หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ใช้เครื่องจักรในการคัดแยกของเสียชุมชน

สาขาวิชาชีพสิ่งแวดล้อมและสารอันตราย


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ EVM-CWM-3-013ZA

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ใช้เครื่องจักรในการคัดแยกของเสียชุมชน

3. ทบทวนครั้งที่ - / -

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)


อาชีพผู้คัดแยกของเสียชุมชนในสถานที่จัดการของเสีย


1 9612 คนงานคัดแยกขยะ

6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
ผู้ผ่านหน่วยสมรรถนะนี้สามารถแสดงความรู้เกี่ยวกับหน้าที่ของส่วนประกอบต่างๆ ของเครื่องจักรคัดแยกของเสียชุมชน ความอันตรายและวิธีการควบคุมอันตรายในการเดินเครื่องจักรในการคัดแยกของเสียชุมชน สามารถตรวจสอบสภาพ ความพร้อมความปลอดภัยของเครื่องจักรในเบื้องต้น ทำความสะอาดเครื่องจักรก่อนการปฎิบัติงานของเสียชุมชน ระบุภาชนะบรรจุของเสียชุมชนที่ผ่านการคัดแยกแล้ว พร้อมทั้งบันทึกผลการตรวจสอบสภาพเครื่องจักรเบื้องต้น สมารถเลือกใช้อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคล และเปิดใช้งานและปิดใช้งานเครื่องจักรในกระบวนการคัดแยก รวมทั้งนำของเสียชุมชนเข้าเครื่องจักรในกระบวนการคัดแยกบรรจุของเสียชุมชนที่ผ่านการคัดแยกจากเครื่องจักร ปิดเครื่องจักรในกรณีฉุกเฉิน

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
กลุ่มอาชีพการจัดการของเสียชุมชน

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
รหัสอาชีพ 9612 : พนักงาน/คนงานคัดแยกขยะ (ISCO,2008)

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
ไม่ระบุ

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
02106.01 เตรียมความพร้อมก่อนใช้เครื่องจักรในกระบวนการคัดแยก 1. ระบุหน้าที่ของส่วนประกอบต่างๆของเครื่องจักรคัดแยก 02106.01.01 83516
02106.01 เตรียมความพร้อมก่อนใช้เครื่องจักรในกระบวนการคัดแยก 2. ระบุความเสี่ยง/อันตรายและวิธีการป้องกันอันตรายในการปฏิบัติงานกับเครื่องจักรในการคัดแยกตามคู่มือการปฏิบัติงานของเครื่องจักร 02106.01.02 83517
02106.01 เตรียมความพร้อมก่อนใช้เครื่องจักรในกระบวนการคัดแยก 3. ตรวจสอบสภาพเครื่องจักรให้อยู่ในสภาพปลอดภัยและพร้อมใช้งาน 02106.01.03 83518
02106.01 เตรียมความพร้อมก่อนใช้เครื่องจักรในกระบวนการคัดแยก 4. ทำความสะอาดเครื่องจักรก่อนการใช้งาน 02106.01.04 83519
02106.01 เตรียมความพร้อมก่อนใช้เครื่องจักรในกระบวนการคัดแยก 5. จัดเตรียมภาชนะบรรจุของเสียชุมชนที่คัดแยกแล้ว 02106.01.05 83520
02106.01 เตรียมความพร้อมก่อนใช้เครื่องจักรในกระบวนการคัดแยก 6. บันทึกผลการตรวจสอบสภาพเครื่องจักรเบื้องต้น 02106.01.06 83521
02106.02 การคัดแยกของเสียชุมชนโดยการใช้เครื่องจักร 1. ใช้อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคลได้อย่างถูกต้อง 02106.02.01 83522
02106.02 การคัดแยกของเสียชุมชนโดยการใช้เครื่องจักร 2. เปิดใช้งานและปิดใช้งานเครื่องจักรในกระบวนการคัดแยก 02106.02.02 83523
02106.02 การคัดแยกของเสียชุมชนโดยการใช้เครื่องจักร 3. นำของเสียชุมชนเข้าเครื่องจักรในกระบวนการคัดแยก ตามคู่มือการใช้งานเครื่องจักร 02106.02.03 83524
02106.02 การคัดแยกของเสียชุมชนโดยการใช้เครื่องจักร 4. บรรจุของเสียชุมชนที่ผ่านการคัดแยกจากเครื่องจักร 02106.02.04 83525
02106.02 การคัดแยกของเสียชุมชนโดยการใช้เครื่องจักร 5. ปิดเครื่องจักรในกรณีฉุกเฉิน ตามคู่มือการใช้งานเครื่องจักร 02106.02.05 83526

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)


ไม่ระบุ


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ


1. ทักษะการปฏิบัติงานกับเครื่องจักรในกระบวนการคัดแยกของเสียชุมชน




2. ทักษะการสังเกต เช่น สภาพการของเครื่องจักร ความสะอาดของเครื่องจักร 




3. ทักษะการจำแนกวัตถุสิ่งของที่ปะปนกัน 




4. ทักษะการใช้เครื่องมือ/อุปกรณ์ที่ใช้ทำงานร่วมกับเครื่องจักร เช่น อุปกรณ์หยิบ จับ เคลื่อนย้ายวัตถุดิบหรือผลิตภัณฑ์ เข้าและออกจากเครื่องจักร 




5. ทักษะการ เคลื่อนย้ายสิ่งของที่มีน้ำหนัก




6. ทักษะการใช้อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคล

(ข) ความต้องการด้านความรู้


1. วิธีการใช้งานเครื่องจักรในกระบวนการคัดแยกของเสียชุมชน




2. วิธีการนำของเสียเข้าเครื่องจักร




3. ฉลาก ป้ายสัญลักษณ์ เครื่องหมายเตือนแสดงความเป็นอันตรายของของเสียชุมชน




4. ป้ายสัญลักษณ์ เครื่องหมายและสัญญาณเตือน แสดงความเป็นอันตรายของเครื่องจักร




5. ข้อบังคับอาชีวอนามัย และความปลอดภัยในการทำงาน




6. การป้องกันอุบัติเหตุที่อาจเกิดขึ้นจากเครื่องจักร และการตอบโต้สถานการณ์ฉุกเฉิน สำหรับ การเกิดเหตุฉุกเฉิน




7. วิธีการบันทึกผลการตรวจสอบสภาพเครื่องจักรเบื้องต้นก่อนการปฏิบัติงาน


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)


หลักฐานที่ต้องการประกอบด้วยหลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence) และหลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence) คำแนะนำในการประเมิน และวิธีการประเมิน ซึ่งควรจะพิจารณาร่วมกัน




(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)




1. หนังสือรับรองประสบการณ์ทำงาน




2. ผลการสอบสัมภาษณ์เชิงเทคนิค




(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)




1. หลักฐานคุณวุฒิการศึกษา




2. ผลการสอบผ่านข้อเขียน (ปรนัย)




(ค) คำแนะนำในการประเมิน




ผู้ประเมินตรวจประเมินเกี่ยวกับการคัดแยกของเสียชุมชนโดยใช้เครื่องจักร โดยพิจารณาจากหลักฐานที่เกี่ยวข้อง ทั้งหลักฐานการปฏิบัติงาน และหลักฐานด้านความรู้




(ง) วิธีการประเมิน




1. พิจารณาตามหลักฐานการปฏิบัติงาน ได้แก่ ผลการสอบสัมภาษณ์เชิงเทคนิค




2. พิจารณาตามหลักฐานความรู้ ได้แก่ ผลการสอบข้อเขียน (ปรนัย)


15. ขอบเขต (Range Statement)


ขอบเขตของการใช้เครื่องจักรในการคัดแยกของเสียชุมชนในหน่วยสมรรถนะนี้ จะเริ่มด้วยการตรวจสอบสภาพการใช้งาน ความพร้อม และความปลอดภัยของเครื่องจักรในเบื้องต้น รวมถึงทำความสะอาดเครื่องจักรก่อนการใช้งาน พร้อมทั้งบันทึกผลการตรวจสอบสภาพเครื่องจักรในเบื้องต้น ผู้คัดแยกของเสียชุมชนต้องสวมใส่อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคลก่อนการปฏิบัติงาน โดยผู้ปฏิบัติงานต้องมีความรู้เกี่ยวกับหน้าที่ของส่วนประกอบต่างๆ ของเครื่องจักรคัดแยกของเสียชุมชน ความอันตรายและวิธีการควบคุมอันตรายในการเดินเครื่องจักรในการคัดแยกของเสียชุมชน สามารถเลือกใช้ภาชนะบรรจุของเสียชุมชนที่ผ่านการคัดแยกแล้ว เปิดใช้งานและปิดใช้งานเครื่องจักรในกระบวนการคัดแยก และนำของเสียชุมชนเข้าเครื่องจักรในกระบวนการคัดแยกบรรจุของเสียชุมชนที่ผ่านการคัดแยกจากเครื่องจักร รวมทั้งปิดเครื่องจักรในกรณีฉุกเฉิน




(ก) คำแนะนำ




1. ผู้เข้ารับการประเมินต้องให้ความสำคัญเกี่ยวกับความปลอดภัยในการปฏิบัติงานกับเครื่องจักร




2. ผู้เข้ารับการประเมินสามารถอธิบายหน้าที่การทำงานของเครื่องจักรที่ใช้ในกระบวนการคัดแยกได้




(ข) คำอธิบายรายละเอียด




1. เครื่องจักรที่ใช้ในกระบวนการคัดแยกของเสียชุมชน ได้แก่ เครื่องจักรสำหรับคัดแยกของเสีย เครื่องจักรสำหรับการบดย่อยขนาดของเสีย เครื่องจักรสำหรับการบีบอัดของเสีย เครื่องจักรสำหรับล้างอัดฉีดของเสีย เครื่องจักรหรือพาหนะในการเคลื่อนย้าย เป็นต้น




2. เครื่องจักรสำหรับคัดแยกของเสีย หมายถึง เครื่องจักรอัตโนมัติสำหรับคัดแยกประเภทของเสียชนิดต่างๆ ที่กำหนด เช่น พลาสติก โลหะ หรือของเสียที่เป็นอินทรีย์ เป็นต้น




3. เครื่องจักรสำหรับบดย่อยขนาดของเสีย หมายถึง เครื่องจักรอัตโนมัติสำหรับบดย่อย ทุบ ฉีกทำลายของเสียชนิดต่างๆ ที่กำหนด ให้มีขนาดเล็กลง 




4. เครื่องจักรสำหรับบีบอัดของเสีย หมายถึง เครื่องจักรอัตโนมัติสำหรับบีบอัดของเสียให้มีขนาดเล็กลงหรือมีพื้นที่หน้าตัดเล็กลง หรืออัดรวมกันเป็นก้อนให้ง่ายต่อการเคลื่อนย้าย




5. เครื่องจักรสำหรับล้างอัดฉีดของเสีย หมายถึง เครื่องจักรอัตโนมัติสำหรับการล้างทำความสะอาดของเสีย 




6. เครื่องจักรหรือพาหนะในการเคลื่อนย้าย หมายถึง เครื่องยนต์หรือยานพาหนะที่ใช้ในการยกสิ่งของ เคลื่อนย้ายสิ่งของที่มีน้ำหนัก  




7. บันทึกผลการตรวจสอบสภาพเครื่องจักร หมายถึง สภาพความสะอาดก่อนการปฏิบัติงานอาจรวมถึง รายละเอียดเครื่องจักรที่เสียหาย รายละเอียดที่การซ่อมแซมและการบำรุงรักษา




8. ความเสี่ยงอันตราย หมายถึง ความเสี่ยงอันตรายในการปฏิบัติงานกับเครื่องจักร ได้แก่ อุบัติเหตุที่เกิดขึ้นจากการใช้เครื่องจักรปฏิบัติงานก่อความเสียหายต่อร่างกายหรือทรัพย์สินของผู้ปฏิบัติงาน เช่น ผู้ปฏิบัติงานบนเครื่องจักรตกจากเครื่องจักร  




9. ภาชนะบรรจุของเสียที่ผ่านการคัดแยกแล้ว ได้แก่ ตะกร้า ถังเหล็ก ถุงกระสอบ ถุงพลาสติก




10. อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคล เช่น ถุงมือ แว่นตา หมวก ถุงเท้า รองเท้า เสื้อผ้าสะท้อนแสง เป็นต้น


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
ไม่ระบุ

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
ไม่ระบุ

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)


18.1 เครื่องมือประเมินหน่วยสมรรถนะย่อย เตรียมความพร้อมก่อนใช้เครื่องจักรในกระบวนการคัดแยก




1. ข้อสอบสัมภาษณ์เชิงเทคนิค




2. ข้อสอบข้อเขียน (ปรนัย) 




ดูรายละเอียดจากคู่มือประเมิน




18.2 เครื่องมือประเมินหน่วยสมรรถนะย่อย การคัดแยกของเสียชุมชนโดยการใช้เครื่องจักร




1. ข้อสอบสัมภาษณ์เชิงเทคนิค




2. ข้อสอบข้อเขียน (ปรนัย)




ดูรายละเอียดจากคู่มือประเมิน



 


ยินดีต้อนรับ