หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

รับเข้าของเสียชุมชน

สาขาวิชาชีพสิ่งแวดล้อมและสารอันตราย


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ EVM-CWM-2-016ZA

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ รับเข้าของเสียชุมชน

3. ทบทวนครั้งที่ - / -

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)


อาชีพผู้ดูแลการจัดการของเสียชุมชนในสถานที่ฝังกลบ



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
ผู้ที่ผ่านหน่วยสมรรถนะนี้จะสามารถ บอกรายละเอียดการนำมูลฝอยเข้าสถานี ชั่งและบันทึกน้ำหนักของเสีย บันทึกรายละเอียดของการรับเข้า ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลที่บันทึก รวมถึงสามารถดูแลและบำรุงรักษาเครื่องชั่งน้ำหนัก และบันทึกผลการบำรุงรักษาเครื่องชั้งน้ำหนักได้

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
กลุ่มอาชีพการจัดการของเสียชุมชน

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
ไม่ระบุ

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
1. กฎกระทรวง สุขลักษณะการจัดการมูลฝอยทั่วไป พ.ศ. 2560

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
02201.01 ชั่ง และบันทึกน้ำหนักของเสีย 1. บอกรายละเอียดการนำมูลฝอยเข้าสถานี 02201.01.01 83546
02201.01 ชั่ง และบันทึกน้ำหนักของเสีย 2. บอกขั้นตอนกระบวนการชั่งและบันทึกน้ำหนัก 02201.01.02 83547
02201.01 ชั่ง และบันทึกน้ำหนักของเสีย 3. ชั่งและบันทึกน้ำหนักของเสีย 02201.01.03 83548
02201.02 บันทึกผลการรับเข้าของเสีย 1. บันทึกรายละเอียดของการรับเข้าของเสีย 02201.02.01 83549
02201.02 บันทึกผลการรับเข้าของเสีย 2. ตรวจสอบความครบถ้วนและถูกต้องของรายละเอียดที่บันทึก 02201.02.02 83550
02201.02 บันทึกผลการรับเข้าของเสีย 3. จัดทำบันทึกผลการรับเข้าของเสียแก่หัวหน้างาน 02201.02.03 83551
02201.03 ดูแล บำรุงรักษาเครื่องชั่งน้ำหนัก 1. อธิบายวิธีการบำรุงรักษาเครื่องชั่งน้ำหนัก 02201.03.01 83552
02201.03 ดูแล บำรุงรักษาเครื่องชั่งน้ำหนัก 2. บำรุงรักษาเครื่องชั่งน้ำหนัก 02201.03.02 83553
02201.03 ดูแล บำรุงรักษาเครื่องชั่งน้ำหนัก 3. บันทึกผลการบำรุงรักษาเครื่องชั่งน้ำหนัก 02201.03.03 83554

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)


ไม่ระบุ


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ


1. ทักษะการใช้งานเครื่องชั่งน้ำหนัก




2. ทักษะการบำรุงรักษาเครื่องชั่งน้ำหนัก




3. ทักษะการสังเกตในการตรวจสอบความถูกต้องและครบถ้วนของรายละเอียดที่บันทึก




4. ทักษะการติดต่อประสานงาน เพื่อแจ้งส่งกลับของเสียให้ถูกต้องและทันเวลา

(ข) ความต้องการด้านความรู้


1. การจำแนกประเภทของเสียในสถานที่ฝังกลบ




2. ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับการจัดการของเสียในสถานที่ฝังกลบ




3. ขั้นตอนการนำมูลฝอยเข้าสถานที่ฝังกลบ




4. วิธีการใช้ และการบำรุงรักษาเครื่องชั่งน้ำหนักของเสีย 




5. วิธีการบันทึกข้อมูล ตามกำหนดของสถานที่ฝังกลบ


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)


หลักฐานที่ต้องการประกอบด้วยหลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence) และหลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence) คำแนะนำในการประเมิน และวิธีการประเมิน ซึ่งควรจะพิจารณาร่วมกัน




(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)




1. เอกสารรับรองประสบการณ์ทำงาน




2. ผลการสอบสัมภาษณ์เชิงเทคนิค




(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)




1. หลักฐานคุณวุฒิการศึกษา




2. ประกาศนียบัตรรับรองการผ่านการฝึกอบรมให้มีความรู้ด้านสุขอนามัยและความปลอดภัยในการทำงาน ตามหลักเกณฑ์วิธีการ และเงื่อนไขที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนดหรือตามแผนการปฏิบัติการของสถานที่ฝังกลบ (ถ้ามี)




3. ผลการสอบข้อเขียน (ปรนัย)




(ค) คำแนะนำในการประเมิน




ผู้ประเมินตรวจประเมินเกี่ยวกับการรับเข้ามูลฝอยชุมชน โดยพิจารณาจากหลักฐานที่เกี่ยวข้อง ทั้งหลักฐานการปฏิบัติงาน และหลักฐานด้านความรู้




(ง) วิธีการประเมิน




1. พิจารณาตามหลักฐานการปฏิบัติงาน ได้แก่ ผลการสัมภาษณ์เชิงเทคนิค




2. พิจารณาตามหลักฐานความรู้ ได้แก่ ผลการสอบข้อเขียน (ปรนัย) 


15. ขอบเขต (Range Statement)


การรับเข้าของเสียชุมชน ในระดับชั้นคุณวุฒิที่ 2 อาชีพผู้ดูแลการจัดการของเสียชุมชนในสถานที่ฝังกลบนี้ เป็นการดำเนินงานเกี่ยวกับการชั่งและบันทึกน้ำหนักของเสียก่อนเทของเสียและหลังเทของเสียเรียบร้อยแล้ว บันทึกผลการรับเข้าของเสีย ดูแลและบำรุงรักษาเครื่องชั่งให้อยู่ในสภาพที่ดีและสามารถใช้งานได้ 




(ก) คำแนะนำ




1. ผู้เข้ารับการประเมินต้องให้ความสำคัญกับการชั่ง และบันทึกน้ำหนักของเสีย




2. ผู้เข้ารับการประเมินต้องให้ความสำคัญกับการดูแลและบำรุงรักษาเครื่องชั่งน้ำหนัก 




(ข) คำอธิบายรายละเอียด




1. การนำมูลฝอยเข้าสถานี (Waste Access) เป็นระเบียบหรือขั้นตอนในการปฏิบัติงานซึ่งต้องประกาศให้พนักงานทุกคนของสถานีและรถเก็บขนมูลฝอยหรือรถบรรทุกของเสียทุกคันทราบ ประกอบด้วยรายละเอียดอาทิเช่น การประกาศชื่อสถานที่ฝังกลบอย่างเป็นทางการต่อสาธารณชน การกำหนดเวลาทำงานอย่างชัดเจน การแจ้งประเภทของเสียที่รับและไม่รับกำจัดในสถานี เป็นต้น




2. ประเภทของเสียที่รับกำจัด ได้แก่ ของเสียหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้วที่ไม่เป็นของเสียอันตรายจาก บ้านเรือน ที่พักอาศัย เป็นต้น




3. ประเภทของเสียที่ไม่รับกำจัดในสถานที่ฝังกลบ เช่น มูลฝอยติดเชื้อ ของเสียอุตสาหกรรม ของเสียอันตรายเช่น หลอดไฟ แบตเตอรี่ เป็นต้น




4. กระบวนการชั่งและบันทึกน้ำหนักของสถานที่ฝังกลบ คือ การนำรถบรรทุกของเสียขึ้นจอดบนแท่นสำหรับชั่งน้ำหนัก รอจนกระทั่งน้ำหนักที่แสดงบนจอแสดงผลนิ่ง บันทึกน้ำหนักที่ปรากฏตามจอแสดงผล จากนั้นนำของเสียไปเท ณ จุดที่กำหนด 




5. บันทึกน้ำหนักของเสีย เป็นการบันทึกผล ในระบบคอมพิวเตอร์ หรือบันทึกด้วยเอกสาร หรือทั้งสองวิธี




6. รายละเอียดของการรับเข้าของเสียตามวิธีการปฏิบัติงานของสถานที่ฝังกลบ เช่น หน่วยงานที่ส่งของเสียมาฝังกลบ หมายเลขทะเบียนรถขนของเสีย น้ำหนักรถและของเสีย เวลาที่ชั่งน้ำหนัก เป็นต้น




7. บันทึกผลการรับเข้าของเสีย เช่น บันทึกการชั่งน้ำหนักของเสียประจำวัน และประจำเดือน เป็นต้น




8. เครื่องชั่ง หมายถึง ชุดเครื่องชั่งที่พร้อมจะให้บริการชั่งน้ำหนักรถบรรทุกของเสียพร้อมของเสียที่เข้ามาสู่สถานีในแต่ละวัน เช่น เครื่องชั่งระบบใช้คนอ่านและระบบคอมพิวเตอร์ เป็นต้น




9. การบำรุงรักษาเครื่องชั่งอาทิเช่น การดูแลไม่ให้มีเศษวัสดุ หิน ดิน ทราย เข้าไปอุดบริเวณรอบๆ แท่นชั่ง และการถอดปลั๊กไฟออกหลังจากเลิกใช้งาน เป็นต้น


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
ไม่ระบุ

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
ไม่ระบุ

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)


18.1 เครื่องมือประเมินหน่วยสมรรถนะย่อย ชั่ง และบันทึกน้ำหนักของเสีย




1. ข้อสอบสัมภาษณ์เชิงเทคนิค




2. ข้อสอบข้อเขียน (ปรนัย) 




ดูรายละเอียดจากคู่มือประเมิน




18.2 เครื่องมือประเมินหน่วยสมรรถนะย่อย บันทึกผลการรับเข้าของเสีย




1. ข้อสอบสัมภาษณ์เชิงเทคนิค




2. ข้อสอบข้อเขียน (ปรนัย) 




ดูรายละเอียดจากคู่มือประเมิน




18.3 เครื่องมือประเมินหน่วยสมรรถนะย่อย ดูแล บำรุงรักษาเครื่องชั่งน้ำหนัก




1. ข้อสอบสัมภาษณ์เชิงเทคนิค




2. ข้อสอบข้อเขียน (ปรนัย) 




ดูรายละเอียดจากคู่มือประเมิน



ยินดีต้อนรับ