หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ปรับปรุงประสิทธิภาพของซัพพลายเชน

สาขาวิชาชีพโลจิสติกส์


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ LOG-SPC-6-006ZA

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ปรับปรุงประสิทธิภาพของซัพพลายเชน

3. ทบทวนครั้งที่ - / -

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

1219 ผู้จัดการด้านการบริการธุรกิจและการบริหารจัดการ ซึ่งมิได้จัดประเภทไว้ในที่อื่น



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
    ปฏิบัติหน้าที่เกี่ยวกับการปรับปรุงประสิทธิภาพในการดำเนินงานระยะยาว ในภาพรวมของทั้งซัพพลายเชน โดยกิจกรรมในการปฏิบัติงานรวมถึงการวัดผลการดำเนินงานเพื่อความเข้าใจสภาพปัจจุบัน และตั้งเป้าหมายในการปรับปรุง พร้อมทั้งบริหารจัดการหรือควบคุมให้ผู้มีหน้าที่รับผิดชอบดำเนินการปรับปรุง และติดตามผลการปรับปรุงจนบรรลุเป้าหมาย

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
กลุ่มอาชีพโลจิสติกส์

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
ไม่ระบุ

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
ไม่ระบุ

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
010106.1 เก็บข้อมูลผลการดำเนินงานเพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพของซัพพลายเชน 1.เลือกใช้วิธีการเก็บข้อมูลผลการดำเนินงานตามประเภทของข้อมูล 010106.1.01 85633
010106.1 เก็บข้อมูลผลการดำเนินงานเพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพของซัพพลายเชน 2. ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลที่จัดเก็บกับหน่วยงานในซัพพลายเชน 010106.1.02 85634
010106.2 วิเคราะห์ผลการดำเนินงานเพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพของซัพพลายเชน 1.วิเคราะห์ผลการดำเนินงานโดยประเมินประสิทธิการดำเนินงานในภาพรวมของทั้งซัพพลายเชน 010106.2.01 85635
010106.2 วิเคราะห์ผลการดำเนินงานเพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพของซัพพลายเชน 2.แสดงจุดบกพร่องหรือข้อจำกัดของการดำเนินงานในเครือข่ายซัพพลายเชน 010106.2.02 85636
010106.2 วิเคราะห์ผลการดำเนินงานเพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพของซัพพลายเชน 3. กำหนดทางเลือกในการพัฒนาประสิทธิภาพการดำเนินงานโดยรวม 010106.2.03 85637
010106.3 กำหนดเป้าหมายในการปรับปรุงประสิทธิภาพการดำเนินงาน 1.กำหนดเป้าหมายและวิธีการปรับปรุงประสิทธิภาพโดยรวม 010106.3.01 85638
010106.3 กำหนดเป้าหมายในการปรับปรุงประสิทธิภาพการดำเนินงาน 2.นำเสนอแนวทางการปรับปรุงประสิทธิภาพต่อทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องในซัพพลายเชน 010106.3.02 85639
010106.3 กำหนดเป้าหมายในการปรับปรุงประสิทธิภาพการดำเนินงาน 3. นำเสนอโครงการปรับปรุงการดำเนินงานต่อผู้บริหารตามขั้นตอนการอนุมัติโครงการขององค์กร 010106.3.03 85640
010106.4 วางแผนปรับปรุงประสิทธิภาพการดำเนินงาน 1.กำหนดรายละเอียดขั้นตอนและระยะเวลาในการดำเนินงาน 010106.4.01 85641
010106.4 วางแผนปรับปรุงประสิทธิภาพการดำเนินงาน 2. ประเมินความต้องการทรัพยากรของโครงการ 010106.4.02 85642
010106.4 วางแผนปรับปรุงประสิทธิภาพการดำเนินงาน 3. กำหนดผู้รับผิดชอบแต่ละด้านในการดำเนินโครงการ 010106.4.03 85643
010106.5 ติดตามผลการปรับปรุงประสิทธิภาพการดำเนินงาน 1.ประเมินผลการปรับปรุงประสิทธิภาพการดำเนินงานในภาพรวมของทั้งซัพพลายเชน 010106.5.01 85644
010106.5 ติดตามผลการปรับปรุงประสิทธิภาพการดำเนินงาน 2. แสดงจุดบกพร่องหรือข้อจำกัดของการดำเนินงานในเครือข่ายซัพพลายเชน 010106.5.02 85645
010106.5 ติดตามผลการปรับปรุงประสิทธิภาพการดำเนินงาน 3. ปรับเปลี่ยนแผนการปรับปรุงประสิทธิภาพตามความเหมาะสม 010106.5.03 85646

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

ไม่ระบุ


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

(1) ทักษะในการวิเคราะห์ต้นทุน (Cost/Benefit analysis) 

(2) ทักษะในการวิเคราะห์ข้อมูล

(3) ทักษะในการแก้ปัญหา

(4) ทักษะในการจัดลำดับความสำคัญ

(5) ทักษะในการบริหารทีมงาน

(6) ทักษะในการนำเสนอและการโน้มน้าว

(7) ทักษะในการสื่อสาร

(8) ทักษะในการบริหารความสัมพันธ์


(ข) ความต้องการด้านความรู้

(1) ความรู้ในหลักการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง (Deming cycle)

(2) ความรู้เกี่ยวกับหลักในการจัดเก็บข้อมูล

(3) ความรู้ในหลักการตั้งเป้าหมาย (Objective setting)

(4) ความรู้เรื่องวิธีการคำนวณต้นทุน

(5) ความรู้เรื่องการบริหารโครงการ



14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

   หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมิน และควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และทักษะความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

   (1) แฟ้มสะสมผลงานที่แสดงถึงประสบการณ์ในการปรับปรุงประสิทธิภาพของซัพพลายเชน

   (2) หลักฐานการผ่านงานจากสถานประกอบการ และใบบันทึกผลการปฏิบัติงาน

(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

   (1) หลักฐานการอบรมความรู้และหลักการพื้นฐานเกี่ยวกับการตั้งเป้าหมาย และการวัดผลการปรับปรุง

   (2) หลักฐานการอบรมความรู้และหลักการพื้นฐานเกี่ยวกับการบริหารโครงการ

(ค) คำแนะนำในการประเมิน

   (1) ผู้ที่เข้ารับการประเมินในหน่วยสมรรถนะนี้จะต้องแสดงหลักฐานการปฏิบัติงานและหลักฐานความรู้ ที่สอดคล้องกับรายละเอียดที่ระบุไว้ในหน่วยสมรรถนะนี้

(ง) วิธีการประเมิน

   (1) การประเมินความรู้และทักษะในหน่วยสมรรถนะนี้ จะต้องดำเนินการโดยองค์กรที่มีหน้าที่รับความรับรองสมรรถนะของบุคคลตามมาตรฐานอาชีพที่ขึ้นทะเบียนเท่านั้น

   (2) การประเมินความรู้ในหน่วยสมรรถนะนี้ กำหนดให้ทำการสอบข้อเขียนแบบปรนัย 4 ตัวเลือก ส่วนการประเมินทักษะการปฏิบัติงานนั้น กำหนดให้ทำการประเมินจากแฟ้มสะสมผลงาน หรือการสัมภาษณ์ 



15. ขอบเขต (Range Statement)

   ขอบเขตอธิบายถึงขอบเขตของการปฏิบัติงาน และสภาพแวดล้อมอื่นๆ หรือสถานการณ์อื่นๆ ที่มีผลกระทบต่อการทำงาน รวมถึงเครื่องมือ อุปกรณ์ เทคโนโลยี ทรัพยากรที่ใช้ หรือข้อกำหนดอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง

(ก) คำแนะนำ

   (1) เป้าหมายที่กำหนดสอดคล้องกับทิศทางขององค์กร และ/หรือ ได้รับการอนุมัติจากผู้บริหารแล้ว

   (2) หลักการหรือทฤษฎีที่นำมาใช้ปรับปรุง เป็นวิธีการหรือเครื่องมือมาตรฐานที่เป็นที่ยอมรับ

   (3) มีระยะเวลาที่ชัดเจนในการวัดผล เพื่อเปรียบเทียบ หรือนำผลไปสู่การพัฒนาปรับปรุงการดำเนินงานได้

   (4) การปฏิบัติงานในทุกขั้นตอนต้องเป็นไปตามนโยบายขององค์กร กฎระเบียบ และกฎหมายที่เกี่ยวข้อง

(ข) คำอธิบายรายละเอียด

   (1) ใช้ข้อมูลที่ผ่านการยอมรับขององค์กร เช่น จากระบบ ERP ในองค์กร หรืองบการเงิน (Financial Statement) ขององค์กรอื่นที่ทำการวัดผลเปรียบเทียบ (Benchmarking) ด้วย



16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
ไม่ระบุ

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
ไม่ระบุ

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

1. เครื่องมือการประเมินการเก็บข้อมูลผลการดำเนินงานเพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพของซัพพลายเชน

  (1) ข้อสอบข้อเขียนแบบปรนัย 4 ตัวเลือก

  (2) แฟ้มสะสมผลงาน

  (3) การสอบสัมภาษณ์

2. เครื่องมือการประเมินการวิเคราะห์ผลการดำเนินงานเพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพของซัพพลายเชน

  (1) ข้อสอบข้อเขียนแบบปรนัย 4 ตัวเลือก

  (2) แฟ้มสะสมผลงาน

  (3) การสอบสัมภาษณ์

3. เครื่องมือการประเมินการกำหนดเป้าหมายในการปรับปรุงประสิทธิภาพการดำเนินงาน

  (1) ข้อสอบข้อเขียนแบบปรนัย 4 ตัวเลือก

  (2) แฟ้มสะสมผลงาน

  (3) การสอบสัมภาษณ์

4. เครื่องมือการประเมินการวางแผนปรับปรุงประสิทธิภาพการดำเนินงาน

  (1) ข้อสอบข้อเขียนแบบปรนัย 4 ตัวเลือก

  (2) แฟ้มสะสมผลงาน

  (3) การสอบสัมภาษณ์

5. เครื่องมือการประเมินการติดตามผลการปรับปรุงประสิทธิภาพการดำเนินงาน

   (1) ข้อสอบข้อเขียนแบบปรนัย 4 ตัวเลือก

   (2) แฟ้มสะสมผลงาน

   (3) การสอบสัมภาษณ์




ยินดีต้อนรับ