หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ให้รหัสโรค

สาขาวิชาชีพบริการสุขภาพ


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ HLT-MNT-4-038ZA

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ให้รหัสโรค

3. ทบทวนครั้งที่ - / -

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)


รหัสและอาชีพตาม ISCO-08 ได้แก่ 3252 เจ้าหน้าที่เวชระเบียนและเจ้าหน้าที่เทคนิคด้านข้อมูลสุขภาพ



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
หน่วยนี้ครอบคลุมทัศนคติความรู้ และทักษะที่จำเป็นในการจัดการข้อมูลรหัสโรค รหัสหัตถการ รหัสสาเหตุการตาย

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
นักเวชสถิติ

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
คำประกาศสิทธ์และข้อพึงปฏิบัติต่อผู้ป่วย

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
STA0101 ให้รหัส (ICD coding) 1.1 เลือกแหล่งข้อมูล อ่าน ค้นหา และเข้าใจข้อมูลในเวชระเบียนได้เหมาะสมในการได้มาซึ่งคำวินิจฉัยโรคหัตถการ และสาเหตุการตาย STA0101.01 86960
STA0101 ให้รหัส (ICD coding) 1.2 มีความรู้หลักการให้รหัสโรค หัตถการและสาเหตุการตายศัพท์แพทย์ คำย่อทางการแพทย์ที่เป็นมาตรฐานสากล ภาษาอังกฤษ รวมถึง Pharmacology, Human Anatomy, Physiology, Pathology and Radiology STA0101.02 86961
STA0101 ให้รหัส (ICD coding) 1.3 อ่านคู่มือ หนังสือมาตรฐานการให้รหัสโรคเข้าใจเข้าใจภาษา ICD STA0101.03 86962
STA0101 ให้รหัส (ICD coding) 1.4 เลือกคำวินิจฉัยโรคได้เหมาะสม ครบถ้วน STA0101.04 86963
STA0101 ให้รหัส (ICD coding) 1.5 เลือกให้รหัสตามคู่มือได้ตามมาตรฐานการให้รหัสโรค STA0101.05 86964
STA0101 ให้รหัส (ICD coding) 1.6 ทบทวนความถูกต้อง STA0101.06 86965
STA0102 การจัดการการสรุปโรคที่ไม่สมบูรณ์ในเวชระเบียน 2.1 คัดแยกเวชระเบียนที่แพทย์สรุปไม่สมบูรณ์ไม่ละเอียด ไม่ชัดเจนได้ STA0102.01 86966
STA0102 การจัดการการสรุปโรคที่ไม่สมบูรณ์ในเวชระเบียน 2.2 ส่งเวชระเบียนไม่สมบูรณ์ปรึกษาแพทย์ผู้รักษา STA0102.02 86967
STA0102 การจัดการการสรุปโรคที่ไม่สมบูรณ์ในเวชระเบียน 2.3 ติดตามเวชระเบียนที่ส่งบันทึกกลับมาภายในเวลาที่กำหนด STA0102.03 86968
STA0103 บันทึกรหัส 3.1 เลือกแหล่งบันทึกข้อมูลตามที่กำหนดได้ STA0103.01 86969
STA0103 บันทึกรหัส 3.2 บันทึกรหัสโรคลงระบบที่กำหนดได้ถูกต้อง STA0103.02 86970
STA0103 บันทึกรหัส 3.3 สามารถปรับตัวใช้รหัสในระบบที่แตกต่าง ระบบรหัสที่เปลี่ยนแปลงระบบการบันทึก และการปรับรหัสให้เข้ากับการบริหารงานโรงพยาบาล STA0103.03 86971
STA0104 ตรวจสอบการบันทึกรหัส 4.1 สืบค้นและเลือกแหล่งข้อมูลรหัสโรคที่จะตรวจ STA0104.01 86972
STA0104 ตรวจสอบการบันทึกรหัส 4.2 รู้วิธีตรวจสอบรหัสโรค STA0104.02 86973
STA0104 ตรวจสอบการบันทึกรหัส 4.3 ดำเนินการตรวจสอบรหัสโรค STA0104.03 86974
STA0105 แก้ไขรหัส 5.1. เลือกแหล่งข้อมูลรหัสโรค STA0105.01 86975
STA0105 แก้ไขรหัส 5.2. ทำการแก้ไขรหัสโรคที่ไม่ถูกต้อง/ไม่สมบูรณ์ STA0105.02 86976

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)
N/A

13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ


การอ่านและเข้าใจคู่มือ เวชระเบียน และเอกสารที่เกี่ยวข้อง




การใช้คอมพิวเตอร์โปรแกรมสำเร็จรูป ที่เกี่ยวข้อง

(ข) ความต้องการด้านความรู้


1. International Classification of Diseases and Related Health Problem




2. International Classification of Procedures




3. Standard Coding Guidelines




4. ความรู้พื้นฐานศัพท์แพทย์ คำย่อทางการแพทย์




5. ภาษาที่ใช้ใน ICD




6. ภาษาอังกฤษ




7. ความรู้ด้านการใช้งานคอมพิวเตอร์เบื้องต้น




8. ความรู้เรื่องระบบเครือข่ายโรงพยาบาล(Hospital Information System:HIS)


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)


 หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมินและควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)




(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)




1. เอกสาร หลักฐานรับรองประสบการณ์ทำงาน




2. แฟ้มสะสมผลงาน




3. เอกสาร หลักฐานที่เกี่ยวข้อง




(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)




มีหลักฐานการอบรมในหลักสูตรการให้รหัสโรคและรหัสหัตถการขั้นพื้นฐาน




(ค) คำแนะนำในการประเมิน




ผู้เข้ารับการประเมินต้องผ่านการประเมินที่ครอบคลุมในทุกสมรรถนะย่อยขอบเขตความรู้และทักษะที่กำหนดในกรณีที่ผู้รับการประเมินผ่านไม่ครบตามเกณฑ์กำหนดผู้ประเมินต้องแจ้งหน่วยสมรรถนะและสมรรถนะย่อยที่ไม่ผ่านให้ผู้รับการประเมินไปทบทวนสมรรถนะที่ยังไม่ผ่านและสามารถกลับมาทดสอบสมรรถนะใหม่อีกครั้ง




(ง) วิธีการประเมิน




1. เจ้าหน้าที่สอบทำการประเมินความรู้ผู้เข้ารับการประเมินโดยใช้แบบทดสอบความรู้ข้อเขียน หรือ




2. เจ้าหน้าที่สอบทำการประเมินการสาธิตการปฏิบัติงานจริงโดยใช้แบบบันทึกรายการจากการสังเกตและเอกสารหลักฐานที่จำเป็นในการปฏิบัติงานต่างๆ หรือ




3. เจ้าหน้าที่สอบทำการประเมินการสัมภาษณ์โดยใช้แบบบันทึกการสัมภาษณ์


15. ขอบเขต (Range Statement)

  1. การวินิจฉัยหลัก/โรคหลัก คือข้อวินิจฉัยโรคในตอนสุดท้ายของการดูแลรักษาผู้ป่วยในโดยต้องเป็นโรคที่เกิดขึ้นในตัวผู้ป่วยตั้งแต่ก่อนรับเข้าไว้รักษาในโรงพยาบาลในกรณีที่ผู้ป่วยมีโรคหลายโรคปรากฏขึ้นพร้อมๆกันให้เลือกโรคที่รุนแรงที่สุดหรือโรคที่ใช้ทรัพยากรในการรักษาสูงสุดเป็นการวินิจฉัยหลัก

  2. การวินิจฉัยร่วม/โรคร่วม คือ โรคที่ปรากฏรวมกับโรคที่เปนการวินิจฉัยหลัก และเปนโรคที่มีความรุนแรงของโรคมากพอที่จะทําใหผูปวยมีความเสี่ยงชีวิตสูงมากขึ้น หรือใชทรัพยากรในการรักษา เพิ่มขึ้นระหวางการรักษาตัวในโรงพยาบาลครั้งนี้        

  3. โรคแทรก คือ โรคที่ไม่ปรากฏร่วมกับโรคที่เป็นการวินิจฉัยหลักแต่แรก แต่เกิดขึ้นหลังจากผู้ป่วยเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลไปแล้ว และเป็นโรคที่มีความรุนแรงของโรคมากพอที่จะทำให้ผู้ป่วยมีความเสี่ยงต่อชีวิตสูงมากขึ้นหรือใช้ทรัพยากรในการรักษาตัวในโรงพยาบาลครั้งนี้ 

  4. การวินิจฉัยอื่นๆ/โรคอื่นๆคือโรคของผู้ป่วยที่ไม่เข้าข่ายคำจำกัดความของการวินิจฉัยหลัก การวินิจฉัยร่วมหรือโรคแทรก กล่าวคือเป็นโรคที่ความรุนแรงของโรคไม่มากพอที่จะทำให้ผู้ป่วยมีความเสี่ยงต่อชีวิตสูงมากขึ้น หรือเป็นโรคที่ไม่ต้องใช้ทรัพยากรในการรักษาเพิ่มขึ้นระหว่างการรักษาตัวในโรงพยาบาลครั้งนี้ อาจเป็นโรคที่พบร่วมกับโรคที่เป็นการวินิจฉัยหลัก หรือพบหลังจากเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาลแล้วก็ได้

  5. กลไกการบาดเจ็บหรือกลไกการได้รับพิษ/สาเหตุการป่วย/บาดเจ็บคือ ข้อมูลที่ได้จากการซักประวัติผู้ป่วย เพื่อให้ทราบว่าบาดเจ็บมาอย่างไรเป็นอุบัติเหตุถูกทำร้าย ฆ่าตัวตายฯลฯเพื่อให้ได้ข้อมูลมาใช้ป้องกันการบาดเจ็บที่อาจเป็นสาเหตุให้สูญเสียประชาชนก่อนวัยอันสมควร

  6. การผ่าตัดคือการใช้เครื่องมือกระทำต่ออวัยวะต่างๆโดยอาศัยทักษะที่ได้รับการฝึกฝนจากการศึกษาวิชาชีพ แพทย์หรือทันตแพทย์ มีวัตถุประสงค์หลักในการบำบัดรักษาโรคหรือแก้ไขความพิการ บกพร่องในโครงสร้างทางกายภาพของผู้ป่วย และโดยทั่วไปดำเนินการในห้องผ่าตัดของโรงพยาบาล

  7. แยกโรคสำหรับแพทย์และแนวทางมาตรฐานการให้รหัสโรคสำหรับเจ้าหน้าที่ให้รหัสโรคใช้เป็นแนวทางมาตรฐานเดียวกันเพื่อให้ข้อมูลถูกต้องและมีคุณภาพสามารถแลกเปลี่ยนและเชื่อมโยงข้อมูลกันได้ทั้งประเทศ

  8. Hospital Information System: HIS หมายถึง เป็นการนำระบบสารสนเทศ เทคโนโลยีสารสนเทศ มาประยุกต์ใช้จัดการกิจการต่างๆของโรงพยาบาล เช่น ประวัติผู้ป่วย การรักษา การนัดหมาย ระบบการเงิน ระบบผู้ป่วยนอก ระบบผู้ป่วยใน ระบบห้องยา เป็นต้น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้สามารถดำเนินการต่างๆได้อย่างถูกต้องตรงตามเป้าหมายหลักของโรงพยาบาล พร้อมทั้งสนับสนุนการตัดสินใจได้อย่างถูกต้องในทุกขั้นตอน ก่อให้เกิดการใช้ทรัพยากรอย่างเกิดประโยชน์สูงสุด

  9. อุปกรณ์และเครื่องมือที่ใช้ในการทำงาน เช่น เครื่องคอมพิวเตอร์ ซอฟต์แวร์ คู่มือการใช้ซอฟต์แวร์ เป็นต้น

  10. สถานที่ ภายในแผนกเวชสถิติ หรือภายในสถานพยาบาล 

  11. หัตถการคือการใช้เครื่องมือกระทำต่ออวัยวะต่างๆ โดยอาศัยทักษะที่ได้รับการฝึกฝนจากการศึกษาวิชาชีพแพทย์,ทันตแพทย์หรือพยาบาลมีวัตถุประสงค์หลักในการบำบัดรักษาโรคหรือแก้ไขความพิการ บกพร่องในโครงสร้างทางกายภาพของผู้ป่วยและโดยทั่วไปดำเนินการนอกห้องผ่าตัดของโรงพยาบาล

  12. International Classification of Diseases and Related Health Problem คือบัญชีจำแนกโรคระหว่างประเทศประกอบด้วยดรรชนีค้นหารหัสโรคและตารางการจัดกลุ่มโรค         

  13. International Classification of Procedures (ICD)คือบัญชีจำแนกหัตถการและการผ่าตัดระหว่างประเทศประกอบด้วยดรรชนีค้นหารหัสหัตถการและตารางการจัดกลุ่มหัตถการและการผ่าตัด        

  14. Standard Coding Guidelines คือแนวทางมาตรฐานการให้รหัสโรคในสถานพยาบาลโดยมีแนวทางการวินิจฉัย


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)


สมรรถนะอาจได้รับการประเมินผ่าน




  • การสอบข้อเขียน

  • การสัมภาษณ์




โดยสมรรถนะอาจจะได้รับการประเมินในที่ทำงานหรือในสถานที่ทำงานจำลองที่มีการจัดตั้งขึ้น



ยินดีต้อนรับ