หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

กำหนดแบบฝึกขั้นพื้นฐานเพื่อพัฒนาทักษะการเคลื่อนไหว สมรรถภาพทางกาย และความปลอดภัย

สาขาวิชาชีพการกีฬา


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ SPT-SPS-3-036ZA

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ กำหนดแบบฝึกขั้นพื้นฐานเพื่อพัฒนาทักษะการเคลื่อนไหว สมรรถภาพทางกาย และความปลอดภัย

3. ทบทวนครั้งที่ - /

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

ผู้ฝึกสอนกีฬา



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
มีความรู้ด้านการกำหนดแบบฝึกทักษะการเคลื่อนไหวขั้นพื้นฐาน แบบฝึกสมรรถภาพทางกายขั้นพื้นฐาน และ แบบฝึกเพื่อความปลอดภัยและป้องกันการบาดเจ็บขั้นพื้นฐาน ภายใต้การแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
ผู้ฝึกสอนกีฬา

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
30201.01 กำหนดแบบฝึกทักษะการเคลื่อนไหวการฝึกขั้นพื้นฐาน 1. วิเคราะห์ความต้องการนักกีฬาในการฝึกทักษะการเคลื่อนไหวการฝึกขั้นพื้นฐาน 30201.01.01 84245
30201.01 กำหนดแบบฝึกทักษะการเคลื่อนไหวการฝึกขั้นพื้นฐาน 2. กำหนดแบบฝึกเพื่อพัฒนาทักษะการเคลื่อนไหวการฝึกขั้นพื้นฐานภายใต้การแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ 30201.01.02 84246
30201.01 กำหนดแบบฝึกทักษะการเคลื่อนไหวการฝึกขั้นพื้นฐาน 3.ประเมินแบบฝึกเพื่อพัฒนาทักษะการเคลื่อนไหวการฝึกขั้นพื้นฐานภายใต้การแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ 30201.01.03 84247
30201.02 กำหนดแบบฝึกสมรรถภาพทางกายการฝึกขั้นพื้นฐาน 1. วิเคราะห์ความต้องการนักกีฬาในการฝึกสมรรถภาพทางกายการฝึกขั้นพื้นฐาน 30201.02.01 84248
30201.02 กำหนดแบบฝึกสมรรถภาพทางกายการฝึกขั้นพื้นฐาน 2. กำหนดแบบฝึกเพื่อพัฒนาสมรรถภาพทางกายการฝึกขั้นพื้นฐานภายใต้การแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ 30201.02.02 84249
30201.02 กำหนดแบบฝึกสมรรถภาพทางกายการฝึกขั้นพื้นฐาน 3. ประเมินแบบฝึกสมรรถภาพทางกายการฝึกขั้นพื้นฐานภายใต้การแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ 30201.02.03 84250
30201.03 กำหนดแบบฝึกทักษะการเคลื่อนไหวการฝึกขั้นต้น 1. วิเคราะห์สาเหตุการบาดเจ็บทางการกีฬาทั้งปัจจัยภายใน ปัจจัยภายนอกและปัจจัยตามสถานการณ์ ด้วยเหตุการณ์จำลอง ภายใต้การแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ 30201.03.01 84251
30201.03 กำหนดแบบฝึกทักษะการเคลื่อนไหวการฝึกขั้นต้น 2.กำหนดแบบฝึกเพื่อป้องกันการบาดเจ็บการฝึกขั้นพื้นฐานภายใต้การแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ 30201.03.02 84252
30201.03 กำหนดแบบฝึกทักษะการเคลื่อนไหวการฝึกขั้นต้น 3. กำหนดแบบฝึกเพื่อความปลอดภัยสำหรับบุคคลกลุ่มพิเศษการฝึกขั้นพื้นฐานภายใต้การแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ 30201.03.03 84253

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)
N/A

13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1. มีทักษะในการกำหนดแบบฝึกทักษะการเคลื่อนไหวขั้นพื้นฐาน

2. มีทักษะในการกำหนดแบบฝึกสมรรถภาพทางกายการฝึกขั้นพื้นฐาน

3. มีทักษะในการกำหนดแบบฝึกเพื่อความปลอดภัยและป้องกันการบาดเจ็บการฝึกขั้นพื้นฐาน

(ข) ความต้องการด้านความรู้

ความรู้ด้านพลศึกษา วิทยาศาสตร์การกีฬา และเวชศาสตร์การกีฬาขั้นพื้นฐานเพื่อนำไปกำหนดแบบฝึกทักษะการเคลื่อนไหว และสมรรถภาพทางกาย สำหรับนักกีฬาเด็กและเยาวชนที่มีทักษะพื้นฐาน รวมทั้งจัดการการบาดเจ็บต่อกล้ามเนื้อ


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

หลักฐานที่ต้องการกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมินและควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน Performance Criteria และความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

1. เอกสาร / หลักฐานการอบรมเชิงปฏิบัติการ

2. แฟ้มสะสมผลงาน และ / หรือ

3. เอกสาร / หลักฐานที่เกี่ยวข้อง

(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

1. ใบรับรองคุณวุฒิการศึกษา

2. เอกสาร/หลักฐานที่เกี่ยวข้อง

(ค) คำแนะนำในการประเมิน

ผู้เข้ารับการประเมินต้องผ่านการประเมินที่ครอบคลุมในทุกสมรรถนะย่อยขอบเขตความรู้และทักษะที่กำหนดในกรณีที่ผู้รับการประเมินผ่านไม่ครบตามเกณฑ์กำหนด ผู้ประเมินต้องแจ้งหน่วยสมรรถนะและสมรรถนะย่อยที่ไม่ผ่านให้ผู้รับการประเมินไปทบทวนสมรรถนะที่ยังไม่ผ่านและสามารถกลับมาทดสอบสมรรถนะใหม่อีกครั้ง

(ง) วิธีการประเมิน

1. ผลการทดสอบความรู้

2. เอกสาร/หลักฐานที่เกี่ยวข้อง


15. ขอบเขต (Range Statement)

ขอบเขตอธิบายถึงขอบเขตการปฏิบัติงานและสภาพแวดล้อมอื่นๆ หรือสถานการณ์อื่นๆ ที่มีผลกระทบต่อการทำงาน รวมถึงเครื่องมือ อุปกรณ์ เทคโนโลยี ทรัพยากรที่ใช้ หรือข้อกำหนดอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง

(ก) คำแนะนำ

ไม่มี

(ข) คำอธิบายรายละเอียด

1. ผู้เชี่ยวชาญ หมายถึง ผู้ที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญลึกเฉพาะเรื่อง

2. การเคลื่อนไหว หมายถึง การเปลี่ยนแปลงตำแหน่งที่ต่อเนื่องกัน โดยส่วนที่เกี่ยวข้องที่ทำให้เกิดการเคลื่อนไหว ได้แก่ กลไกการทำงานของข้อต่อ กล้ามเนื้อและระบบประสาท

3. สมรรถภาพทางกาย หมายถึง ความพร้อมทางด้านร่างกายของนักกีฬา ซึ่งสามารถที่จะเล่นกีฬา หรือออกกำลังกายได้อย่างมีประสิทธิภาพ

4. การบาดเจ็บ หมายถึง ความเสียหายของเนื้อเยื่อร่างกายทั้งแบบเฉียบพลัน (Acute) และแบบเรื้อรัง (Chronic) ที่เป็นผลมาแรง 5 ชนิด ได้แก่ แรงงอ (Bending) แรงบิด (Torsion) แรงเฉือน (Shearing) แรงกด (Compression) และแรงดึง (Tension)

5. การวิเคราะห์ความต้องการ หมายถึง กระบวนการวิเคราะห์เพื่อหาข้อกำหนดความต้องการ โดยจะต้องอาศัยข้อมูลในด้านต่างๆ ที่รับมาเพื่อทำการวิเคราะห์

6. ปัจจัยภายใน หมายถึง ปัจจัยการบาดเจ็บทางการกีฬาที่มีสาเหตุจากตัวนักกีฬาเอง ได้แก่ อายุ เพศ องค์ประกอบร่างกาย สุขภาพ สมรรถภาพทางกาย กายวิภาค และทักษะกีฬา

7. ปัจจัยภายนอก หมายถึง ปัจจัยการบาดเจ็บทางการกีฬาที่มีสาเหตุจากนักกีฬาคนอื่น ได้แก่ ผู้เล่นฝ่ายตรงข้าม อุปกรณ์ป้องกัน อุปกรณ์กีฬา และสภาพอากาศ

8. ปัจจัยตามสถานการณ์ หมายถึง ปัจจัยการบาดเจ็บทางการกีฬาที่มีสาเหตุจากการแข่งขันหรือฝึกซ้อมกีฬา ได้แก่ การเคลื่อนไหวของข้อต่อ สถานการณ์การแข่งขันหรือฝึกซ้อมกีฬา ตารางการฝึกซ้อม และตารางการแข่งขัน


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

1. ทดสอบความรู้โดยการสอบข้อเขียน

2. ทดสอบความรู้โดยการสอบสัมภาษณ์



ยินดีต้อนรับ