หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ควบคุมคุณภาพงานเตรียมโมแม่พิมพ์กราวัวร์

สาขาวิชาชีพอุตสาหกรรมการพิมพ์


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ PRT-PRE-4-017ZA

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ควบคุมคุณภาพงานเตรียมโมแม่พิมพ์กราวัวร์

3. ทบทวนครั้งที่ 1 / 2564

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

ผู้ช่วยผู้จัดการฝ่ายทำแม่พิมพ์กราวัวร์



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
หน่วยสมรรถนะนี้เกี่ยวกับการควบคุมคุณภาพงานเตรียมโมแม่พิมพ์กราวัวร์ และถ่ายทอดความรู้เกี่ยวกับการควบคุมคุณภาพงานเตรียมโมแม่พิมพ์กราวัวร์ให้แก่ผู้ปฏิบัติงานอื่น 

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
ผู้ประกอบวิชาชีพทำแม่พิมพ์กราวัวร์

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
รหัส ISCO-08-7321 ช่างด้านเทคนิคก่อนการพิมพ์   (Pre-press technicians)

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
204061 กำหนดแนวทางการควบคุมคุณภาพงานเตรียมโมแม่พิมพ์กราวัวร์ 1.1 กำหนดคุณภาพและคุณสมบัติของผิวแม่พิมพ์ได้ 204061.01 85849
204061 กำหนดแนวทางการควบคุมคุณภาพงานเตรียมโมแม่พิมพ์กราวัวร์ 1.2 ควบคุมวิธีการทำงานกำหนดลำดับขั้นตอนในการทำโมแม่พิมพ์ได้ เช่นลำดับการชุบ การเจียการขัดผิวแม่พิมพ์ 204061.02 85850
204061 กำหนดแนวทางการควบคุมคุณภาพงานเตรียมโมแม่พิมพ์กราวัวร์ 1.3 กำหนดรายการตรวจสอบคุณภาพโมแม่พิมพ์ได้ 204061.03 85851
204061 กำหนดแนวทางการควบคุมคุณภาพงานเตรียมโมแม่พิมพ์กราวัวร์ 1.4 ใช้เครื่องมือในการตรวจสอบคุณภาพโมแม่พิมพ์ได้อย่างถูกต้อง 204061.04 85852
204061 กำหนดแนวทางการควบคุมคุณภาพงานเตรียมโมแม่พิมพ์กราวัวร์ 1.5 วิเคราะห์และแก้ปัญหาในการชุบโมแม่พิมพ์และการปรับส่วนผสมน้ำยาได้อย่างถูกต้อง 204061.05 85853
204061 กำหนดแนวทางการควบคุมคุณภาพงานเตรียมโมแม่พิมพ์กราวัวร์ 1.6 วิเคราะห์และแก้ปัญหาที่เกิดกับผิวโมแม่พิมพ์ได้อย่างถูกต้อง 204061.06 85854
204062 ถ่ายทอดความรู้การควบคุมคุณภาพงานเตรียมโมแม่พิมพ์กราวัวร์ 2.1 ถ่ายทอดความรู้เกี่ยวกับการใช้เครื่องมือในการเตรียมโมแม่พิมพ์ได้ 204062.01 85855
204062 ถ่ายทอดความรู้การควบคุมคุณภาพงานเตรียมโมแม่พิมพ์กราวัวร์ 2.2 ถ่ายทอดความรู้เกี่ยวกับการวิเคราะห์ปัญหาในการเตรียมโมแม่พิมพ์ 204062.02 85856
204062 ถ่ายทอดความรู้การควบคุมคุณภาพงานเตรียมโมแม่พิมพ์กราวัวร์ 2.3 ถ่ายทอดความรู้ด้านการบำรุงรักษา และการป้องกันปัญหาของเครื่องจักร 204062.03 85857

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

สามารถอ่านเขียนภาษาไทยและเข้าใจภาษาอังกฤษที่เกี่ยวกับการทำงานได้, และสามารถใช้งานคอมพิวเตอร์ในงานก่อนพิมพ์กราวัวร์ได้


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1.    กำหนดรายการ และตำแหน่งในการตรวจสอบคุณภาพโมแม่พิมพ์กราวัวร์

2.    การตรวจสอบความสมบูรณ์ของโมแม่พิมพ์กราวัวร์

3.    ใช้เครื่องมือในการตรวจสอบคุณภาพโมแม่พิมพ์กราวัวร์

2.    วิเคราะห์ปัญหาที่เกิดกับโมแม่พิมพ์กราวัวร์

3.    แก้ปัญหาที่เกิดกับโมแม่พิมพ์กราวัวร์

4.    สอนเกี่ยวกับการใช้เครื่องมือ การวิเคราะห์และแก้ไขปัญหา ในการตรวจสอบคุณภาพโมแม่พิมพ์กราวัวร์

 

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1.    คุณลักษณะเฉพาะของโมแม่พิมพ์กราวัวร์

2.    เครื่องมือในการตรวจสอบคุณภาพของโมแม่พิมพ์กราวัวร์

3.    ปัญหาและวิธีแก้ไขปัญหาที่ในการทำโมแม่พิมพ์กราวัวร์

4.    การใช้เครื่องเตรียมโมแม่พิมพ์กราวัวร์

 


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

1.    โมแม่พิมพ์ที่ผลิตออกมา หรือหลักฐานการบันทึกวีดีโอ ผลจากการสังเกตการณ์ในการปฏิบัติงาน กระบวนการตรวจสอบการเตรียมโมแม่พิมพ์ ขนาดแม่พิมพ์ การตรวจสอบผิวโมแม่พิมพ์

2.    สภาพเครื่องเตรียมโมแม่พิมพ์ก่อนและหลังการใช้งาน หรือหลักฐานการบันทึกวีดีโอ ผลจากการ   

สังเกตการณ์ในการกระบวนการเตรียมโมแม่พิมพ์

3.  ผลการประเมินความเข้าใจของผู้เรียนหรือผู้เชี่ยวชาญ หลักฐานการบันทึกวีดีโอ หรือผลจากการสังเกตการณ์ในการปฏิบัติการสอน และถ่ายทอดความรู้เกี่ยวกับการใช้เครื่องมือ การวิเคราะห์ ปัญหา ในการตรวจสอบคุณภาพโมแม่พิมพ์ ทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ



(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

    ผลการตอบปากเปล่าจากการสัมภาษณ์ และหรือผลการสอบข้อเขียนจากแบบทดสอบความรู้ หลักฐานจากใบรับรอง (Certificate) ใบผ่านการอบรม แฟ้มสะสมงาน (portfolio) ใบผ่านงาน และประกาศนียบัตร วุฒิบัตร และอื่นๆ ตามที่ภาคอุตสาหกรรมยอมรับ



(ค) คำแนะนำในการประเมิน

    การประเมินหลักฐานด้านทักษะและความรู้ ผู้ประเมินจะต้องมีประสบการณ์ด้านหน่วยสมรรถนะนี้ และสถานที่ทำการประเมินไม่มีสภาวะรบกวนการประเมิน มีอุปกรณ์คอมพิวเตอร์และโปรแกรมพร้อมใช้งาน



(ง) วิธีการประเมิน

    ใช้วิธีการทดสอบทั้งทางภาคทฤษฎีและปฏิบัติ สอบปากเปล่าจากการสัมภาษณ์ จากการสอนและหรือผลการสอบข้อเขียนจากแบบทดสอบความรู้ หรือ พิจารณาจากหลักฐานความเห็นจากสถานประกอบการ และแฟ้มสะสมงาน หนังสือรับรองประสบการณ์ ใบผ่านงาน ประกาศนียบัตร ใบวุฒิบัตร แบบฟอร์มการปฏิบัติงานประจำวัน และอื่น ๆ

 


15. ขอบเขต (Range Statement)

(ก) คำแนะนำ

1.    คุณลักษณะเฉพาะของโมแม่พิมพ์ 

2.    เครื่องมือในการตรวจสอบคุณภาพของโมแม่พิมพ์

2.    ปัญหาและวิธีแก้ไขปัญหาที่ในการทำโมแม่พิมพ์

3.    การใช้เครื่องเตรียมโมแม่พิมพ์

4.    การเตรียมสารละลาย การใช้สารละลาย 

5.    การตรวจสอบและควบคุมคุณภาพน้ำยา



(ข) คำอธิบายรายละเอียด

    N/A

 


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

ใช้วิธีการทดสอบทั้งทางภาคทฤษฎีและปฏิบัติ สอบปากเปล่าจากการสัมภาษณ์ จากการปฏิบัติการสอนและหรือผลการสอบข้อเขียนจากแบบทดสอบความรู้ หรือ พิจารณาจากหลักฐานความเห็นจากสถานประกอบการ และแฟ้มสะสมงาน หนังสือรับรองประสบการณ์ ใบผ่านงาน ประกาศนียบัตร ใบวุฒิบัตร แบบฟอร์มการปฏิบัติงานประจำวัน และอื่น ๆ



ยินดีต้อนรับ