หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

วางแผนการดำเนินงานของสถานที่ฝังกลบ

สาขาวิชาชีพสิ่งแวดล้อมและสารอันตราย


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ EVM-CWM-5-022ZA

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ วางแผนการดำเนินงานของสถานที่ฝังกลบ

3. ทบทวนครั้งที่ - / -

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)


อาชีพผู้ดูแลการจัดการของเสียชุมชนในสถานที่ฝังกลบ



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
ผู้ที่ผ่านหน่วยสมรรถนะนี้จะสามารถวางแผนการดำเนินการฝังกลบ วางแผนการตรวจสอบสิ่งอำนวยความสะดวก และวางแผนด้านสิ่งแวดล้อมและความปลอดภัย ซึ่งในการวางแผนงานแต่ละประเภทจะต้องสามารถระบุหลักเกณฑ์ที่ใช้ในการจัดทำแผน กำหนดขั้นตอนในการจัดทำแผน และจัดทำแผนงานต่างๆ เหล่านี้ได้ 

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
กลุ่มอาชีพการจัดการของเสียชุมชน

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
ไม่ระบุ

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
1. กฎกระทรวง สุขลักษณะการจัดการมูลฝอยทั่วไป พ.ศ. 2560

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
02207.01 วางแผนการดำเนินการฝังกลบ 1. ระบุหลักเกณฑ์ที่ใช้ในการดำเนินการฝังกลบ 02207.01.01 83602
02207.01 วางแผนการดำเนินการฝังกลบ 2. กำหนดขั้นตอนในการปฏิบัติงานของสถานที่ฝังกลบ 02207.01.02 83603
02207.01 วางแผนการดำเนินการฝังกลบ 3. จัดทำแผนการดำเนินการฝังกลบ 02207.01.03 83604
02207.01 วางแผนการดำเนินการฝังกลบ 4. กำหนดขั้นตอนของแผนการตรวจสอบ 02207.01.04 83605
02207.01 วางแผนการดำเนินการฝังกลบ 5. จัดทำแผนการตรวจสอบการดำเนินการฝังกลบ 02207.01.05 83606
02207.02 วางแผนการตรวจสอบสิ่งอำนวยความสะดวก 1. ระบุหลักเกณฑ์ที่ใช้ในการตรวจสอบสิ่งอำนวยความสะดวก 02207.02.01 83607
02207.02 วางแผนการตรวจสอบสิ่งอำนวยความสะดวก 2. กำหนดขั้นตอนของแผนการตรวจสอบสิ่งอำนวยความสะดวก 02207.02.02 83608
02207.02 วางแผนการตรวจสอบสิ่งอำนวยความสะดวก 3. จัดทำแผนการตรวจสอบสิ่งอำนวยความสะดวกในสถานที่ฝังกลบ 02207.02.03 83609
02207.03 วางแผนด้านสิ่งแวดล้อมและความปลอดภัย 1. ระบุหลักเกณฑ์ที่ใช้ในการจัดทำแผนด้านสิ่งแวดล้อมและความปลอดภัย 02207.03.01 83610
02207.03 วางแผนด้านสิ่งแวดล้อมและความปลอดภัย 2. กำหนดขั้นตอนของแผนด้านสิ่งแวดล้อมและความปลอดภัย 02207.03.02 83611
02207.03 วางแผนด้านสิ่งแวดล้อมและความปลอดภัย 3. จัดทำแผนงานด้านสิ่งแวดล้อมและความปลอยภัย 02207.03.03 83612
02207.03 วางแผนด้านสิ่งแวดล้อมและความปลอดภัย 4. จัดทำมาตรการแก้ไขผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมและความปลอดภัย 02207.03.04 83613

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)


ไม่ระบุ


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ


1. ทักษะการวางแผนเพื่อจัดทำแผนการปฏิบัติงาน เช่น แผนการดำเนินการฝังกลบ แผนงานด้านสิ่งแวดล้อมและความปลอยภัย




2. ทักษะการเขียนเพื่อจัดทำแผนงาน




3. ทักษะการแก้ไขปัญหาในการทำงาน

(ข) ความต้องการด้านความรู้


1. วิธีการวางแผนงาน




2. หลักเกณฑ์ มาตรฐาน และแนวทางในการดำเนินการฝังกลบ




3. วิธีการตรวจสอบการดำเนินการฝังกลบ




4. วิธีการตรวจสอบสิ่งอำนวยความสะดวก




5. แผนงานด้านสิ่งแวดล้อมและความปลอดภัย




6. มาตรการแก้ไขผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม และความปลอดภัย


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)


หลักฐานที่ต้องการประกอบด้วยหลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence) และหลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence) คำแนะนำในการประเมิน และวิธีการประเมิน ซึ่งควรจะพิจารณาร่วมกัน




(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)




1. เอกสารรับรองประสบการณ์ทำงาน




2. แฟ้มสะสมผลงาน เช่น ประกาศนียบัตร/เอกสารที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงาน เอกสารตัวอย่างการเขียนโครงการ หรือผลงานของผู้ปฏิบัติงานที่เคยทำมาแล้วที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงาน




3. ผลการสอบสัมภาษณ์เชิงเทคนิค




(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)




1. หลักฐานคุณวุฒิการศึกษา




2. ประกาศนียบัตรรับรองการผ่านการฝึกอบรมให้มีความรู้ด้านสุขอนามัยและความปลอดภัยในการทำงาน ตามหลักเกณฑ์วิธีการ และเงื่อนไขที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนดหรือตามแผนการปฏิบัติการของสถานที่ฝังกลบ (ถ้ามี)




3. ผลการสอบข้อเขียน (ปรนัย)




(ค) คำแนะนำในการประเมิน




ผู้ประเมินตรวจประเมินเกี่ยวกับการวางแผนการปฏิบัติงาน แผนด้านสิ่งแวดล้อมและความปลอดภัยของสถานที่ฝังกลบ โดยพิจารณาจากหลักฐานที่เกี่ยวข้อง ทั้งหลักฐานการปฏิบัติงาน และหลักฐานด้านความรู้




(ง) วิธีการประเมิน




1. พิจารณาตามหลักฐานการปฏิบัติงาน ได้แก่ แฟ้มสะสมผลงาน และการสัมภาษณ์เชิงเทคนิค




2. พิจารณาตามหลักฐานความรู้ ได้แก่ การสอบข้อเขียน (ปรนัย) 


15. ขอบเขต (Range Statement)


การวางแผนการปฏิบัติงานของสถานที่ฝังกลบ ในระดับชั้นคุณวุฒิที่ 5 อาชีพผู้ดูแลการจัดการของเสียชุมชนในสถานที่ฝังกลบนี้ เป็นการดำเนินงานเกี่ยวกับการวางแผนการดำเนินการฝังกลบ การวางแผนการตรวจสอบสิ่งอำนวยความสะดวก และการวางแผนด้านสิ่งแวดล้อมและความปลอดภัย 




(ก) คำแนะนำ




1. ผู้เข้ารับการประเมินต้องเข้าใจหลักเกณฑ์ที่ใช้ในการวางแผน




2. ผู้เข้ารับการประเมินต้องให้ความสำคัญกับการจัดทำแผนทางด้านสิ่งแวดล้อม และความปลอดภัย




(ข) คำอธิบายรายละเอียด




1. หลักเกณฑ์ที่ใช้ในการดำเนินการฝังกลบ เป็นรูปแบบการฝังกลบของเสียที่มีการคำนึงถึงการดำเนินงานตามหลักเกณฑ์ทางวิศวกรรมและผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้นในด้านสุขอนามัยและความปลอดภัยอาทิเช่น การจดบันทึกปริมาณมูลฝอยที่เข้าสู่พื้นที่ การควบคุมการจัดวางเซลล์ การป้องกันมิให้ของเสียอันตรายชุมชนเข้ามากำจัดในบริเวณการจัดการก๊าซจากบ่อฝังกลบอย่างถูกสุขลักษณะ การควบคุมขนาดหน้างานฝังกลบให้เหมาะสม การบดอัดและกลบทับมูลฝอยเป็นรายวัน เป็นต้น




2. แผนการดำเนินการฝังกลบ ประกอบด้วย แผนการปฏิบัติงานฝังกลบรายวัน การออกแบบหรือจัดแบ่งพื้นที่ฝังกลบ ขั้นตอนปฏิบัติงานในการฝังกลบรายวัน การวางแผนปิดหลุมฝังกลบ การจัดทำระบบการบันทึกผลและรายงานผลประจำเดือน เป็นต้น




3. แผนการตรวจสอบการดำเนินการฝังกลบ ประกอบด้วย การติดตามก๊าซจากหลุมฝังกลบ การติดตามการไหลของน้ำชะมูลฝอย การติดตามน้ำใต้ดิน เป็นต้น




4. หลักเกณฑ์ที่ใช้ในการตรวจสอบสิ่งอำนวยความสะดวก เป็นรูปแบบการตรวจสอบที่คำนึงถึงการดำเนินงานตามหลักเกณฑ์ทางวิศวกรรมและผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้นในด้านสุขอนามัยและความปลอดภัยอาทิเช่น ตรวจสอบสภาพแผ่นพลาสติกรองพื้นโพลีเอทธิลีนชนิดความหนาแน่นสูง (High Density Polyethylene: HDPE) ตรวจสอบความสูงและความลาดชันของหลุมฝังกลบ การตรวจสอบความเป็นระเบียบเรียบร้อยความสะอาดของสถานที่ เป็นต้น




5. แผนด้านสิ่งแวดล้อมและความปลอดภัย หมายถึง แผนที่เกี่ยวข้องในด้านสิ่งแวดล้อม และด้านสุขภาพอนามัยของสถานที่ฝังกลบของเสีย เช่น แผนป้องกันและระงับอัคคีภัยในที่ฝังกลบของเสีย แนวทางฟื้นฟูและปรับปรุงสถานที่ฝังกลบ แผนตอบโต้ภาวะฉุกเฉินที่อาจเกิดขึ้นในการปฏิบัติงานฝังกลบ เป็นต้น




6. แผนป้องกันอัคคีภัย หมายถึง การดำเนินการเพื่อมิให้เกิดเพลิงไหม้ และให้หมายความรวมถึงการเตรียมเพื่อรับรองเหตุการณ์เมื่อเกิดไฟไหม้ด้วย




7. ไฟไหม้หลุมฝังกลบ หมายถึง การเกิดเหตุการณ์ไฟไหม้บริเวณที่กำจัดมูลฝอยแบบฝังกลบ หรือเทกองกลางแจ้ง ทั้งที่เป็นลักษณะการลุกไหม้บนผิวและในส่วนลึกลงไปของกองมูลฝอย โดยเกิดขึ้นจากธรรมชาติและการกระทำของมุนษย์




8. แนวทางฟื้นฟูและปรับปรุงสถานที่กำจัด หมายถึง การปรับปรุงพื้นที่จัดการมูลฝอยเพื่อควบคุมป้องกันมลพิษต่างๆ ที่อาจจะเกิดขึ้น และปรับปรุงพื้นที่เพื่อให้สามารถกำจัดมูลฝอยได้ หลังจากเกิดเหตุการณ์สภาวะฉุกเฉินต่างๆ เช่น ไฟไหม้หลุมฝังกลบ น้ำท่วมหลุมฝังกลบ เกิดระเบิดในหลุมฝังกลบ เกิดการต่อต้านจากประชาชน เป็นต้น




9. แผนตอบโต้ภาวะฉุกเฉินที่อาจเกิดขึ้นในการปฏิบัติงานฝังกลบ หมายถึง แนวทางการจัดการ (ดําเนินการ ประสานงาน ปฏิบัติการ) กับเหตุฉุกเฉินที่เกิดขึ้น เพื่อให้สามารถระงับเหตุและลดผลกระทบได้อย่างมีประสิทธิภาพ เช่น ไฟไหม้หลุมฝังกลบ น้ำท่วมหลุมฝังกลบ เกิดระเบิดในหลุมฝังกลบ เกิดการต่อต้านจากประชาชน เป็นต้น 




10. มาตรการแก้ไขผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม หมายถึง มาตรการแก้ไขผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม เมื่อเกิดสภาวะฉุกเฉิน เช่น ผลกระทบทางด้านคุณภาพ ผลกระทบด้านคุณภาพน้ำ กลิ่นเหม็นรบกวน เป็นต้น


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
ไม่ระบุ

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
ไม่ระบุ

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)


18.1 เครื่องมือประเมินหน่วยสมรรถนะย่อย วางแผนการดำเนินการฝังกลบ




1. ข้อสอบสัมภาษณ์เชิงเทคนิค




2. แฟ้มสะสมผลงาน




3. ข้อสอบข้อเขียน (ปรนัย) 




ดูรายละเอียดจากคู่มือประเมิน




18.2 เครื่องมือประเมินหน่วยสมรรถนะย่อย วางแผนการตรวจสอบสิ่งอำนวยความสะดวก




1. ข้อสอบสัมภาษณ์เชิงเทคนิค




2. แฟ้มสะสมผลงาน




3. ข้อสอบข้อเขียน (ปรนัย) 




ดูรายละเอียดจากคู่มือประเมิน



 


ยินดีต้อนรับ