หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ปฏิบัติงานผลิตแม่พิมพ์เฟล็กโซกราฟีชนิดพอลิเมอร์เหลว

สาขาวิชาชีพอุตสาหกรรมการพิมพ์


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ PRT-PRE-2-003ZA

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ปฏิบัติงานผลิตแม่พิมพ์เฟล็กโซกราฟีชนิดพอลิเมอร์เหลว

3. ทบทวนครั้งที่ 1 / 2558

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

ช่างทำแม่พิมพ์เฟล็กโซกราฟี



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
           หน่วยสมรรถนะนี้เกี่ยวกับการตรวจสอบความถูกต้องของฟิล์มต้นฉบับ สามารถปฏิบัติงานทำแม่พิมพ์เฟล็กโซกราฟี ชนิดพอลิเมอร์เหลว ได้ถูกต้องตามชนิดและขั้นตอนการทำงาน ตั้งแต่กระบวนการเตรียมงานไปจนถึงกระบวนการล้างแม่พิมพ์และตรวจสอบคุณภาพแม่พิมพ์ที่ผลิตได้

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
ผู้ประกอบวิชาชีพงานทำแม่พิมพ์เฟล็กโซกราฟี

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
 รหัส ISCO-08-7321 ช่างด้านเทคนิคก่อนการพิมพ์   (Pre-press technicians)

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
203031 ตรวจสอบความสมบูรณ์ของฟิล์มต้นฉบับ 1.1 ทำความสะอาดฟิล์มต้นฉบับ 203031.01 85700
203031 ตรวจสอบความสมบูรณ์ของฟิล์มต้นฉบับ 1.2 ตรวจสอบความสมบูรณ์ทางกายภาพของฟิล์มเนกาทิฟ 203031.02 85701
203031 ตรวจสอบความสมบูรณ์ของฟิล์มต้นฉบับ 1.3 ตรวจค่าความดำของฟิล์มต้นฉบับด้วยเครื่องมือวัด 203031.03 85702
203032 เตรียมวัสดุในการทำแม่พิมพ์เฟล็กโซกราฟีตามลักษณะงาน 2.1 ทำความสะอาดและทำการติดตั้งฟิล์มต้นฉบับ โดยวางแผ่นพลาสติกกันฟิล์มติดและไล่อากาศให้ฟิล์มแนบสนิท 203032.01 85703
203032 เตรียมวัสดุในการทำแม่พิมพ์เฟล็กโซกราฟีตามลักษณะงาน 2.2 ติดแถบโฟมกั้นขอบกำหนดขนาดพื้นที่ได้อย่างถูกต้อง 203032.02 85704
203032 เตรียมวัสดุในการทำแม่พิมพ์เฟล็กโซกราฟีตามลักษณะงาน 2.3 คำนวณขนาดพื้นที่ และกำหนดปริมาณพอลิเมอร์เหลวที่ใช้ตามขนาดความหนาของแม่พิมพ์ที่ต้องการ 203032.03 85705
203032 เตรียมวัสดุในการทำแม่พิมพ์เฟล็กโซกราฟีตามลักษณะงาน 2.4 เทน้ำยางพอลิเมอร์เหลว ได้ถูกต้อง และไล่ฟองอากาศออกจากพอลิเมอร์เหลว 203032.04 85706
203032 เตรียมวัสดุในการทำแม่พิมพ์เฟล็กโซกราฟีตามลักษณะงาน 2.5 ติดตั้งแผ่นรองหลัง (base film)ได้อย่างถูกต้อง 203032.05 85707
203032 เตรียมวัสดุในการทำแม่พิมพ์เฟล็กโซกราฟีตามลักษณะงาน 2.6 กำหนดความหนาแม่พิมพ์ด้วยแท่งเหล็กกำหนดขนาดตามคำสั่ง 203032.06 85708
203032 เตรียมวัสดุในการทำแม่พิมพ์เฟล็กโซกราฟีตามลักษณะงาน 2.7 ผสมน้ำยาล้าง ตามใบสั่งงาน และติดตั้งแม่พิมพ์ในเครื่องล้าง และปฏิบัติงานล้างแม่พิมพ์ 203032.07 85709
203033 ปฏิบัติงานใช้เครื่องฉายแสงและล้างสร้างภาพแม่พิมพ์เฟล็กโซกราฟีชนิดพอลิเมอร์เหลว 3.1 วางเลย์เอาต์ของงานต่างๆให้เหมาะสมหรือเต็มพื้นที่การสร้างภาพของแม่พิมพ์ 203033.01 85710
203033 ปฏิบัติงานใช้เครื่องฉายแสงและล้างสร้างภาพแม่พิมพ์เฟล็กโซกราฟีชนิดพอลิเมอร์เหลว 3.2 ปฏิบัติงานฉายแสงด้านหลังฉายแสงด้านหน้า ด้วยแสงยูวีเอ (UV-A) ตามใบสั่งงาน 203033.02 85711
203033 ปฏิบัติงานใช้เครื่องฉายแสงและล้างสร้างภาพแม่พิมพ์เฟล็กโซกราฟีชนิดพอลิเมอร์เหลว 3.3 ปรับสภาพผิวหน้าและปรับค่าความแข็งของแม่พิมพ์ด้วยการฉายแสงยูวีเอ(UV-A)ลงสู่แม่พิมพ์ที่แช่อยู่ในน้ำ (wet cure) 203033.03 85712
203033 ปฏิบัติงานใช้เครื่องฉายแสงและล้างสร้างภาพแม่พิมพ์เฟล็กโซกราฟีชนิดพอลิเมอร์เหลว 3.4 ทำความสะอาดแม่พิมพ์และทำการอบแห้ง 203033.04 85713
203033 ปฏิบัติงานใช้เครื่องฉายแสงและล้างสร้างภาพแม่พิมพ์เฟล็กโซกราฟีชนิดพอลิเมอร์เหลว 3.5 ทำการฉายแสงบนแม่พิมพ์เพื่อปรับผิวหน้า ด้วยแสงยูวีซี (UV-C) ตามระยะเวลาที่กำหนดในใบสั่งงาน 203033.05 85714
203034 ตรวจสอบคุณภาพแม่พิมพ์เฟล็กโซกราฟีชนิดพอลิเมอร์เหลวหลังการผลิต 4.1 ตรวจสอบความสมบูรณ์ทางกายภาพของแม่พิมพ์ 203034.01 85715
203034 ตรวจสอบคุณภาพแม่พิมพ์เฟล็กโซกราฟีชนิดพอลิเมอร์เหลวหลังการผลิต 4.2 ตรวจสอบความเหนียวของผิวหน้าแม่พิมพ์เฟล็กโซกราฟี 203034.02 85716
203034 ตรวจสอบคุณภาพแม่พิมพ์เฟล็กโซกราฟีชนิดพอลิเมอร์เหลวหลังการผลิต 4.3 ตรวจสอบความหนาของแม่พิมพ์เฟล็กโซกราฟีด้วยเครื่องมือวัด 203034.03 85717
203034 ตรวจสอบคุณภาพแม่พิมพ์เฟล็กโซกราฟีชนิดพอลิเมอร์เหลวหลังการผลิต 4.4 ตรวจสอบความแข็งของแม่พิมพ์เฟล็กโซกราฟีด้วยเครื่องมือวัด 203034.04 85718

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

          อ่านและเขียนภาษาไทยได้ และเข้าใจภาษาอังกฤษเที่เกี่ยวข้องกับการทำงานได้ และปฏิบัติงานด้านการเตรียมวัสดุ และช่วยงานทำแม่พิมพ์เฟล็กโซกราฟีชนิดพอลิเมอร์เหลว  


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

- อ่านใบสั่งงานได้



- ตรวจสอบความถูกต้องของฟิล์มต้นฉบับ



- การใช้อุปกรณ์วัดค่าความดำของฟิล์มต้นฉบับ



- การติดตั้งฟิล์มต้นฉบับ



- การใช้เครื่องฉายแสงยูวีทำแม่พิมพ์เฟล็กโซกราฟีชนิดพอลิเมอร์เหลว



- เทคนิคการเทยางพอลิเมอร์เหลว



- เทคนิคการไล่ฟองอากาศในพอลิเมอร์เหลว



- เทคนิคและวิธีเก็บน้ำยางพอลิเมอร์ส่วนที่ไม่แข็งตัว



- ติดตั้งแม่พิมพ์ในเครื่องล้าง



- ล้างทำความสะอาดแม่พิมพ์



- การใช้เครื่องฉายแสงบนแม่พิมพ์ซ้ำ และตู้อบลมร้อน



- การใช้อุปกรณ์วัดค่าความหนาแม่พิมพ์

(ข) ความต้องการด้านความรู้

- ฟิล์มต้นฉบับทางการพิมพ์



- การทำแม่พิมพ์เฟล็กโซกราฟีชนิดพอลิเมอร์เหลว



- การคำนวณปริมาณพอลิเมอร์เหลว



- ชนิดและคุณสมบัติของแสงยูวี



- การปรับค่าและตั้งเวลาการฉายแสงยูวี



- การปรับสภาพผิวหน้าและความแข็งของแม่พิมพ์



- การใช้อุปกรณ์และเครื่องมือวัด


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)



- แม่พิมพ์เฟล็กโซกราฟีชนิดพอลิเมอร์เหลวที่ได้จากการปฏิบัติงาน



- บันทึกรายการจากการสังเกตการณ์ในการปฏิบัติงานตามใบงาน  



- ความเห็นจากสถานประกอบการ แฟ้มสะสมงาน



- ใบผ่านการทำงานจากสถานประกอบการหรือการผ่านการฝึกอบรมในงานดังกล่าว



- ใบรับรอง (certificate) ประกาศนียบัตร วุฒิบัตร และอื่น ๆ ตามที่ภาคอุตสาหกรรมยอมรับ



(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)



- ผลการตอบปากเปล่าจากการสัมภาษณ์



- ผลการสอบข้อเขียนหรือแบบทดสอบความรู้



- หลักฐานจากใบผ่านการทำงานจากสถานประกอบการ



- ใบรับรอง (certificate) ประกาศนียบัตร วุฒิบัตร และอื่น ๆ ตามที่ภาคอุตสาหกรรมยอมรับ



(ค) คำแนะนำในการประเมิน



     การประเมินหลักฐานด้านทักษะและความรู้ ผู้ประเมินจะต้องมีประสบการณ์ด้านหน่วยสมรรถนะนี้ มีการจำลองสถานการณ์ที่เหมาะสม และสถานที่ทำการประเมินต้องไม่มีสภาวะรบกวนการประเมิน มีเครื่องมือ อุปกรณ์และ เคมีภัณฑ์พร้อมใช้งาน 



(ง) วิธีการประเมิน



       ใช้วิธีการทดสอบทั้งทางภาคทฤษฎีและปฏิบัติ สอบปากเปล่าจากการสัมภาษณ์ และหรือผลการสอบข้อเขียนจากแบบทดสอบความรู้ หรือ พิจารณาจากหลักฐานความเห็นจากสถานประกอบการ และแฟ้มสะสมงาน หนังสือรับรองประสบการณ์ ใบผ่านงาน ประกาศนียบัตร ใบวุฒิบัตร แบบฟอร์มการปฏิบัติงานประจำวัน และอื่นๆ


15. ขอบเขต (Range Statement)

(ก) คำแนะนำ



ฟิล์มต้นฉบับทางการพิมพ์  1 สี ได้จากเครื่องสร้างฟิล์มระบบคอมพิวเตอร์ (Computer to Film)



ความสมบูรณ์ของฟิล์มต้นฉบับ คือไม่มีรอยตามด (Pinhole) ความคมชัดของขอบภาพ และรอยขีดข่วน



แม่พิมพ์เฟล็กโซกราฟีชนิดพอลิเมอร์เหลวประเภทล้างด้วยน้ำ



แสงยูวีที่ใช้คือยูวีเอ (UV-A) และยูวีซี (UV-C)



กำหนดความหนาแม่พิมพ์ตั้งแต่ 1.70-7.00 มิลลิเมตร ด้วยแท่งเหล็ก



การปรับความแข็งของแม่พิมพ์ด้วยการอบน้ำ (wet cure) และฉายแสงด้วยแสงยูวีเอ (UV-A)



น้ำที่ใช้ล้างแม่พิมพ์มีการผสมสารลดแรงตึงผิว และสารช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของการชำระล้าง (detergent)



น้ำยาอบเพิ่มความแข็งแม่พิมพ์ เป็นน้ำที่มีส่วนผสมของผงโพลีเอทิลีน (PE)



การภาพแม่พิมพ์ คือการตรวจสอบ ความสะอาดของแม่พิมพ์ ความสมบูรณ์ของเม็ดสกรีน ลายเส้น ตัวอักษรและภาพ



การปฏิบัติงานทุกขั้นตอนต้องมีความปลอดภัยในการทำงาน



(ข) คำอธิบายรายละเอียด



       การฉายแสงด้านหลัง หรือการฉายแสงหลัง (back exposer) เป็นการฉายแสงด้านหนึ่งของแม่พิมพ์เพื่อให้พอลิเมอร์ หรือยางแม่พิมพ์แข็งตัวเป็นด้านฐาน



       การฉายแสงด้านหน้า หรือการฉายแสงหน้า หรือการฉายแสงหลัก (main exposure) เป็นการฉายแสงด้านหนึ่งของแม่พิมพ์เพื่อให้พอลิเมอร์ หรือยางแม่พิมพ์แข็งตัวเป็นด้านตัวพิมพ์


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

          ทดสอบหน่วยสมรรถนะนี้ทั้งทางภาคทฤษฎีและปฏิบัติ โดยตั้งคำถามสัมภาษณ์เกี่ยวกับความรู้และขั้นตอนการปฏิบัติงาน วัดผลทางด้านความรู้จากการสอบข้อเขียนหรือแบบทดสอบความรู้ หรือ พิจารณาจากหลักฐานความเห็นจากสถานประกอบการ  แฟ้มสะสมงาน หนังสือรับรองประสบการณ์ ใบผ่านงาน ประกาศนียบัตร ใบวุฒิบัตร แบบฟอร์มการปฏิบัติงานประจำวัน และอื่นๆ



ยินดีต้อนรับ