หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

จัดการสิ่งปนเปื้อนออกจากของเสียชุมชนรีไซเคิล

สาขาวิชาชีพสิ่งแวดล้อมและสารอันตราย


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ EVM-CWM-3-012ZA

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ จัดการสิ่งปนเปื้อนออกจากของเสียชุมชนรีไซเคิล

3. ทบทวนครั้งที่ - / -

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)


อาชีพผู้คัดแยกของเสียชุมชนในสถานที่จัดการของเสีย


1 9612 คนงานคัดแยกขยะ

6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
ผู้ผ่านหน่วยสมรรถนะนี้มีความรู้เกี่ยวกับความอันตรายของสิ่งปนเปื้อน และการแยกสิ่งปนเปื้อนที่ติดมากับของเสียชุมชนรีไซเคิล รวมทั้งจัดการกับสิ่งปนเปื้อนที่แยกจากของเสียชุมชนรีไซเคิล สามารถเลือกใช้เครื่องมือ/อุปกรณ์ที่ใช้แยกและจัดการสิ่งปนเปื้อนที่ติดมากับของเสียชุมชนที่ผ่านการคัดแยก ชี้แจงขั้นตอนการคัดแยกสิ่งปนเปื้อนที่ติดมากับของเสียชุมชนรีไซเคิลที่ผ่านการคัดแยก สามารถเลือกใช้อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคล 

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
กลุ่มอาชีพการจัดการของเสียชุมชน

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
รหัสอาชีพ 9612 : พนักงาน/คนงานคัดแยกขยะ (ISCO,2008)

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
ไม่ระบุ

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
02105.01 เตรียมการจัดการสิ่งปนเปื้อนที่ติดมากับของเสียรีไซเคิล 1. ระบุสิ่งปนเปื้อนที่ติดมากับของเสียที่ต้องการจัดการ 02105.01.01 83506
02105.01 เตรียมการจัดการสิ่งปนเปื้อนที่ติดมากับของเสียรีไซเคิล 2. ระบุความอันตรายของสิ่งปนเปื้อนที่ติดมากับของเสียชุมชนรีไซเคิลที่ผ่านการคัดแยก 02105.01.02 83507
02105.01 เตรียมการจัดการสิ่งปนเปื้อนที่ติดมากับของเสียรีไซเคิล 3. อธิบายวิธีการแยกสิ่งปนเปื้อนที่ติดมากับของเสียรีไซเคิล 02105.01.03 83508
02105.01 เตรียมการจัดการสิ่งปนเปื้อนที่ติดมากับของเสียรีไซเคิล 4. อธิบายการจัดการกับสิ่งปนเปื้อน ที่แยกจากของเสียชุมชนรีไซเคิล 02105.01.04 83509
02105.01 เตรียมการจัดการสิ่งปนเปื้อนที่ติดมากับของเสียรีไซเคิล 5. เตรียมเครื่องมือ/อุปกรณ์ที่ใช้แยกและจัดการสิ่งปนเปื้อนที่ติดมากับของเสียชุมชนที่ผ่านการคัดแยก 02105.01.05 83510
02105.02 จัดการสิ่งปนเปื้อนจากของเสียรีไซเคิล 1. อธิบายขั้นตอนการคัดแยกสิ่งปนเปื้อนที่ติดมากับของเสียชุมชนรีไซเคิลที่ผ่านการคัดแยก 02105.02.01 83511
02105.02 จัดการสิ่งปนเปื้อนจากของเสียรีไซเคิล 2. ใช้อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคล ได้อย่างถูกต้อง 02105.02.02 83512
02105.02 จัดการสิ่งปนเปื้อนจากของเสียรีไซเคิล 3. ใช้เครื่องมือ/อุปกรณ์ ในการคัดแยกสิ่งปนเปื้อนที่ติดมากับของเสียชุมชนรีไซเคิลที่ผ่านการคัดแยก 02105.02.03 83513
02105.02 จัดการสิ่งปนเปื้อนจากของเสียรีไซเคิล 4. คัดแยกสิ่งปนเปื้อนที่ติดมากับของเสียชุมชนรีไซเคิลที่ผ่านการคัดแยก 02105.02.04 83514
02105.02 จัดการสิ่งปนเปื้อนจากของเสียรีไซเคิล 5. จัดการสิ่งปนเปื้อน ที่ถูกแยกจากของเสียชุมชนรีไซเคิล 02105.02.05 83515

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)


ไม่ระบุ


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ


1. ทักษะการสังเกต สิ่งผิดปกติ
2. ทักษะการจำแนกวัตถุสิ่งของที่ปะปนกัน 
3. ทักษะการใช้เครื่องมือ/อุปกรณ์สำหรับหยิบ จับ ตัด แยก ล้าง เคลื่อนย้ายวัตถุ เป็นต้น 
4. ทักษะการ เคลื่อนย้ายสิ่งของที่มีน้ำหนัก
5. ทักษะการใช้อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคล

(ข) ความต้องการด้านความรู้


1. วิธีการจัดการกับสิ่งปนเปื้อน
2. ข้อบังคับอาชีวอนามัย และความปลอดภัยในการทำงาน
3. ฉลาก ป้ายสัญลักษณ์ เครื่องหมายเตือนแสดงความเป็นอันตราย
4. การจำแนกลักษณะ ประเภทสิ่งเจือปนที่อันตราย
5. ความรู้ด้านความอันตรายจากสิ่งปนเปื้อน
6. วิธีการป้องกันอันตรายจากความอันตรายจากสิ่งปนเปื้อน


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)


หลักฐานที่ต้องการประกอบด้วยหลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence) และหลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence) คำแนะนำในการประเมิน และวิธีการประเมิน ซึ่งควรจะพิจารณาร่วมกัน
(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)
1. หนังสือรับรองประสบการณ์ทำงาน 
2. ผลการสอบสัมภาษณ์เชิงเทคนิค
(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)
1. หลักฐานคุณวุฒิการศึกษา
2. ผลการสอบผ่านข้อเขียน (ปรนัย)
(ค) คำแนะนำในการประเมิน
ผู้ประเมินตรวจประเมินเกี่ยวกับการจัดการสิ่งปนเปื้อนออกจากของเสียชุมชนรีไซเคิล โดยพิจารณาจากหลักฐานที่เกี่ยวข้อง ทั้งหลักฐานการปฏิบัติงาน และหลักฐานด้านความรู้
(ง) วิธีการประเมิน
1. พิจารณาตามหลักฐานการปฏิบัติงาน ได้แก่ ผลการสอบสัมภาษณ์เชิงเทคนิค
  2. พิจารณาตามหลักฐานความรู้ ได่แก่ ผลการสอบข้อเขียน (ปรนัย)


15. ขอบเขต (Range Statement)


หลักฐานที่ต้องการประกอบด้วยหลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence) และหลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence) คำแนะนำในการประเมิน และวิธีการประเมิน ซึ่งควรจะพิจารณาร่วมกัน
(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)
1. หนังสือรับรองประสบการณ์ทำงาน 
2. ผลการสอบสัมภาษณ์เชิงเทคนิค
(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)
1. หลักฐานคุณวุฒิการศึกษา
2. ผลการสอบผ่านข้อเขียน (ปรนัย)
(ค) คำแนะนำในการประเมิน
ผู้ประเมินตรวจประเมินเกี่ยวกับการจัดการสิ่งปนเปื้อนออกจากของเสียชุมชนรีไซเคิล โดยพิจารณาจากหลักฐานที่เกี่ยวข้อง ทั้งหลักฐานการปฏิบัติงาน และหลักฐานด้านความรู้




(ง) วิธีการประเมิน




1. พิจารณาตามหลักฐานการปฏิบัติงาน ได้แก่ ผลการสอบสัมภาษณ์เชิงเทคนิค




2. พิจารณาตามหลักฐานความรู้ ได่แก่ ผลการสอบข้อเขียน (ปรนัย)


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
ไม่ระบุ

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
ไม่ระบุ

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)


18.1 เครื่องมือประเมินหน่วยสมรรถนะย่อย เตรียมการจัดการสิ่งปนเปื้อนที่ติดมากับของเสียรีไซเคิล




1. ข้อสอบสัมภาษณ์เชิงเทคนิค




2. ข้อสอบข้อเขียน (ปรนัย)




ดูรายละเอียดจากคู่มือประเมิน




18.2 เครื่องมือประเมินหน่วยสมรรถนะย่อย จัดการสิ่งปนเปื้อนจากของเสียรีไซเคิล




1. ข้อสอบสัมภาษณ์เชิงเทคนิค




2. ข้ข้อสอบข้อเขียน (ปรนัย)




ดูรายละเอียดจากคู่มือประเมิน



 


ยินดีต้อนรับ