หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ดำเนินการแก้ไขปัญหาที่เกิดจากการตรวจติดตามคุณภาพสิ่งแวดล้อม

สาขาวิชาชีพสิ่งแวดล้อมและสารอันตราย


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ EVM-CWM-4-035ZA

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ดำเนินการแก้ไขปัญหาที่เกิดจากการตรวจติดตามคุณภาพสิ่งแวดล้อม

3. ทบทวนครั้งที่ - / -

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)


อาชีพผู้ตรวจติดตามคุณภาพสิ่งแวดล้อมในสถานที่จัดการของเสีย


1 1349 ผู้จัดการด้านการบริการวิชาชีพ ซึ่งมิได้จัดประเภทไว้ในที่อื่น

6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
ผู้ที่ผ่านหน่วยสมรรถนะนี้จะสามารถดำเนินการแก้ไขปัญหาที่เกิดจากการตรวจติดตามคุณภาพสิ่งแวดล้อมซึ่งครอบคลุมตั้งแต่ระบุปัญหาที่อาจเกิดขึ้นระหว่างดำเนินการตรวจสอบด้านสิ่งแวดล้อม ระบุวิธีการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นจากการดำเนินการตรวจติดตามคุณภาพสิ่งแวดล้อม ระบุแนวทางในการป้องกันปัญหาที่อาจเกิดขึ้น จัดทำคู่มือในการป้องกันและการแก้ไขปัญหา ให้คำแนะนำในการแก้ไขปัญหา/สิ่งผิดปกติที่เกิดขึ้นจากการดำเนินการตรวจติดตามคุณภาพสิ่งแวดล้อมตามวิธีการที่ได้ระบุไว้ ทบทวนและหาสาเหตุของปัญหาที่เกิดขึ้นในการดำเนินการตรวจติดตามคุณภาพสิ่งแวดล้อมและป้องกันไม่ให้เกิดขึ้นซ้ำ และจัดทำรายงานประจำปีและรายงานตามที่กฎหมายกำหนด

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
กลุ่มอาชีพการจัดการของเสียชุมชน

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
รหัสอาชีพ 1349 : หัวหน้าแผนกติดตามตรวจสอบผลกระทบสิ่งแวดล้อม (ISCO, 2008)

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
1. พระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 25352. พระราชบัญญัติรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง พ.ศ. 25353. พระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. 25354. ประกาศกรมโรงงานอุตสาหกรรม เรื่อง กําหนดวิธีการเก็บ ทําลายฤทธิ์กําจัด ฝัง ทิ้ง เคลื่อนย้ายและการขนส่งสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้ว (ฉบับที่ 1) พ.ศ. 2531

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
03104.01 ระบุแนวทางในการป้องกันและการแก้ไขปัญหา 1. ระบุปัญหาที่อาจเกิดขึ้นระหว่างดำเนินการตรวจสอบด้านสิ่งแวดล้อม 03104.01.01 83779
03104.01 ระบุแนวทางในการป้องกันและการแก้ไขปัญหา 2. ระบุวิธีการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นจากการดำเนินการตรวจติดตามคุณภาพสิ่งแวดล้อม 03104.01.02 83780
03104.01 ระบุแนวทางในการป้องกันและการแก้ไขปัญหา 3. ระบุแนวทางในการป้องกันปัญหาที่อาจเกิดขึ้น 03104.01.03 83781
03104.01 ระบุแนวทางในการป้องกันและการแก้ไขปัญหา 4. จัดทำคู่มือในการป้องกันและการแก้ไขปัญหา 03104.01.04 83782
03104.02 ดำเนินการแก้ไขปัญหาการตรวจติดตามคุณภาพสิ่งแวดล้อม 1. ให้คำแนะนำในการแก้ไขปัญหา/สิ่งผิดปกติที่เกิดขึ้นจากการดำเนินการตรวจติดตามคุณภาพสิ่งแวดล้อมตามวิธีการที่ได้ระบุไว้ 03104.02.01 83783
03104.02 ดำเนินการแก้ไขปัญหาการตรวจติดตามคุณภาพสิ่งแวดล้อม 2. ทบทวนและหาสาเหตุของปัญหาที่เกิดขึ้นในการดำเนินการตรวจติดตามคุณภาพสิ่งแวดล้อมและป้องกันไม่ให้เกิดขึ้นซ้ำ 03104.02.02 83784
03104.02 ดำเนินการแก้ไขปัญหาการตรวจติดตามคุณภาพสิ่งแวดล้อม 3. จัดทำรายงานประจำปีและรายงานตามที่กฎหมายกำหนด 03104.02.03 83785

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)


ไม่ระบุ


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ


1. ทักษะการวิเคราะห์เพื่อบ่งชี้ปัญหา และวิเคราะห์หาสาเหตุของปัญหาเพื่อหาแนวทางแก้ไข




2. ทักษะการสื่อสารในการระบุสิ่งผิดปกติที่อาจเกิดขึ้นจากการดำเนินการแก่ผู้ที่เกี่ยวข้อง




3. ทักษะการวิเคราะห์เพื่อระบุเกณฑ์/ค่ามาตรฐานในการตรวจติดตามคุณภาพสิ่งแวดล้อม




4. ทักษะการเขียนเพื่อจัดทำรายงาน ข้อเสนอแนะ คู่มือ




5. ทักษะการสื่อสาร สามารถสื่อสารและให้ข้อมูลทั้งในรูปแบบของการเขียนและการพูดกับบุคคลากรในระดับปฏิบัติงานและระดับหัวหน้างานได้อย่างมีประสิทธิภาพ




6. ทักษะการบริหารจัดการและการวางแผน สามารถวางแผนและจัดลำดับความสำคัญในการทำงาน กำหนดแผนและขั้นตอนวิธีการในปรับปรุงการตรวจติดตามคุณภาพสิ่งแวดล้อมให้มีประสิทธิภาพและเป็นไปตามกฎหมาย 




7. ทักษะการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า สามารถแก้ไขปัญหา/สิ่งผิดปกติที่เกิดขึ้นจากการรายงานของบุคลากรผู้ปฏิบัติงานและสามารถเสนอแนะแนวทางในการปรับปรุงการตรวจติดตามคุณภาพสิ่งแวดล้อมให้มีประสิทธิภาพและเป็นไปตามกฎหมาย

(ข) ความต้องการด้านความรู้


1. วิธีการตรวจติดตามคุณภาพสิ่งแวดล้อม




2. ข้อกำหนดด้านมาตรฐานและกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องกับการตรวจติดตามคุณภาพสิ่งแวดล้อม ได้แก่ ข้อกำหนดของกรมโรงงานอุตสาหกรรม ข้อกำหนดด้านคุณภาพสิ่งแวดล้อมของกรมควบคุมมลพิษ




3. วิธีการแก้ไขปัญหาที่เกิดจากการตรวจติดตามคุณภาพสิ่งแวดล้อม




4. ความรู้เกี่ยวกับการจัดทำรายงานประจำปีและรายงานตามที่กฎหมายกำหนด


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)


หลักฐานที่ต้องการประกอบด้วยหลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence) และหลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence) คำแนะนำในการประเมิน และวิธีการประเมิน ซึ่งควรจะพิจารณาร่วมกัน




(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)




1. เอกสารรับรองประสบการณ์ทำงาน (ถ้ามี)




2. หนังสือคุณวุฒิที่เป็นที่ยอมรับ (ถ้ามี)




(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)




1. หลักฐานคุณวุฒิการศึกษา




2. ประกาศนียบัตรรับรองการผ่านการฝึกอบรมด้านการตรวจติดตามคุณภาพสิ่งแวดล้อม ด้านสุขอนามัยและความปลอดภัยในการทำงาน ตามหลักเกณฑ์วิธีการ และเงื่อนไขที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนดหรือตามแผนการปฏิบัติการของสถานที่เผาของเสีย (ถ้ามี)




3. ผลการสอบข้อเขียน (ปรนัย)




4. ผลการสอบสัมภาษณ์เชิงเทคนิค




(ค) คำแนะนำในการประเมิน




ผู้ประเมินตรวจประเมินเกี่ยวกับการดำเนินการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นจากการตรวจติดตามคุณภาพสิ่งแวดล้อม โดยพิจารณาจากหลักฐานที่เกี่ยวข้อง ทั้งหลักฐานการปฏิบัติงาน และหลักฐานด้านความรู้




(ง) วิธีการประเมิน




1. พิจารณาตามหลักฐานการปฏิบัติงาน 




2. พิจารณาตามหลักฐานความรู้ ได้แก่ ผลการสอบผ่านข้อเขียน (ปรนัย) และผลการสอบสัมภาษณ์เชิงเทคนิค


15. ขอบเขต (Range Statement)


ขอบเขตของการปฏิบัติงานในหน่วยสมรรถนะ “ดำเนินการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นจากการตรวจติดตามคุณภาพสิ่งแวดล้อม” ในระดับชั้นคุณวุฒิที่ 4 นี้เริ่มจากการระบุแนวทางในการป้องกันและการแก้ไขปัญหาดำเนินการแก้ไขปัญหาการตรวจติดตามคุณภาพสิ่งแวดล้อม




(ค) คำแนะนำ




1. ผู้เข้ารับการประเมินต้องให้ความสำคัญกับการระบุแนวทางในการป้องกันและการแก้ไขปัญหา




2. ผู้เข้ารับการประเมินต้องให้ความสำคัญกับการทบทวนและวิเคราะห์หาสาเหตุของปัญหาที่เกิดขึ้นและป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาเช่นเดินมขึ้นอีก โดยมีการทวนสอบเป็นประจำ




(ง) คำอธิบายรายละเอียด




1. การตรวจติดตามคุณภาพสิ่งแวดล้อม จะครอบคลุมการตรวจติดตามคุณภาพอากาศ น้ำผิวดิน น้ำใต้ดิน น้ำชะละลาย ก๊าชชีวภาพจากหลุมฝังกลบ กลิ่น ดิน และของเสียที่เกิดขึ้น




2. ปัญหาที่เกิดขึ้นในการตรวจติดตามคุณภาพสิ่งแวดล้อม ได้แก่ ปัญหาเรื่องสภาพพื้นที่ในการเก็บตัวอย่าง อุปกรณ์มีปัญหาไม่พร้อมใช้งาน


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
ไม่ระบุ

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
ไม่ระบุ

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)


18.1 เครื่องมือประเมินหน่วยสมรรถนะย่อย ระบุแนวทางในการป้องกันและการแก้ไขปัญหา




1. ข้อสอบข้อเขียน (ปรนัย) 




2. ข้อสอบสัมภาษณ์เชิงเทคนิค




ดูรายละเอียดจากคู่มือประเมิน




18.2 เครื่องมือประเมินหน่วยสมรรถนะย่อย ดำเนินการแก้ไขปัญหาการตรวจติดตามคุณภาพสิ่งแวดล้อม




1. ข้อสอบข้อเขียน (ปรนัย) 




2. ข้อสอบสัมภาษณ์เชิงเทคนิค




ดูรายละเอียดจากคู่มือประเมิน



 


ยินดีต้อนรับ