หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ควบคุมการทำงานของเตาเผา

สาขาวิชาชีพสิ่งแวดล้อมและสารอันตราย


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ EVM-CWM-3-026ZA

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ควบคุมการทำงานของเตาเผา

3. ทบทวนครั้งที่ - / -

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)


อาชีพผู้ดูแลการจัดการของเสียชุมชนในสถานที่เผาของเสีย



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
ผู้ที่ผ่านหน่วยสมรรถนะนี้จะสามารถบรรจุ/ลำเลียงของเสียเข้าเตาเผาตามซึ่งครอบคลุมตั้งแต่ระบุประเภทของเสียและปริมาณของเสียที่จะบรรจุ/ลำเลียงเข้าสู่เตาเผา กำหนดระยะเวลาที่ใช้ในการลำเลียงของเสียเข้าสู่เตาเผา ควบคุมปริมาณของเสียแต่ละประเภทที่ส่งเข้าสู่เตาเผา บันทึกข้อมูลปริมาณและประเภทของเสียที่ส่งเข้าสู่เตาเผา ดำเนินการเดินระบบเตาเผาโดยสามารถระบุขั้นตอนการดำเนินการเดินระบบเตาเผา เฝ้าระวังและสังเกตการณ์การทำงานของเตาเผาให้มีการทำงานอย่างปกติ ตรวจสอบการนำเข้าของเสีย กระบวนการเผาไหม้ และของเสียที่ออกจากระบบให้มีการทำงานอย่างเป็นระบบต่อเนื่อง ปฏิบัติตามระบบความปลอดภัยและแผนปฏิบัติการฉุกเฉินในกรณีที่เกิดเหตุฉุกเฉิน บันทึกผลการเดินระบบเตาเผา ตรวจสอบพารามิเตอร์ที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการเผาไหม้เพื่อให้เตาเผาทำงานได้อย่างถูกต้องและต่อเนื่อง ระบุและการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น รวมถึงจัดทำเอกสารเพื่อรายงานปัญหาและวิธีการแก้ไขปัญหาได้

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
กลุ่มอาชีพการจัดการของเสียชุมชน

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
รหัสอาชีพ 3139 : พนักงานเตาเผากำจัดขยะ (ISCO, 2008)

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
1. พระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 25352. พระราชบัญญัติรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง พ.ศ. 25353. พระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. 25354. ประกาศกรมโรงงานอุตสาหกรรม เรื่อง กําหนดวิธีการเก็บ ทําลายฤทธิ์กําจัด ฝัง ทิ้ง เคลื่อนย้ายและการขนส่งสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้ว (ฉบับที่ 1) พ.ศ. 25315. พระราชบัญญัติ ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. 2554

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
02304.01 บรรจุ/ลำเลียงของเสียเข้าเตาเผา 1. ระบุประเภทของเสียและปริมาณของเสียที่จะบรรจุ/ลำเลียงเข้าสู่เตาเผา 02304.01.01 83652
02304.01 บรรจุ/ลำเลียงของเสียเข้าเตาเผา 2. ระบุขั้นตอนการบรรจุ/ลำเลียงของเสียเข้าสู่เตาเผา 02304.01.02 83653
02304.01 บรรจุ/ลำเลียงของเสียเข้าเตาเผา 3. กำหนดระยะเวลาที่ใช้ในการลำเลียงของเสียเข้าสู่เตาเผา 02304.01.03 83654
02304.01 บรรจุ/ลำเลียงของเสียเข้าเตาเผา 4. ควบคุมปริมาณของเสียแต่ละประเภทที่ส่งเข้าสู่เตาเผา 02304.01.04 83655
02304.01 บรรจุ/ลำเลียงของเสียเข้าเตาเผา 5. บันทึกข้อมูลปริมาณและประเภทของเสียที่ส่งเข้าสู่เตาเผา 02304.01.05 83656
02304.02 ดำเนินการเดินระบบเตาเผา 1. ระบุขั้นตอนการดำเนินการเดินระบบเตาเผา 02304.02.01 83657
02304.02 ดำเนินการเดินระบบเตาเผา 2. ปฏิบัติตามระบบความปลอดภัยและแผนปฏิบัติการฉุกเฉินในกรณีที่เกิดเหตุฉุกเฉิน 02304.02.02 83658
02304.02 ดำเนินการเดินระบบเตาเผา 3. ดำเนินการเดินระบบเตาเผาตามขั้นตอนการปฏิบัติการ 02304.02.03 83659
02304.02 ดำเนินการเดินระบบเตาเผา 4. อธิบายการทำงานของระบบเตาเผา 02304.02.04 83660
02304.02 ดำเนินการเดินระบบเตาเผา 5. เฝ้าระวังและสังเกตการณ์การทำงานของเตาเผาให้มีการทำงานอย่างปกติ 02304.02.05 83661
02304.02 ดำเนินการเดินระบบเตาเผา 6. ระบุรายการการตรวจสอบการนำเข้าของเสียในกระบวนการเผาไหม้และของเสียที่ออกจากระบบ 02304.02.06 83662
02304.02 ดำเนินการเดินระบบเตาเผา 7. ตรวจสอบการนำเข้าของเสียใน กระบวนการเผาไหม้ และของเสียที่ออกจากระบบให้มีการทำงานอย่างเป็นระบบต่อเนื่อง 02304.02.07 83663
02304.02 ดำเนินการเดินระบบเตาเผา 8. บันทึกผลการเดินระบบเตาเผา 02304.02.08 83664
02304.03 แก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นระหว่างกระบวนการเผาของเสีย 1. ตรวจสอบตัวแปร(พารามิเตอร์) ที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการเผาไหม้เพื่อให้เตาเผาทำงานได้อย่างถูกต้องและต่อเนื่อง 02304.03.01 83665
02304.03 แก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นระหว่างกระบวนการเผาของเสีย 2. ระบุปัญหาที่เกิดขึ้นระหว่างการบรรจุ/ลำเลียงของเสียเข้าเตาเผาและระหว่างกระบวนการเผาไหม้ 02304.03.02 83666
02304.03 แก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นระหว่างกระบวนการเผาของเสีย 3. ดำเนินการแก้ไขปัญหาตามขั้นตอนการดำเนินงาน 02304.03.03 83667
02304.03 แก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นระหว่างกระบวนการเผาของเสีย 4. บันทึกผลการดำเนินงาน การแก้ไขปัญหา และรายชื่อผู้ปฏิบัติงาน 02304.03.04 83668
02304.03 แก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นระหว่างกระบวนการเผาของเสีย 5. จัดทำเอกสารเพื่อรายงานปัญหาและวิธีการแก้ไขปัญหา 02304.03.05 83669
02304.04 ปิดระบบการทำงานของระบบเตาเผา 1. เลือกใช้อุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคลสำหรับการปิดระบบเตาเผา 02304.04.01 83670
02304.04 ปิดระบบการทำงานของระบบเตาเผา 2. ระบุขั้นตอนการปิดระบบเตาเผา 02304.04.02 83671
02304.04 ปิดระบบการทำงานของระบบเตาเผา 3. ดำเนินการปิดระบบเตาเผา 02304.04.03 83672
02304.04 ปิดระบบการทำงานของระบบเตาเผา 4. บันทึกข้อมูลการตรวจสอบเตาเผาหลังใช้งาน 02304.04.04 83673
02304.04 ปิดระบบการทำงานของระบบเตาเผา 5. ทำความสะอาดเตาเผาและอุปกรณ์ หลังการใช้งาน 02304.04.05 83674
02304.04 ปิดระบบการทำงานของระบบเตาเผา 6. ตรวจสอบเตาเผาและอุปกรณ์ให้อยู่ในสภาพพร้อมใช้งาน 02304.04.06 83675

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)


ไม่ระบุ


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ


1. ทักษะด้านเทคนิคและวิธีการที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงาน




2. ทักษะการติดต่อสื่อสาร ระหว่างผู้ปฏิบัติงานหรือผู้ที่เกี่ยวข้องในการควบคุมการดำเนินงาน




3. ทักษะการสังเกต เพื่อควบคุมการดำเนินงาน และเฝ้าระวังและสังเกตการณ์การทำงานของเตาเผา




4. ทักษะการคิดวิเคราะห์ในการหาสาเหตุของสิ่งผิดปกติที่เกิดขึ้นกับระบบบำบัดมลพิษอากาศที่มีผลต่อประสิทธิภาพการทำงานของระบบโดยใช้ข้อมูลทางด้านเทคนิคและลำดับการดำเนินงานมาช่วยในการวิเคราะห์แก้ไขสิ่งผิดปกติที่เกิดขึ้นได้




5. ทักษะการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า สามารถแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นขณะปฏิบัติงานได้ แต่ถ้าไม่สามารถดำเนินการแก้ไขปัญหานั้นได้ให้รายงานปัญหาแก่หัวหน้างาน

(ข) ความต้องการด้านความรู้


1. วิธีการ บรรจุ/ลำเลียงของเสียเข้าเตาเผา




2. วิธีการควบคุมการทำงานของเตาเผาและวิธีการเดินระบบเตาเผา




3. การใช้งานอุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคล




4. ความรู้ด้านกระบวนการเผาไหม้และพารามิเตอร์ที่เกี่ยวข้องกับการเผาไหม้




5. ความรู้ด้านระบบความปลอดภัยและแผนปฏิบัติการฉุกเฉินในกรณีที่เกิดเหตุฉุกเฉิน


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)


หลักฐานที่ต้องการประกอบด้วยหลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence) และหลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence) คำแนะนำในการประเมิน และวิธีการประเมิน ซึ่งควรจะพิจารณาร่วมกัน




(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)




1. เอกสารรับรองประสบการณ์ทำงาน (ถ้ามี)




2. หนังสือคุณวุฒิที่เป็นที่ยอมรับ เช่น หนังสือรับการฝึกงาน หนังสือรับรองการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ เป็นต้น (ถ้ามี)




3. ผลการสอบสัมภาษณ์เชิงเทคนิค




(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)




1. หลักฐานคุณวุฒิการศึกษา




2. ประกาศนียบัตรรับรองการผ่านการฝึกอบรมให้มีความรู้ด้านระบบการทำงานเตาเผา ด้านหระบวนการเผาไหม้ ด้านความปลอดภัยในการทำงาน ตามหลักเกณฑ์วิธีการ และเงื่อนไขที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนดหรือตามแผนการปฏิบัติการของสถานที่เผาของเสีย (ถ้ามี)




3. ผลการสอบข้อเขียน (ปรนัย) 




(ค) คำแนะนำในการประเมิน




ผู้ประเมินตรวจประเมินเกี่ยวกับการควบคุมการทำงานของเตาเผา โดยพิจารณาจากหลักฐานที่เกี่ยวข้อง ทั้งหลักฐานการปฏิบัติงาน และหลักฐานด้านความรู้




(ง) วิธีการประเมิน




1. พิจารณาตามหลักฐานการปฏิบัติงาน 




2. พิจารณาตามหลักฐานความรู้ ได้แก่ ผลการสอบข้อเขียน (ปรนัย) และผลการสัมภาษณ์เชิงเทคนิค


15. ขอบเขต (Range Statement)


ขอบเขตของการปฏิบัติงานในหน่วยสมรรถนะ “ควบคุมการทำงานของเตาเผา” ในระดับชั้นคุณวุฒิที่ 3 นี้ เริ่มจากการบรรจุ/ลำเลียงของเสียเข้าเตาเผา ดำเนินการเดินระบบเตาเผา แก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นระหว่างกระบวนการเผาของเสีย และดำเนินการปิดระบบการทำงานของระบบเตาเผา ก่อนจะเข้าสู่ระดับชั้นที่ 4 ต่อไป




(ก) คำแนะนำ




1. ผู้เข้ารับการประเมินต้องให้ความสำคัญกับการปฏิบัติงาน เช่น การบรรจุ/ลำเลียงของเสียเข้าเตาเผา




2. ผู้เข้ารับการประเมินต้องให้ความสำคัญกับการใช้งานเครื่องจักรอย่างปลอดภัย




3. ผู้เข้ารับการประเมินต้องให้ความสำคัญกับการใช้อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคล




(ข) คำอธิบายรายละเอียด




1. การเผาของเสีย (Waste Incineration) คือ กระบวนการกำจัดของเสียที่ใช้ความร้อนสูงเพื่อเผาไหม้ส่วนประกอบที่เป็นสารอินทรีย์ในของเสีย




2. ระบบเตาเผาขยะมูลฝอย มี 3 แบบที่นิยมใช้แพร่หลายในการเผาขยะมูลฝอย คือ เตาเผาแบบตะกรับ (Stoker-Fired or grate-Fired Incinerator) เตาเผาฟลูอิดไดส์เบด (Fluidized Bed Incinerator) และเตาเผาชนิดควบคุมการเผาไหม้ (Controlled-Air Incinerator)




3. ระบบควบคุมมลพิษทางอากาศ (Air Pollution Control System) จะขึ้นอยู่กับระดับสารมลพิษที่เกิดจากการกำจัดขยะมูลฝอยและที่สำคัญได้แก่ กลิ่น ฝุ่นละออง คาร์บอนไดออกไซด์ คาร์บอนมอนอกไซด์ (กรณีเผาไหม้ไม่สมบูรณ์) ออกไซด์ของไนโตรเจน ออกไซด์ของซัลเฟอร์ ไฮโดรคาร์บอนไดออกซิน โลหะหนัก เถ้าหนัก เถ้าเบา และน้ำเสีย เป็นต้น 




4. ตัวแปร (พารามิเตอร์) ที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการเผาไหม้ ได้แก่ อุณหภูมิเตาเผา ปริมาณความชื้นของของเสียที่เข้าสู่เตาเผา ประเภทของเสียที่เข้าสู่เตาเผา ระยะเวลาในการเผา ปริมาณอากาศที่เข้าสู่เตาเผา 


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
ไม่ระบุ

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
ไม่ระบุ

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)


18.1 เครื่องมือประเมินหน่วยสมรรถนะย่อย บรรจุ/ลำเลียงของเสียเข้าเตาเผา




1. ข้อสอบสัมภาษณ์เชิงเทคนิค




2. ข้อสอบข้อเขียน (ปรนัย) 




ดูรายละเอียดจากคู่มือประเมิน 




18.2 เครื่องมือประเมินหน่วยสมรรถนะย่อย ดำเนินการเดินระบบเตาเผา




1. ข้อสอบสัมภาษณ์เชิงเทคนิค




2. ข้อสอบข้อเขียน (ปรนัย) 




ดูรายละเอียดจากคู่มือประเมิน




18.3 เครื่องมือประเมินหน่วยสมรรถนะย่อย แก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นระหว่างกระบวนการเผาของเสีย




1. ข้อสอบสัมภาษณ์เชิงเทคนิค




2. ข้อสอบข้อเขียน (ปรนัย) 




ดูรายละเอียดจากคู่มือประเมิน




18.4 เครื่องมือประเมินหน่วยสมรรถนะย่อย ปิดระบบการทำงานของระบบเตาเผา




1. ข้อสอบสัมภาษณ์เชิงเทคนิค




2. ข้อสอบข้อเขียน (ปรนัย) 




ดูรายละเอียดจากคู่มือประเมิน



ยินดีต้อนรับ