หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

บริหารความเสี่ยงของซัพพลายเชน

สาขาวิชาชีพโลจิสติกส์


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ LOG-SPC-6-005ZA

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ บริหารความเสี่ยงของซัพพลายเชน

3. ทบทวนครั้งที่ - / -

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

1219 ผู้จัดการด้านการบริการธุรกิจและการบริหารจัดการ ซึ่งมิได้จัดประเภทไว้ในที่อื่น



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
    ปฏิบัติงานเกี่ยวกับกิจกรรมการบริหารความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับองค์กรโดยพิจารณาภาพรวมในระดับซัพพลายเชน โดยควบคุมดูแลและจัดให้มีกิจกรรมการประเมินความเสี่ยงอย่างเป็นทางการ รวบรวมข้อมูล และประเด็นความเสี่ยงทุกด้านจากทุกฝ่ายในซัพพลายเชน และใช้กระบวนการมาตรฐานในการบริหารความเสี่ยงเพื่อจัดให้มีการวิเคราะห์ความเสี่ยง จัดลำดับความสำคัญของความเสี่ยง และบันทึกข้อมูลเกี่ยวกับความเสี่ยง รวมทั้งจัดการ ประสานงานให้มีการวางแผนตอบสนองความเสี่ยง ในลักษณะแผนป้องกัน หรือแผนฉุกเฉินที่จะนำมาปฏิบัติเมื่อเกิดปัญหาต่างๆขึ้นตามที่ประเมินความเสี่ยงไว้

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
กลุ่มอาชีพโลจิสติกส์

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
ไม่ระบุ

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
ไม่ระบุ

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
010105.1 กำหนดขอบเขตของการประเมินความเสี่ยง 010105.2 ระบุปัจจัยเสี่ยงที่เกี่ยวข้อง 1.กำหนดผู้รับผิดชอบในการบริหารความเสี่ยงที่ประกอบด้วยตัวแทนจากทุกฝ่าย 010105.1.01 85622
010105.1 กำหนดขอบเขตของการประเมินความเสี่ยง 010105.2 ระบุปัจจัยเสี่ยงที่เกี่ยวข้อง 2.จัดทำขอบเขตของการบริหารความเสี่ยงให้ครอบคลุมความรับผิดชอบทุกด้านในซัพพลายเชน 010105.1.02 85623
010105.3 ประเมินปัจจัยเสี่ยง 1.รวบรวมปัจจัยเสี่ยงจากผู้ผู้ปฏิบัติงานผู้รับผิดชอบในแต่ละด้าน 010105.3.01 85624
010105.3 ประเมินปัจจัยเสี่ยง 2. จัดทำรายการปัจจัยเสี่ยงที่ครอบคลุมทุกกิจกรรมในซัพพลายเชน 010105.3.02 85625
010105.4 จัดลำดับความสำคัญของปัจจัยเสี่ยง 1.ประเมินปัจจัยเสี่ยงจากผลกระทบที่มีต่อการดำเนินงานของซัพพลายเชน 010105.4.01 85626
010105.4 จัดลำดับความสำคัญของปัจจัยเสี่ยง 2. ประเมินปัจจัยเสี่ยงจากความถี่หรือโอกาสที่เกิดเหตุการณ์เสี่ยง 010105.4.02 85627
010105.5 วางแผนรับมือความเสี่ยง 1.วิเคราะห์ความเสี่ยงจากระดับของโอกาสเกิด ระดับของผลกระทบของปัจจัยปัจจัยเสี่ยง 010105.5.01 85628
010105.5 วางแผนรับมือความเสี่ยง 2.จัดลำดับความสำคัญของปัจจัยเสี่ยงโดยพิจารณาจากทั้งโอกาสเกิดและผลกระทบ 010105.5.02 85629
010105.6 ติดตามแผนรับมือความเสี่ยง 1.จัดทำแผนการป้องกันความเสี่ยง (preventive action plan) 010105.6.01 85630
010105.6 ติดตามแผนรับมือความเสี่ยง 2. จัดทำแผนฉุกเฉิน (contingency plan)รับมือความเสี่ยง 010105.6.02 85631
010105.6 ติดตามแผนรับมือความเสี่ยง 3. กำหนดกิจกรรม ระยะเวลา ผู้รับผิดชอบในแผนรับมือความเสี่ยงให้ชัดเจน 010105.6.03 85632

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

ไม่ระบุ


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

(1) ทักษะในการระบุ และแยกแยะเหตุการณ์เสี่ยง และปัจจัยเสี่ยงที่เกี่ยวข้อง

(2) ทักษะในการโน้มน้าว และขอความร่วมมือจากผู้ที่เกี่ยวข้อง

(3) ทักษะในการวางแผนรับมือความเสี่ยง และแผนฉุกเฉิน


(ข) ความต้องการด้านความรู้

(1) ความรู้เรื่องนโยบายเกี่ยวกับความเสี่ยงขององค์กร

(2) ความรู้เรื่องหลักการ และมาตรฐานการบริหารความเสี่ยง

(3) ความรู้เกี่ยวกับขั้นตอนในการปฏิบัติงานของฝ่ายต่างๆ ในซัพพลายเชน

(4) ความรู้เกี่ยวกับวิธีการในการใช้เครื่องมือวิเคราะห์ความเสี่ยง



14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

   หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมิน และควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และทักษะความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

   (1) แฟ้มสะสมผลงานที่แสดงถึงประสบการณ์ในการบริหารความเสี่ยงของซัพพลายเชน

   (2) แฟ้มสะสมผลงานที่เกี่ยวข้องกับการวางแผนป้องกัน และแผนฉุกเฉินขององค์กร

   (3) หลักฐานการผ่านงานจากสถานประกอบการ และใบบันทึกผลการปฏิบัติงาน

(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

   (1) หลักฐานการอบรมความรู้และหลักการพื้นฐานเกี่ยวกับการบริหารความเสี่ยง

   (2) หลักฐานการอบรมเกี่ยวกับมาตรฐานความเสี่ยง เช่น ISO31000

(ค) คำแนะนำในการประเมิน

   (1) ผู้ที่เข้ารับการประเมินในหน่วยสมรรถนะนี้จะต้องแสดงหลักฐานการปฏิบัติงานและหลักฐานความรู้ ที่สอดคล้องกับรายละเอียดที่ระบุไว้ในหน่วยสมรรถนะนี้

(ง) วิธีการประเมิน

   (1) การประเมินความรู้และทักษะในหน่วยสมรรถนะนี้ จะต้องดำเนินการโดยองค์กรที่มีหน้าที่รับความรับรองสมรรถนะของบุคคลตามมาตรฐานอาชีพที่ขึ้นทะเบียนเท่านั้น

   (2) การประเมินความรู้ในหน่วยสมรรถนะนี้ กำหนดให้ทำการสอบข้อเขียนแบบปรนัย 4 ตัวเลือก ส่วนการประเมินทักษะการปฏิบัติงานนั้น กำหนดให้ทำการประเมินจากแฟ้มสะสมผลงาน หรือการสัมภาษณ์ 



15. ขอบเขต (Range Statement)

   ขอบเขตอธิบายถึงขอบเขตของการปฏิบัติงาน และสภาพแวดล้อมอื่นๆ หรือสถานการณ์อื่นๆ ที่มีผลกระทบต่อการทำงาน รวมถึงเครื่องมือ อุปกรณ์ เทคโนโลยี ทรัพยากรที่ใช้ หรือข้อกำหนดอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง

(ก) คำแนะนำ

   (1) สิ่งที่ต้องพิจารณาถึงประเด็นความเสี่ยงรวมถึงกฎหมาย ระเบียบข้อบังคับ มาตรฐานการปฏิบัติงานขององค์กรและปัจจัยที่เกี่ยวข้องจากทั้งภายในและภายนอก

   (2) ปัจจัยเสี่ยงครอบคลุมถึงความเสี่ยงจากภายใน และภายนอก ความเสี่ยงจากเทคโนโลยี ความเสี่ยงจากการบริหารจัดการ ความเสี่ยงทางด้านการเงิน ความเสี่ยงทางด้านความปลอดภัย และความเสี่ยงทางด้านภาพลักษณ์ขององค์กร เป็นต้น

   (3) กำหนดระดับของโอกาสและผลกระทบในเชิงปริมาณที่เหมาะสมกับแต่ละอุตสาหกรรม

   (4) การจัดลำดับความสำคัญกระทำโดยพิจารณาจากระดับของโอกาสและผลกระทบโดยกำหนดเป็นระดับความสำคัญที่เหมาะสมในแต่ละองค์กร หรืออุตสาหกรรม

(ข) คำอธิบายรายละเอียด

   (1) แผนรับมือกับความเสี่ยงที่ประกอบด้วยแผนการป้องกัน (preventive action plan) และแผนฉุกเฉิน (Contingency Plan)

   (2) แผนการป้องกันใช้กับความเสี่ยงที่สามารถป้องกันล่วงหน้าและมีความสำคัญมากพอที่จะลงทุนในการป้องกันล่วงหน้า

   (3) แผนฉุกเฉินใช้กับความเสี่ยงที่อาจไม่มีวิธีป้องกันล่วงหน้า หรือมีวิธีการรับมือที่สามารถดำเนินการได้ภายหลังเมื่อเกิดปัญหาขึ้นแล้ว



16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
ไม่ระบุ

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
ไม่ระบุ

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

1. เครื่องมือการประเมินการกำหนดขอบเขตของการประเมินความเสี่ยง  

  (1) ข้อสอบข้อเขียนแบบปรนัย 4 ตัวเลือก

  (2) แฟ้มสะสมผลงาน

  (3) การสอบสัมภาษณ์

2. เครื่องมือการประเมินการระบุปัจจัยเสี่ยงที่เกี่ยวข้อง

  (1) ข้อสอบข้อเขียนแบบปรนัย 4 ตัวเลือก

  (2) แฟ้มสะสมผลงาน

  (3) การสอบสัมภาษณ์

3. เครื่องมือการประเมินการประเมินปัจจัยเสี่ยง

  (1) ข้อสอบข้อเขียนแบบปรนัย 4 ตัวเลือก

  (2) แฟ้มสะสมผลงาน

  (3) การสอบสัมภาษณ์

4. เครื่องมือการประเมินการจัดลำดับความสำคัญของปัจจัยเสี่ยง

  (1) ข้อสอบข้อเขียนแบบปรนัย 4 ตัวเลือก

  (2) แฟ้มสะสมผลงาน

  (3) การสอบสัมภาษณ์

5. เครื่องมือการประเมินการวางแผนรับมือความเสี่ยง

  (1) ข้อสอบข้อเขียนแบบปรนัย 4 ตัวเลือก

  (2) แฟ้มสะสมผลงาน

  (3) การสอบสัมภาษณ์

6. เครื่องมือการประเมินการติดตามแผนรับมือความเสี่ยง

  (1) ข้อสอบข้อเขียนแบบปรนัย 4 ตัวเลือก

  (2) แฟ้มสะสมผลงาน

  (3) การสอบสัมภาษณ์

 




ยินดีต้อนรับ