หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ควบคุมการดำเนินงานในสถานที่ฝังกลบ

สาขาวิชาชีพสิ่งแวดล้อมและสารอันตราย


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ EVM-CWM-4-020ZA

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ควบคุมการดำเนินงานในสถานที่ฝังกลบ

3. ทบทวนครั้งที่ - / -

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)


อาชีพผู้ดูแลการจัดการของเสียชุมชนในสถานที่ฝังกลบ



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
ผู้ที่ผ่านหน่วยสมรรถนะนี้จะสามารถควบคุมระบบจราจรในการขนถ่ายของเสีย ควบคุมประเภทของเสียที่รับกำจัดให้เป็นไปตามเงื่อนไขของสถานที่ฝังกลบ ควบคุมการดำเนินการฝังกลบ ควบคุมดูแลสิ่งอำนวยความสะดวกในสถานที่ฝังกลบ รวมถึงควบคุมสิ่งรบกวนบริเวณหลุมฝังกลบโดยการมอบหมายงานให้ผู้อื่นไปจัดการแก้ไขปัญหา พร้อมทั้งตรวจติดตามการปฏิบัติงานของผู้ที่ได้รับมอบหมายงาน และสรุปผลการดำเนินงานได้

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
กลุ่มอาชีพการจัดการของเสียชุมชน

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
ไม่ระบุ

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
1. กฎกระทรวง สุขลักษณะการจัดการมูลฝอยทั่วไป พ.ศ. 2560

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
02205.01 ควบคุมการดำเนินการฝังกลบ 1. อธิบายกระบวนการดำเนินงานของสถานที่ฝังกลบ 02205.01.01 83581
02205.01 ควบคุมการดำเนินการฝังกลบ 2. ควบคุมระบบจราจรในการขนถ่ายของเสีย 02205.01.02 83582
02205.01 ควบคุมการดำเนินการฝังกลบ 3. ควบคุมประเภทของเสียที่รับกำจัดให้เป็นไปตามเงื่อนไขของสถานที่ฝังกลบ 02205.01.03 83583
02205.01 ควบคุมการดำเนินการฝังกลบ 4. ควบคุมการดำเนินการฝังกลบให้เป็นไปตามวิธีการของสถานที่ฝังกลบ 02205.01.04 83584
02205.02 ควบคุมปัญหาสิ่งรบกวนบริเวณหลุมฝังกลบ 1. ระบุปัญหาสิ่งรบกวนบริเวณหลุมฝังกลบ 02205.02.01 83585
02205.02 ควบคุมปัญหาสิ่งรบกวนบริเวณหลุมฝังกลบ 2. ควบคุมปัญหาสิ่งรบกวนบริเวณหลุมฝังกลบ 02205.02.02 83586
02205.02 ควบคุมปัญหาสิ่งรบกวนบริเวณหลุมฝังกลบ 3. มอบหมายงานให้ผู้อื่นไปจัดการแก้ไขปัญหาสิ่งรบกวน 02205.02.03 83587
02205.02 ควบคุมปัญหาสิ่งรบกวนบริเวณหลุมฝังกลบ 4. ตรวจติดตามการปฏิบัติงานในการแก้ไขปัญหาของผู้ที่ได้รับมอบหมายงาน 02205.02.04 83588
02205.02 ควบคุมปัญหาสิ่งรบกวนบริเวณหลุมฝังกลบ 5. สรุปผลการดำเนินงาน 02205.02.05 83589

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)


ไม่ระบุ


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ


1. ทักษะการควบคุมการดำเนินการฝังกลบ




2. ทักษะในการสั่งงาน สามารถมอบหมายงานให้กับพนักงานได้อย่างเหมาะสมกับความรู้ ความสามารถ ด้วยความรวดเร็ว ถูกต้อง 




3. ทักษะการติดต่อสื่อสาร ระหว่างผู้ปฏิบัติงานหรือผู้ที่เกี่ยวข้องในการควบคุมการดำเนินงาน




4. ทักษะการสังเกต เพื่อควบคุมการดำเนินงาน และควบคุมสิ่งรบกวน




5. ทักษะในการปฏิบัติงานร่วมกับผู้อื่น การเรียนรู้ผู้ใต้บังคับบัญชา ลดความคับข้องใจ หรือไม่พึงพอใจ และสร้างให้เกิดความสามัคคีในการปฏิบัติงาน

(ข) ความต้องการด้านความรู้


1. องค์ประกอบของสถานที่ฝังกลบ




2. วิธีการดำเนินการฝังกลบ




3. ขั้นตอนการนำมูลฝอยเข้าสถานี (Waste Access)




4. ระบบจราจรในสถานที่ฝังกลบ




5. สิ่งรบกวนที่อาจพบที่สถานที่จัดการของเสีย และมาตรการป้องกัน




6. สิ่งอำนวยความสะดวกในสถานที่ฝังกลบ 


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)


หลักฐานที่ต้องการประกอบด้วยหลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence) และหลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence) คำแนะนำในการประเมิน และวิธีการประเมิน ซึ่งควรจะพิจารณาร่วมกัน




(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)




1. เอกสารรับรองประสบการณ์ทำงาน




2. ผลการสัมภาษณ์เชิงเทคนิค




(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)




1. หลักฐานคุณวุฒิการศึกษา




2. ประกาศนียบัตรรับรองการผ่านการฝึกอบรมให้มีความรู้ด้านสุขอนามัยและความปลอดภัยในการทำงาน ตามหลักเกณฑ์วิธีการ และเงื่อนไขที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนดหรือตามแผนการปฏิบัติการของสถานที่ฝังกลบ (ถ้ามี)




3. ผลการสอบข้อเขียน (ปรนัย) 




(ค) คำแนะนำในการประเมิน




ผู้ประเมินตรวจประเมินเกี่ยวกับการควบคุมการดำเนินงานของสถานที่ฝังกลบ โดยพิจารณาจากหลักฐานที่เกี่ยวข้อง ทั้งหลักฐานการปฏิบัติงาน และหลักฐานด้านความรู้




(ง) วิธีการประเมิน




1. พิจารณาตามหลักฐานการปฏิบัติงาน ได้แก่ ผลการสัมภาษณ์เชิงเทคนิค




2. พิจารณาตามหลักฐานความรู้ ได้แก่ ผลการสอบข้อเขียน (ปรนัย) 


15. ขอบเขต (Range Statement)


การควบคุมการดำเนินงานของสถานที่ฝังกลบ ในระดับชั้นคุณวุฒิที่ 4 อาชีพผู้ดูแลการจัดการของเสียชุมชนในสถานที่ฝังกลบนี้ เป็นการดำเนินงานเกี่ยวกับการควบคุมการดำเนินการฝังกลบ ควบคุมดูแลสิ่งอำนวยความสะดวกในสถานที่ฝังกลบ และควบคุมสิ่งรบกวนบริเวณหลุมฝังกลบ 




(ก) คำแนะนำ




1. ผู้เข้ารับการประเมินต้องให้ความสำคัญกับการปฏิบัติงาน ได้แก่ เกลี่ยและบดอัดของเสีย กลบ/ปิดหลุมฝังกลบ และการดำเนินการอื่นๆ ที่เสริมให้การฝังกลบดำเนินได้อย่างมีประสิทธิภาพ




2. ผู้เข้ารับการประเมินต้องให้ความสำคัญกับองค์ประกอบของสถานที่จัดการของเสีย และสิ่งอำนวยความสะดวกในสถานที่ฝังกลบของเสีย




3. ผู้เข้ารับการประเมินต้องให้ความสำคัญกับประภทของเสียที่รับกำจัดในสถานที่ฝังกลบ




(ข) คำอธิบายรายละเอียด




1. การดำเนินการฝังกลบ หมายถึง การนำของเสียมาเทกองในพื้นที่ที่จัดเตรียมไว้ โดยเริ่มจากเมื่อรถเก็บขนของเสียเทของเสียลงในบริเวณที่กำหนดแล้ว รถตัก-ดันของเสียเริ่มนำของเสียดังกล่าวมาใส่ในบริเวณที่กำหนดให้เป็นจุดฝังกลบมูลฝอย (Cell) เมื่อของเสียถูกทำมาบรรจุใส่ใน Cell เต็มระดับที่ต้องการแล้ว จากนั้นรถบดอัดจะเริ่มดำเนินการบดอัดของเสียใน Cell ให้แน่นและเรียบ หลังจากนั้นจึงกลบทับหน้าด้วยดิน 




2. การควบคุมระบบจราจรและการขนถ่ายของเสียเริ่มจากรถบรรทุกไปสู่จุดฝังกลบ




3. ประเภทของเสียที่รับกำจัด ได้แก่ สิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้วที่ไม่เป็นของเสียอันตรายจาก บ้านเรือน ที่พักอาศัย เป็นต้น




4. เงื่อนไขของสถานที่ฝังกลบ เป็นขั้นตอน วิธีการ หรือข้อกำหนด ของสถานที่ฝังกลบของเสีย ซึ่งกำหนดโดยหน่วยงานที่รับผิดชอบดูแลการจัดการของเสียนั้น ให้พนักงานที่รับผิดชอบปฏิบัติตาม




5. สิ่งอำนวยความสะดวกในสถานที่ฝังกลบ หมายถึง องค์ประกอบส่วนสำคัญต่างๆ ที่ช่วยเสริมหรือสนับสนุนการทำงานของสถานีฝังกลบให้สมบูรณ์มากยิ่งขึ้นแม้ว่าหากขาดไปการฝังกลบอาจเกิดขึ้นได้ แต่ในด้านบริหารจัดการแล้วถือว่าขาดไม่ได้ เช่น ประตูทางเข้าและป้ายแสดงความเป็นเจ้าของ เครื่องชั่ง อาคารสำนักงาน ที่ล้างล้อรถ รั้วล้อมรอบสถานี ระบบระบายและกำจัดก๊าซ ระบบบำบัดน้ำเสีย ระบบรวมรวมน้ำชะขยะ บ่อสังเกตการณ์น้ำใต้ดิน อาคารซ่อมบำรุง และอาคารจอดรถและเครื่องจักรกล เป็นต้น




6. สิ่งรบกวนบริเวณหลุมฝังกลบ หมายถึง สิ่งรบกวนที่อาจพบที่สถานที่จัดการของเสีย ในขณะการดำเนินการฝังกลบมีหลายประเด็น เช่น ลม ฝุ่น กลิ่นเหม็นจากของเสีย นก แมลงวัน เป็นต้น




7. ตรวจติดตามผลการปฏิบัติงาน หมายถึง การตรวจสอบโดยการสังเกตว่าไม่มีสิ่งรบกวน หรือสามารถควบคุมสิ่งรบกวนนั้นได้


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
ไม่ระบุ

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
ไม่ระบุ

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)


18.1 เครื่องมือประเมินหน่วยสมรรถนะย่อย ควบคุมการดำเนินการฝังกลบ




1. ข้อสอบสัมภาษณ์เชิงเทคนิค




2. ข้อสอบข้อเขียน (ปรนัย) 




ดูรายละเอียดจากคู่มือประเมิน




18.2 เครื่องมือประเมินหน่วยสมรรถนะย่อย ควบคุมปัญหาสิ่งรบกวนบริเวณหลุมฝังกลบ




1. ข้อสอบสัมภาษณ์เชิงเทคนิค




2. ข้อสอบข้อเขียน (ปรนัย) 




ดูรายละเอียดจากคู่มือประเมิน



 


ยินดีต้อนรับ