หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

จัดการของเสียที่เกิดจากกระบวนการเผาไหม้

สาขาวิชาชีพสิ่งแวดล้อมและสารอันตราย


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ EVM-CWM-2-024ZA

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ จัดการของเสียที่เกิดจากกระบวนการเผาไหม้

3. ทบทวนครั้งที่ - / -

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)


อาชีพผู้ดูแลการจัดการของเสียชุมชนในสถานที่เผาของเสีย


1 3139 ช่างเทคนิคควบคุมกระบวนการอื่นๆ ซึ่งมิได้จัดประเภทไว้ในที่อื่น

6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
ผู้ที่ผ่านหน่วยสมรรถนะนี้จะสามารถดำเนินการจัดการของเสียที่เกิดจากกระบวนการเผาไหม้ซึ่งครอบคลุมตั้งแต่เลือกใช้อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคลก่อนการดำเนินงาน ตรวจสอบการหยุดการทำงานของเตาเผาก่อนเปิดเตาเผาเพื่อเก็บของเสีย แยกประเภทของเสียที่เกิดขึ้นจากการเผาไหม้ เลือกภาชนะบรรจุของเสียตามประเภทของของเสียที่เกิดจากกระบวนการเผาไหม้ บันทึกข้อมูลของเสียที่เกิดจากกระบวนการเผาไหม้ ทำความสะอาดเตาเผาและอุปกรณ์ ดำเนินการจัดส่งของเสียที่เกิดขึ้นจากกระบวนการเผาไหม้ไปกำจัดต่อไปได้ โดยดำเนินการเคลื่อนย้ายของเสียตามหลักการด้านความปลอดภัยในการทำงาน

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
กลุ่มอาชีพการจัดการของเสียชุมชน

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
รหัสอาชีพ 3139 : พนักงานเตาเผากำจัดขยะ (ISCO, 2008)

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
1. พระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 25352. พระราชบัญญัติรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง พ.ศ. 25353. พระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. 25354. ประกาศกรมโรงงานอุตสาหกรรม เรื่อง กําหนดวิธีการเก็บ ทําลายฤทธิ์กําจัด ฝัง ทิ้ง เคลื่อนย้ายและการขนส่งสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้ว (ฉบับที่ 1) พ.ศ. 25315. พระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 25356. ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่อง ระบบเอกสารกํากับการขนส่งของเสียอันตราย พ.ศ. 2547

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
02302.01 จัดเก็บของเสียที่เกิดจากกระบวนการเผาไหม้ 1. เลือกใช้อุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคลในการจัดเก็บของเสีย 02302.01.01 83621
02302.01 จัดเก็บของเสียที่เกิดจากกระบวนการเผาไหม้ 2. ระบุขั้นตอนการหยุดการทำงานของเตาเผาตามขั้นตอนการปฏิบัติงานก่อนเปิดเตาเผาได้อย่างถูกต้อง 02302.01.02 83622
02302.01 จัดเก็บของเสียที่เกิดจากกระบวนการเผาไหม้ 3. ตรวจสอบการหยุดการทำงานของเตาเผาตามขั้นตอนการปฏิบัติงานก่อนเปิดเตาเผาเพื่อเก็บของเสีย 02302.01.03 83623
02302.01 จัดเก็บของเสียที่เกิดจากกระบวนการเผาไหม้ 4. แยกประเภทของเสียที่เกิดขึ้นจากการเผาไหม้ 02302.01.04 83624
02302.01 จัดเก็บของเสียที่เกิดจากกระบวนการเผาไหม้ 5. เลือกภาชนะบรรจุของเสียตามประเภทของของเสียที่เกิดขึ้นจากกระบวนการเผาไหม้ 02302.01.05 83625
02302.01 จัดเก็บของเสียที่เกิดจากกระบวนการเผาไหม้ 6. บันทึกข้อมูลของเสียที่เกิดจากกระบวนการเผาไหม้และติดฉลากระบุประเภทของเสีย 02302.01.06 83626
02302.01 จัดเก็บของเสียที่เกิดจากกระบวนการเผาไหม้ 7. ทำความสะอาดเตาเผาและอุปกรณ์ 02302.01.07 83627
02302.01 จัดเก็บของเสียที่เกิดจากกระบวนการเผาไหม้ 8. ตรวจสอบการทำงานของเตาเผาและอุปกรณ์เพื่อให้พร้อมใช้งาน 02302.01.08 83628
02302.02 จัดส่งของเสียที่เกิดขึ้นจากกระบวนการเผาไหม้ไปกำจัด 1. เลือกใช้อุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคลในการขนส่งของเสีย 02302.02.01 83629
02302.02 จัดส่งของเสียที่เกิดขึ้นจากกระบวนการเผาไหม้ไปกำจัด 2. ระบุขั้นตอนในการจัดส่งของเสียที่เกิดจากกระบวนการเผาไหม้เพื่อไปกำจัด 02302.02.02 83630
02302.02 จัดส่งของเสียที่เกิดขึ้นจากกระบวนการเผาไหม้ไปกำจัด 3. จัดเตรียมเอกสารในการส่งออกของเสียเพื่อไปกำจัด 02302.02.03 83631
02302.02 จัดส่งของเสียที่เกิดขึ้นจากกระบวนการเผาไหม้ไปกำจัด 4. ดำเนินการเคลื่อนย้ายของเสียที่เกิดจากกระบวนการเผาไหม้ตามหลักการด้านความปลอดภัยในการทำงาน 02302.02.04 83632
02302.02 จัดส่งของเสียที่เกิดขึ้นจากกระบวนการเผาไหม้ไปกำจัด 5. ทำความสะอาดอุปกรณ์เคลื่อนย้ายของเสียตามขั้นตอนการปฏิบัติงาน 02302.02.05 83633
02302.02 จัดส่งของเสียที่เกิดขึ้นจากกระบวนการเผาไหม้ไปกำจัด 6. ตรวจสอบอุปกรณ์เคลื่อนย้ายของเสีย 02302.02.06 83634

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)


ไม่ระบุ


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ


1. ทักษะการใช้งานอุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคล




2. ทักษะการสังเกตเพื่อจัดเก็บของเสียที่เกิดจากกระบวนการเผาไหม้ให้ถูกต้อง

(ข) ความต้องการด้านความรู้


1. การจำแนกประเภทของเสียของสถานที่จัดการของเสีย




2. ประเภทของภาชนะบรรจุของเสียที่เหมาะสม




3. วิธีการทำความสะอาดเตาเผาและอุปกรณ์




4. ความปลอดภัยในการทำงาน




5. การเลือกใช้อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคล




6. กระบวนการทำงานของเตาเผา




7. วิธีการหยุดการทำงานของเตาเผา


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)


หลักฐานที่ต้องการประกอบด้วยหลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence) และหลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence) คำแนะนำในการประเมิน และวิธีการประเมิน ซึ่งควรจะพิจารณาร่วมกัน




(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)




1. เอกสารรับรองประสบการณ์ทำงาน (ถ้ามี)




2. หนังสือคุณวุฒิที่เป็นที่ยอมรับ เช่น หนังสือรับการฝึกงาน หนังสือรับรองการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ เป็นต้น (ถ้ามี)




3. ผลการสอบสัมภาษณ์เชิงเทคนิค




(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)




1. หลักฐานคุณวุฒิการศึกษา




2. ประกาศนียบัตรรับรองการผ่านการฝึกอบรมให้มีความรู้ด้านความปลอดภัยในการทำงาน ตามหลักเกณฑ์วิธีการ และเงื่อนไขที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนดหรือตามแผนการปฏิบัติการของสถานที่เผาของเสีย (ถ้ามี)




3. ผลการสอบข้อเขียน (ปรนัย) 




(ค) คำแนะนำในการประเมิน




ผู้ประเมินตรวจประเมินเกี่ยวกับการจัดเก็บของเสียที่เกิดจากเตาเผา โดยพิจารณาจากหลักฐานที่เกี่ยวข้อง ทั้งหลักฐานการปฏิบัติงาน และหลักฐานด้านความรู้ 




(ง) วิธีการประเมิน




1. พิจารณาตามหลักฐานการปฏิบัติงาน 




2. พิจารณาตามหลักฐานความรู้ ได้แก่ ผลการสอบข้อเขียน (ปรนัย) และผลการสัมภาษณ์เชิงเทคนิค


15. ขอบเขต (Range Statement)


ขอบเขตของการปฏิบัติงานในหน่วยสมรรถนะ “จัดการของเสียที่เกิดจากกระบวนการเผาไหม้” ในระดับชั้นคุณวุฒิที่ 2 นี้ เริ่มจากการจัดเก็บของเสียที่เกิดจากกระบวนการเผาไหม้ และจัดส่งของเสียที่เกิดขึ้นจากกระบวนการเผาไหม้เพื่อไปดำเนินการกำจัดของเสียนอกโรงงาน ก่อนจะเข้าสู่ระดับชั้นที่ 3 ต่อไป




(ก) คำแนะนำ




1. ผู้เข้ารับการประเมินต้องให้ความสำคัญกับการจัดเก็บของเสียอย่างปลอดภัย




2. ผู้เข้ารับการประเมินต้องให้ความสำคัญกับการใช้อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคล




(ข) คำอธิบายรายละเอียด




1. ของเสียที่เกิดจากกระบวนการเผาไหม้ ได้แก่ เถ้าลอย (Fly ash) และเถ้าก้นเตาหรือเถ้าหนัก (Bottom Ash)




2. อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคล เช่น ถุงมือป้องกันสารเคมี รองเท้านิรภัย หมวกนิรภัย หน้ากากกันแก๊สพิษ




3. อุปกรณ์การเก็บและเคลื่อนย้ายของเสีย เช่น ถุงกรอง ภาชนะในการเก็บของเสีย รถเข็น อุปกรณ์ในการตักของเสีย 




4. การบันทึกผล หมายถึง การบันทึกในระบบคอมพิวเตอร์ หรือบันทึกด้วยเอกสาร หรือทั้งสองแบบ




5. เอกสารกํากับการขนสงของเสียอันตราย ได้แก่ 




a. แบบแจ้งขอขยายระยะเวลาในการกักเก็บสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้ว สก.1 




b. แบบคำขออนุญาตนำสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้วออกนอกบริเวณโรงงาน สก.2 




c. ใบแจ้งเกี่ยวกับรายละเอียดสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้ว สก.3 




d. บัญชีแสดงการรับมอบสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้ว สก.6 




e. หนังสือยินยอมระหว่างผู้ใช้และผู้ให้บริการบำบัด กอ.1


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
ไม่ระบุ

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
ไม่ระบุ

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)


18.1 เครื่องมือประเมินหน่วยสมรรถนะย่อย จัดเก็บของเสียที่เกิดจากกระบวนการเผาไหม้




1. ข้อสอบสัมภาษณ์เชิงเทคนิค




2. ข้อสอบข้อเขียน (ปรนัย) 




ดูรายละเอียดจากคู่มือประเมิน




18.2 เครื่องมือประเมินหน่วยสมรรถนะย่อย จัดส่งของเสียที่เกิดขึ้นจากกระบวนการเผาไหม้ไปกำจัด




1. ข้อสอบสัมภาษณ์เชิงเทคนิค




2. ข้อสอบข้อเขียน (ปรนัย) 



ดูรายละเอียดจากคู่มือประเมิน



ยินดีต้อนรับ