให้บุคคลที่เกี่ยวข้อง MHI0504.04 87236
MHI0505 ตรวจสอบการปฏิบัติงานของบุคลากรระบบเครือข่ายให้สอดคล้องกับกฎระเบียบขององค์กร 5.1 ตรวจสอบผลการติดตั้งอุปกรณ์และการตั้งการระบบเครือข่าย MHI0505.01 87237
MHI0505 ตรวจสอบการปฏิบัติงานของบุคลากรระบบเครือข่ายให้สอดคล้องกับกฎระเบียบขององค์กร 5.2 ตรวจสอบผลการเดินสายระบบเครือข่าย MHI0505.02 87238
MHI0505 ตรวจสอบการปฏิบัติงานของบุคลากรระบบเครือข่ายให้สอดคล้องกับกฎระเบียบขององค์กร 5.3 ตรวจสอบผลการสำรองข้อมูลการตั้งค่าอุปกรณ์ระบบเครือข่ายให้มีข้อมูลล่าสุดและครบถ้วน MHI0505.03 87239
MHI0506 ดูแลระบบเครือข่ายที่มีความซับซ้อน 6.1 ให้คำปรึกษาในการแก้ไขปัญหาระบบเครือข่ายกับผู้ที่เกี่ยวข้อง MHI0506.01 87240
MHI0506 ดูแลระบบเครือข่ายที่มีความซับซ้อน 6.2 แก้ไขปัญหาระบบเครือข่ายและระบบเครือข่ายไร้สายที่มีความซับซ้อน MHI0506.02 87241
MHI0506 ดูแลระบบเครือข่ายที่มีความซับซ้อน 6.3 ประสานงานกับผู้เชี่ยวชาญระบบเครือข่ายในการแก้ไขปัญหาที่มีความยากในระดับสูง MHI0506.03 87242
MHI0506 ดูแลระบบเครือข่ายที่มีความซับซ้อน 6.4 แก้ไขปัญหาและทำรายงานสรุปผลการแก้ไขปัญหา MHI0506.04 87243
MHI0506 ดูแลระบบเครือข่ายที่มีความซับซ้อน 6.5 นำเสนอให้บุคคลที่เกี่ยวข้อง MHI0506.05 87244

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)


ไม่ระบุ


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ


ไม่มี

(ข) ความต้องการด้านความรู้


1. ความรู้ในการแก้ไขปัญหาระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่มีความซับซ้อน




2. ความรู้เกี่ยวกับแนวโน้มของสินค้าและบริการทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศระบบเครือข่าย




3. ความรู้ด้านเครื่องมือและวิธีการประเมินผลประสิทธิภาพระบบเครือข่าย


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)


หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมิน และควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และ ทักษะ-ความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)




(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)




1. ผลการบันทึกรายการจากการสังเกต




2. ผลการบันทึกความคิดเห็นของหัวหน้างาน




3. ผลจากการปฏิบัติงาน




4. เอกสาร/หลักฐานที่เกี่ยวข้อง




(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)




1. ผลจากสัมภาษณ์และหรือ




2. ผลจากทดสอบความรู้




(ค) คำแนะนำในการประเมิน




ผู้เข้ารับการประเมินต้องผ่านการประเมินที่ครอบคลุมในทุกสมรรถนะย่อยขอบเขตความรู้และทักษะที่กำหนดในกรณีที่ผู้รับการประเมินผ่านไม่ครบตามเกณฑ์กำหนดผู้ประเมินต้องแจ้งหน่วยสมรรถนะและสมรรถนะย่อยที่ไม่ผ่านให้ผู้รับการประเมินไปทบทวนสมรรถนะที่ยังไม่ผ่านและสามารถกลับมาทดสอบสมรรถนะใหม่อีกครั้ง




(ง) วิธีการประเมิน




1. เจ้าหน้าที่สอบทำการประเมินความรู้ผู้เข้ารับการประเมินโดยใช้แบบทดสอบความรู้ข้อเขียน




2. เจ้าหน้าที่สอบทำการประเมินการสาธิตการปฏิบัติงานจริงโดยใช้แบบบันทึกรายการจากการสังเกตและเอกสารหลักฐานที่จำเป็นในการปฏิบัติงานต่างๆ หรือ




3. เจ้าหน้าที่สอบทำการประเมินการสัมภาษณ์โดยใช้แบบบันทึกการสัมภาษณ์


15. ขอบเขต (Range Statement)

  1. กำหนดลำดับความสำคัญของอุปกรณ์โดยคำนึงถึงผลกระทบของความไม่พร้อมใช้ของระบบหรืออุปกรณ์ ต่อผู้ใช้ในด้านธุรกิจและด้านต่างๆ เพื่อกำหนดความสำคัญของปัญหาในการแก้ไขปัญหาก่อนหลัง และความเร่งด่วนในการแก้ปัญหา รวมถึงกรอบระยะเวลาในการแก้ไขปัญหา เพื่อใช้ประเมินขีดความสามารถในการวิเคราะห์และแก้ไขปัญหา และกระบวนการยกระดับของปัญหา

  2. การตรวจสอบประสิทธิภาพของระบบจำเป็นจะต้องมีการกำหนดมาตรฐานชี้วัดประสิทธิภาพการทำงานของระบบและความพร้อมใช้ (KPI)    

  3. วิธีการประเมิน ได้แก่ การวัดผลระยะเวลาที่ระบบใช้งานไม่ได้ การวัดผลระยะเวลาในการแก้ไขปัญหา เป็นต้น


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
ไม่ระบุ

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
ไม่ระบุ

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

 สมรรถนะอาจได้รับการประเมินผ่าน        




  • การสอบข้อเขียน

  • การสัมภาษณ์




โดยสมรรถนะอาจจะได้รับการประเมินในที่ทำงานหรือในสถานที่ทำงานจำลองที่มีการจัดตั้งขึ้น



ยินดีต้อนรับ