หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ทำรายงานขั้นสูง

สาขาวิชาชีพบริการสุขภาพ


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ HLT-MNT-4-040ZA

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ทำรายงานขั้นสูง

3. ทบทวนครั้งที่ - / -

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)


รหัสและอาชีพตาม ISCO-08 ได้แก่ 3252 เจ้าหน้าที่เวชระเบียนและเจ้าหน้าที่เทคนิคด้านข้อมูลสุขภาพ



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
หน่วยนี้ครอบคลุมทัศนคติความรู้ และทักษะที่จำเป็นในการสร้างรายงานขั้นสูง

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
นักเวชสถิติ

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
 คำประกาศสิทธ์และข้อพึงปฏิบัติต่อผู้ป่วย

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
STA0301 ความรู้เรื่องข้อมูลและระบบสารสนเทศในโรงพยาบาล 1.1 มีความรู้ประเภทของข้อมูลและสารสนเทศของโรงพยาบาลที่เกี่ยวข้องกับขอบเขตงานของตนเช่น ข้อมูลการแพทย์ ข้อมูล ICD STA0301.01 86986
STA0301 ความรู้เรื่องข้อมูลและระบบสารสนเทศในโรงพยาบาล 1.2 มีความรุ้ระบบ HIS STA0301.02 86987
STA0301 ความรู้เรื่องข้อมูลและระบบสารสนเทศในโรงพยาบาล 1.3 มีความรู้ในแหล่งข้อมูลและการเก็บข้อมูลที่ถูกต้อง STA0301.03 86988
STA0301 ความรู้เรื่องข้อมูลและระบบสารสนเทศในโรงพยาบาล 1.4 มีความรู้ในเครื่องมือต่างๆที่ช่วยในการเรียบเรียงวิเคราะห์และนำเสนอข้อมูลและความรู้ในรูปแบบที่มีความหมาย เช่นgraph,chart,statistical analysis STA0301.04 86989
STA0301 ความรู้เรื่องข้อมูลและระบบสารสนเทศในโรงพยาบาล 1.5 มีความรู้หลักการเบื้องต้นในการวิเคราะห์ข้อมูลQualitative /Quantitative analysis STA0301.05 86990
STA0302 ทำรายงาน 2.1 รวบรวมความต้องการของผู้ใช้ข้อมูล STA0302.01 86991
STA0302 ทำรายงาน 2.2 วิเคราะห์ความต้องการกับข้อมูลที่มี STA0302.02 86992
STA0302 ทำรายงาน 2.3 รู้ข้อจำกัด ขอบเขต ความหมายของข้อมูล และบอกความผิดปกติของข้อมูลและแก้ปัญาหา STA0302.03 86993
STA0302 ทำรายงาน 2.4 ทำ Data Testing ,Data Validation โดยใช้หลักทางสถิติเช่นการ cross check สำหรับข้อมูลที่มีมากกว่า STA0302.04 86994
STA0302 ทำรายงาน 2 แหล่ง STA0302.05 86995
STA0302 ทำรายงาน 2.5 ออกแบบรายงาน STA0302.06 86996
STA0302 ทำรายงาน 2.6 เลือกแหล่งข้อมูลที่จะนำมาทำรายงาน STA0302.07 86997
STA0302 ทำรายงาน 2.7 จัดทำรายงานตามมาตรฐานขั้นตอนการทำงาน STA0302.08 86998
STA0303 ตรวจสอบรายงาน และติดตามการใช้รายงาน 1.1 ตรวจสอบความถูกต้องของรายงาน STA0303.01 86999
STA0303 ตรวจสอบรายงาน และติดตามการใช้รายงาน 1.2 พิมพ์รายงาน /ส่งออกรายงาน ตามระบบสารสนเทศที่ใช้ STA0303.02 87000
STA0303 ตรวจสอบรายงาน และติดตามการใช้รายงาน 1.3 ติดตามผล ให้คำแนะนำเพิ่มเติมการใช้ข้อมูลเวชสถิติกับผู้ใช้ข้อมูล STA0303.03 87001

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)
N/A

13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ


การอ่านและเข้าใจคู่มือ เวชระเบียน และเอกสารที่เกี่ยวข้อง




การใช้คอมพิวเตอร์โปรแกรมสำเร็จรูป ที่เกี่ยวข้อง

(ข) ความต้องการด้านความรู้


1. International Classification of Diseases and Related Health Problem




2. International Classification of Procedures




3. Standard Coding Guidelines




4. ความรู้พื้นฐานศัพท์แพทย์ คำย่อทางการแพทย์




5. ภาษาที่ใช้ใน ICD




6. คำนิยามสถิติสาธารณสุข




7. หลักการทางสถิติเบื้องต้น




8. ภาษาอังกฤษ




9. ความรู้ด้านการใช้งานคอมพิวเตอร์เบื้องต้น




10. ความรู้เรื่องระบบเครือข่ายโรงพยาบาล(Hospital Information System:HIS)


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)


หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมินและควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และ ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)




(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)




1. เอกสาร หลักฐานรับรองประสบการณ์ทำงาน




2. แฟ้มสะสมผลงาน




3. เอกสาร หลักฐานที่เกี่ยวข้อง




(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)




มีหลักฐานการอบรมในหลักสูตรที่เกี่ยวข้อง




(ค) คำแนะนำในการประเมิน




ผู้เข้ารับการประเมินต้องผ่านการประเมินที่ครอบคลุมในทุกสมรรถนะย่อยขอบเขตความรู้และทักษะที่กำหนดในกรณีที่ผู้รับการประเมินผ่านไม่ครบตามเกณฑ์กำหนดผู้ประเมินต้องแจ้งหน่วยสมรรถนะและสมรรถนะย่อยที่ไม่ผ่านให้ผู้รับการประเมินไปทบทวนสมรรถนะที่ยังไม่ผ่านและสามารถกลับมาทดสอบสมรรถนะใหม่อีกครั้ง




(ง) วิธีการประเมิน




1. เจ้าหน้าที่สอบทำการประเมินความรู้ผู้เข้ารับการประเมินโดยใช้แบบทดสอบความรู้ข้อเขียน




2.เจ้าหน้าที่สอบทำการประเมินการสาธิตการปฏิบัติงานจริงโดยใช้แบบบันทึกรายการจากการสังเกต




และเอกสารหลักฐานที่จำเป็นในการปฏิบัติงานต่างๆ หรือ




3.เจ้าหน้าที่สอบทำการประเมินการสัมภาษณ์โดยใช้แบบบันทึกการสัมภาษณ์


15. ขอบเขต (Range Statement)

  1. รายงานสำเร็จรูป หมายถึงรายงานทางเวชสถิติที่ได้จากโปรแกรมสำเร็จรูปซึ่งทำหน้าที่ดึงข้อมูลจากระบบฐานข้อมูล HIS ตามความต้องการ

  2. รายงานขั้นสูงหมายถึง รายงานที่มีรูปแบบซับซ้อนขึ้นตามที่ผู้ใช้ข้อมูลต้องการ มีการประยุกต์รูปแบบจากรายงานสำเร็จรูป การแสดงข้อมูลมีรูปแบบในเชิงสถิติมากขึ้น สามารถนำไปใช้อ้างอิง หรือ สนับสนุนการตัดสินใจในการทำงาน

  3. International Classification of Diseases and Related Health Problem คือบัญชีจำแนกโรคระหว่างประเทศประกอบด้วยดรรชนีค้นหารหัสโรคและตารางการจัดกลุ่มโรค

  4. International Classification of Procedures คือบัญชีจำแนกหัตถการและการผ่าตัดระหว่างประเทศประกอบด้วยดรรชนีค้นหารหัสหัตถการและตารางการจัดกลุ่มหัตถการและการผ่าตัด

  5. Standard Coding Guidelines คือแนวทางมาตรฐานการให้รหัสโรคในสถานพยาบาลโดยมีแนวทางการวินิจแยกโรคสำหรับแพทย์และแนวทางมาตรฐานการให้รหัสโรคสำหรับเจ้าหน้าที่ให้รหัสโรคใช้เป็นแนวทางมาตรฐานเดียวกันเพื่อให้ข้อมูลถูกต้องและมีคุณภาพสามารถแลกเปลี่ยนและเชื่อมโยงข้อมูลกันได้ทั้งประเทศ         

  6. คำนิยามสถิติสาธารณสุข           




  • OPD Registered numberหมายถึง จำนวนหน่วยนับของผู้ป่วยนอกทั้งหมดทุกประเภทที่ได้ทำการขึ้นทะเบียนเพื่อรับบริการที่แผนกต้อนรับนับจากเวลา 0.00น-24.00น.

  • OPD Visit Numberหมายถึง จำนวนหน่วยนับของผู้ป่วยนอกทั้งหมดทุกประเภทที่ได้รับบริการทางการแพทย์ที่จุดบริการทั้งหมดที่แผนกผู้ป่วยนอกนับจากเวลา 0.00 น-24.00 น.

  • OPD New Patient หมายถึง ผู้ป่วย / ผู้รับบริการทางการแพทย์ที่จดทะเบียนเป็นคนไข้ใหม่เป็นการรับบริการครั้งแรก

  • Admission Number หมายถึง จำนวนผู้ป่วยที่แพทย์มีคำสั่งให้รับไว้เพื่อให้การรักษาแบบผู้ป่วยในทั้งหมดทุกประเภทจากจุดบริการทั้งหมดที่แผนกผู้ป่วยนอกและห้องฉุกเฉินจากเวลา 0.00 น-24.00 น.         

  • New Admission Number หมายถึง ผู้ป่วยที่ลงทะเบียน ณ โรงพยาบาลนั้นๆ เป็นครั้งแรก และแพทย์สั่งให้รับไว้เพื่อให้อยู่พักรักษาในโรงพยาบาล

  • In Patients Days หมายถึงจำนวนวันนอนรวมของผู้ป่วยที่รับไว้เพื่อให้การรักษาแบบผู้ป่วยในทั้งหมดทุกประเภทในรอบ 1 เดือน จากวันที่ 1 ของทุกเดือนจนถึงวันสิ้นเดือน

  • Average Length of Stayหมายถึงจำนวนวันนอนเฉลี่ยของผู้ป่วยทั้งหมดที่รับไว้เพื่อให้การรักษาแบบผู้ป่วยในทั้งหมดทุกประเภทในรอบ 1 เดือน จากวันที่ 1 ของทุกเดือนจนถึงวันสิ้นเดือน

  • Bed Occupancy Rate หมายถึงอัตราการครองเตียงของโรงพยาบาลในแต่ละเดือน จากวันที่ 1 ของทุกเดือนจนถึงวันสิ้นเดือน

  • Conversion Rateหมายถึงคืออัตราการเปลี่ยนสถานะผู้ป่วยนอกที่แผนกผู้ป่วยนอกเป็นผู้ป่วยในเมื่อเทียบกับจำนวนผู้ป่วยนอก ( Visit Number )ด้วยข้อบ่งชี้และความจำเป็นทางการแพทย์

  • Mortality Rateหมายถึงอัตราการเสียชีวิตของผู้ป่วยในทั้งหมดทุกประเภทที่เสียชีวิตในโรงพยาบาล




  1. ภาษาอังกฤษขั้นพื้นฐาน หมายถึง ศัพท์ภาษาอังกฤษที่ใช้บ่อยในรายงาน อาจเป็นคำศัพท์เฉพาะทางการแพทย์ ธุรกิจ หรือ วิชาการก็ได้

  2. Hospital Information System: HIS หมายถึง เป็นการนำระบบสารสนเทศ เทคโนโลยีสารสนเทศ มาประยุกต์ใช้จัดการกิจการต่างๆของโรงพยาบาล เช่น ประวัติผู้ป่วย การรักษา การนัดหมาย ระบบการเงิน ระบบผู้ป่วยนอก ระบบผู้ป่วยใน ระบบห้องยา เป็นต้น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้สามารถดำเนินการต่างๆได้อย่างถูกต้องตรงตามเป้าหมายหลักของโรงพยาบาล พร้อมทั้งสนับสนุนการตัดสินใจได้อย่างถูกต้องในทุกขั้นตอน ก่อให้เกิดการใช้ทรัพยากรอย่างเกิดประโยชน์สูงสุด

  3. หลักการทางสถิติที่เกี่ยวข้อง



            อุปกรณ์และเครื่องมือที่ใช้ในการทำงาน เช่น เครื่องคอมพิวเตอร์ ซอฟต์แวร์ คู่มือการใช้ซอฟต์แวร์ เป็นต้น



            สถานที่ ภายในแผนกเวชสถิติ หรือภายในสถานพยาบาล


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)


สมรรถนะอาจได้รับการประเมินผ่าน




  • การสอบข้อเขียน

  • การสัมภาษณ์




โดยสมรรถนะอาจจะได้รับการประเมินในที่ทำงานหรือในสถานที่ทำงานจำลองที่มีการจัดตั้งขึ้น



ยินดีต้อนรับ