หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ตรวจสอบการดำเนินงานในสถานที่ฝังกลบ

สาขาวิชาชีพสิ่งแวดล้อมและสารอันตราย


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ EVM-CWM-4-021ZA

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ตรวจสอบการดำเนินงานในสถานที่ฝังกลบ

3. ทบทวนครั้งที่ - / -

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)


อาชีพผู้ดูแลการจัดการของเสียชุมชนในสถานที่ฝังกลบ



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
ผู้ที่ผ่านหน่วยสมรรถนะนี้จะสามารถตรวจสอบการดำเนินการฝังกลบ และตรวจสอบสิ่งอำนวยความสะดวกในสถานที่ฝังกลบ รวมถึงสามารถวิเคราะห์ผลการตรวจสอบการดำเนินการฝังกลบ จัดทำแผนกำหนดวิธีการแก้ไขปัญหาในการดำเนินการฝังกลบ ตรวจติดตามผลการดำเนินการแก้ไขปัญหา และจัดทำรายงานผลการตรวจสอบและแก้ไขปัญหาได้

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
กลุ่มอาชีพการจัดการของเสียชุมชน

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
ไม่ระบุ

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
1. กฎกระทรวง สุขลักษณะการจัดการมูลฝอยทั่วไป พ.ศ. 2560

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
02206.01 ตรวจสอบการดำเนินการฝังกลบ 1. ระบุขั้นตอนการตรวจสอบการดำเนินการฝังกลบ 02206.01.01 83590
02206.01 ตรวจสอบการดำเนินการฝังกลบ 2. ตรวจสอบการดำเนินการฝังกลบ 02206.01.02 83591
02206.01 ตรวจสอบการดำเนินการฝังกลบ 3. ระบุขั้นตอนการตรวจสอบสิ่งอำนวยความสะดวกในสถานที่ฝังกลบ 02206.01.03 83592
02206.01 ตรวจสอบการดำเนินการฝังกลบ 4. ตรวจสอบสิ่งอำนวยความสะดวกในสถานที่ฝังกลบ 02206.01.04 83593
02206.01 ตรวจสอบการดำเนินการฝังกลบ 5. บันทึกผลการตรวจสอบ 02206.01.05 83594
02206.02 วิเคราะห์และแก้ไขปัญหาที่อาจเกิดจากการฝังกลบ 1. วิเคราะห์ผลการตรวจสอบเพื่อระบุสาเหตุของปัญหา 02206.02.01 83595
02206.02 วิเคราะห์และแก้ไขปัญหาที่อาจเกิดจากการฝังกลบ 2. อธิบายวิธีการแก้ไขปัญหา 02206.02.02 83596
02206.02 วิเคราะห์และแก้ไขปัญหาที่อาจเกิดจากการฝังกลบ 3. จัดทำแผนเพื่อกำหนดวิธีการแก้ไขปัญหาจากการฝังกลบ 02206.02.03 83597
02206.02 วิเคราะห์และแก้ไขปัญหาที่อาจเกิดจากการฝังกลบ 4. แก้ไขปัญหาตามแผน 02206.02.04 83598
02206.03 ตรวจติดตามผลการดำเนินการแก้ไขปัญหา 1. อธิบายวิธีการติดตามผลการแก้ไขปัญหา 02206.03.01 83599
02206.03 ตรวจติดตามผลการดำเนินการแก้ไขปัญหา 2. ติดตามผลการแก้ไขปัญหา 02206.03.02 83600
02206.03 ตรวจติดตามผลการดำเนินการแก้ไขปัญหา 3. จัดทำรายงานผลการตรวจสอบ 02206.03.03 83601

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)


ไม่ระบุ


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ


1. ทักษะการสังเกตเพื่อการตรวจสอบการดำเนินการฝังกลบ และสถานที่จัดการของเสีย




2. ทักษะการติดต่อประสานงาน ระหว่างผู้ปฏิบัติงานหรือผู้ที่เกี่ยวข้องในการตรวจสอบ




3. ทักษะการวิเคราะห์ และแก้ไขปัญหา




4. ทักษะการเขียนรายงาน เพื่อจัดทำรายงานผลการตรวจสอบและแก้ไขปัญหา

(ข) ความต้องการด้านความรู้


1. วิธีการดำเนินการฝังกลบ




2. วิธีการตรวจสอบการดำเนินการฝังกลบ




3. วิธีการตรวจสอบสิ่งอำนวยความสะดวก 




4. วิธีการแก้ไขปัญหาจากการตรวจสอบ


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)


หลักฐานที่ต้องการประกอบด้วยหลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence) และหลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence) คำแนะนำในการประเมิน และวิธีการประเมิน ซึ่งควรจะพิจารณาร่วมกัน




(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)




1. เอกสารรับรองประสบการณ์ทำงาน




2. ผลการสัมภาษณ์เชิงเทคนิค




(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)




1. หลักฐานคุณวุฒิการศึกษา




2. ประกาศนียบัตรรับรองการผ่านการฝึกอบรมให้มีความรู้ด้านสุขอนามัยและความปลอดภัยในการทำงาน ตามหลักเกณฑ์วิธีการ และเงื่อนไขที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนดหรือตามแผนการปฏิบัติการของสถานที่ฝังกลบ (ถ้ามี)




3. ผลการสอบข้อเขียน (ปรนัย) 




(ค) คำแนะนำในการประเมิน




ผู้ประเมินตรวจประเมินเกี่ยวกับการตรวจสอบการดำเนินงาน และตรวจสอบสถานที่ฝังกลบของเสีย โดยพิจารณาจากหลักฐานที่เกี่ยวข้อง ทั้งหลักฐานการปฏิบัติงาน และหลักฐานด้านความรู้




(ง) วิธีการประเมิน




1. พิจารณาตามหลักฐานการปฏิบัติงาน ได้แก่ ผลการสัมภาษณ์เชิงเทคนิค




2. พิจารณาตามหลักฐานความรู้ ได้แก่ ผลการสอบข้อเขียน (ปรนัย) 


15. ขอบเขต (Range Statement)


การตรวจสอบการดำเนินงานของสถานที่ฝังกลบ ในระดับชั้นคุณวุฒิที่ 4 อาชีพผู้ดูแลการจัดการของเสียชุมชนในสถานที่ฝังกลบนี้ เป็นการดำเนินงานเกี่ยวกับการตรวจสอบการดำเนินการฝังกลบ ตรวจสิ่งอำนวยความสะดวกในสถานที่ฝังกลบ วิเคราะห์และแก้ไขปัญหาที่อาจเกิดขึ้นจากการฝังกลบ และตรวจติดตามการแก้ไขปัญหานั้น 




(ก) คำแนะนำ




1. ผู้เข้ารับการประเมินต้องให้ความสำคัญกับการปฏิบัติงาน ได้แก่ เกลี่ยและบดอัดของเสีย กลบ/ปิดหลุมฝังกลบ




2. ผู้เข้ารับการประเมินต้องให้ความสำคัญกับการสังเกตเพื่อการตรวจสอบการทำงานอย่างละเอียด




(ข) คำอธิบายรายละเอียด




1. การดำเนินการฝังกลบ หมายถึง การนำของเสียมาเทกองในพื้นที่ที่จัดเตรียมไว้ โดยเริ่มจากเมื่อรถเก็บขนของเสียเทของเสียลงในบริเวณที่กำหนดแล้ว รถตัก-ดันของเสียเริ่มนำของเสียดังกล่าวมาใส่ในบริเวณที่กำหนดให้เป็นจุดฝังกลบมูลฝอย (Cell) เมื่อของเสียถูกทำมาบรรจุใส่ในเซลล์เต็มระดับที่ต้องการแล้ว จากนั้นรถบดอัดจะเริ่มดำเนินการบดอัดของเสียในเซลล์ให้แน่นและเรียบ หลังจากนั้นจึงกลบทับหน้าด้วยดิน 




2. การตรวจสอบการดำเนินการฝังกลบ เช่น การตรวจสอบการเทกอง การเกลี่ย การบดอัด การกลบ/ปิดคลุม เป็นต้น




3. การตรวจสอบสิ่งอำนวยความสะดวกในสถานที่ฝังกลบ เป็นการตรวจสอบสภาพขององค์ประกอบของสถานที่จัดการของเสียตามข้อกำหนดของหน่วยงาน เพื่อให้การดำเนินการฝังกลบมีประสิทธิภาพสูงสุด เช่น ตรวจสอบสภาพแผ่นพลาสติกรองพื้นโพลีเอทธิลีนชนิดความหนาแน่นสูง (High Density Polyethylene: HDPE) ตรวจสอบความสูงและความลาดชันของหลุมฝังกลบให้ถูกต้องตามแผนการปฏิบัติงานของสถานที่ฝังกลบ รวมถึงการตรวจสอบด้านความปลอดภัยของสถานที่ฝังกลบเป็นการค้นหาสาเหตุของอันตรายในสถานที่ทำงาน โดยเมื่อพบสิ่งบกพร่องต้องรีบทำการแก้ไขอย่างเร่งด่วน จะมีการเตรียมแบบตรวจสอบไว้จดบันทึกด้วย และเมื่อตรวจสอบเสร็จได้ผลประการใดแจ้งผลการตรวจสอบไปยังหัวหน้างาน เช่น การตรวจสอบความเป็นระเบียบเรียบร้อย ความสะอาดของสถานที่ อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคล เป็นต้น




4. สิ่งอำนวยความสะดวกในสถานที่ฝังกลบ หมายถึง องค์ประกอบส่วนสำคัญต่างๆ ที่ช่วยเสริมหรือสนับสนุนการทำงานของสถานีฝังกลบให้สมบูรณ์มากยิ่งขึ้นแม้ว่าหากขาดไปการฝังกลบอาจเกิดขึ้นได้ แต่ในด้านบริหารจัดการแล้วถือว่าขาดไม่ได้ เช่น ประตูทางเข้าและป้ายแสดงความเป็นเจ้าของ เครื่องชั่ง อาคารสำนักงาน ที่ล้างล้อรถ รั้วล้อมรอบสถานี ระบบระบายและกำจัดก๊าซ ระบบบำบัดน้ำเสีย ระบบรวมรวมน้ำชะขยะ บ่อสังเกตการณ์น้ำใต้ดิน อาคารซ่อมบำรุง และอาคารจอดรถและเครื่องจักรกล เป็นต้น




5. การติดตามผลการแก้ไขปัญหา เป็นการตรวจสอบความก้าวหน้าของการแก้ไขปัญหานั้นว่าเป็นไปตามแผนการปฏิบัติงานหรือไม่


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
ไม่ระบุ

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
ไม่ระบุ

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)


18.1 เครื่องมือประเมินหน่วยสมรรถนะย่อย ตรวจสอบการดำเนินการฝังกลบ




1. ข้อสอบสัมภาษณ์เชิงเทคนิค




2. ข้อสอบข้อเขียน (ปรนัย)




ดูรายละเอียดจากคู่มือประเมิน




18.2 เครื่องมือประเมินหน่วยสมรรถนะย่อย วิเคราะห์และแก้ไขปัญหาที่อาจเกิดจากการฝังกลบ




1. ข้อสอบสัมภาษณ์เชิงเทคนิค




2. ข้อสอบสอบข้อเขียน (ปรนัย)




ดูรายละเอียดจากคู่มือประเมิน




18.3 ครื่องมือประเมินหน่วยสมรรถนะย่อย ติดตามผลการดำเนินการแก้ไขปัญหา




1. ข้อสอบสัมภาษณ์เชิงเทคนิค




2. ข้อสอบสอบข้อเขียน (ปรนัย)




ดูรายละเอียดจากคู่มือประเมิน



ยินดีต้อนรับ