หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ทากาวและตัดเจียนเนื้อในด้วยเครื่อง

สาขาวิชาชีพอุตสาหกรรมการพิมพ์


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ PRT-AFP-2-006ZA

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ทากาวและตัดเจียนเนื้อในด้วยเครื่อง

3. ทบทวนครั้งที่ 1 / 2564

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

ช่างทำเล่มหนังสือปกแข็ง



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
หน่วยสมรรถนะนี้เกี่ยวกับการเตรียมเนื้อในด้วยเครื่องทากาว โดยตรวจสอบความถูกต้องของวัสดุ อุปกรณ์ เครื่องมือ และเครื่องจักรในการทำเนื้อในแบบด้วยเครื่องทากาว รวมทั้งสามารถเลือกใช้วัสดุ อุปกรณ์ในการทำเนื้อในด้วยเครื่องทาการสำหรับทำเล่มหนังสือปกแข็งได้อย่างถูกต้อง และปลอดภัย

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
ผู้ประกอบวิชาชีพงานหลังพิมพ์

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
 รหัส ISCO – 08-7323 ช่างตกแต่งงานพิมพ์และเข้าเล่ม (Print Finishing and Binding Workers )

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
405061 เตรียมวัสดุและเครื่องทากาวเนื้อใน 1.1ตรวจสอบเนื้อในที่เย็บกี่แล้วให้เรียบร้อยก่อนทากาวและเตรียมกาวให้ถูกต้องตามข้อกำหนด(specification) กับชนิดของกระดาษ 405061.01 86421
405061 เตรียมวัสดุและเครื่องทากาวเนื้อใน 1.2 เตรียมใบผนึกหน้า-หลัง ปรับตั้งส่วนป้อนใบผนึกปกกับเล่มเนื้อในได้ตำแหน่งไม่กลับหน้า-หลัง ไม่กลับหัว-ท้าย 405061.02 86422
405062 ทากาวเนื้อในด้วยเครื่อง 2.1 เปิดเครื่องทากาวด้านข้างสันทดลองทากาวด้านข้างสัน ปรับแก้ไขเพื่อติดใบผนึกปกหน้า-หลัง ได้แน่น ไม่เอียงไม่เปื้อนเลอะ 405062.01 86423
405063 ตัดเจียนเล่มเนื้อในด้วยเครื่อง 3.1 ตรวจสอบว่าเล่มเนื้อในแห้งดีแล้ว 405063.01 86424
405063 ตัดเจียนเล่มเนื้อในด้วยเครื่อง 3.2 ตัดเจียนเนื้อในให้มีขนาดเล็กกว่าปกทั้งสามด้าน ๆ ละประมาณ 3 มม. 405063.02 86425
405063 ตัดเจียนเล่มเนื้อในด้วยเครื่อง 3.3 ตัดเจียนเนื้อในให้ได้ฉาก ไม่เอียง 405063.03 86426
405064 บำรุงรักษาเครื่องทากาวและตัดเจียนเนื้อใน 4.1 ทำความสะอาดเครื่องทากาวและตัดเจียนเนื้อในได้ถูกต้อง 405064.01 86427
405064 บำรุงรักษาเครื่องทากาวและตัดเจียนเนื้อใน 4.2 หล่อลื่นตามจุดหล่อลื่นและทำความสะอาดเครื่องตามระยะในแผนการบำรุงรักษาและคู่มือการบำรุงรักษาเครื่อง 405064.02 86428

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

อ่านและเขียนภาษาไทยได้  และเข้าใจภาษาอังกฤษที่เกี่ยวกับการทำงานได้ มีประสบการณ์ทำงานด้านหลังพิมพ์ 


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1.    ความสามารถในการคำนวณ วัด และกำหนดขนาดได้

2.    ความสามารถในการทากาวด้วยเครื่องทากาว

3.    ความสามารถในการตัดเจียนเนื้อใน

4.    ความสามารถในการตกแต่งเนื้อในด้วยเครื่อง

 

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1.    ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับลักษณะงานและขั้นตอนการทากาวเนื้อในด้วยเครื่อง

2.    ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับลักษณะงานและขั้นตอนการตัดเนื้อในด้วยเครื่อง

3.    ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับลักษณะงานและขั้นตอนการตกแต่งเนื้อในด้วยเครื่อง

4.    ความรู้เกี่ยวกับ ชนิด ขนาด กระดาษ และการเลือกใช้งานที่เหมาะสม 

 


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

1.    บันทึกรายการจากการสังเกต

2.    บันทึกความคิดเห็นของหัวหน้างาน

3.    ผลจากการเตรียมวัสดุ อุปกรณ์สำหรับการทากาว เล่มได้ถูกต้องและตรงตามใบสั่งงาน

4.    ผลจากการเตรียมเนื้อในด้วยเครื่องได้ถูกต้องเหมาะสม

(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

แบบสัมภาษณ์รายการวัสดุ อุปกรณ์ เครื่องจักรที่ต้องเตรียมให้พร้อมและเทคนิคการทากาวเนื้อในด้วยเครื่อง

(ค) คำแนะนำในการประเมิน

มีการสัมภาษณ์และปฏิบัติตามแบบทดสอบที่กำหนด

(ง) วิธีการประเมิน

1.    การประเมินความรู้ โดยใช้การสัมภาษณ์ และการทดสอบโดยข้อสอบ

2.    การประเมินผลการปฏิบัติงานใช้การประเมินจากการสังเกตการณ์ปฏิบัติงานตามแบบทดสอบปฏิบัติที่กำหนด และใบบันทึกความคิดเห็นจากหัวหน้างาน

 


15. ขอบเขต (Range Statement)

(ก) คำแนะนำ 

    N/A



(ข) คำอธิบายรายละเอียด

1.    ตรวจสอบเนื้อในหนังสือเป็น ตรวจสอบชื่อหนังสือและจำนวนเนื้อในให้ถูกต้องสามารถทำความเข้าใจใบสั่งงานของโรงพิมพ์และนำมาปฏิบัติตามใบสั่งงานได้อย่างถูกต้อง

2.    ทำความเข้าใจลักษณะหนังสือที่จะทากาวเนื้อในด้วยเครื่องจากตัวอย่างหนังสือและนำมาปฏิบัติตามใบสั่งงานได้อย่างถูกต้อง

3.    ตรวจสอบชื่อเนื้อในและปกของหนังสือที่จะทำทากาวเนื้อในด้วยเครื่องให้ตรงกันและถูกต้องตามใบสั่งงาน

4.    จัดเรียงเนื้อในให้พร้อมที่สำหรับการทากาวได้อย่างถูกต้อง ทั้งจำนวนและวิธีการจัดเรียง

5.    เตรียมเครื่องทากาว กาว เครื่องตกแต่งเนื้อใน ได้อย่างถูกต้องและเหมาะสมกับงานตามใบสั่งงานของโรงพิมพ์

6.    ทำความเข้าใจเอกสารข้อมูลความปลอดภัยเครื่องมือ เครื่องทากาว ได้อย่างถูกต้อง

 


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

1.    การสัมภาษณ์ 

2.    การทดสอบโดยข้อสอบ 

3.    การสังเกตการณ์ปฏิบัติงานในสภาพจริง หรือสภาวะจำลอง หรือผลงาน

 



ยินดีต้อนรับ