หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ทดสอบของเสียเพื่อติดตามคุณภาพสิ่งแวดล้อม

สาขาวิชาชีพสิ่งแวดล้อมและสารอันตราย


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ EVM-CWM-3-032ZA

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ทดสอบของเสียเพื่อติดตามคุณภาพสิ่งแวดล้อม

3. ทบทวนครั้งที่ - / -

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)


อาชีพผู้ตรวจติดตามคุณภาพสิ่งแวดล้อมในสถานที่จัดการของเสีย


1 1349 ผู้จัดการด้านการบริการวิชาชีพ ซึ่งมิได้จัดประเภทไว้ในที่อื่น

6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
ผู้ที่ผ่านหน่วยสมรรถนะนี้จะสามารถทดสอบของเสียเพื่อติดตามคุณภาพสิ่งแวดล้อมซึ่งครอบคลุมตั้งแต่ตรวจสอบสภาพของเสีย เก็บตัวอย่าง และทดสอบของเสีย โดยสามารถระบุขั้นตอนการตรวจสอบสภาพ เก็บตัวอย่าง และทดสอบของเสีย เลือกใช้อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคลก่อนการดำเนินงาน ตรวจสอบการติดฉลาก คำอธิบายและข้อกำหนดที่มีอยู่ในเอกสารการส่งมอบของเสีย ปฏิบัติตามขั้นตอนการปฏิบัติงาน ตรวจสอบสภาพของเสียด้วยสายตาพร้อมทำการทดสอบลักษณะทางกายภาพ ระบุความเป็นอันตรายที่อาจได้รับจากการตรวจสภาพของเสีย บันทึกสถาพของเสียและลักษณะทางกายภาพลงในเอกสารแบบฟอร์ม กำหนดพื้นที่และจุดเก็บตัวอย่างเพื่อการตรวจติดตาม เก็บตัวอย่าง บันทึกผลการเก็บตัวอย่างและข้อมูลสภาพแวดล้อม ทดสอบของเสีย และบันทึกผลการทดสอบของเสีย

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
กลุ่มอาชีพการจัดการของเสียชุมชน

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
รหัสอาชีพ 1349 : หัวหน้าแผนกติดตามตรวจสอบผลกระทบสิ่งแวดล้อม (ISCO, 2008)

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
1. พระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 25352. พระราชบัญญัติรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง พ.ศ. 25353. พระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. 25354. ประกาศกรมโรงงานอุตสาหกรรม เรื่อง กําหนดวิธีการเก็บ ทําลายฤทธิ์กําจัด ฝัง ทิ้ง เคลื่อนย้ายและการขนส่งสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้ว (ฉบับที่ 1) พ.ศ. 2531

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
03101.01 ตรวจสอบสภาพของเสียตามขั้นตอนการปฏิบัติงาน 1. ระบุขั้นตอนการตรวจสอบสภาพของเสีย 03101.01.01 83733
03101.01 ตรวจสอบสภาพของเสียตามขั้นตอนการปฏิบัติงาน 2. เลือกใช้อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคลก่อนการดำเนินงาน 03101.01.02 83734
03101.01 ตรวจสอบสภาพของเสียตามขั้นตอนการปฏิบัติงาน 3. ตรวจสอบการติดฉลาก คำอธิบายและข้อกำหนดที่มีอยู่ในเอกสารการส่งมอบของเสีย 03101.01.03 83735
03101.01 ตรวจสอบสภาพของเสียตามขั้นตอนการปฏิบัติงาน 4. ปฏิบัติตามขั้นตอนการปฏิบัติการตรวจสอบสภาพของเสียด้วยสายตาพร้อมทำการทดสอบลักษณะทางกายภาพ 03101.01.04 83736
03101.01 ตรวจสอบสภาพของเสียตามขั้นตอนการปฏิบัติงาน 5. ระบุความเป็นอันตรายที่อาจได้รับจากการตรวจสภาพของเสีย 03101.01.05 83737
03101.01 ตรวจสอบสภาพของเสียตามขั้นตอนการปฏิบัติงาน 6. บันทึกสถาพของเสียและลักษณะทางกายภาพลงในเอกสารแบบฟอร์ม 03101.01.06 83738
03101.02 เก็บตัวอย่างของเสียตามขั้นตอนการปฏิบัติงาน 1. กำหนดวิธีการเก็บตัวอย่างและเลือกใช้อุปกรณ์การเก็บตัวอย่าง 03101.02.01 83739
03101.02 เก็บตัวอย่างของเสียตามขั้นตอนการปฏิบัติงาน 2. ระบุขั้นตอนการเก็บตัวอย่างของเสีย 03101.02.02 83740
03101.02 เก็บตัวอย่างของเสียตามขั้นตอนการปฏิบัติงาน 3. เลือกใช้อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคลก่อนการดำเนินงาน 03101.02.03 83741
03101.02 เก็บตัวอย่างของเสียตามขั้นตอนการปฏิบัติงาน 4. กำหนดพื้นที่และจุดเก็บตัวอย่างเพื่อการตรวจติดตาม 03101.02.04 83742
03101.02 เก็บตัวอย่างของเสียตามขั้นตอนการปฏิบัติงาน 5. ปฏิบัติตามขั้นตอนการเก็บตัวอย่าง 03101.02.05 83743
03101.02 เก็บตัวอย่างของเสียตามขั้นตอนการปฏิบัติงาน 6. ตรวจสอบสภาพแวดล้อมในการเก็บตัวอย่าง 03101.02.06 83744
03101.02 เก็บตัวอย่างของเสียตามขั้นตอนการปฏิบัติงาน 7. บันทึกผลการเก็บตัวอย่างและข้อมูลสภาพแวดล้อมในการเก็บตัวอย่างลงในเอกสารแบบฟอร์ม 03101.02.07 83745
03101.03 ทดสอบของเสียตามขั้นตอนการปฏิบัติงาน 1. กำหนดวิธีการทดสอบของเสียและเลือกใช้อุปกรณ์การทดสอบ 03101.03.01 83746
03101.03 ทดสอบของเสียตามขั้นตอนการปฏิบัติงาน 2. ระบุขั้นตอนการทดสอบของเสีย 03101.03.02 83747
03101.03 ทดสอบของเสียตามขั้นตอนการปฏิบัติงาน 3. เลือกใช้อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคลก่อนการดำเนินงาน 03101.03.03 83748
03101.03 ทดสอบของเสียตามขั้นตอนการปฏิบัติงาน 4. ปฏิบัติตามขั้นตอนการปฏิบัติการทดสอบของเสีย 03101.03.04 83749
03101.03 ทดสอบของเสียตามขั้นตอนการปฏิบัติงาน 5. บันทึกผลการทดสอบของเสียและข้อมูลลงในแบบฟอร์ม 03101.03.05 83750

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)


ไม่ระบุ


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ


1. ทักษะการสังเกตเพื่อการตรวจสอบการปฏิบัติงาน




2. ทักษะการปฏิบัติงาน การเก็บตัวอย่าง




3. ทักษะการใช้งานอุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคล




4. ทักษะการเขียน บันทึก และรายงาน




5. ทักษะการสื่อสาร สามารถสื่อสารและให้ข้อมูลทั้งในรูปแบบของการเขียนและการพูดกับบุคคลากรในระดับปฏิบัติงานและระดับหัวหน้างานได้อย่างมีประสิทธิภาพ



6. ทักษะการอ่านและการนำมาใช้ สามารถนำกฏระเบียบและข้อปฏิบัติที่เกี่ยวข้องมาใช้ได้อย่างถูกต้อง เช่น เอกสารข้อมูลความปลอดภัย (MSDS) ข้อปฏิบัติด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัย ขั้นตอนการปฏิบัติกรณีที่เกิดเหตุฉุกเฉิน ขั้นตอนการดำเนินงาน เป็นต้น

(ข) ความต้องการด้านความรู้


1. การตรวจสอบของเสีย เช่น ลักษณะทางกายภาร ขนาด สี 




2. การเก็บตัวอย่างของเสีย เช่น การกำหนดพื้นที่และจุดเก็บตัวอย่าง และวิธีการเก็บตัวอย่าง เป็นต้น




3. การทดสอบของเสีย เช่น วิธีการทดสอบของเสีย ขั้นตอนการทดสอบของเสีย




4. การใช้งานอุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคล


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)


หลักฐานที่ต้องการประกอบด้วยหลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence) และหลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence) คำแนะนำในการประเมิน และวิธีการประเมิน ซึ่งควรจะพิจารณาร่วมกัน




(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)




1. เอกสารรับรองประสบการณ์ทำงาน (ถ้ามี)




2. หนังสือคุณวุฒิที่เป็นที่ยอมรับ (ถ้ามี)




(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)




1. หลักฐานคุณวุฒิการศึกษา




2. ประกาศนียบัตรรับรองการผ่านการฝึกอบรมด้านการเก็บตัวอย่างและทดสอบของเสีย ด้านสุขอนามัยและความปลอดภัยในการทำงาน ตามหลักเกณฑ์วิธีการ และเงื่อนไขที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนดหรือตามแผนการปฏิบัติการของสถานที่เผาของเสีย (ถ้ามี)




3. ผลการสอบข้อเขียน (ปรนัย) 




4. ผลการสอบสัมภาษณ์เชิงเทคนิค




(ค) คำแนะนำในการประเมิน




ผู้ประเมินตรวจประเมินเกี่ยวกับการทดสอบของเสียเพื่อติดตามคุณภาพสิ่งแวดล้อม โดยพิจารณาจากหลักฐานที่เกี่ยวข้อง ทั้งหลักฐานการปฏิบัติงาน และหลักฐานด้านความรู้




(ง) วิธีการประเมิน




1. พิจารณาตามหลักฐานการปฏิบัติงาน 




2. พิจารณาตามหลักฐานความรู้ ได้แก่ ผลการสอบผ่านข้อเขียน (ปรนัย) และผลการสอบสัมภาษณ์เชิงเทคนิค


15. ขอบเขต (Range Statement)


ขอบเขตของการปฏิบัติงานในหน่วยสมรรถนะ “ทดสอบของเสียเพื่อติดตามคุณภาพสิ่งแวดล้อม” ในระดับชั้นคุณวุฒิที่ 3 นี้เริ่มจากการตรวจสอบสภาพของเสีย เก็บตัวอย่างของเสียตามขั้นตอนการปฏิบัติงาน และทดสอบของเสียตามขั้นตอนการปฏิบัติงาน ก่อนจะดำเนินการตรวจติดตามคุณภาพสิ่งแวดล้อมตามแนวทางการปฏิบัติงานที่วางไว้ต่อไป




(ก) คำแนะนำ




1. ผู้เข้ารับการประเมินต้องให้ความสำคัญกับอุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคล




2. ผู้เข้ารับการประเมินต้องให้ความสำคัญกับขั้นตอนการปฏิบัติงาน




(ข) คำอธิบายรายละเอียด




1. อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคล หมายถึง สิ่งหนึ่งสิงใด ที่สวมใส่ลงบนอวัยวะส่วนหนึ่งส่วนใดของร่ายกาย หรือหลายส่วน เพื่อป้องกันอันตรายจากอุบัติเหตุ หรืออันตรายจากสภาพแวดล้อมในการทำงาน เช่น เสียงดัง แสง สารเคมี ความร้อน การตกจากที่สูง วัสดุกระเด็นเข้าตา วัสดุหล่นกระแทก หรือทับ เป็นต้น ได้แก่ อุปกรณ์ป้องกันศีรษะ  อุปกรณ์ป้องกันหู  อุปกรณ์ป้องกันใบหน้าและดวงตา อุปกรณ์ป้องกันมือ อุปกรณ์ป้องกันเท้า อุปกรณ์ป้องกันระบบทางเดินหายใจ อุปกรณ์ป้องกันลำตัว แขน และขา หรือชุดนิรภัย และ อุปกรณ์ป้องกันการตกจากที่สูง




2. ของเสีย หรือ สิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้ว หมายถึง สิ่งของที่ไม่ใช้แล้วหรือของเสียทั้งหมดที่เกิดขึ้นจากการ ประกอบกิจการโรงงาน รวมถึงของเสียจากวัตถุดิบ ของเสียที่เกิดขึ้นในกระบวนการผลิต ของเสีย ที่เป็นผลิตภัณฑ์เสื่อมคุณภาพ และน้ําทิ้งที่มีองค์ประกอบหรือมีคุณลักษณะที่เป็นอันตราย 




3. น้ำเสีย หมายถึง ของเสียที่อยู่ในสภาพที่เป็นของเหลว รวมทั้งมวลสารที่ปะปนหรือปนเปื้อนอยู่ในของเหลวนั้น 




4. น้ำทิ้ง หมายถึง น้ำที่ผ่านการบําบัดแล้ว ได้มาตรฐานตามที่หน่วยงานราชการกําหนด สามารถระบายทิ้งสู่แหล่งน้ำธรรมชาติหรือท่อระบายน้ำสาธารณะหรือนําไปใช้ประโยชน์อื่นๆ




5. ของเสียอันตราย หมายความว่า สิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้วที่มีองค์ประกอบหรือปนเปื้อนสาร อันตรายหรือมีคุณสมบัติที่เป็นอันตราย


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
ไม่ระบุ

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
ไม่ระบุ

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)


18.1 เครื่องมือประเมินหน่วยสมรรถนะย่อย ตรวจสอบสภาพของเสียตามขั้นตอนการปฏิบัติงาน




1. ข้อสอบข้อเขียน (ปรนัย) 




2. ข้อสอบสัมภาษณ์เชิงเทคนิค




ดูรายละเอียดจากคู่มือประเมิน




18.2 เครื่องมือประเมินหน่วยสมรรถนะย่อย เก็บตัวอย่างของเสียตามขั้นตอนการปฏิบัติงาน




1. ข้อสอบข้อเขียน (ปรนัย) 




2. ข้อสอบสัมภาษณ์เชิงเทคนิค




ดูรายละเอียดจากคู่มือประเมิน




18.3 เครื่องมือประเมินหน่วยสมรรถนะย่อย ทดสอบของเสียตามขั้นตอนการปฏิบัติงาน




1. ข้อสอบข้อเขียน (ปรนัย) 




2. ข้อสอบสัมภาษณ์เชิงเทคนิค




ดูรายละเอียดจากคู่มือประเมิน



 


ยินดีต้อนรับ