หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

บริหารงานการคัดแยกของเสียชุมชน

สาขาวิชาชีพสิ่งแวดล้อมและสารอันตราย


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ EVM-CWM-5-015ZA

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ บริหารงานการคัดแยกของเสียชุมชน

3. ทบทวนครั้งที่ - / -

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)


อาชีพผู้คัดแยกของเสียชุมชนในสถานที่จัดการของเสีย



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
ผู้ที่ผ่านหน่วยสมรรถนะนี้จะสามารถกำหนดวิธีการดำเนินงานการคัดแยกของเสียชุมชนของหน่วยงาน และวางแผนการดำเนินงาน สิ่งแวดล้อม รวมทั้งความปลอดภัยของสถานที่คัดแยกของเสียชุมชน

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
กลุ่มอาชีพการจัดการของเสียชุมชน

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
ไม่ระบุ

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
1. ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่อง หลักเกณฑ์การพิจารณาอนุญาตประเภท หรือชนิดของโรงงาน ลําดับที่ 105 และลําดับที่ 106 พ.ศ. 25452. ระเบียบกรมโรงงานอุตสาหกรรม ว่าด้วยเรื่องรายละเอียดหลักเกณฑ์การพิจารณาอนุญาตประเภทหรือชนิดของโรงงานลําดับที่ 105 และลําดับที่ 106 พ.ศ. 25453. ระเบียบกรมโรงงานอุตสาหกรรม ว่าด้วยเรื่องรายละเอียดหลักเกณฑ์การพิจารณาอนุญาตประเภทหรือชนิดของโรงงาน ลําดับที่ 105 และลําดับที่ 106 (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 25504. พระราชบัญญัติการขายทอดตลาดและค้าของเก่า พ.ศ. 24745. พระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ. 2535

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
02108.01 กำหนดวิธีการดำเนินงานในการคัดแยกของเสียชุมชน 1. กำหนดชนิด/ประเภทของเสียชุมชนรีไซเคิล 02108.01.01 83536
02108.01 กำหนดวิธีการดำเนินงานในการคัดแยกของเสียชุมชน 2. กำหนดเครื่องมือ/อุปกรณ์ในการคัดแยก ภาชนะบรรจุ อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคลเครื่องจักรในการคัดแยกของเสียชุมชน 02108.01.02 83537
02108.01 กำหนดวิธีการดำเนินงานในการคัดแยกของเสียชุมชน 3. กำหนดวิธีการ กระบวนการคัดแยกของเสียชุมชน 02108.01.03 83538
02108.01 กำหนดวิธีการดำเนินงานในการคัดแยกของเสียชุมชน 4. กำหนดวิธีการเก็บรวบรวมของเสียชุมชนที่ผ่านการคัดแยกแล้ว และของเสียที่ต้องกำจัด 02108.01.04 83539
02108.01 กำหนดวิธีการดำเนินงานในการคัดแยกของเสียชุมชน 5. กำหนดราคาซื้อขายของเสียชุมชนรีไซเคิลที่ผ่านการคัดแยกแล้ว 02108.01.05 83540
02108.01 กำหนดวิธีการดำเนินงานในการคัดแยกของเสียชุมชน 6. จัดทำคู่มือการปฏิบัติงานการคัดแยกของเสียชุมชน 02108.01.06 83541
02108.02 วางแผนการดำเนินงานด้าน สิ่งแวดล้อมและความปลอดภัยของสถานที่คัดแยกของเสียชุมชน 1. ประเมินค่าใช้จ่ายในกระบวนการคัดแยกของเสียชุมชน 02108.02.01 83542
02108.02 วางแผนการดำเนินงานด้าน สิ่งแวดล้อมและความปลอดภัยของสถานที่คัดแยกของเสียชุมชน 2. ประเมินประสิทธิภาพของเครื่องจักรในการคัดแยกของเสียชุมชน 02108.02.02 83543
02108.02 วางแผนการดำเนินงานด้าน สิ่งแวดล้อมและความปลอดภัยของสถานที่คัดแยกของเสียชุมชน 3. จัดทำแผนงานด้านสิ่งแวดล้อมและความปลอดภัย 02108.02.03 83544
02108.02 วางแผนการดำเนินงานด้าน สิ่งแวดล้อมและความปลอดภัยของสถานที่คัดแยกของเสียชุมชน 4. จัดทำแผนในการปรับปรุง/พัฒนาการดำเนินงานการคัดแยกของเสียชุมชน 02108.02.04 83545

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)


ไม่ระบุ


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ


1. ทักษะในการคิดวิเคราะห์ ประเมิน สามารถกำหนดขั้นตอนการปฏิบัติงานได้อย่างถูกต้อง




2. ทักษะการจัดทำแผนการปฏิบัติงาน การวางแผนต่างๆ เช่น แผนป้องกันและระงับอัคคีภัย แผนตอบโต้ภาวะฉุกเฉิน มาตรการแก้ไขผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม




3. ทักษะในการคิดคำนวณ สามารถเปรียบเทียบราคาหรือค่าใช้จ่ายของผลิตภัณฑ์




4. ทักษะการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า สามารถแก้ไขปัญหาในกรณีเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นไม่เป็นไปตามแผนการที่วางไว้ สามารถเสนอแนวทางในการแก้ไขปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพ 

(ข) ความต้องการด้านความรู้


1. ประเภทของเสียชุมชนรีไซเคิล และการนำไปใช้ประโยชน์




2. ข้อบังคับอาชีวอนามัย และความปลอดภัยในการทำงาน 




3. หลักเกณฑ์ มาตรฐาน และแนวทางในการดำเนินการคัดแยกของเสียชุมชน




4. การป้องกันผลด้านสิ่งแวดล้อม และความปลอดภัย




5. การบริหารจัดการ และการวางแผน




6. การแก้ไขผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม และความปลอดภัย


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)


หลักฐานที่ต้องการประกอบด้วยหลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence) และหลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence) คำแนะนำในการประเมิน และวิธีการประเมิน ซึ่งควรจะพิจารณาร่วมกัน




(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)




1. เอกสารรับรองการปฏิบัติงาน




2. ผลการสอบสัมภาษณ์เชิงเทคนิค




(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)




1. หลักฐานคุณวุฒิการศึกษา




2. ผลการสอบผ่านข้อเขียน (ปรนัย)




(ค) คำแนะนำในการประเมิน




ผู้ประเมินตรวจประเมินเกี่ยวกับการบริหารงานการคัดแยกของเสียชุมชนของหน่วยงาน โดยพิจารณาจากหลักฐานที่เกี่ยวข้อง ทั้งหลักฐานการปฏิบัติงาน และหลักฐานด้านความรู้




(ง) วิธีการประเมิน




1. พิจารณาตามหลักฐานการปฏิบัติงาน ได้แก่ ผลการสอบสัมภาษณ์เชิงเทคนิค




2. พิจารณาตามหลักฐานความรู้ ได้แก่ ผลการสอบข้อเขียน (ปรนัย)


15. ขอบเขต (Range Statement)


ขอบเขตของการบริหารงานการคัดแยกของเสียชุมชนของหน่วยงาน ในหน่วยสมรรถนะนี้ จะเป็นการ กำหนดชนิด/ประเภทของเสียชุมชนรีไซเคิล เครื่องมือ/อุปกรณ์ในการคัดแยก ภาชนะบรรจุ และอุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคล รวมถึงเครื่องจักรในการคัดแยกของเสียชุมชนของหน่วยงาน สามารถกำหนดวิธีการ กระบวนการคัดแยกของเสียชุมชนให้กับหน่วยงาน และวิธีการเก็บรวบรวมของเสียชุมชนที่ผ่านการคัดแยกแล้ว และของเสียที่ต้องกำจัด สามารถกำหนดราคาซื้อขายของเสียชุมชนรีไซเคิลที่ผ่านการคัดแยกแล้ว จัดทำคู่มือปฏิบัติงานการคัดแยกของเสียชุมชนของหน่วยงาน และประเมินค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องในกระบวนการคัดแยกของเสียชุมชน รวมทั้งประเมินประสิทธิภาพของเครื่องจักรในการคัดแยกของเสียชุมชน จัดทำแผนงานด้านสิ่งแวดล้อมและความปลอยภัย จัดทำแนวทางในการปรับปรุง/พัฒนาการดำเนินงานการคัดแยกของเสียชุมชนของหน่วยงาน 




(ก) คำแนะนำ




1. ผู้เข้ารับการประเมินต้องให้ความสำคัญกับการวางแผนและประเมินประสิทธิภาพการทำงาน




2. ผู้เข้ารับการประเมินต้องให้ความสำคัญกับวิธีการ กระบวนการ ขั้นตอนการปฏิบัติงานของหน่วยงาน 




3. ผู้เข้ารับการประเมินต้องให้ความสำคัญกับการจัดทำแผนทางด้านสิ่งแวดล้อม และความปลอดภัย




(ข) คำอธิบายรายละเอียด




1. การบริหารจัดการ หมายถึงการจัดการควบคุมดูแลการดำเนินการในกิจกรรมต่าง ๆ ของสถานที่คัดแยกของเสีย ให้ไปอย่างมีประสิทธิภาพ




2. แผนงานด้านสิ่งแวดล้อม และความปลอดภัย หมายถึง แผนงานที่เกี่ยวข้องในด้านสิ่งแวดล้อม และด้านสุขภาพอนามัยของสถานที่คัดแยกของเสียชุมชน เช่น แผนป้องกันและระงับอัคคีภัยในสถานที่ แผนตอบโต้ภาวะฉุกเฉินที่อาจเกิดขึ้นในการปฏิบัติงานฝังกลบ แผนป้องกันผลกระทบทางสิ่งแวดล้อม เป็นต้น




3. ค่าใช้จ่าย ได้แก่ ค่าใช้จ่ายในการดำเนินกิจกรรมต่างๆ เช่น ค่าแรง ค่าไฟฟ้า ค่าน้ำ ค่าเครื่องมือ อุปกรณ์ ค่าขนส่ง เป็นต้น




4. ประสิทธิภาพของเครื่องจักร หมายถึง สภาพการทำงานของเครื่องจักรที่ดำเนินการในการคัดแยกของเสียชุม เช่น สภาพความเสียหาย สภาพการทำงานตามกำลังการผลิต ปริมาณของเสียที่เครื่องจักรรองรับได้ ความเสี่ยงอันตรายจากเครื่องจักร เป็นต้น




5. ชนิด/ประเภทของเสียชุมชนรีไซเคิล หมายถึง ของเสียชุมชนที่คัดแยกที่สามารถนำกลับมาใช้ประโยชน์หรือมีมูลค่าในการซื้อขาย 




6. เครื่องมือ/อุปกรณ์ในการคัดแยก ได้แก่ เลื่อย แม่เหล็ก คีมหนีบ คีมจับ มีด กรรไกร ไม้คีบ ค้อน ประแจ เครื่องชั่ง หัวตัด  รถเข็น เครื่องล้างอัดฉีด เป็นต้น




7. ภาชนะบรรจุ ได้แก่ ตะกร้า ถังเหล็ก ถุงกระสอบ ถุงพลาสติก




8. อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคล เช่น ถุงมือ แว่นตา หมวก ถุงเท้า รองเท้า เสื้อผ้าสะท้อนแสง เป็นต้น




9. คู่มือการปฏิบัติงาน หมายถึง แนวทางหรือวิธีการดำเนินงานที่เป็นข้อกำหนดให้ผู้ปฏิบัติงานทำตาม


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
ไม่ระบุ

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
ไม่ระบุ

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)


18.1 เครื่องมือประเมินหน่วยสมรรถนะย่อย กำหนดวิธีการดำเนินงานในการคัดแยกของเสียชุมชน




1. ข้อสอบสัมภาษณ์เชิงเทคนิค




2. ข้อสอบข้อเขียน(ปรนัย) 




ดูรายละเอียดจากคู่มือประเมิน




18.2 เครื่องมือประเมินหน่วยสมรรถนะย่อย วางแผนการดำเนินงานด้านสิ่งแวดล้อมและความปลอดภัยของสถานที่คัดแยกของเสียชุมชน




1. ข้อสอบสัมภาษณ์เชิงเทคนิค




2. ข้อสอบข้อเขียน (ปรนัย)




ดูรายละเอียดจากคู่มือประเมิน



 


ยินดีต้อนรับ