หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

วางแผนอุปสงค์และอุปทาน

สาขาวิชาชีพโลจิสติกส์


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ LOG-SPC-5-001ZA

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ วางแผนอุปสงค์และอุปทาน

3. ทบทวนครั้งที่ - / -

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

1219 ผู้จัดการด้านการบริการธุรกิจและการบริหารจัดการ ซึ่งมิได้จัดประเภทไว้ในที่อื่น



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
   ปฏิบัติงานเกี่ยวกับการวางแผนอุปสงค์และอุปทานของซัพพลายเชน โดยการประสานงานกับหน่วยงานหรือสมาชิกในซัพพลายเชน ขอบเขตการปฏิบัติงานรวมถึงกิจกรรมในการพยากรณ์ความต้องการในอนาคต การวางแผนการผลิตและบริการ การวางแผนทรัพยากรที่ใช้ในการผลิตและการดำเนินงาน ไปจนถึงการบริหารกำลังการผลิตและการให้บริการในระดับซัพพลายเชนเพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้บริโภค

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
กลุ่มอาชีพโลจิสติกส์

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
ไม่ระบุ

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
ไม่ระบุ

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
010101.1 พยากรณ์ความต้องการ 1.รวบรวมข้อมูลปริมาณความต้องการรวมจากทุกส่วนของซัพพลายเชน 010101.1.01 85583
010101.1 พยากรณ์ความต้องการ 2.เลือกใช้วิธีการพยากรณ์ความต้องการตามหลักการเพื่อวางแผนอุปสงค์และอุปทาน 010101.1.02 85584
010101.2 ประเมินความสามารถในการจัดหาและการผลิต 1.วางแผนกำลังการผลิตให้มีประสิทธิภาพรวมสูงสุดโดยใช้ทรัพยากรให้เกิดประโยชน์สูงสุด 010101.2.01 85585
010101.2 ประเมินความสามารถในการจัดหาและการผลิต 2. จัดหาแหล่งผลิตหรือผู้จัดจำหน่ายสำรอง หากประมาณการณ์ผิดพลาด 010101.2.02 85586
010101.3 จัดสรรแหล่งการผลิตและการจัดหา 1.คัดเลือกแหล่งการผลิตโดยคำนึงถึงปัจจัยทางด้านต้นทุนและประสิทธิภาพรวมในการดำเนินงาน 010101.3.01 85587
010101.3 จัดสรรแหล่งการผลิตและการจัดหา 2.ควบคุมปริมาณการผลิตและการจัดหาในแต่ละแหล่งให้สอดคล้องกับกำลังการผลิต 010101.3.02 85588
010101.3 จัดสรรแหล่งการผลิตและการจัดหา 3. จัดทำแผนป้องกันความเสี่ยงในการดำเนินงาน 010101.3.03 85589
010101.4 กำหนดปริมาณสินค้าคงคลังในเครือข่ายซัพพลายเชน 1.กำหนดรายการของสินค้าคงคลังแต่ละประเภท 010101.4.01 85590
010101.4 กำหนดปริมาณสินค้าคงคลังในเครือข่ายซัพพลายเชน 2.เลือกใช้วิธีการกำหนดปริมาณสินค้าคงคลังที่เหมาะสมกับประเภทและวัตถุประสงค์การเก็บสินค้าคงคลัง 010101.4.02 85591
010101.4 กำหนดปริมาณสินค้าคงคลังในเครือข่ายซัพพลายเชน 3.คำนวณปริมาณสินค้าคงคลังที่ต้องการในระหว่างการผลิตและในช่องทางการกระจายสินค้า 010101.4.03 85592
010101.5 ปรับสมดุลของแผนอุปสงค์และอุปทาน 1.ตรวจสอบกำลังการผลิตและทรัพยากรในการผลิตให้เพียงพอกับความต้องการ 010101.5.01 85593
010101.5 ปรับสมดุลของแผนอุปสงค์และอุปทาน 2.ปรับแผนการผลิตโดยจัดลำดับรายการตามความสำคัญในกรณีที่กำลังการผลิตไม่เพียงพอ 010101.5.02 85594
010101.5 ปรับสมดุลของแผนอุปสงค์และอุปทาน 3. ตรวจสอบแผนอุปสงค์อุปทานให้มีความสอดคล้องกัน 010101.5.03 85595

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

ไม่ระบุ


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

(1) ทักษะในการวิเคราะห์ข้อมูล

(2) ทักษะในบริหารจัดการเวลา 

(3) ทักษะในการบริหารความขัดแย้ง

(4) ทักษะในการพัฒนาบุคลากร

(5) ทักษะในการประสานงานระหว่างฝ่ายขายกับฝ่ายผลิต


(ข) ความต้องการด้านความรู้

(1) ความรู้เกี่ยวกับระบบเศรษฐกิจและปัจจัยที่เกี่ยวข้อง 

(2) ความรู้ ความเข้าใจในกลไกตลาด

(3) ความรู้ด้านเป้าหมายขององค์กร

(4) ความรู้ด้านเป้าหมายของซัพพลายเชน 

(5) ความรู้เรื่องหลักการการวางแผนอุปสงค์และอุปทาน

(6) ความรู้เรื่องการเคลื่อนไหวของวัตถุดิบและกระบวนการผลิต (materials flow)

(7) ความรู้เรื่องระบบบริหารการดำเนินงาน (เช่น Lean, JIT)

(8) ความรู้เรื่องการวางแผนและจัดตารางการผลิต

(9) ความรู้เรื่องการจัดซื้อจัดจ้าง 

(10) ความรู้เรื่องการบริหารสินค้าคงคลัง

(11) ความรู้เรื่องการบริหารคลังสินค้า

(12) ความรู้เรื่องการบริหารการขนส่ง

(13) ความรู้เรื่องการเลือกรูปแบบการขนส่ง

(14) ความรู้เรื่องการกระจายสินค้



14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

   หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมิน และควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และทักษะความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

   (1) แฟ้มสะสมผลงานที่แสดงถึงประสบการณ์ในการวางแผนในระดับซัพพลายเชน 

   (2) หลักฐานการผ่านงานจากสถานประกอบการ และใบบันทึกผลการปฏิบัติงาน

(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

   (1) หลักฐานการอบรมความรู้และหลักการพื้นฐานเกี่ยวกับการพยากรณ์

   (2) หลักฐานการอบรมความรู้และหลักการพื้นฐานเกี่ยวกับการบริหารกำลังการผลิต และการจัดหา

(ค) คำแนะนำในการประเมิน

   (1) ผู้ที่เข้ารับการประเมินในหน่วยสมรรถนะนี้จะต้องแสดงหลักฐานการปฏิบัติงานและหลักฐานความรู้ที่สอดคล้องกับรายละเอียดที่ระบุไว้ในหน่วยสมรรถนะนี้

(ง) วิธีการประเมิน

   (1) การประเมินความรู้และทักษะในหน่วยสมรรถนะนี้ จะต้องดำเนินการโดยองค์กรที่มีหน้าที่รับความรับรองสมรรถนะของบุคคลตามมาตรฐานอาชีพที่ขึ้นทะเบียนเท่านั้น

   (2) การประเมินความรู้ในหน่วยสมรรถนะนี้ กำหนดให้ทำการสอบข้อเขียนแบบปรนัย 4 ตัวเลือก ส่วนการประเมินทักษะการปฏิบัติงานนั้น กำหนดให้ทำการประเมินจากแฟ้มสะสมผลงาน หรือการสัมภาษณ์



15. ขอบเขต (Range Statement)

ขอบเขตอธิบายถึงขอบเขตของการปฏิบัติงาน และสภาพแวดล้อมอื่นๆ หรือสถานการณ์อื่นๆ ที่มีผลกระทบต่อการทำงาน รวมถึงเครื่องมือ อุปกรณ์ เทคโนโลยี ทรัพยากรที่ใช้ หรือข้อกำหนดอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง

(ก) คำแนะนำ

   (1) ผู้เข้ารับการประเมินจะต้องแสดงการวิเคราะห์กระบวนการทำงานและการเชื่อมโยงของกระบวนการต่างๆ ภายในซัพพลายเชน

   (2) ผู้เข้ารับการประเมินจะต้องสามารถจัดทำแผนอุปสงค์อุปทาน และแก้ปัญหาในเรื่องความไม่สอดคล้องของอุปสงค์และอุปทานเบื้องต้นได้

(ข) คำอธิบายรายละเอียด

   (1) ความต้องการรวมมาจากความต้องการทั้งของวัตถุดิบ ผลิตภัณฑ์ที่อยู่ในระหว่างขั้นตอนการผลิต และผลิตภัณฑ์สำเร็จรูปในแต่ละพื้นที่ และแต่ละหน่วยงานภายในซัพพลายเชน

   (2) ความสามารถในการจัดหาและการผลิตหมายถึงกำลังการผลิตหรือความพร้อมในการให้บริการภายใต้ข้อจำกัดของปริมาณงานเดิมที่มีอยู่และความพร้อมของทรัพยากร เช่น เครื่องจักร กำลังคน เวลา และเทคโนโลยี

   (3) การจัดสรรแหล่งในการผลิตและจัดหา พิจารณาจากความสามารถและความพร้อมของแต่ละพื้นที่ ระยะทางและรูปแบบในการขนส่ง ต้นทุนในการดำเนินงาน สิ่งอำนวยความสะดวกในพื้นที่ และนโยบายการสนับสนุนของภาครัฐในพื้นที่ เป็นต้น การใช้อุปกรณ์สำหรับการเก็บข้อมูลลูกค้า

   (4) แผนการดำเนินงานหมายถึงแผนระยะยาวและระยะกลางในภาพรวมของทั้งซัพพลายเชน ไม่รวมถึงแผนระยะสั้น เช่น การจัดตารางการผลิตของแต่ละหน่วยงาน



16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
ไม่ระบุ

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
ไม่ระบุ

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

1 เครื่องมือการประเมินการพยากรณ์ความต้องการ

   (1) ข้อสอบข้อเขียนแบบปรนัย 4 ตัวเลือก

   (2) แฟ้มสะสมผลงาน

   (3) การสอบสัมภาษณ์

2 เครื่องมือการประเมินการประเมินความสามารถในการจัดหาและการผลิต

  (1) ข้อสอบข้อเขียนแบบปรนัย 4 ตัวเลือก

 (2) แฟ้มสะสมผลงาน

 (3) การสอบสัมภาษณ์

3. เครื่องมือการประเมินการจัดสรรแหล่งการผลิตและการจัดหา

  (1) ข้อสอบข้อเขียนแบบปรนัย 4 ตัวเลือก

  (2) แฟ้มสะสมผลงาน

  (3) การสอบสัมภาษณ์

4. เครื่องมือการประเมินการกำหนดปริมาณสินค้าคงคลังในเครือข่ายซัพพลายเชน

  (1) ข้อสอบข้อเขียนแบบปรนัย 4 ตัวเลือก

  (2) แฟ้มสะสมผลงาน

  (3) การสอบสัมภาษณ์

5. เครื่องมือการประเมินการปรับแผนอุปสงค์และอุปทานให้มีความสอดคล้องกัน

  (1) ข้อสอบข้อเขียนแบบปรนัย 4 ตัวเลือก

  (2) แฟ้มสะสมผลงาน

  (3) การสอบสัมภาษณ




ยินดีต้อนรับ